ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 8104
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องน่ารู้ของสุนทรภู่

[คัดลอกลิงก์]
10 เรื่องน่ารู้ของสุนทรภู่




                                เนื่องในวันนี้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของประเทศไทย นั่นก็คือวัน “วันสุนทรภู่” ทีมงาน toptenthailand ไม่รีรอที่จะนำหัวข้อที่น่าสนใจมาให้ชมกันใน 10 เรื่องน่ารู้ของสุนทรภู่                                                                       

                                                ที่มา : เครดิต : คุณชายสิบหน้า แหล่งที่มา : wikipedia


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-15 11:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        10. วรรณกรรมอันเป็นที่เคลือบแคลง
                                                   


                            ในอดีตเคยมีความเข้าใจกันว่า สุนทรภู่เป็นผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง แต่ต่อมา ธนิต อยู่โพธิ์ ผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีไทยและอดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้แสดงหลักฐานพิเคราะห์ว่าสำนวนการแต่งนิราศพระแท่นดงรัง ไม่น่าจะใช่ของสุนทรภู่ เมื่อพิจารณาประกอบกับเนื้อความ เปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตของสุนทรภู่ และกระบวนสำนวนกลอนแล้ว จึงสรุปได้ว่า ผู้แต่งนิราศพระแท่นดงรัง คือ นายมี หรือ เสมียนมี หมื่นพรหมสมพักสร ผู้แต่งนิราศถลาง วรรณกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่คาดว่าไม่ใช่ฝีมือแต่งของสุนทรภู่ คือ สุภาษิตสอนหญิง แต่น่าจะเป็นผลงานของนายภู่ จุลละภมร ซึ่งเป็นศิษย์ เนื่องจากงานเขียนของสุนทรภู่ฉบับอื่น ๆ ไม่เคยขึ้นต้นด้วยการไหว้ครู ซึ่งแตกต่างจากสุภาษิตสอนหญิงฉบับนี้ นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมอื่น ๆ ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นผลงานของสุนทรภู่ ได้แก่ เพลงยาวสุภาษิตโลกนิติ ตำรายาอัฐกาล (ตำราบอกฤกษ์ยามเดินทาง) สุบินนิมิตคำกลอน และตำราเศษนารี

                    

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-15 11:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        9. ความรู้และทักษะ
                                                   


                            เมื่อพิจารณาจากผลงานต่าง ๆ ของสุนทรภู่ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนนิราศหรือกลอนนิยาย สุนทรภู่มักแทรกสุภาษิต คำพังเพย คำเปรียบเทียบต่าง ๆ ทำให้ทราบว่าสุนทรภู่นี้ได้อ่านหนังสือมามาก จนสามารถนำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนทราบมาแทรกเข้าไปในผลงานได้อย่างแนบเนียน เนื้อหาหลายส่วนในงานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี ทำให้ทราบว่า สุนทรภู่มีความรอบรู้แตกฉานในสมุดภาพไตรภูมิ ทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่นำมาดัดแปลงประดิษฐ์เข้าไว้ในท้องเรื่อง เช่น การเรียกชื่อปลาทะเลแปลก ๆ และการกล่าวถึงตราพระราหู นอกจากนี้ยังมีความรอบรู้ในวรรณคดีประเทศต่าง ๆ เช่น จีน อาหรับ แขก ไทย ชวา เป็นต้น นักวิชาการโดยมากเห็นพ้องกันว่า สุนทรภู่ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีจีนเรื่อง ไซ่ฮั่น สามก๊ก วรรณคดีอาหรับ เช่น อาหรับราตรี รวมถึงเกร็ดคัมภีร์ไบเบิล เรื่องของหมอสอนศาสนา ตำนานเมืองแอตแลนติส ซึ่งสะท้อนให้เห็นอิทธิพลเหล่านี้อยู่ในผลงานเรื่อง พระอภัยมณี มากที่สุด สุนทรภู่ยังมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ หรือการดูดาว โดยที่สัมพันธ์กับความรู้ด้านโหราศาสตร์ ด้วยปรากฏว่าสุนทรภู่เอ่ยถึงชื่อดวงดาวต่าง ๆ ด้วยภาษาโหร เช่น ดาวเรือไชยหรือดาวสำเภาทอง ดาวธง ดาวโลง ดาวกา ดาวหามผี ทั้งยังบรรยายถึงคำทำนายโบร่ำโบราณ เช่น "แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์ จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง"

                    

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-15 11:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        8. ช่วงปลายของชีวิต
                                                   


                            หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร สุนทรภู่พำนักอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) มีห้องส่วนตัวเป็นห้องพักกั้นเฟี้ยมที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" เชื่อว่าสุนทรภู่พำนักอยู่ที่นี่ตราบจนสิ้นชีวิต

                    

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-15 11:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        7. กวีราชสำนัก
                                                   


                            สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 มูลเหตุในการได้เข้ารับราชการนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจแต่งโคลงกลอนได้เป็นที่พอพระทัย ทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงทรงเรียกเข้ารับราชการ แนวคิดหนึ่งว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่งกลอนในบัตรสนเท่ห์ ซึ่งปรากฏชุกชุมอยู่ในเวลานั้น อีกแนวคิดหนึ่งสืบเนื่องจาก "ช่วงเวลาที่หายไป" ของสุนทรภู่ ซึ่งน่าจะใช้วิชากลอนทำมาหากินเป็นที่รู้จักเลื่องชื่ออยู่ ชะรอยจะเป็นเหตุให้ถูกเรียกเข้ารับราชการก็ได้

                    

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-15 11:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        6. ประวัติ
                                                   


                            นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ฝ่ายบิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง เนื่องจากมีปรากฏเนื้อความอยู่ใน นิราศเมืองแกลง ถึงวงศ์วานว่านเครือของสุนทรภู่ แต่ความเห็นเกี่ยวกับตระกูลฝ่ายมารดานี้แตกออกเป็น2 ส่วน ส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวฉะเชิงเทรา และส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวเมืองเพชร แนวคิดที่ได้รับการยอมรับกันค่อนข้างกว้างขวางคือ ตระกูลฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร สืบเนื่องจากเนื้อความใน นิราศเมืองเพชร ฉบับค้นพบเพิ่มเติมโดย อ.ล้อม เพ็งแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2529

                    

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-15 11:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        5. ดัดแปลง
                                                   


                            ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร

                    

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-15 11:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        4. บุคคลสำคัญของโลก
                                                   


                            ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาติกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม

                    

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-15 11:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        3. ผลงานที่มีชื่อเสียง
                                                   


                            ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทานและเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง

                    

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-15 11:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        2. ชำนาญ
                                                   


                            สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนปการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

                    

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้