ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 17088
ตอบกลับ: 11
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องราวของวีรบุรุษไทยผู้ยิ่งใหญ่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

[คัดลอกลิงก์]
10  เรื่องราวของวีรบุรุษไทยผู้ยิ่งใหญ่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


                                                                                                                                                                                               


                                ในประวัติศาสตร์ไทย ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งในวันนี้เป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวร ทางทีมงาน toptenthailand จึงนำพระราชประวัติของท่านเพื่อที่เราจะได้ตระหนักถึงความยากเย็นที่จะรักษาแผ่นดินอันเป็นที่รักของเราเอาไว้

                                                                       
                                                ที่มา : ทีมงาน toptenthailand


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-25 05:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        10.         พระราชประวัติ
                                                   


                            สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ ขณะที่ทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่ง พระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมัยสงครามช้างเผือก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลก ยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดีจึงทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชของหงสาวดีและไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีในปี พ.ศ. 2107 ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง 9 พรรษา พระองค์เป็นผู้ที่มีน้ำพระทัยเป็นนักรบมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว น้ำพระทัยกว้างขวางสมกับที่เป็นเชื้อสายของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย แม้พระองค์จะถูกนำไปเป็นตัวประกันถึงหงสาวดี แต่ตลอดระยะเวลาพระองค์มิได้ทรงหวั่นไหว ครั้งที่อยู่ในเมืองหงสาวดีก็ได้แสดงความปรีชาสามารถให้ปรากฏหลายต่อหลายครั้ง

                    

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-25 05:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        9.         ประกาศอิสรภาพ
                                                   


                            พระเจ้าอังวะเป็นกบฏ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมืองพร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปรเจ้าเมืองตองอูและเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วยทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับและหาทางกำจัดเสีย ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็มีพระราชดำริเห็นว่าการเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้วพระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า "ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป"

                    

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-25 05:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        8.         เสด็จขึ้นครองราชย์
                                                   


                            นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2133 พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์

                    

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-25 05:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        7.         สงครามยุทธหัตถี
                                                   


                            สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะงา คือช้างมีงาที่ได้รับการฝึกให้รู้จักการต่อสู้มาแล้วหรือเคยผ่านสงครามชนช้าง ชนะช้างตัวอื่นมาแล้ว ซึ่งเป็นช้างที่กำลังตกมัน พระเจ้าหงสาวดี นันทบุเรง โปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหารสองแสนสี่หมื่นคน มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนสมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าเท้าพระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้างนับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน

                    

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-25 05:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        6.         ตีเมืองหงสาวดีครั้งแรก
                                                   


                            การที่สมเด็จพระนเรศวร ได้หัวเมืองมอญฝ่ายใต้มาเป็นเมืองขึ้น นับว่าเป็นจุดหักเหที่มีนัยสำคัญ ของการสงครามไทยกับพม่า จากเดิม ฝ่ายพม่าเป็นฝ่ายยกทัพมาย่ำยีไทยมาโดยตลอด การได้หัวเมืองมอญฝ่ายใต้ ทำให้ไทยใช้เป็นฐานทัพ ที่จะยกกำลังไปตีเมืองหงสาวดีได้สะดวกสมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกกองทัพหลวงไปตีเมืองหงสาวดี ออกจากพระนคร เดินทัพไปถึงเมืองเมาะตะมะ แล้วรวบรวมกองทัพมอญเข้ามาสมทบ จากนั้น ได้เสด็จยกกองทัพหลวงไปยังเมืองหงสาวดี เข้าล้อมเมืองไว้ ต่เข้าเมืองไม่ได้ ครั้นเมื่อทรงทราบว่าพระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ พระเจ้าตองอู ได้ยกกองทัพลงมาช่วยพระเจ้าหงสาวดีถึงสามเมือง เห็นว่าข้าศึกมีกำลังมากนัก จึงทรงให้เลิกทัพกลับและได้กวาดต้อนครอบครัวในหัวเมืองมณฑลหงสาวดี มาเป็นเชลยเป็นอันมาก และกองทัพข้าศึกมิได้ยกติดตามมารบกวนแต่อย่างใด

                    

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-25 05:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        5.         ตีเมืองหงสาวดีครั้งที่สอง
                                                   


                            สมเด็จพระนเรศวรทรงมุ่งหมายจะตีเอาเมืองหงสาวดีให้ได้ จึงตระเตรียมทัพยกไปทั้งทางบกและทางเรือ ได้ออกทำการเกลี้ยกล่อมหัวเมืองต่างๆ ให้อ่อนน้อมต่อไทยได้อีกหลายเมือง ส่วนเมืองตองอูกับเมืองยะไข่เมื่อเอาใจออกห่างจากกรุงหงสาวดีไปแล้วก็หันมาฝักใฝ่กับไทยสมเด็จพระนเรศวรจึงทรงรับเป็นไมตรีกับเมืองทั้งสองนั้น   สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่าทางกรุงหงสาวดีกำลังปั่นป่วนจึงเสด็จยกทัพหลวงไปตีหงสาวดี แต่ต้องไปเสียเวลาปราบปรามมอญซึ่งพระเจ้าตองอูได้ยุยงให้กระด้างกระเดื่องทางฝ่ายพระเจ้าตองอูพระเจ้ายะไข่ซึ่งกำลังล้อมเมืองหงสาวดีอยู่ พอได้ทราบข่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไปกำจัดมอญเมืองเมาะตะมะกำลังเดินทัพมาก็เกรงกลัว และแจ้งให้พระเจ้าหงสาวดีทราบ พระเจ้าหงสาวดีก็จำใจอนุญาตให้พระเจ้าตองอูยกทัพเข้าไปในเมืองหงสาวดีได้ และมอบหมายให้พระเจ้าตองอูบัญชาการรบแทนทุกประการ พระเจ้าตองอูจึงทำการกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สมบัติ รวมทั้งพระเจ้าหงสาวดีไปยังเมืองตองอู ทิ้งเมืองหงสาวดีไว้ให้กองทัพพระเจ้ายะไข่ทำการค้นคว้าทรัพย์ที่ยังเหลืออยู่ต่อไป พอพระเจ้าตองอูออกจากหงสาวดีไปได้ประมาณ 8 วัน กองทัพไทยก็ยกไปถึงเมืองหงสาวดี ครั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงทราบว่าพระเจ้าตองอูไม่ซื่อตรงตามคำมั่นที่ได้ให้ไว้ก็ทรงพระพิโรธ จึงเสด็จยกทัพตามขึ้นไปตีเมืองตองอู ได้เข้าล้อมเมืองตองอูอยู่ถึง 2 เดือนก็ไม่อาจตีหักเอาได้ เพราะเมืองตองอูมีชัยภูมิที่ดี ชาวเมืองก็ทำการต่อสู้เข้มแข็ง ประกอบกับฝนตกชุกและทัพไทยขาดเสบียงอาหาร สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพกลับคืนกรุงศรีอยุธยา

                    

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-25 05:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        4.         พระราชโอรส-ธิดา
                                                   


                            มีการกล่าวถึงพระราชโอรสในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในจดหมายเหตุสเปน ของบาทหลวงมาร์เชโล เด ริบาเดเนย์รา ที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของบาทหลวงนิกายฟรานซิสกันที่เคยพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2125 ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พ.ศ. 2139 ตรงกับต้นรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเนื้อความในจดหมายเหตุนี้ได้มีการอธิบายถึงกระบวนพยุหยาตราชลมารคของพระเจ้าแผ่นดินสยาม โดยมีเนื้อความตอนหนึ่งที่ได้กล่าวถึงพระอัครมเหสีและพระราชโอรสผู้ทรงพระเยาว์โดยเสด็จด้วย โดยบางทีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอาจมีพระราชโอรสมากกว่า 1 พระองค์แล้ว เนื่องจากในจดหมายเหตุมีการใช้คำว่า "พระราชกุมารพระองค์เยาว์ที่สุด " อย่างไรก็ตามก็มีหลักฐานเกี่ยวกับพระอัครมเหสีรวมไปถึงพระราชโอรสและพระราชธิดาน้อยมาก เนื่องจากผู้ที่เขียนจดหมายเหตุสเปนเองก็บันทึกจากผู้เห็นเหตุการณ์ที่ไม่รู้รายละเอียด รวมไปถึงพงศาวดารของพม่าที่กล่าวถึงพระราชธิดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่างผ่านๆเท่านั้นภายหลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว ราชสมบัติจึงตกแก่สมเด็จพระเอกาทศรถ

                    

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-25 05:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        3.         พระบรมราชานุสรณ์
                                                   


                            -        สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้เป็นที่สักการบูชา ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ได้โปรดให้สร้างไว้อีก พระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรยังประดิษฐานไว้เป็นที่สักการบูชา อยู่ในพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ(ปัจจุบันคือ พระที่นั่งบรมพิมาน) จนทุกวันนี้
-        ตราประจำจังหวัดของไทยที่มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดหนองบัวลำภู
-        มีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในหลายแห่งทั่วประเทศ
-        มีการนำพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราขไปตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกและค่ายทหารต่างๆ ทั่วประเทศ
-        ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีอยู่หลายแห่ง
-        วันที่ 25 มกราคมของทุกปี เป็นวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ระลึกถึงพระองค์ผู้ทรงต่อสู้อริราชศัตรูและทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะพระมหาอุปราชา และทรงกอบกู้เอกราชประกาศอิสรภาพจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

                    

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-25 05:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        2.         ราชตระกูล
                                                   


                            พระราชตระกูลในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกมีพระเชษฐภคินีคือ พระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) และเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย

                    

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้