ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
'พุทธะ'อยู่ที่ไหน?
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1688
ตอบกลับ: 0
'พุทธะ'อยู่ที่ไหน?
[คัดลอกลิงก์]
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-2-20 16:55
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
'พุทธะ'อยู่ที่ไหน? : วิปัสสนาบนหน้าข่าวโดยพระชาย วรธัมโม
สมัยที่ผู้เขียนบวชใหม่ๆ อยู่วัดบ้านๆ ไม่ได้เป็นวัดปฏิบัติที่เคร่งครัดอะไร ฉันวันละสองมื้อ ก่อนฉันมีการสวดบทพิจารณาอาหารเป็นภาษาบาลี ก็สวดไปแบบไม่เข้าใจ พอไปเจอหนังสือที่มีบทแปลเป็นภาษาไทยก็เข้าใจมากขึ้น รู้สึกว่าตนเองปฏิบัติได้อย่างเคร่งครัดตรงเป้าหมาย แล้วมองพระเณรรูปอื่นว่าคงไม่รู้ว่าบทพิจารณาอาหารมีความหมายว่าอย่างไร พระเณรเหล่านั้นคงเข้าไม่ถึงคำสอนเหมือนเรา
วัดที่จำพรรษาฉันวันละสองมื้อไปตามอัตภาพ ต่อมามีโอกาสไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปค้างแรมวัดป่า ฉันมื้อเดียว กลับมาวัดแล้วรู้สึกว่าเราฉันสองมื้อมากเกินไป น่าจะลดลงเหลือเพียงมื้อเดียวจะได้ดูเป็นพระขึ้นมาหน่อย ฉันมากๆ ไม่ดูเป็นพระเลย
พอไปเจอพระที่ทำ ‘เนสัชชิกังคะ’ คือ การถือไม่นอนเป็นวัตร ก็เอาอย่างบ้างเพราะเห็นเป็นของแปลกใหม่ และคิดว่าการนอนมากๆ ทำให้ดูไม่เป็นพระเพราะเอาแต่นอน
ต่อมาไปเจอการ ‘อดอาหาร’ ในทางพุทธถือเป็นความเพียรอย่างหนึ่ง ก็เอากะเขาบ้าง เขาบอกว่าเป็นเรื่องดีกับสุขภาพเพราะเป็นการล้างพิษไปด้วยในตัว
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไปเพราะอยากได้อะไรที่สูงขึ้นๆ แต่การปฏิบัติธรรมไม่ใช่อย่างนั้น ยิ่งเราปฏิบัติด้วยความอยากมากเท่าไรกลับได้ในสิ่งที่เรียกว่า ‘ความยึดติด’ ขึ้นมาแทน เพราะเราปฏิบัติด้วย ‘จิตที่ปรุงแต่ง’ จิตที่ปรุงแต่งจะนำไปสู่การเข้าถึงแก่นได้อย่างไร เพราะการเข้าถึงแก่นหมายถึง ‘การหยุดปรุงแต่ง’
ตอนที่ฉันมื้อเดียว เรายึดติดว่าตัวเราเป็นพระดี เราคิดว่าการฉันมื้อเดียวเป็นรูปแบบการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพระ แล้วมองพระที่ฉันมากกว่าหนึ่งมื้อว่าเป็นพระที่ไม่เคร่งครัดไม่เอาใจใส่ในเรื่องการปฏิบัติ
ตอนที่เราทำความเพียร ‘เนสัชชิกังคะ’ เราก็สนุกไปกับการไม่นอน แต่ร่างกายบอกว่าไม่ไหวแล้ว ในที่สุดก็พบกับความอ่อนเพลีย มีอาการตาแดง ลิ้นสากลิ้นชาฉันข้าวไม่ลง
เมื่อเราอดอาหารเพราะอยากได้ตบะ อยากได้ความเพียรเหมือนกับพระเกจิดังๆ ที่ท่านปฏิบัติกัน แต่สิ่งที่ได้คือความทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากความหิวโหย
มองย้อนกลับไปก็เป็นเรื่องตลกที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งการเข้าถึงธรรม เข้าถึงการปฏิบัติ ต้องการทำตัวเองให้ดูเป็นพระที่ดีมีภูมิธรรมที่สูงขึ้น หลายวิธีการนำไปสู่การยกตนข่มท่านว่าตนเองเป็นพระปฏิบัติแต่รูปอื่นไม่ใช่ ทำให้เข้าใจต่อมาถึงความสุดโต่งบางอย่าง
เมื่อสุดโต่งมากขึ้นก็เหมือนกับความสุดโต่งนั้นกระเด้งกลับ ทำให้เกิดปัญญาเห็นทุกข์จากการประพฤติปฏิบัติที่สุดโต่งจนเกินไป แต่การทดลองทำอะไรที่เกินพอดีหรือ ‘เยอะเกินไป’ กลับกลายเป็นประสบการณ์ตรงที่นักปฏิบัติธรรมควรผ่านการทดลองปฏิบัติบนแนวทางนี้ดู จะได้รู้ว่าทางสุดโต่ง ‘อัตตกิลมถานุโยค’ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มีลักษณะเป็นอย่างไร
ทุกวันนี้พุทธศาสนาที่สืบทอดกันมาอาจมีลักษณะบางอย่างคล้าย ‘บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป’ เราไม่ต้องคิดมากเพราะคัมภีร์บอกไว้ล่วงหน้าแล้วว่าการทำอะไรก็ตามที่ทำให้เราต้องลำบาก เป็นการกระทำที่สุดโต่งเกินไป ไมได้ทำให้เกิดสติปัญญา ภิกษุไม่ควรปฏิบัติตามทางสุดโต่งสายนั้น
ถ้าเราเชื่อตามนั้นเรากำลังพลาดโอกาสดีๆ ที่จะได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้งด้วยตนเองว่าเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงตรัสเช่นนั้น การมองเห็นอัตตกิลมถานุโยคควรเป็นสิ่งที่แต่ละคนมองเห็นด้วยตาตนเอง มิใช่เชื่อเอาอย่างง่ายดายจากคำบอกเล่าที่สืบทอดต่อกันมา
การปฏิบัติทุกแนวทางเป็นหนทางนำไปสู่การรู้แจ้ง การได้ลองผิดลองถูกถือเป็นครูที่ดี ในที่สุดเราจะค้นพบด้วยตนเองว่า ‘ทางสายกลาง’ ของเรานั้นอยู่ ณ จุดไหน ระดับไหนเหมาะสมกับตัวเราที่สุด เพราะ ‘ทางสายกลาง’ ของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน หรือถ้าจะนำแนวทางนั้นไปปฏิบัติต่อก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายหากเราค้นพบว่านี่คือทางสายกลางของเรา และถ้าแนวทางนั้นนำเราไปสู่การสร้างตบะ สร้างความเพียร สร้างบารมี ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรนักเพราะหากเราไม่สั่งสมการปฏิบัติกันเลย บารมีจะพอกพูนขึ้นมาได้อย่างไร
การปฏิบัติสุดโต่งที่ผ่านมา ผู้เขียนเองยังได้ ‘ขันติ’ คือ ความอดทน อย่างน้อยก็ทำให้มีความอดทนสูงขึ้นกับความทุกข์ทรมานจากร่างกายนี้ ต่อไปในอนาคตหากเราต้องพบเจอกับโรคภัยไข้เจ็บที่ทุกข์ทรมานเราจะอดทนได้มากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาดูว่าร่างกายของเราสามารถทนทานกับวิธีการปฏิบัติได้มากสุดในระดับไหน เพราะบางคนไม่ประมาณตน อยากได้ความอดทน อยากได้ความเพียรในระดับสูงๆ จนไม่ดูสภาพร่างกายตนเองก็สามารถทำให้เกิดผลร้ายได้เหมือนกัน เรียกว่า 'ปฏิบัติธรรมไม่สมควรกับธรรม' ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง
บนหนทางของการปฏิบัติธรรม ประสบการณ์หนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนเข้าใจลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ ตอนที่ฉันมื้อเดียว ตอนนั้นรู้สึกว่าเป็นพระมากขึ้น ในขณะที่เรามองพระรูปอื่นๆ ว่าไม่เคร่งครัดเหมือนเราและไม่ได้เป็นพระที่ดีเหมือนเรา ตรงนี้เองที่นักปฏิบัติพึงระมัดระวังจิตปรุงแต่งของตนเอง
จิตปรุงแต่งมักแฝงมากับความทะยานอยากในการปฏิบัติ เป็นความคิดปรุงแต่งเป็นตัวเป็นตนว่าฉันสูงกว่า ฉันดีกว่า ฉันเหนือกว่าคนอื่น และอาจจะยึดติดว่าตนเองเวลานี้ฉันมื้อเดียวมีความเป็นพระมากกว่าเมื่อก่อนหน้านี้ที่ฉันสองมื้อทั้งๆ ที่เป็นคนๆ เดียวกัน มันช่างเป็นอัตตาตัวตนที่มีมิติซับซ้อน ทำให้นึกถึงคำสอนของอาจารย์เซนนามว่า ‘ฮวงโป’ (มรณะ พ.ศ.๑๓๙๓) เคยกล่าวไว้ว่า
“ถ้าเธอยังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า 'จิต นั้น คือ พุทธะ' และถ้าเธอยังยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ และต่อพิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ แนวความคิดของเธอก็ยังผิดพลาด และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับการปฏิบัติที่ทำให้จิตหนึ่งหรือพุทธะแท้นั้นปรากฏตัว...
"จิตหนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธะ ไม่มีพุทธอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มแจ้งและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย การใช้จิตของเธอให้ปรุงความคิดความฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเธอละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองกับรูปธรรมภายนอกซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก”
โศลกธรรมข้างต้นของท่านฮวงโปกำลังบอกเราว่าทุกคนต่างมีจิตที่เป็น ‘พุทธะ’ กันอยู่แล้ว แต่เรามักเสียเวลาตกลงไปในหลุมพรางของการยึดติดในการปฏิบัติซึ่งเป็นการปรุงแต่งของ ‘อัตตา’ มากกว่าจะตระหนักรู้ถึง ‘จิตเดิมแท้’ ที่มีอยู่แล้ว
ไม่ว่าเราจะฉันมื้อเดียวหรือฉันมากกว่าหนึ่งมื้อ ไม่ว่าเราจะประพฤติวัตรเคร่งครัดด้วยการไม่นอนหรือด้วยการอดอาหาร หรือด้วยการพยายามทำตนให้ลำบากมากไปกว่านี้เราก็ไม่ได้มี ‘พุทธะ’ มากขึ้นหรือน้อยลง เรายังมี ‘พุทธะ’ อยู่เช่นเดิม การประพฤติวัตรเคร่งครัดเหล่านั้นเป็นเพียงหนทางของการฝึกตน
การตระหนักรู้ว่า จิต เรานั้นมีความรู้ ตื่น เบิกบาน อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว มีความสำคัญกว่าใดๆ การปฏิบัติทางสายกลางเป็นการรื้อฟื้นให้เรากลับมาตระหนักรู้ถึงสิ่งที่เรามีอยู่แล้วต่างหาก
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...