[url=][/url][url=][/url]
[url=][/url]
[url=][/url]
"วัดที่ชาวมอญสร้างมีความแปลกประหลาดไม่เหมือนกับคนไทยทั่วไป คนจะนิยมสร้างโบสถ์หันหน้าตามการขึ้นลงของดวงอาทิตย์นิยมสร้างด้านหน้าของโบสถ์ไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังของโบสถ์จะหันไปทางทิศตะวันตก ส่วนชาวมอญนิยมสร้างโบสถ์ขวางตะวัน ตรงข้ามการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ เข้าใจว่าการสร้างโบสถ์มีลักษณะขวางตะวันของวัดเชิงท่า เพราะต้องการให้ด้านหน้าหันสู่แม่น้ำ" พระครูสุธรรมโฆษิตกล่าว
๒.พระเจดีย์ ตั้งอยู่บนลานเดียวกันกับพระอุโบสถแต่อยู่ด้านหลัง มีด้วยกันทั้งหมดสามองค์ด้วยกัน ดังนี้ เจดีย์ประธานตั้งอยู่กึ่งกลางลาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำเพรียวยาวลักษณะเจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบนี้คล้ายกับเจดีย์ของวัดอัมพวัน อ.เมืองลพบุรี ซึ่งเป็นวัดในชุมชนมอญบ้านบางขันหมาก ส่วนเจดีย์บริวารอีกสององค์เป็นเจดีย์ทำเป็นรูปดอกบัวบานรองรับองค์ระฆัง มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์วัดตองปุ (ลพบุรี) อ.เมืองลพบุรี ซึ่งสร้างขึ้นครั้งปลายสมัยอยุธยานอกจากนั้นบริเวณนอกลานพระอุโบสถด้านทิศตะวันออกยังมีเจดีย์บริวารอีก ๓ องค์ เป็นเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง เป็นเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่แพร่หลายตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์
๓.หอระฆัง หอระฆังเป็นอาคารทรงปรางค์แปดเหลี่ยม สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๔๖๒ ลักษณะจองการสร้างคือมีการเจาะช่องประตูและหน้สต่างเป็นช่องโค้งแหลม นับเป็นหอระฆังที่มีลักษณะที่แปลกและหาชมได้ยาก
|