ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4049
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ลำดับการให้ผลของ"กรรม"มี ๔ อย่างคือ?

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-2-23 21:27

ลำดับการให้ผลของ"กรรม"มี ๔ อย่างคือ?





          ลำดับการให้ผลของกรรมมี ๔ อย่างคือ



๑. ครุกกรรม  ๒. อาสันนกรรม   ๓. อาจิณณกรรม  ๔. กตัตตากรรม



๑. ครุกกรรม   คือกรรมหนักมาก สามารถให้ผลแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมในช่าติที่ ๒ คือชาติหน้า กรรมอื่นๆไม่สามารถกางกั้นการให้ผลของครุกกรรมนี้ได้



      ครุกกรรมแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือครุกกรรมฝ่ายอกุศล และฝ่ายกุศล
      ครุกกรรมฝ่ายอกุศลได้แก่ ฝ่ายชั่ว ฝ่ายบาป ย่อมทำให้ปฏิสนธิในทุคติภูมิในชาติต่อไปอย่างแน่นอน คือไปเกิดในอบายภูมิ ๔ ได้แก่สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เดียรัจฉาน ภูมิใดภูมิหนึ่ง


      ครุกกรรมฝ่ายกุศลได้แก่ ฝ่ายดี ฝ่ายบุญ ย่อมให้ปฏิสนธิในสุคติภูมิในชาติต่อไปได้อย่างแน่นอน ก้อนกรวดและก้อนเหล็กเมื่อโยนลงในน้ำ ย่อมเที่ยงแท้ต่อการจมลงใต้น้ำฉันใด ครุกกรรมย่อมเที่ยงแท้ต่อการส่งผลให้ปฏิสนธิในภพชาติที่ ๒คือชาติหน้าได้ฉันนั้น



๒. อาสันนกรรม  คือการกระทำสิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ไม่ดีในเวลาที่ใกล้จะตาย หรือการระลึกถึงสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ในเวลาที่ใกล้จะตาย
      อาสันนกรรมแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายอกุศล และฝ่ายกุศล
      อาสันนกรรมฝ่ายอกุศล คือการกระทำที่ไม่ดี หรือระลึกถึงความชั่วความไม่ดีในเวลาใกล้ตาย
      อาสันนกรรมฝ่ายกุศล คือการกระทำที่ดี หรือระลึกถึงความดีที่เคยทำไว้ในเวลาใกล้ตาย


๓. อาจิณณกรรม (พหุลกรรม) คือการกระทำสิ่งที่ดีและไม่ดีอยู่เสมอๆเป็นอาจิณ สั่งสมสิ่งที่ดีและไม่ดีไว้ในสันดานของตนมากๆ หรือแม้แต่ทำกุศลหรืออกุศลไว้เพียงครั้งเดียว แต่ระลึกถึงบ่อยๆเสมอๆ ที่เป็นกุศลก็สร้างความโสมนัสยินดีให้เกิดขึ้นทุกครั้งที่นึกถึง ที่เป็นอกุศลก็สร้างความเดือดร้อนใจให้เกิดขึ้น อาจิณณกรรมนี้จัดว่าเป็นกรรมที่มีกำลัง เพราะทำซ้ำบ่อยๆ ระลึกถึงบ่อยๆ ย่อมสามารถแซงคิวกรรมอื่นที่อ่อนกำลังกว่าตน แล้วอาจิณณกรรมนี้ก็ทำหน้าที่ส่งผลปฏิสนธิได้


๔.กตัตตากรรม คือกรรมที่สักว่ากระทำไว้ หมายเอากุศลกรรมและอกุศลกรรม ที่สัตว์บุคคลได้กระทำมาแล้วในชาติก่อนๆอย่างหนึ่ง (หมายถึงเศษกรรมที่หลงเหลือจากภพอื่นๆ) และหมายเอากุศลกรรมและอกุศลกรรม ที่สัตว์บุคคลพากันกระทำในชาตินี้ ที่ไม่เข้าถึงความเป็น ครุกกรรม อาสันนกรรม และอาจิณณกรรม เป็นกรรมที่กระทำโดยธรรมดา ผู้กระทำไม่มีเจตนาที่หนักแน่น อีกทั้งสิ่งที่กระทำก็มิใช่เนื้อหาสำคัญที่จะทำ



     กตัตตากรรม คือกรรมที่นอกเหนือไปจากครุกกรรม อาสันนกรรม อาจิณณกรรม ซึ่งบุคคลทำไปด้วยอำนาจความไม่รู้ตัวหรือเผลอ ย่อมจะมีวิบาก(ผลกรรม)เกิดขึ้น เหมือนไม้แห้งถูกคนขว้างไป ย่อมลอยเปะปะไปตกที่ใดที่หนึ่งได้ฉันใด กตัตตากรรมก็ฉันนั้น ถ้ากรรม ๓ อย่างนั้นไม่มี กตัตตากรรมก็ให้วิบากในภพหน้า ภพใดภพหนึ่ง ถ้าครุกกรรมมี ครุกกรรมย่อมให้ผลปฏิสนธิก่อน ถ้าครุกกรรมไม่มี อาสันนกรรมก็จะให้ผล ถ้าอาสันนกรรมไม่มี อาจิณณกรรมก็จะให้ผล ถ้าอาจิณณกรรมไม่มีอีก กตัตตากรรมจึงจะให้ผลปฏิสนธิ


    (ที่มา    พระไตรปิฎก)
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-23 21:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-2-23 21:29

๓. อาจิณณกรรม (พหุลกรรม)

คือการกระทำสิ่งที่ดีและไม่ดีอยู่เสมอๆเป็นอาจิณ
สั่งสมสิ่งที่ดีและไม่ดีไว้ในสันดานของตนมากๆ
หรือแม้แต่ทำกุศลหรืออกุศลไว้เพียงครั้งเดียว

แต่ระลึกถึงบ่อยๆเสมอๆ ที่เป็นกุศลก็สร้างความโสมนัสยินดีให้เกิดขึ้น
ทุกครั้งที่นึกถึง ที่เป็นอกุศลก็สร้างความเดือดร้อนใจให้เกิดขึ้น

อาจิณณกรรมนี้จัดว่าเป็นกรรมที่มีกำลัง
เพราะทำซ้ำบ่อยๆ ระลึกถึงบ่อยๆ

ย่อมสามารถแซงคิวกรรมอื่นที่อ่อนกำลังกว่าตน
แล้วอาจิณณกรรมนี้ก็ทำหน้าที่ส่งผลปฏิสนธิได้





ขอบพระคุณ ทานแห่งความรู้ที่มอบให้ครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-26 14:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-2-26 14:26

อาจิณณกรรมนี้จัดว่าเป็นกรรมที่มีกำลัง
เพราะทำซ้ำบ่อยๆ ระลึกถึงบ่อยๆ


ย่อมสามารถแซงคิวกรรมอื่นที่อ่อนกำลังกว่าตน
แล้วอาจิณณกรรมนี้ก็ทำหน้าที่ส่งผลปฏิสนธิได้


7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-26 14:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-26 14:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้