ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1742
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-4-17 08:27

จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม


การที่มนุษย์ได้พัฒนาตนเองจากความเป็นสัตว์โลกที่ป่าเถื่อนและเห็นแก่ตัวมาเป็นสัตว์สังคม ทั้งยกระดับเผ่าพันธุ์เป็นสัตว์สังคมชั้นสูง และสัตว์ประเสริฐ อันเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ดำรงเผ่าพันธุ์ได้อย่างแพร่หลาย ไม่สูญพันธุ์ไปเหมือนกับสัตว์บางชนิด ก็เพราะมนุษย์มีคุณสมบัติพิเศษนั่นก็คือ การมีจิตสำนึกที่ดีเพื่อส่วนรวม


                จิตสำนึกเพื่อส่วนรวมโดยทั่วไปนั้น หมายถึง ..

การมีความรับผิดชอบต่อสังคมหรือการให้ความสำคัญกับส่วนรวม หรือสิ่งอันเป็นสาธารณะสมบัติ เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร ทางสาธารณะ สวนสาธารณะ ไฟฟ้าสาธารณะ ทางหลวง ตลอดจนของหลวงและประเทศชาติบ้านเมือง เป็นต้น ไม่เห็นแก่ตัวทำลายล้างให้จนเสียหายเสื่อมโทรม สูญสิ้น

ในทัศนะของพระพุทธศาสนานั้น จิตสำนึกเพื่อส่วนรวมหมายถึง..

จิตที่ประกอบด้วยความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล หรือความคิดที่มุ่งที่จะทำแต่ประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่ตนและผู้อื่น
ตลอดจนสาธารณะทั่วไป

โดยมีเมตตาจิต (ปรารถนาดี)

และกรุณาจิต (ความคิดร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหา) เป็นพื้นฐาน

ผู้ที่ปลูกจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมให้เจริญงอกงามในจิตใจได้มากเพียงใด
ย่อมสามารถแก้วิกฤตปัญหาความเห็นแก่ตัว ทำให้เป็นคนเสียสละ อุทิศตนทุ่มเททำงาน
เพื่อผลประโยชน์ต่อส่วนรวม ได้มากเพียงนั้น


                การปลูกจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ตามวิถีแห่งพุทธธรรม แนวทางหนึ่งก็คือ การประพฤติปฏิบัติตาม “หลักสังคหวัตถุธรรม หรือ หลักแห่งการสงเคราะห์ ๔ ประการ” กล่าวคือ...


                ๑. ทาน คือการให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละ แบ่งปันสิ่งของ ตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการแย่งอาหารกันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันสังวาส และแย่งอำนาจกันครอบครอง ในสังคมส่วนรวมได้

                ๒. ปิยวาจา การกล่าวคำสุภาพ ไพเราะอ่อนหวาน สมานไมตรี และคำที่มีแต่ประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความรักความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง การโต้เถียง บาดหมาง และการทะเลาะวิวาทในหมู่คณะได้

                ๓. อัตถจริยา การขวนขวายช่วยเหลือกิจการของหมู่คณะ ดูแลรักษาสาธารณะสมบัติของส่วนรวม และบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์

                ๔. สมานัตตตา ประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะและภาวะที่ดำรงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกของสังคมให้ถูกต้องสมบูรณ์


                มีการกล่าวว่า..

“วัตถุยิ่งเจริญ คนยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น”


วิกฤตปัญหานี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยการ
ปลูกจิตสำนึกที่ดีเพื่อส่วนรวม โดยยึดคติที่ว่า...

“อยู่เพื่อตัว อยู่แค่สิ้นลม แต่ถ้าอยู่เพื่อสังคม จะอยู่ชั่วฟ้าดินสลาย




                การช่วยเพื่อนเหมือนช่วยเราเอง                     เมื่อจิตเพ่งเล็งช่วยทวนสหาย
                ย่อมลดความเห็นแก่ตัวลงมากมาย                  ทุกทุกรายอย่าเขวี้ยงขว้างช่างหัวมัน


ที่มา..
http://life1081009.blogspot.com
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้