ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6231
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ว่าว

[คัดลอกลิงก์]


ว่าวเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันดีมาตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นการละเล่นและเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของ
ประเทศ เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ราคาก็ไม่แพงมากนัก หรือถ้าสามารถทำเองได้ยิ่งประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะวัสดุที่ใช้ทำก็เป็นวัสดุพื้นบ้าน
ที่หาได้ง่าย แต่การทำต้องมีทักษะว่าวจึงจะขึ้นได้ดี เรียกว่าติดลม การเล่นว่าวมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มิได้เป็นการเล่นเพียงแต่สนุกสนาน
เหมือนกับปัจจุบันนี้เท่านั้น มีประวัติและความเป็นมาที่น่าสนใจของตำนานว่าวไทย



ประวัติและความเป็นมาของว่าวไทย
          ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ว่าวมิได้ใช้เฉพาะเพื่อความสนุกเท่านั้น แต่มีการใช้ว่าวในการสงคราม คือตอนที่พระยายมราช (สังข์)
เจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นกบฎ พระเพทราชาสั่งกองทัพไปปราบเมืองไม่สำเร็จ ในครั้งที่ 2 แม่ทัพอยุธยาคิดเผาเมืองอุบายหนึ่งนั้นใช้หม้อ
ดินบรรจุดินดำผูกสายป่านว่าวจุฬาไปถึงหม้อดินดำระเบิดตกไปไหม้บ้านเมืองจากประวัติศาสตร์ตอนนี้ปรากฏเป็นชื่อว่าวจุฬาเป็นครั้งแรก
          สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังคงเป็นการละเล่นและกีฬาที่นิยมโดยเฉพาะรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสนับสนุนกีฬาเล่นว่าว มีการประกวดและแข่งขันว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า โดยมีกติกาการแข่งขันเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การแข่งขัน
ยุติธรรมและสนุกสนาน สถานที่เล่นว่าวในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เป็นที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันคือท้องสนาม
หลวง ส่วนในต่างจังหวัดก็นิยมเล่นตามที่โล่งกว้าง หรือตามท้องนาทั่วไป ซึ่งไม่มีต้นไม้เป็นที่ขัดขวางของการเล่น และสะดวกต่อเล่น ต่อมา
ประเทศมีการพัฒนา ผู้คนมากขึ้น ทำให้สภาพในเมืองหลวงหรือตัวเมืองในจังหวัดอื่น ๆ มีชุมชนแออัด สิ่งก่อสร้างตึกรามและสายไฟต่างๆ
เป็นสิ่งกีดขวางของการเล่นว่าว ประกอบสภาพเศรษฐกิจทำให้คนต้องดิ้นรนทำมาหากิน ไม่มีจิตใจที่จะคิดสนุกสนานไปชมการเล่นว่าวได้
ดังแต่ก่อน จึงทำให้วงการกีฬาว่าวซบเซาไประยะหนึ่ง
          ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2526 ได้มีหน่วยงานทั้งราชการและเอกชนได้ร่วมมือกันฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้ง โดยการ
จัดงาน "มหกรรมว่าวไทย" ณ บริเวณท้องสนามหลวง มีการประกวดว่าวชนิดต่าง ๆ มากมาย ทั้งว่าวแผง ว่าวประเภทสวยงาม ประเภท
ความคิด และว่าวตลกขบขัน โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในงานนี้ด้วย และในปีต่อมา
คือ พ.ศ.2527 ทางกรุงเทพมหานครก็ได้จัดงานนี้อีกเรียกว่า "งานประเพณีว่าวไทย" ณ ท้องสนามหลวง และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ก็เสด็จฯเป็นองค์ประธานอีกครั้ง ส่วนสำคัญคือการประกวดว่าวภาพและการแข่งขันว่าวจุฬา กับว่าปักเป้า นอกจากนั้น
มีนิทรรศการว่าวในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้ประชาชนได้ชม และในปีต่อ ๆ มาทางกรุงเทพมหานครก็ได้จัดงานประเพณีการเล่นว่าวขึ้นทุกปีจน
ถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากประชาชนที่มาชมเป็นอย่างมาก ได้ความสนุกสนาน และเชียร์กันขณะมีการแข่งขันว่าว ณ บริเวณ
ท้องสนามหลวง
การทำว่าวจากภูมิปัญญาของคนไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน มีอยู่ 5 ประเภท
        1. การทำว่าวจากวัสดุธรรมชาติ ใช้ใบตองตึงเป็นวัสดุในการทำตัวว่าว ใบตองตึงไม่ใช่ใบกล้วยเป็นใบไม้ทางภาคอีสานในอดีตใช้ห่อ
อาหาร ลักษณะเป็นใบใหญ่ ๆ นำมาตากแห้งหรือใบไม้อื่น ๆ เช่น ใบกระบอก ใบยางแดง ใบมะม่วงหิมพานต์ หรือใบไม้ต่าง ๆ ที่มีขนาด
ใหญ่ เป็นการทำว่าวลักษณะง่าย นำใบไม้มาต่อเชือกติดหาง ซึ่งเด็ก ๆ ในชนบทภาคต่าง ๆ นิยมนำมาทำเล่นเรียกว่า ว่าวใบไม้
          2. การทำว่าวจากกระดาษธรรมดาหรือกระดาษทำว่าวขั้นตอนวิธีการทำเริ่มจากมีแบบแผนมากขึ้นวิธีการทำตัดกระดาษทำว่าวตาม
แบบ ติดกระดาษทำว่าวเข้ากับโครงว่าทำจากไม้ไผ่ ผูกซุงต่อเชือกต่อหางหรือไม่มีหางก็ได้ การทำว่าวประเภทนี้จะมีการทำแบบ การขึ้น
โครง การวัดตัดที่มีสัดส่วนสมดุลย์ เช่น ว่าวประทุน หรือว่าวกระป๋อง ว่าวอีลุ้มเป็นว่าวไม่มีหาง แต่ถ้ามีหางจะเรียกว่าว่างปักเป้ามา ว่าวหัวฉีก
ว่าวปลา ว่าวปลาปีกแอ่น ฯลฯ
          3. การทำว่าวมีลักษณะซับซ้อนมากกว่าประเภทที่ 2 ติดอุปกรณ์เสริมทำให้เกิดเสียงขณะที่นำว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้าเรียกว่า แอกหรือสะนู
หรือธนู มีลักษณะทำจากไม้ไผ่ทรงกระบอกส่วนกลางกลวงนำมาติดเข้ากับโครงว่าวบริเวณส่วนหัวของว่าว เมื่อว่าวกินลมบนท้องฟ้าจะมีเสียง
ดังแอก ๆ เสียงจะยาวหรือสั้น ดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับเทคนิคการทำแอก เช่น ว่าวควาย ว่าวนกปีหมอน ว่าวนกปีกแอ่น ว่าววงเดือน หรือที่
ประเทศมาเลเซียเรียกว่า ว่าวบูรันบูแล
          4. การทำว่าวในลักษณะแผงความเชื่อเครื่องลางของขลัง การทำว่าวรูปผีและการเล่นว่าวผีมีลักษณะไม่แตกต่างกับการเล่นว่าวชนิด
อื่น ๆ แต่แผงด้วยความเชื่อ เมื่อชักว่าวขึ้นท้องฟ้าปลิวขาดตกบนหลังคาบ้านหรือบริเวณบ้านใคร บ้านนั้นต้องมีการนิมนต์พระมาสวดหรือทำ
บุญให้ครบ 7 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าโชคร้ายหรือจะมีเรื่องไม่ดีเข้ามาสู่บ้าน ลักษณะของว่าวผีส่วนหัวเป็นหน้าผีแลบลิ้นยาว ๆ พุงโตเหมือนหนัง
ตะลุง มีแขนมีขา จะดูว่าเป็นผีตัวผู้หรือผีตัวเมียให้สังเกตที่อวัยวะเพศ มีผ้าสีแดงเรียกว่าตะปิ้งปิดบริเวณอวัยวะเพศ เอกลักษณะของว่าวทำ
ให้คนพบเห็นน่ากลัว และติดแอกเพื่อทำให้เกิดเสียงดังขึ้นเวลาชักอยู่บนท้องฟ้า
          5. การทำว่าวมีการออกแบบตกแต่งพิเศษทำให้สวยงามมีรูปร่างแปลก ๆ เช่น ว่าวแมงปอ ว่าวงู หรือว่าวประดิษฐ์อื่น ๆ เช่น ว่าวสิงห์
ของบริษัทบุญรอด ว่าวประเภทสวยงามทุกชนิด


ที่มา http://www.stou.ac.th/study/proj ... -55/page2-1-55.html
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-13 23:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปัจจุบันว่าวแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ
          1. ว่าวแผง คือว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้าง และส่วนยาว ตัวอย่างเช่น ว่าวจุฬา ปักเป้า อีลุ้ม หรือว่าวรูปสัตว์ ต่าง ๆ
          2. ว่าวภาพ คือว่าวที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษเพื่อแสดงแนวคิด ฝีมือในการประดิษฐ์ แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ 3 ชนิด
                                               ว่าวประเภทสวยงาม
                                               ว่าวประเภทความคิด
                                               และว่าวประเภทตลกขบขัน
          ว่าวแผงเท่านั้นที่นิยมนำมาคว้าหรือแข่งขันกัน ส่วนว่าวภาพจะทำสำหรับชักขึ้นอวดรูปร่างว่าวมากกว่าและนิยมชักให้ลอยนิ่งอยู่ใน
อากาศให้คนชม
ว่าวในแต่ละภาคของประเทศไทย
          ถ้าจะกล่าวถึงเอกลักษณ์ของการทำว่าวในแต่ละภาคของประเทศไทยแล้วก็ไม่ต่างกันมากนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้เล่น และ
ก็ขึ้นอยู่วัยของผู้เล่นด้วย ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็จะทำยากขึ้นมาหน่อย ว่าวไทยในแต่ละภาคของประเทศไทย แยกได้ดังนี้

ภาพจากหน่วยงานผลิตภาพถ่ายและไมโครฟอร์ม
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ภาคกลาง
          ว่าวที่เล่นกันมีรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิม คือว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวหาง ว่าวอีแพรด ว่าวอีลุ้มส่วน
รูปแบบใหม่ที่รับมาจากต่างประเทศ เช่น ว่าวงู ว่าวนกยูง ว่าวปลา ว่าวคน ว่าวผีเสื้อ
ภาคเหนือ
          ลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมมีรูปแบบที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยมีโครงทำจากไม้ไผ่ นำมาไขว้กันมีแกนกลางอันหนึ่ง และอีก
อันหนึ่งโค้งทำเป็นปีกว่าว จะไม่ใช้เชือกช่วยในการทำโครงก่อน ใช้กระดาษปิดทับโครงไม้เลยทีเดียว รูปร่างของว่าวก็คล้าย ๆ กับว่าวปักเป้า
ของภาคกลาง แต่ไม่มีหางและพู่และมีชนิดเดียว ไม่มีหลายประเภทเหมือนภาคกลาง ลักษณะของว่าวก็เปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม โดยหา
ซื้อว่าวตามท้องตลาด ซึ่งเป็นว่าวรูปแบบใหม่ ๆ คือรูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ว่าวงู ว่าวนก
ภาคตะวันออก
          ว่าวที่มีรูปแบบดั้งเดิม และรูปแบบที่เหมือนกับภาค อื่น ๆ ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม ว่าวหาง ว่าวหัวแตก ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวกระดาษ และว่าวใบ
มะกอกส่วนว่าวรูปแบบจากต่างประเทศไม่เป็นที่นิยมในภาคนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
           ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมืองกัน และว่าวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ ว่าวหาง หรือว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไปได้แก่ว่าวอีลุ้ม
(หรือว่าวอีลุ่ม) ว่าวปลาโทดโทงและว่าวประทุน บางครั้งก็มีการแข่งขันในงานบุญ เช่น บุญกุ้มข้าวใหญ่ การแข่งขันว่าวนี้ตัดสินได้หลายอย่าง
เช่น ว่าวสวย ว่าวที่ขึ้นได้สูงที่สุดหรือว่าวที่มีเสียงดังเพราะที่สุด ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานีจัดการแข่งขันว่าวเป็นกีฬาพื้นเมืองของจังหวัด
ภาคใต้
          ในภาคใต้นี้มีว่าวเล่นกันจำนวนมากโดยเฉพาะในเขตจังหวัดสงขลา มีว่าวที่มีรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ว่าวนก ว่าวนกปีกแอ่น ว่าวนกยูง
ว่าวปลาวาฬ ว่าวปลาปีกแอ่น ว่าวควาย ว่าวใบยาง และว่าวกระป๋อง หรือว่าวกระดาษ เป็นต้น ในเขตจังหวัดที่อยู่ใต้สงขลาลงไปนั้น ชาวบ้าน
นิยมเล่นว่าววงเดือนอย่างเดียว ว่าวที่มีรูปแบบอื่น ๆ ไม่นิยมประดิษฐ์กัน และที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งของภาคใต้คือ มักนิยมติดแอกหรือที่เรียก
กันว่าสะนู หรือธนู ไว้ที่ส่วนหัวของว่าว
          หากจะกล่าว ถึงว่าวไทยด้วยกันแล้ว ว่าวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ว่าวจุฬา กับว่าวปักเป้า แม้จะทำเล่นกันเฉพาะในภาคกลาง
ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นว่าวประจำชาติไทย มีลักษณะผิดแปลกแตกต่างกับว่าวของชาติต่าง ๆ อย่างสิ้นเชิง ทั้งรูปร่าง ทั้งการเคลื่อนไหวใน
อากาศ กล่าวคือเป็นว่าวที่สวยงามด้วยรูปทรงและฝีมือที่ประดิษฐ์อย่างประณีตที่สุด และสามารถบังคับให้เคลื่อนไหวได้ด้วยอาการต่าง ๆ
อย่างสง่างามและคล่องแคล่วว่องไว ด้วยสายป่านที่ชักว่าวนั้นเพียงสายเดียว ตรงข้ามกับว่าวนานาชาติ ที่มีความสวยงามที่สีสรรแพรวพราว
แต่ส่วนมากลอยลมอยู่เฉย ๆ ไม่อาจบังคับให้เคลื่อนไหวอย่างว่าวจุฬาและว่าวปักเป้าได้ ว่าวจุฬา มีลักษณะคล้ายดาวห้าแฉก มุมไม่เท่ากัน
ไม่มีหาง ผูกคอซุงที่อก ทำให้ส่ายไปมาได้ ส่วนว่าวปักเป้ารูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผูกคอซุงที่อกเช่นเดียวกัน มีหางยาวไว้ถ่วง
น้ำหนักที่มุมล่างของตัวว่าว
กติกาการแข่งขัน
          ถ้าดูจากขนาดรูปร่างแล้ว ว่าวจุฬามีขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของว่าวปักเป้า หรืออาจโตกว่าปักเป้า บางตัวมีความยาวถึง 2 เมตร ว่าว
จุฬามีอาวุธคือ "จำปา" เป็นไม้เหลาโค้งประกบติดสายป่านต่อจากคอซุงลงมา ติดประมาณ 3-5 ดอก ประโยชน์คือใช้สำหรับเกี่ยวว่าวปักเป้า
ให้ตาย แล้วจะได้ชักรอกไปกินเสีย
          ส่วนว่าวปักเป้ามี "เหนียง" เป็นห่วงป่านติดใต้คอซุงลงมา เอาไว้คล้องตัวว่าวจุฬา ในวงการแข่งขันว่าว ถือว่าว่าวจุฬาได้เปรียบกว่า
ว่าวปักเป้าโดยรูปร่างและอาวุธ กติกาจึงต้องต่อให้ว่าวปักเป้า 2 ต่อ 1
ปักเป้าจะแพ้จุฬาได้หลายกรณี เช่น
          1. จุฬาคว้าตัวปักเป้าติด และทำให้ตายคือ ปักเป้าผ่อนสายป่านไม่ได้ เพราะ "จำปา"จุฬาบีบรัดหางพาดซุงหรือสายเครื่องป่านจุฬา
          2. กินหางตัวเอง คือหางปักเป้าพันกันเอง
          3. ตัวว่าวปักเป้ากระดาษขาดมากจนว่าวเอียงสายแร่งหัวหรือปีกขาด ไม้อกหรือปีกหัก หางขาดเหลือแต่ตัวว่าวหรือตัวว่าวขาด เหลือ
แต่หางติดป่านจุฬา
          4. สายเหนียงขาด
          5. ตัวปักเป้าลอดซุงจุฬา แล้วจะยาวหรือสั้นกว่าก็ตาม
          6. ทำร้ายจุฬาจนกระดาษขาด หรือสักขาดเป็นรูโต ไม้อกหรือปีกหรือขากบหัก
          7. ป่านมัดซุงจุฬา
          8. จุฬาเข้าตาร้ายประกบติดกัน หรือเข้าเหนียง เป็นต้น
          ถ้าขณะเมื่อจุฬาพาปักเป้าไปยังไม่ถึงมือ ปักเป้าเกิดหลุดขาดลอยตามลมมาตกในเขตปักเป้าได้ ก็เป็นอันล้มเลิกกันไปในเที่ยวนั้น
จุฬาจะเอาปักเป้าเป็นแพ้ไม่ได้
          ส่วนจุฬาจะแพ้ปักเป้าเมื่อต้องติดปักเป้าตกดินกลับขึ้นอีกไม่ได้ จะตกด้วยประการใด ๆ เช่น ติดต้นไม้ตกขาดลอยติดกันไป หรือขาด
หน้ารอกมาจับได้ในเขตศูนย์ของปักเป้า ถึงแม้ว่าว่าวทั้งสองจะยังขึ้นอยู่ไม่ตกดินก็ตาม หรือแม้แต่จะแฉลบลงดินด้วยมือคนชักว่าวของจุฬา
ก็ตาม เมื่อตกลงในเขตปักเป้าแล้วก็เป็นอันต้องแพ้ปักเป้าทั้งสิ้น แต่ถ้าเมื่อก่อนจะตก ว่าวหลุดจากกันไปในอากาศโดยไม่ติดพันแต่อย่างใด
ก็เป็นอันเลิกกันไปไม่แพ้และชนะ ผู้ชมการแข่งขันว่าวสนุกสนานตรงที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ต่างเอาใจช่วยว่าวที่ตนคาดว่าชนะ มีผู้เปรียบว่าวจุฬา
ซึ่งโฉบส่ายไปมาเหมือนนักเลงโตว่าเป็นฝ่ายชาย และเปรียบว่าวปักเป้าที่ตัวเล็กและโฉบฉวัดเฉวียนว่าแม่เปรต หรือเป็นฝ่ายหญิงก็มี เวลา
แข่งว่าวจะมีการบรรเลงดนตรีไทยคือวงปีพาทย์ให้เข้ากับท่วงทำนองการต่อสู้ของว่าวจุฬาและปักเป้าด้วย เป็นที่สนุกสนานกันมากมีผู้สนใจ
ชมไม่แพ้ยามมีนักขัตฤกษ์ทีเดียว
          นั่นก็เป็นรายละเอียดของตำนานว่าวไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อเขียนของ เนื้อหาและภาพประกอบจากของรศ.ดร.ภิญโญ-
สุวรรณคีรี ในหนังสือตำนานว่าวไทย
          กล่าวได้ว่าเป็นภูมิปัญญาของคนไทย ในอดีตที่มีความคิดสร้างสรรค์อย่างแท้จริง และถ่ายทอดมาสู่คนรุ่นหลังให้ได้เห็นสามารถทำ
ตามและคิดรูปแบบใหม่ในลักษณะต่าง ๆ ของว่าวไทย นอกจากการเล่นเพื่อความสนุกสนานแล้ว สิ่งสำคัญคือมีความสมัครสมานสามัคคี
ของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น ตลอดจนร่วมกันสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของไทยสืบ
ที่มา http://www.stou.ac.th/study/proj ... -55/page2-1-55.html
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-13 23:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

เที่ยวชม งานประเพณีแข่งว่าวนานาชาติ จังหวัดสตูล
การเล่นว่าวในประเทศไทย มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา โดยจังหวัดสตูลเป็นพื้นที่ที่ประชาชนนิยมเล่นว่าวกันเป็นจำนวนมาก และพัฒนารูปของว่าวเป็นชนิดต่าง ๆ โดยมีการคิดค้นว่าวพิเศษประจำถิ่นคือ “ว่าวควาย” ต่อมาจังหวัดสตูลได้พัฒนานำว่าวมาจัดเป็นการแข่งขันโดยใช้พื้นที่บริเวณสนามบินจัดแข่งขัน และในโอกาสปีมหามงคล 2555 ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันว่าวประเภทขึ้นสูง ประเภทเสียงดังกังวาน ประเภทสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ รวม 4 รางวัล นอกจากนี้ จะมีการแข่งขันว่าวประเภทขึ้นสูง เสียงกังวาน สวยงาม ว่าวความคิดสร้างสรรค์ ว่าวมาราธอน ว่าวพื้นเมือง (ว่าวควาย)
สำหรับจุดเด่นของ งานประเพณีแข่งว่าวนานาชาติ จังหวัดสตูล ครั้งที่ 32 คือ การปล่อยว่าวเฉลิมพระเกียรติเนื่องในปีมหามงคล ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงพระชนพรรษา 80 พรรษา โดยมีการปล่อยว่าวจำนวน 8,000 ตัวในเวลาเดียวกัน ในวันเปิดงาน และการแสดงว่าวกลางคืนที่หาดูยาก
กิจกรรมพิเศษอื่น ๆ ภายในงานประกอบด้วย การจัดแสดงว่าวจากคณะแสดงว่าวนานาชาติที่ตอบรับเข้าร่วมงานมากถึง 18 ประเทศ ได้แก่ประเทศ แคนาดา จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย เยอรมัน ฮอร์แลนด์ อิตาลี่ ญี่ปุ่น คูเวต เลบานอน มาเลเซีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ สวิสเซอร์แลนด์ ใต้หวัน สหรัฐอเมริกา เวียดนาม รวมทั้งการร่วมแสดงว่าวจากชมรมว่าวต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น ชมรมว่าวบุรีรัมย์ ชมรมว่าวสนุก Sky Kite ชมรมว่าววัดพระศรีอารย์ นอกจากนี้ยังมีการประกวด Miss Satun เทศกาลอาหารสยามอันดามัน การแสดงทางวัฒนธรรมและการแสดงของศิลปินชื่อดังต่าง ๆ ตลอดการจัดงาน


ที่มา http://www.hoteldirect.in.th/เทศกาล/สตูล/งานประเพณีแข่งว่าวนานาชาติ.html
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-13 23:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


เที่ยวชม มหกรรมว่าวอีสานบุรีรัมย์ นอนดูดาว ชมว่าวกลางคืน
ประวัติความเป็นมา ประมาณเดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปีมีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน อากาศแห้ง พืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ประกอบดับเป็นเวลาเหมาะแก่การจัดงานเทศกาลประเพณีต่างๆ ชาวอีสานส่วนใหญ่จึงถือโอกาสนี้ปล่อยว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นการแข่งขันกัน บางถิ่นยังถือว่าการเล่นว่าว เป็นการเสี่ยงทายทำนายฝนฟ้าในปีต่อไปด้วย คือ ถ้าปีใดว่าวติดลมบนตลอดคืน สม่ำเสมอก็ทายว่าปีต่อไปฝนฟ้าจะตกต้องอุดมสมบูรณ์
เพื่อเป็นการส่งเสริม ให้งานว่าวเป็นประเพณีประจำปีอีกงานหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปสู่ท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์จึงได้ริเริ่มจัด “มหกรรมว่าวอีสาน” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2529 ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยจระเข้มาก ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ประมาณ 10 กิโลเมตร
กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน ได้แก่ ขบวนแห่มหกรรมว่าวอีสาน ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอห้วยราช (ข้างม.รามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดบุรีรัมย์) , พิธีตัดกรรม (สะเดาะเคราะห์และเสริมดวงชะตาชีวิต) , การประกวดธิดาว่าวอีสาน , ชมการแสดงพื้นบ้านของหมู่บ้านว่าวและกิจกรรมนอนดูดาวชมว่าวกลางคืนและการ แข่งขันการประดิษฐ์ว่าวแอกยุวชน การแข่งขันการแกว่งแอก
ชาวอีสาน คุ้นเคยกับการเล่นว่าว มาแต่โบราณกาล เช่นเดียวกันกับประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ โดยว่าวอีสาน ที่เล่นกันในแต่ละถิ่น จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป แต่ลักษณะเด่นของว่าวอีสาน จะเป็นว่าวที่มีตัว เป็นสองห้อง จึงถูกเรียกว่า ว่าวสองห้อง หรือ ว่าวแม่ลูก เพราะ ตัวว่าวที่ห้องบนขนาด ใหญ่ จะเรียกว่า "ตัวแม่" ตัวว่าวที่อยู่ด้านล่างลงมา มีขนาดเล็กกว่าประมาณเท่าตัว เรียกว่า "ตัวลูก" หรือบ้างก็เรียกว่า เนื่องจากมี ซึ่งทำจากไม้หวาย และใบหวาย ติดที่ส่วนหัวว่าว ที่ส่งเสียงในเวลาที่ว่าวลอยติดลมบน
นอกจากนี้ตัวแอกบางครั้งก็เรียก ดังนั้น จึงจะได้ยินชื่อเรียก ของภาคอีสาน หลายชื่อ ไม่ว่า จะเป็นว่าวแอก ว่าวสองห้อง ว่าวธนู หรือว่าวแม่ลูก ซึ่งเป็นชื่อถิ่นของชาว บุรีรัมย์ที่เรียกกัน
สำหรับการเล่นว่าวทางภาคอีสานนั้น จะเป็นช่วงฤดูสั้นๆ ประมาณ 1 - 2 เดือน ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม เพราะมีลมมรสุมพัดผ่าน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ลมบน และต้องเล่นว่าวในยามค่ำคืน ในช่วงเวลา ตั้งแต่ 5 โมงเย็น เรื่อยไปจนถึงสว่างประมาณ ตี 5 หรือ 6 โมงเช้า ลมว่าวก็จะหมดลง ว่าวก็ตกลงมา
การเล่นว่าวของคนอีสาน มีความเชื่อมโยงกับความเชื่อ การพยากรณ์ การเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ ของพืชพันธ์ธัญญาหาร โดยเชื่อว่า หากปีใดว่าวขึ้นสูง ติดลม บนได้ตลอดทั้งคืน จะพยากรณ์ว่าปีหน้า ฟ้าฝนจะดี ข้าว ปลา อาหาร จะบริบูรณ์ ส่วนชาวไทยเชื้อสายเขมร โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ เชื่อกันว่า การชักว่าวขึ้นให้ติดลม และเสียงของแอก ที่โหยหวน มีความหมาย ว่า เป็นการสร้างกรรม ดังนั้น เมื่อเลิกเล่น จึงนิยมตัดว่าวทิ้ง ถือว่า เป็นการตัดเวรตัดกรรมออกไป หรือ เป็นการสะเดาะเคราะห์ โดยมีการผูกข้าวปลาอาหาร ให้ล่องลอยไปกับตัวว่าว


ที่มา http://www.hoteldirect.in.th/เทศกาล/บุรีรัมย์/มหกรรมว่าวอีสานบุรีรัมย์-นอนดูดาว-ชมว่าวกลางคืน.html
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-13 23:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


งานเทศกาลว่าวไทยและว่าวนานาชาติ จังหวัดเพชรบุรี
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับจังหวัดเพชรบุรี , กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ค่ายนเรศวร) , กองกำกับการ 1 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายพระรามหก) , สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมนักบินว่าวประเทศไทย กำหนดจัด งานเทศกาลว่าวไทยและว่าวนานาชาติ ณ ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
งานเทศกาลว่าวไทยและว่าวนานาชาติ จัดขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่เป็นเอกลักษณ์และมรดกของ ชาติสู่ระดับนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดกระแสการเดินทางท่องเที่ยวชาวไทยในช่วง เดือนมีนาคม ภายใต้แนวคิด “หรรษา กีฬา ดนตรี” ตามโครงการ “เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน” และการจัดงานยังช่วยให้เกิดการกระจายรายได้สู่ภูมิภาคในพื้นที่ จัดงานและบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดแสดงนิทรรศการและการแสดงว่าวไทย 4 ภาค การแสดงว่าวนานาชาติ , การแข่งขันว่าวจุฬา - ปักเป้า ว่าวจุฬาส่ายเร็ว , การแสดงว่าวผาดโผนประกอบดนตรี , ประกวดการประดิษฐ์ว่าวสร้างสรรค์ , การแสดงว่าวบินกลางคืน , ว่าววิทย์ Kid สนุก , ระเบียงว่าวเล่าภาพ , ลมศิลป์ , เล่นกับลม เรียนรู้การประดิษฐ์ว่าวด้วยตัวเอง , ตลาดนัดว่าว นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริม ได้แก่ กิจกรรม Kite Clean sea การแสดงเครื่องเล่นบังคับวิทยุ กิจกรรมเครื่องเล่นประหยัดพลังงาน และกิจกรรมแรลลี่ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ อ.ชะอำ และภายในงานยังมีการจัดประกวดออกแบบ Wind Garden ของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในการร่วมตกแต่งและประดิษฐ์สวนศิลป์ โดยใช้ว่าวและวัสดุต่างๆเป็นองค์ประกอบ ในรูปแบบของตัวเองตามแนวคิด “ชะอำ ว่าวและรอยยิ้ม” ซึ่งการจัดกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะช่วยสร้างสีสันและสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้าชมได้เป็นอย่างมาก


ที่มา http://www.hoteldirect.in.th/เทศกาล/เพชรบุรี/งานเทศกาลว่าวไทยและว่าวนานาชาติ.html
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้