ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4523
ตอบกลับ: 11
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องน่ารู้ของ ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของประเทศไทย

[คัดลอกลิงก์]
10 เรื่องน่ารู้ของ ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7
ของประเทศไทย


                                                                                                                                                                                               


                                ครบรอบ 31 ปีการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของประเทศไทย ผู้ก่อการเปลี่ยนระบบการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่าน วันนี้ทางทีมงาน toptenthailand จึงได้รวม 10 เรื่องน่ารู้ของนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของประเทศไทยมาให้ได้ชมกันไปชมกันเลยดีกว่าค่ะ

                                                                       
                                                ที่มา : ทีมงาน Toptenthailand


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 09:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        10. ประวัติ
                                                   


                            ขอบคุณภาพจาก : www.myfirstbrain.com
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 — 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนพ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)

                    

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 09:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        9. การศึกษา
                                                   


                            ขอบคุณภาพจาก : www.pridi-phoonsuk.org
ปรีดีเริ่มเรียนหนังสือที่บ้านครูแสง ตำบลท่าวาสุกรี และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมที่โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า จากนั้นไปศึกษาชั้นมัธยมเตรียมที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย) จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดสำหรับหัวเมือง แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ต่อมาได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2463 โดยเข้าศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง (Université de Caen) จนสอบไล่ได้ปริญญารัฐเป็น "บาเชอลิเอร์" กฎหมาย (Bachelier en Droit) และได้ปริญญารัฐเป็น "ลิซองซิเอ" กฎหมาย (Licencié en Droit) ตามลำดับ ปรีดีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปารีส ในปี พ.ศ. 2469 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมดีมาก (Trés Bien) นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ปริญญาเอกแห่งรัฐ (Doctorat d'État) เป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย" (Docteur en Droit) ฝ่ายนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques) นอกจากนี้เขายังสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในสาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง (Diplôme d'Etudes Supérieures d'Economie Politique) อีกด้วย

                    

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 09:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        8. ชีวิตในวัยเยาว์
                                                   


                            ขอบคุณภาพจาก : topicstock.pantip.com
ปรีดี พนมยงค์ เติบโตในครอบครัวชาวนา ปรีดีจึงได้สัมผัสรับรู้เป็นอย่างดีถึงสภาพความเป็นอยู่และความทุกข์ยากของชนชั้นชาวนาทั้งหลายที่ฝากชีวิตไว้กับความไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศ ราคาพืชผลในตลาด และดอกเบี้ยของนายทุน นอกจากนี้ยังต้องพบกับการถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าที่ดินศักดินาที่กระทำผ่านการเก็บภาษีและการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ประสบการณ์เหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้ปรีดีคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศในเวลาต่อมา ปรีดีเมื่อครั้งเยาว์วัยเป็นเด็กหัวดี ช่างคิด ช่างสังเกตวิเคราะห์ และเริ่มมีความสนใจทางการเมืองมาตั้งแต่อายุเพียง 11 ปี จากเหตุการณ์ปฏิวัติในประเทศจีนที่นำโดย ซุน ยัตเซ็น และเหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 ในสยาม ซึ่งปรีดีได้แสดงความเห็นอกเห็นใจอย่างมากต่อผู้ที่ถูกลงโทษในครั้งนั้น ถึงแม้ว่าปรีดีจะเกิดในครอบครัวชาวนา แต่บิดาของเขาก็เป็นผู้ใฝ่รู้และเล็งเห็นประโยชน์ของการศึกษา จึงสนับสนุนให้บุตรได้รับการศึกษาที่ดีมาโดยตลอด

                    

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 09:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        7. การสมรสและครอบครัว
                                                   


                            ขอบคุณภาพจาก : www.manager.co.th
ปรีดีสมรสกับ พูนศุข ณ ป้อมเพชร์ ธิดา มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) กับ คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (สุวรรณศร) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 มีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งหมด 6 คน คือ นางสาวลลิตา พนมยงค์ ป่วยเป็นโรคประสาทและศาลแพ่งประกาศให้เป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถขณะที่นายปรีดีและภริยาพำนักอยู่ในประเทศฝรั่งเศส , นายปาล พนมยงค์ สมรสกับ นางเลิศศรี พนมยงค์ (จตุรพฤกษ์) , นางสาวสุดา พนมยงค์ , นายศุขปรีดา พนมยงค์ สมรสกับ นางจีรวรรณ พนมยงค์ (วรดิลก) , นางดุษฎี พนมยงค์ บุญทัศนกุล สมรสกับ นายชาญ บุญทัศนกุล , นางวาณี พนมยงค์ สายประดิษฐ์ สมรสกับ นายสุรพันธ์ สายประดิษฐ์

                    

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 09:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        6. หน้าที่การงานก่อนเข้าสู่การเมือง
                                                   


                            ขอบคุณภาพจาก : www.oknation.net
ปรีดีเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย (ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม"เมื่อ พ.ศ. 2471 ขณะมีอายุ 28 ปี ต่อมาใน พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการกรมร่างกฎหมาย (ต่อมาได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์พร้อมกับคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 ใน พ.ศ. 2485 และกลับไปใช้ชื่อเดิมคือ นายปรีดี พนมยงค์ ปรีดีเป็นคนแรกที่เริ่มสอนวิชา กล่าวกันว่าวิชากฎหมายปกครองนี้ เป็นวิชาที่สร้างชื่อเสียงแก่ปรีดีเป็นอย่างมาก ก็ได้อาศัยการสอนที่โรงเรียนดังกล่าว ปลุกจิตสำนึกนักศึกษาให้สนใจเป็นขั้น ๆ ถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบเดิมให้เป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังได้เปิดอบรมทบทวนวิชากฎหมายที่บ้านถนนสีลมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับนักศึกษาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมีลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมเป็นสมาชิกและผู้สนับสนุนคณะราษฎรในเวลาต่อมาหลายคน

                    

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 09:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        5. งานเขียน
                                                   


                            ขอบคุณภาพจาก : pantip.com
ปรีดีเป็นผู้ใฝ่หาความรู้ทางด้านวิทยาการต่าง ในเชิงเปรียบเทียบสภาพสังคมไทยทุกแง่ทุกมุม ผลงานงานเขียนบางส่วนของปรีดี ได้แก่ บันทึกข้อเสนอเรื่อง ขุดคอคอดกระ, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 , ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้าและ 21 ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน , ความเป็นมาของชื่อ “ประเทศสยาม” กับ “ประเทศไทย” , จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม , ประชาธิปไตย เบื้องต้นสำหรับสามัญช , ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ , ปรัชญาคืออะไร ,  “ความเป็นไปบางประการในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ใน บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ , บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎรและระบบประชาธิปไตย , ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเอกภาพของชาติและประชาธิปไตย , ความเป็นเอกภาพกับปัญหาสามจังหวัดภาคใต้, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาชาวปักษ์ใต้แห่งประเทศไทย, 2517 , อนาคตของเมืองไทยกับสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน, ประจักษ์การพิมพ์, 2518

                    

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 09:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        4. เครื่องราชอิสริยาภรณ์
                                                   


                            ขอบคุณภาพจาก : www.bloggang.com
ท่าน ปรีดี ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มากมายได้แก่ พ.ศ. 2488 -  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) รับพระราชทาน 11 ธันวาคม พ.ศ. 2488 , พ.ศ. 2488 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นสูงสุด ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) รับพระราชทาน 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488 , พ.ศ. 2484 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) รับพระราชทาน 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 , พ.ศ. 2480 -  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) รับพระราชทาน 13 ธันวาคม - พ.ศ. 2480 , พ.ศ. 2478 -  เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ รับพระราชทาน 21 เมษายน พ.ศ. 2478 , พ.ศ. 2481 - เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน รับพระราชทาน 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 , พ.ศ. 2481 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 รับพระราชทาน 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และอื่นๆอีกมากมาย นี่เป็นเพียงบางส่วนที่ท่านได้รับเท่านั้น

                    

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 09:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        3. บทบาททางการเมือง
                                                   


                            ขอบคุณภาพจาก : www.kpi.ac.th
ในปีพ.ศ. 2476 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา และในพ.ศ. 2484 ในขณะที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ พ.ศ. 2489 เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ปรีดี พนมยงค์ ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาได้ใช้ความรู้ความสามารถเจรจาต่อรองกับฝ่ายสัมพันธมิตรในปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงกับอังกฤษ เรื่องสัญญาสมบูรณ์แบบ และการเจรจาให้รัฐบาลสหรัฐยกเลิกคำสั่งเพิกถอนเงินซึ่งได้ถูกกักกันไว้ในสหรัฐ ให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขสถานะผู้แพ้สงครามได้สำเร็จอย่างละมุนละม่อม สามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 55 และในวันที่ 21 สิงหาคม 2489 ท่านก็ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง

                    

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 09:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        2. การเชิดชูเกียรติ
                                                   


                            ขอบคุณภาพจาก : nung4473.blogspot.com
วันปรีดี พนมยงค์ ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของปรีดี ในวาระครบรอบ 100 ปีชาติกาล ในส่วนของถนนประดิษฐ์มนูธรรม เป็นถนนเลียบทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์) มีความยาว 12 กิโลเมตร และอนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ ตั้งอยู่ 2 แห่งคือ บริเวณลานหน้าตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และหน้าอาคารยิมเนเซี่ยม 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต , สถาบันปรีดี พนมยงค์ มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ได้จัดสร้างอาคารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ขึ้น ณ ซอยทองหล่อ ถนนสุขุมวิท 55 สำหรับใช้ดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและราษฎรไทย และหอสมุดปรีดี พนมยงค์ เป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเนื้อที่รวมประมาณ 10,000 ตารางเมตร

                    

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้