ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3636
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

"วันราตรีเสมอภาค"

[คัดลอกลิงก์]
วิษุวัต (equinox) เป็นคำศัพท์ทางดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงในขณะที่ดวงอาทิตย์ อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนของโลกจะเอนกลับไปมาได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์

เหตุการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่า "วันราตรีเสมอภาค" หมายถึงเวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวันพอดี

ดาวน์โหลด (154.64 KB)
2013-2-8 22:00




การเรียกชื่อ

ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) เกิดในวันที่ 22 หรือ 23 กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ร่วงในเขตซีกโลกเหนือ ในปี พ.ศ. 2549 ศารทวิษุวัตเกิดตรงกับ วันที่ 23 กันยายน เวลา 4:03 น. ตามเวลากรีนิช หรือเท่ากับ 11:03 น. ตามเวลาประเทศไทย

วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) เกิดในวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ ในปี พ.ศ. 2549 วสันตวิษุวัตเกิดขึ้นในวันที่ 20 เดือนมีนาคม เวลา 18:26 น เวลากรีนิช ซึ่งตรงกับเวลา 01:26 น. ของวันที่ 21 ในประเทศไทย
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปฏิทินมหาศักราช ที่วันแรกของเดือนไจตระเป็นวันปีใหม่ ตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วสันตวิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืน เทียบกับปฏิทินปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 มีนาคม (ถ้าปีใดมี 366 วัน เดือนไจตระจะมี 31 วัน ก็ให้ตรงกับ 21มีนาคม)  

ในจารึกช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กล่าวไว้ว่า....

"ทุกปี สิ่งเหล่านี้ควรถือเอาจากคลังของพระราชาสามเวลา แต่ละอย่างควรให้ในวันเพ็ญ เดือนไจตระ และพิธีสารท ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ"




3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อาณาจักขอมใช้ปฏิทิน “มหาศักราช” ซึ่งรับมาจากอินเดีย ปฏิทินฉบับนี้กำหนดให้เดือนแรกของปี ชื่อว่าเดือน “ใจตระ” ตรงกับ “ราศีเมษ” ปฏิทินมหาศักราชมีที่มาจากยุคของชาวอารยันเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว ในครั้งนั้นราศีเมษตรงกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ “วสันตวิษุวัต” กลางวันเท่ากับกลางคืนและเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ

ปราสาทขอมที่ประเทศกัมพูชาส่วนใหญ่หันหน้าเข้าหา “วสันตวิษุวัต” มุมกวาด 90 องศา มีเพียงส่วนน้อยที่หันหน้าเข้าหา “ราศีเมษ” ได้แก่ Banteay Kdei และ Banteay Chamar ส่วนปราสาทขอมในประเทศไทยมีจำนวนมากที่หันหน้าเช้าหา “ราศีเมษ” เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ปราสาทนางรำ จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์ ปราสาดุม จังหวัดสกลนคร ขณะเดียวกันปราสาทขอมอีกจำนวนหนึ่งก็หันหน้าเข้าหา “วสันตวิษุวัต” เช่น ปราสาทนารายณ์เจงเวง ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร ปราสาทสะด๊อกก๊อกทม จังหวัดสระแก้ว ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ อย่างไรก็ตามไม่ว่าปราสาทเหล่านั้นจะหันหน้าเข้าหา “ราศรีเมษ” หรือ “วสันตวิษุวัต” พวกเขาออกแบบและก่อสร้างอย่างมีความหมายในเชิงความเชื่อและศาสนาทั้งสิ้น   




ปราสาทบายน (Bayon) แม่แบบศิลปะของปราสาทในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถูกออกแบบให้หันหน้าเข้าหาตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวัน “วสันตวิษุวัต” ทำมุมกวาด 90 องศา (Azimuth 90 degree
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


จากหลักฐานทางดาราศาสตร์ที่พบบนปราสาทพนมบาเค็ง สอดคล้องกับปฏิทินมหาศักราช ซึ่งใช้ข้อมูลปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เป็นตัวกำหนดวัน แสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้สร้างมีเจตนาให้ตัวปราสาททำมุมกับดวงอาทิตย์ในวันสำคัญคือ "วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox) ซึ่งหมายถึงวันแรกของเดือนไจตระ ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มีนาคม เพื่อให้พราหมณ์ได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีราชาภิเษก


อ้างอิงแหล่งข้อมูล : http://www.yclsakhon.com/index.p ... le&Id=539369354
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้