ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3809
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

© ‡†ஜ ปถมัง ஜ†‡©

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Marine เมื่อ 2016-3-8 18:52




โบราณถือสืบกันมาว่า ปถมังเป็นคัมภีร์แรกที่ผู้ใคร่ศึกษาวิชาเวทมนตร์พึงจำเป็นต้องเรียนรู้ เพราะเมื่อเริ่มเรียนรู้สูตรในคัมภีร์ปถมังได้แล้ว ก็จะสามารถหัดลงเลขยันต์ต่าง ๆ ต่อไปได้

“สุอาคะโต ปัญจะปทุมมังทิสวา นะโมพุทธายะวันทะนังฯ”

คัมภีร์ปถมังเริ่มแรกด้วยการทำพินทุ คือแววกลม ถือเป็นปฐมกำเนิด จากนั้นจึงแตกเป็นทัณฑะ เภทะ อังกุ และสิระตามลำดับ สำเร็จเป็นนะปถมังพินทุ เวลาทำใช้แท่งดินสอพองเขียนลงบนกระดานชนวน มีการเรียกสูตรบริกรรมคาถากำกับตลอด จนสำเร็จเป็นนะปถมัง มีการนมัสการและเสกตามลำดับ ขณะทำมีขั้นตอนและวิธีการที่สลับซับซ้อนพิสดารมาก ผู้สนใจควรศึกษาจากคัมภีร์ปถมังโดยตรง เนื้อหาของคัมภีร์ปถมังนี้มีทั้งสิ้น ๙ วรรค หรือ ๙ กัณฑ์ แต่ละกัณฑ์เป็นวิธีการทำผงเพื่อฝึกจิตอย่างพิสดารต่างกันไป โดยทุกวรรคหรือทุกกัณฑ์จะเริ่มต้นด้วยนะปถมังพินทุ จากนั้นจะแยกแยะไปเป็นอุณาโลม อุโองการ องค์พระภควัม หัวใจพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ฯลฯ ต่างกันไปในแต่ละวรรค แต่ทุกวรรคจะจบที่สูญนิพพาน คือ นิพพานัง ปรมัง สุญญัง เหมือนกันทั้งสิ้น ขณะทำผู้ทำจะใช้จิตเพ่งอักขระ มือเขียน พร้อมบริกรรมคาถาอย่างต่อเนื่องจนจิตสงบเป็นเอกัคคตาสมาธิ เมื่อจบสูตรแล้วจึงเอามือลบอักขระบนกระดาน กล่าวกันว่าหากจิตเป็นสมาธิแน่วแน่ ผงดินสอพองบนกระดานชนวนนั้นบางทีก็จะร่วงหล่นหรือทะลุลอดแผ่นกระดานลงไปอยู่เบื้องล่างได้ เรียกว่า  ผงปัดตลอด หรือ  ผงทะลุกระดาน เป็นของวิเศษมีอานุภาพยิ่งนัก โดยเฉพาะปถมังวรรคที่ ๙ ซึ่งเป็นวรรคสุดท้ายที่นับว่าพิสดารและสำคัญมาก ด้วยการทำถึงขั้นมหาไวย มหาเมฆ มหานิล มหาคลาด มหาแคล้ว มหาอุทัย จนถึงมหาราพย์น้อยใหญ่ จะมีอานุภาพอภินิหารมาก ตามตำนานในวรรณคดีเล่าว่าขุนแผนก็เป็นผู้ที่สำเร็จปถมังวรรค ๙ นี้ ซึ่งผู้สำเร็จจะเรืองวิทยาคมมีความอยู่ยงคงกระพันจนถึงล่องหนหายตัวได้



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-8 18:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Marine เมื่อ 2016-3-8 18:53

ซึ่งสะท้อนภาพวิถีชีวิตในสังคมไทยโบราณไว้หลายประการ รวมถึงการศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตรไทยแต่ครั้งก่อน ที่นอกจากจะศึกษาวิชาทางหนังสือแล้วยังต้องฝึกหัดวิชาทางจิตควบคู่ไปด้วยกัน และวิธีการฝึกจิตด้วยการหัดลงผงนี้ก็คงเป็นสิ่งที่มีปรากฏอยู่ไม่น้อยในสังคมไทยยุคก่อน
“ทั้งขอมไทยได้สิ้นก็ยินดี เรียนคัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์”



การทำผงนั้นเป็นการหัดทำสมาธิขั้นแรกอย่างเอกอุ กระทำพร้อมกันทั้งองค์ ๓ คือทางกาย ใช้มือขีดเขียนตัวอักขระลงไป พร้อมกับทางวาจา ซึ่งบริกรรมท่องบ่นสูตรและคาถาที่ทำต่าง ๆ ไปพร้อมกับอาการกิริยาที่เขียน ทางใจก็ต้องสำรวมควบคุมเพ่งเล็งตัวอักษรมิให้เขียนผิดพลาด...นับว่าเป็นเครื่องล่อในการหัดทำสมาธิเป็นอย่างดี เพราะมิใช่แต่จะเขียนอย่างเดียว พอเขียนเสร็จบังเกิดขึ้นแล้ว ก็ลบเสียบังเกิดเป็นขึ้นใหม่ต่อไปอีก เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปฉะนี้สลับกันไป จนท้ายที่สุดถึงองค์พระและลบเข้าสู่สูญนิพพาน..." ผงปถมังนี้เมื่อทำตัวนะปถมังสำเร็จแล้ว ต่อมาคือฝึกหัดเพ่งจนเกิดเป็นนิมิตในลักษณะอย่างอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต เพราะโดยแก่นแท้แล้วหลักการทำผงของไทยโบราณก็คือการฝึกสมาธิที่ประยุกต์ขึ้นตามแนวทางของสมถกรรมฐาน ซึ่งหากพิจารณาให้ถ่องแท้จึงจะเห็นถึงหลักไตรลักษณ์ ในความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ดังเช่นผงที่กำเนิดขึ้นและลบดับสู่นิพพานไปบนกระดานชนวนนั่นเอง
ตามตำรากล่าวว่า อานุภาพของผงปถมังหนักไปทางด้านอิทธิฤทธิ์ อยู่ยงคงกระพันชาตรี จังงังกำราบศัตรูหมู่ปัญจามิตร สะกดทั้งมนุษย์และสัตว์ให้ตกอยู่ในอำนาจ และเป็นกำบังล่องหนหายตัว ถึงทางเมตตามหานิยมก็ใช้ได้เหมือนกัน ใช้ผสมทำเครื่องรางมหาเสน่ห์ เมื่อพกพาติดตัวทำให้อยู่ยงคงกระพัน หรือนำผงทาตัวเป็นล่องหนกำบังหายตัวได้ โบราณาจารย์ได้กล่าวอุปเท่ห์สืบต่อกันมาว่า อันผงปถมังที่ทำถึงเพียงองการมหาราพน้อยใหญ่นั้น ถ้าเอาผงนั้นไปโรยใส่เข้าที่ไหน เช่น โรยใส่ใต้ถุนบ้านเรือน มิช้านานบ้านเรือนนั้นจะยุบหายกลายเป็นป่าไป ถึงบ่อน้ำที่มีน้ำเต็มเมื่อเอาผงปถมังโรยเข้ามิช้าน้ำก็จะถึงกับแห้งเหือดหายไป ถ้านำไปทาที่เสาเรือนใครอาจทำให้คนบนเรือนถึงกับเป็นบ้าได้ เมื่อทำผงสำเร็จถึงสูญนิพพานแล้วตำราให้นำเครื่องยามาผสมปั้นแท่ง มีกฤษณา กะลำพัก ขอนดอก จันทน์ทั้งสอง ชะมด พิมเสน เป็นอาทิ โบราณนิยมนำผงปถมังมาผสมทำพระเครื่องราง พระเครื่องที่มีชื่อเสียงหลายสำนักก็สร้างขึ้นโดยมีส่วนผสมของผงชนิดนี้ หรือนำผงไปผสมหมึกสำหรับสักยันต์ที่กระหม่อมตามความเชื่อว่าจะทำให้อยู่ยงคงกระพัน
ปถมังแต่เดิมมีอยู่หลายตำรับ แต่ละตำรับอาจมีวิธีการทำแตกต่างกันไปไม่เหมือนกัน โดยหลักแล้วคือเริ่มที่ทำตัวนะ เมื่อสำเร็จเป็นนะพินทุแล้วก็อาจแยกออกไปหลายแบบ เป็นคัมภีร์ปถมังภาณวาร ปถมังองควิฏฐาร หรือตำรับอื่น ๆ ที่มีวิธีการต่างกันไปอีกก็ได้ ปถมังเป็นความเชื่อโบราณของไทยซึ่งปัจจุบันหาผู้ทึ่สืบทอดความรู้ในวิชานี้ไว้ได้มีอยู่น้อยมาก
เครดิต : อาจารย์นุ แสนเข็ม หางดง-จอมทอง


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้