ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4431
ตอบกลับ: 11
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 อันดับสุดยอดนักรบในประวัติศาสตร์

[คัดลอกลิงก์]
10 อันดับสุดยอดนักรบในประวัติศาสตร์
10. Richard I (ลิชาร์ดใจสิงห์)



พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (8 กันยายน พ.ศ. 1700 – 6 เมษายน พ.ศ. 1742) ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ
ระหว่างปี พ.ศ. 1732 ถึง พ.ศ. 1742 มักจะถูกเรียกพระนามว่า ริชาร์ดใจสิงห์ (Richard the Lionheart)

เนื่องจากในสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษในหมู่ชาวชนบท และในวรรณกรรมก็มักจะกล่าวถึงพระองค์ในแง่นั้น
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษทรงมีพระชนม์ชีพตรงกับต้นสมัยอาณาจักรเชียงแสน
หรือก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยประมาณ 100 ปี

ริชาร์ดใจสิงห์เป็นโอรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายองค์ที่สามของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษดังนั้นจึงไม่เคยคิดเลยว่า
จะได้ขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ทรงเป็นโอรสคนโปรดของพระมารดา คือพระนางเอเลเนอร์แห่งอากีแตน ผู้มีเชื้อสายฝรั่งเศส
และเป็นหนึ่งในสตรีผู้มั่งคั่งที่สุดในยุโรปสมัยยุคกลาง



ริชาร์ดเป็นโอรสองค์เล็กร่วมพระมารดาเดียวกันกับมารี เดอ ชองปาญจ์ และ อเล็กซิส แห่งฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นพระอนุชา
ของวิลเลียม เค้าท์แห่งปัวติเยร์ เฮนรียุวกษัตริย์ และ มาทิลดา แห่งอังกฤษ เป็นพระเชษฐาของจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี
เลโอนอรา แห่งอากิเตน โจอาน ปลองตานเนต์ และ จอห์น แห่งอังกฤษ แม้ว่าจะประสูติที่พระราชวังโบมอนต์ เมืองออกซ์ฟอร์ด
ประเทศอังกฤษ

ไม่นานต่อมา พระองค์ได้ถือเอาฝรั่งเศสเป็นประเทศบ้านเกิด เมื่อพระมารดาและพระบิดาแยกทางกันอย่างเป็นทางการ พระองค์
ได้อยู่ในการดูแลของพระมารดา และได้รับการแต่งตั้งจากพระนางให้เป็นดัชชีแห่งแคว้นอากิเตนในปีค.ศ. 1168 และแห่งแคว้นปัวติเยร์
ในปีค.ศ. 1172 อันเป็นรางวัลปลอบใจให้เนื่องจากเฮนรียุวกษัตริย์พระเชษฐาได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฏราชกุมารในระยะเวลาพร้อมๆกัน
ริชาร์ดและจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี พระเชษฐาได้เรียนรู้ที่จะปกป้องมรดกของตนเองตั้งแต่วัยรุ่น พระองค์เป็นผู้มีการศึกษาดี
สามารถแห่งบทกวีเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาโปรว็องซ์



พระองค์ยังทรงมีรูปร่างหน้าตาดี ผมสีทอง ตาสีฟ้า สูงประมาณหกฟุตสี่นิ้ว (193 เซนติเมตร) โดดเด่นในกิจกรรมทางการทหาร
และความสามารถทางการเมืองและการทหารต้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับการยกย่องว่ากล้าหาญและเด็ดเดี่ยว และสามารถควบคุมบุคคลชั้นสูง
ที่ไม่มีผู้ปกครองได้ในเวลาอันรวดเร็ว เช่นเดียวกับโอรสอีกสองพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ริชาร์ดไม่ค่อยนับถือพระบิดาเท่าใดนัก
อีกทั้งยังขาดวิสัยทัศน์ และความรับผิดชอบ ในปีค.ศ. 1170 เฮนรียุวกษัตริย์ ได้ขึ้นครองราชบังลังก์อังกฤษและทรงพระนามว่า
พระเจ้าเฮนรีที่ 3 นักประวัติศาสตร์จะเรียกพระองค์ว่า "เฮนรียุวกษัตริย์" เพื่อไม่ให้สับสนกับกษัตริย์องค์ต่อมาที่เป็นหลานของพระองค์
และทรงพระนามว่าเฮนรีเช่นกัน

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-8 22:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
9. Spartacus



สปาร์ตาคุส (ประมาณ พ.ศ.423-473 หรือเท่า 120-70 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นชื่อของทาสชาวธเรส (Thrace)
ที่ถูกขายให้เป็นนักต่อสู้กับสิงโต (แกลดิเอเตอร์) อยู่ในอาณาจักรโรมันโบราณ สปาร์ตาคุสเป็นผู้นำการลุกฮือของทาส
ที่เมืองคาร์ปัวน์ เมื่อ 73 ปีก่อนคริสตกาล และรวบรวมทาสชนชาติต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก



ก่อการกบฏเอาชนะกองทัพโรมัน บุกขึ้นไปทางเหนือจนถึงดินแดนกอล ทางตอนเหนือของอิตาลี ต่อมากองทัพของพวกกบฏ
พ่ายแพ้ให้แก่กองทัพโรมันซึ่งนำโดย มาร์คัส ลิสินัส คราสซุส ทาสที่ถูกจับได้ถูกนำไปตรึงบนไม้กางเขนเพื่อเป็นการประจาน
ไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง เรื่องราวของสปาร์ตาคุส ถูกนำมาสร้างเป็นบัลเลต์ ความยาว 3 องกฺ์ ประพันธ์ดนตรีโดย อะราม คาชาเตอร์ยัน
แสดงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499 และนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์มหากาพย์ เมื่อ พ.ศ. 2503 กำกับโดย สแตนลีย์ คูบริก
รับบทสปาร์ตาคุส โดย เคิร์ก ดักลาส






3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-8 22:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
8. Saladin



ศอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ หรือที่ชาวตะวันตกเรียกว่า ซาลาดิน มีชื่อภาษาอาหรับเต็มว่า ศอลาฮุดดีน ยูซุฟ อิบนุอัยยูบ
บางครั้งก็ถูกเรียกว่า อัลมาลิก อัลนาศิร ศอลาฮุดดีน ยูซุฟ เกิดเมื่อ ค.ศ.1137 ในตำบลติกรีต (ปัจจุบันอยู่ในอิรัก)
และเสียชีวิตในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1193 ที่เมืองดามัสคัส

เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ปกครองมุสลิมผู้มีชื่อเสียงที่สุดและเป็นสุลต่านมุสลิมผู้ปกครองอียิปต์ ซีเรีย เยเมนและปาเลสไตน์
และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์อัยยูบีย์ ในสงครามต่อต้านการรุกรานของนักรบครูเสด ศอลาฮุดดีนประสบความสำเร็จในขั้นสุดท้าย
ด้วยการยึดเมืองเยรูซาเลมกลับคืนมาได้ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 ซึ่งทำให้การยึดครองของพวกแฟรงค์
เป็นเวลา 88 ปีต้องสิ้นสุดลง

ศอลาฮุดดีนเกิดในครอบครัวชาวเคิร์ด ในคืนที่เขาเกิด นัจญ์มุดดีน อัยยูบ พ่อของเขาได้รวมคนในครอบครัวเดินทาง
ไปยังเมืองอาเล็ปโปเพื่อไปรับใช้อิมาดุดดีน ซางกี ผู้ปกครองชาวเติร์กที่มีอำนาจในซีเรียตอนเหนือ เขาเติบโตในเมืองบะอัลบัก
และดามัสคัส แต่ในตอนเริ่มแรกนั้นศอลาฮุดดีนให้ความสนใจในเรื่องของศาสนามากกว่าการฝึกฝนทางทหาร เขาเริ่มต้นอาชีพ
อย่างเป็นทางการเมื่อได้เข้าไปเป็นเจ้าหน้าที่ของอะซัดดุดดีน ชิรกูห์ ลุงของเขาซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารคนสำคัญของเจ้าชายนูรุดดีน
ลูกชายและทายาทผู้สืบอำนาจต่อจากซางกี

ศอลาฮุดดีนได้ประสบการณ์ในการรบระหว่างการเดินทางออกศึกสามครั้งยังอียิปต์ภายใต้การนำของชิรกูห์เพื่อป้องกันการรุกราน
ของพวกครูเสด เขาจึงมีนโยบายส่งเสริมให้มีการเติบโตและแพร่ขยายสถาบันต่าง ๆ ของมุสลิม เขาให้การอุปการะนักวิชาการ
และนักเผยแผ่คำสอนอิสลาม ก่อตั้งวิทยาลัยและมัสญิดสำหรับคนเหล่านั้นและแนะนำให้บรรดานักวิชาการเขียนงานวิชาการออกมา
โดยเฉพาะเรื่องการญิฮาด ฟื้นฟูขวัญกำลังใจและสร้างความเชื่อมั่นให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน

ศอลาฮุดดีนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนดุลอำนาจทางทหารให้เขาเป็นฝ่ายได้เปรียบ โดยการที่เขาสามารถรวบรวมและจัดระเบียบ
กองกำลังที่ไร้ระเบียบวินัยมากกว่าการที่จะใช้เทคนิคใหม่ ๆ ทางทหาร ในที่สุด เมื่อกำลังทหารของเขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับกองทัพครูเสด

ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1187 ศอลาฮุดดีนก็สามารถทำลายกองทัพของพวกครูเสดได้ที่ฮัตตีนใกล้กับทะเลสาบไทเบเรีย
ในปาเลสไตน์ตอนเหนือ สงครามครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้แก่พวกครูเสดอย่างหนัก จนกองทัพมุสลิมสามารถเข้ายึดราชอาณาจักร
เยรูซาเล็มได้เกือบทั้งหมด เมืองอัคเร, โตรอน, เบรุต, ไซดอน, นาซาเร็ธ, ซีซาเรีย นะบลุส, ญัฟฟาและอัสคาลอนได้ตกเป็นของมุสลิม
ภายในสามเดือน

วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 ศอลาฮุดดีนสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่พวกครูเสด เมื่อเมืองเยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองสำคัญต่อทั้งมุสลิม
และคริสเตียนได้ยอมจำนนต่อกองทัพของเขา หลังจากที่ตกอยู่ในมือของพวกแฟรงค์มาเป็นเวลา 88 ปี ชาวเมืองเยรูซาเลมได้รับการปฏิบัติ
จากกองทัพของศอลาฮุดดีนอย่างดีและมีอารยธรรม ผิดกับเมื่อตอนที่พวกแฟรงค์เข้ามายึดครองซึ่งทำให้ชาวเมืองต้องถูกสังหารหมู่อย่างเหี้ยมโหด
ทารุณนับหมื่น ๆ คน



หลังจากที่กรำศึกมาเป็นเวลานาน ในที่สุด ศอลาฮุดดีนก็มาถึงจุดสุดท้ายของชีวิต ในขณะที่ญาติพี่น้องของเขากำลังแย่งส่วนต่าง ๆ
ของอาณาจักรกันอยู่นั้น เพื่อนของเขาก็พบว่า ผู้ปกครองที่เป็นนักรบอัจฉริยะและมีคุณธรรมในโลกมุสลิมผู้นี้ไม่ได้ทิ้งเงินทองไว้มากมาย
พอที่จะทำหลุมฝังศพให้สมศักดิ์ศรีได้ หลังจากนั้น ครอบครัวของศอลาฮุดดีนก็ยังปกครองอียิปต์และแผ่นดินใกล้เคียงต่อไปอีกไม่นาน
และในที่สุดก็ถูกพวกมัมลูกเข้ามายึดอำนาจต่อใน ค.ศ. 1250

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-8 22:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
7. Lieutenant Audie Murphy


Audie Leon Murphy เกิดเมื่อ 20 มิถุนายน 1924 (พ.ศ.2467) ในครอบครัวชาวไร่จน ๆ ที่ ดัลลาส เท๊กซัส พออายุได้ 8 ปี
ต้องออกจากโรงเรียนเพื่อมาทำงานช่วยครอบครัวเนื่องจากพ่อตาย และต่อมา เมื่อแม่ของเค้าตายอีก ทำให้ ออดี้ ต้องทำงานหนักขึ้น
เพื่อดูแลน้อง ๆ จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ความที่ต้องการเงินที่เป็นรายได้ประจำมาเลี้ยงดูครอบครัว ออดี้ จึงสมัครเข้าเป็นทหาร

แต่เนื่องจากขนาดของร่างกายที่เล็กกว่ารายเฉลี่ยโดยทั่วไป และทั้งยังถือว่าเค้าไม่มีความรู้อีกด้วย ทำให้หลาย ๆ หน่วยของกองทัพ
ที่เค้าเข้าสมัครปฏิเสธคำขอของเขา แต่ในที่สุด กองพลทหารราบที่ 3 ก็ยอมรับ ออดี้ เข้าเป็นพลทหารประจำการ

จากความมุมานะในการฝึก และความสามารถยิงปืนได้อย่างแม่นยำในสมัยที่ยังต้องออกล่าสัตว์เพื่อ
มาเป็นอาหารเลี้ยงดูครอบครัว เมื่อเข้าสู่สมรภูมิ พลทหาร ออดี้ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้บังคับหมู่รบทั้งที่เป็นพลทหารหน้าอ่อน
และยังมีอายุน้อยอยู่ แต่ ออดี้ ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของเขาจนได้รับการยอมรับในหมู่ทหารด้วยกัน



3 ปีในสนามรบ กับ 9 สมรภูมิย่อยในยุโรปที่ ออดี้เข้าปฏิบัติงาน จากความเก่งกาจ กล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ พลทหาร ออดี้
ได้รับการเลื่อนยศกลางสนามตั้งแต่ นายสิบ จ่า และร้อยตรี ในที่สุด และผลตอบแทนที่ได้รับคือเหรียญกล้าหาญตั้งแต่ขั้นแรกสุด
จนถึงขั้นสูงสุดรวมกันถึง 33 เหรียญ ทั้งจากของสหรัฐอเมริกาเองและจากประเทศพันธมิตรที่เข้าร่วมรบด้วย และได้รับการยอมรับ
จากกองทัพสหรัฐ ฯ ว่า เป็นผู้ที่ได้รับเหรียญกล้าหาญมากที่สุดของกองทัพเลยทีเดียว

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ออดี้ เมอร์ฟี่ ได้ปลดจากกองทัพเมื่อ 21 กันยายน 1945 (พ.ศ.2488) และหันมาสู่การแสดง
โดยการชักนำของ James Cagney ได้เป็นดารานำแสดงเป็นเรื่องแรกในเรื่อง Bad Boy เมื่อปี 1949 (พ.ศ.2492) จากนั้น
ก็เป็นดาราเจ้าบทบาทในสังกัดของ Universal Picture มาอีกเป็นระยะเวลา 15 ปีกับหนังทั้งหมด 26 เรื่อง จนหมดสัญญา
จึงออกมาเล่นหนังกับบริษัทต่าง ๆ อีกรวม 44 เรื่อง นอกจากนั้น ออดี้ ยังสามารถที่จะแต่งเพลงให้กับนักร้องชั้นนำในยุคนั้น
ได้ร้องกันจนเป็นที่ได้รับความนิยมทั่วไปอีกด้วย

ออดี้ แต่งงานครั้งแรกเมื่อปี 1945 (พ.ศ.2488) อยู่ด้วยกันจนถึงปี 1951 (พ.ศ.2494) โดยไม่มีลูกด้วยกัน จากนั้น แต่งงานครั้งที่ 2
ในปี 1951 มีลูกชายกับภรรยาใหม่ด้วยกัน 2 คน

วันที่ 28 พฤษภามคม ปี 1971(พ.ศ.2514) ออดี้ เมอร์ฟี่ เสียชีวิตจากเครื่องบินส่วนตัวตกที่ รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ชื่อของเขา
ได้รับการแกะสลักไว้ที่สุสานทหารอาร์ลิงตัน (Arlington National Cemetery) เพื่อแสดงถึงวีรกรรมความกล้าหาญของเขาให้คนรุ่นหลัง
ได้รู้จักตลอดไป และทางมลรัฐเท็กซัสซึ่งเป็นถิ่นเกิดของเขา ยังได้ประกาศเกียรติคุณด้วยการประกาศให้วันที่ 20 มิถุนายน ของทุกปี
เป็นวัน Audie Murphy Day ตั้งแต่ปี 1996 (พ.ศ.2539) เป็นต้นมาอีกด้วย

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-8 22:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
6. Miyamoto Musashi



มิยะโมะโตะ มุซะชิ (ญี่ปุ่น: 宮本 武蔵 Miyamoto Musashi ) เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2127 ที่เมืองฮะริมะ (Harima)
เป็นซามูไร ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากคนหนึ่ง ว่ากันว่าเขาไม่เคยดวลแพ้ใครโดยการดวลที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือการดวล
กับ ซะซะกิ โคะจิโร

ซามูไรดาบคู่ มิยาโมโตะ มูซาชิ

มูซาชิ ซามูไรดาบคู่ ที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ
มีชีวิตอยู่ในราว ค.ศ. 1584-1645 จากประวัติการต่อสู้กว่า 60 ครั้ง ไม่เคยแพ้เลยแม้แต่ครั้งเดียวนั่นไม่ใช่โชคช่วย
แต่เป็นเพราะฝึกฝนมาอย่างดีทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะการฝึกจิตเพื่อเอาชนะศัตรูภายในตนเอง
จนกระทั่ง”มีความสามารถที่จะรบชนะ”



เป็นผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับกลยุทธ์การต่อสู้ชื่อ คัมภีร์ห้าห่วง (The Book of Five Rings) ซึ่งทั่วโลกยอมรับว่า
เป็นผลงานอัจฉริยะ มูซาชิ มิได้มีแค่ชัยชนะในสมรภูมิเท่านั้น หากเป็นทั้งการแสวงหาทางด้านจิตวิญญาณ-ความหมายแห่งชีวิต
และความเป็นเลิศในเชิงดาบไปพร้อม ๆ กัน

เขาเป็นลูกของซามูไรบ้านนอกขาดแม่ และในวัยเด็กทำท่าว่าจะเป็นคนที่เอาดีไม่ได้ อย่างไรก็ตามลักษณะเด่นของมูซาชิ
คือเป็นคนบึกบึนไม่ยอมแพ้ใครซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของนักรบ สำหรับการเป็นนักรบนั้นแตกต่างจากนักฆ่าโดยสิ้นเชิง
นักรบย่อมเห็นคุณค่าของชีวิตไม่ว่าของตนเอง หรือของผู้อื่น ไม่โอ้อวดเสี่ยงภัยอย่างไร้สาระ พร้อมเสียสละชีวิตเพื่อบรรลุ
จุดมุ่งหมายที่เหมาะสมจริง ๆ



มูซาชิเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลของสมองทั้งสองข้าง ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ใช้ดาบได้อย่างคล่องแคล่วทั้งสองมือ
ดาบคู่ของเขานั้นยังสั้นข้าง-ยาวข้าง ด้วยการชี้แนะของพระเซนรูปหนึ่งที่ชื่อ ทากุอัน มูซาชิได้เลิกนิสัยมุทะลุดุดันชอบเอาชนะ
แบบบ้าเลือด แล้วหันมาแสวงหาหนทางการเป็นนักสู้ที่แท้จริง การใช้กำลังกับภูมิปัญญามิใช่สิ่งแยกออกจากกันได้
มูซาชิอ่านทุกอย่างตั้งแต่ประวัติศาสตร์ปรัชญามาจนถึงตำราพิชัยสงคราม ขณะเดียวกันก็ได้ฝึกควบคุมตัวเองให้รู้จักสงบนิ่ง
เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์อันเลวร้าย

มูซาชิได้ค้นพบว่าหนทางแห่งนักรบนั้นแยกไม่ออกจากหนทางแห่งความเป็นคน ความเป็นเลิศในเพลงดาบคือสิ่งเดียวกับความงาม
ความสงัดสุข และความดี พูดอีกนัยหนึ่งคือ มูซาชิจะไม่สามารถบรรลุความเป็นเลิศในฝีมือได้ถ้าหากเขาไม่แสวงหาทางหลุดพ้น
ในระดับจิตวิญญาณไปพร้อมๆกัน

ท่ามกลางการฝึกฝีมือดาบ มูซาชิได้เรียนรู้การวาดภาพ การแกะสลัก การเขียนบทกวี ตลอดจนสิ่งประณีตละเอียดอ่อนอีกหลาย ๆ อย่าง
ในที่สุดเขาก็ค้นพบว่าทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเดียวกัน " มันคือศักยภาพของความเป็นคน "

จากเด็กหนุ่มที่บ้าเลือดไร้ทิศทาง มูซาชิค่อย ๆ กลายเป็นหนุ่มใหญ่ที่อ่อนน้อมถ่อมตน ละเอียดอ่อนทั้งกับผู้อื่นและตัวเอง
เขาเติบโตพ้นเรื่องของศักดิ์ศรีหน้าตาที่เป็นเพียงเปลือกนอก ตลอดจนลาภ ยศ สรรเสริญทั้งปวง

อันนี้ทำให้มูซาชิสามารถหลีกเลี่ยงสมรภูมิที่ไม่จำเป็นได้โดยไม่แยแสกับเสียงติฉินนินทา ทว่ายามใดที่ต้องรบ เขาก็สามารถรบ
ได้ด้วยความสงบนิ่งดุจภูผา ศัตรูคนแล้วคนเล่าร่วงล้มด้วยเพลงดาบไร้สำนักของเขา กระทั่งชื่อมูซาชิกลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

แม้ในยามที่มีชื่อเสียงแล้วก็ตาม มิยาโมโตะ มูซาชิก็ยังใช้ชีวิตเหมือนนักพรตผู้ถือดาบ กินอยู่สมถะ นุ่งเจียมห่มเจียม ครองตัว
เป็นนักดาบไร้สังกัดปราศจากฐานะตำแหน่งใด ๆ ในวงจรอำนาจซึ่งกำลังแก่งแย่งชิงดีกันอย่างเอาเป็นเอาตาย



ในฉากสุดท้ายของนิยาย มูซาชิต้องดวลดาบกับซาซากิ โคยิโร่ ซึ่งเป็นซามูไรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอีกคนหนึ่ง และมีฐานะเป็นทั้งเจ้าสำนัก
และอัศวินชั้นสูง ทั้งสองจะต้องประลองฝีมือกันโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันต่อหน้าบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมานั่งดูเป็นสักขีพยาน
สถานที่นัดพบครั้งนั้นอยู่บนเกาะเล็ก ๆ ห่างจากฝั่งประมาณ 2 ไมล์

ขณะที่ผู้คนจากทั่วสารทิศได้หลั่งไหลกันมาดูเหตุการณ์ด้วยความตื่นเต้น มูซาชิกลับใช้เวลาก่อนดวลนั่งวาดรูป จากนั้นก็ขึ้นเรือลำเล็ก ๆ
ไปสู่จุดนัดหมาย และใช้เวลาบนเรือถากพายหักด้ามหนึ่งเพื่อใช้เป็นอาวุธ ปะทะกันได้ไม่ถึงอึดใจ เขาก็ใช้ดาบไม้นั้นสังหารคู่ต่อสู้ลงไป
และในขณะที่ทุกคนยังไม่หายตื่นเต้นกับฉากดวลระหว่างนักดาบชั้นครู มูซาชิก็โดดกลับลงเรืออย่างเงียบ ๆ ไม่มีท่าทีแยแส
กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งปวง

มิยะโมะโตะ มุซะชิ เสียชีวิตในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2188 ในเมืองฮิโกะ (Higo) ด้วยวัย 61 ปี




6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-8 22:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
5. Gaius Julius Caesar



จูเลียส ซีซาร์ (อังกฤษ: Julius Caesar) หรือ กายุส ยูลิอุส ไคซาร์ (ละติน: GAIVS IVLIVS CAESAR)
เป็นรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เขาได้สถาปนาตนเองขึ้นปกครองกรุงโรม และได้ทำให้อาณาจักรโรมมีชื่อเสียง
เป็นที่รู้จักของชาวโลกมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

ช่วงต้นของชีวิต



จูเลียส เกิดในวันที่ 12 กรกฎาคม เมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (พ.ศ. 444) ในตระกูลขุนนางเก่าตระกูลหนึ่ง
มีบิดาชื่อเคอุส จูเลียส และมารดาชื่ออรอเรเลีย ซีซาร์ เป็นมนุษย์คนแรกที่เกิดโดยวิธีการผ่าตัดออกมาทางหน้าท้อง
บิดาของเขาแม้จะมั่งคั่งร่ำรวย แต่ก็มิได้มีตำแหน่งสูงนักในทางราชการ จูเลียสเป็นกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุยังน้อย
คงมีแต่มารดาซึ่งคอยให้ความปกป้องคุ้มครองดูแลต่อมา

นับตั้งแต่เด็กมา จูเลียสไม่เคยคิดที่จะยึดเอาการทหารเป็นอาชีพอย่างแท้จริงเลยทั้ง ๆ ที่เขาเคยเข้าฝึกทหารอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
เขาตั้งใจจะเป็นทนายความ หรือเป็นนักกฎหมายซึ่งเป็นอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในสมัยนั้นมากกว่า

ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกโจรสลัดจับตัวไปเรียกค่าไถ่ เมื่อเขารอดชีวิตกลับมาเขากลับรวบรวมสมัครพรรคพวกและเรือทั้งหลาย
กลับไปยังเกาะที่เขาเคยถูกนำตัวไปกักไว้ ได้สู้รบกับบรรดาโจรสลัดจนได้ชัยชนะนำพวกโจรกลับมารับการลงโทษ
เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า จูเลียสนั้นเป็นผู้ที่ชอบการสู้รบมาตั้งแต่เด็กๆ และก็ดูเหมือนว่าเขาจะมีชื่อเสียงที่สุดในด้านการทหาร

เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้รับเหรียญกล้าหาญในฐานะที่ได้ช่วยชีวิตทหารคนหนึ่งไว้ได้จากการรบ สามารถตีชนะประเทศต่าง ๆ ถึง 300 ประเทศ
ได้เมืองต่าง ๆ ไว้ในอำนาจถึง 800 เมือง แม้แต่ในวงการทหารสมัยปัจจุบันก็ยังอดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมจูเลียส ซีซาร์ จึงสามารถเดินทัพ
และทำสงครามเผด็จศึก ได้อย่างรวดเร็วถึงเพียงนั้น ทัพของโรมันได้ชัยชนะตั้งแต่ยุโรปทางตอนเหนือจรดยุโรปตอนใต้ จากสเปน
ไปจนถึงอาเซียน้อยและเรื่อยไปจนถึงอียิปต์

ตลอดเวลาของการเดินทัพ จูเลียสจะกินอยู่หลับนอนร่วมกับทหารเลวทั้งหมด ทั้งมักจะชอบแสดงถึงความกล้าหาญ
ปราศจากความกลัวในภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงให้เหล่าทหารได้เห็น ครั้งหนึ่งเขาควบม้าอย่างรวดเร็ว เต็มฝีเท้า

แต่กลับปล่อยมือจากสายบังเหียน แล้วยกขึ้นประสานไว้เหนือศีรษะ และอีกครั้งหนึ่งเขาได้ขอลองขึ้นขี่ม้าที่ขึ้นชื่อว่ายพยศที่สุด
จนไม่มีใครกล้าขี่ ในการบุกทุกครั้ง จูเลียสจะเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มทหาร ปฏิเสธไม่ยอมใส่แม้แต่หมวกเหล็กเพื่อให้ทหารจำได้
เขาไม่เคยตกใจจนทำอะไรไม่ถูกและไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างเชื่อมั่นในตนเอง ตลอดเวลาเขามักจะคิดถึงแต่ความสง่างาม
ความยิ่งใหญ่ของเขาในฐานะเป็นผู้นำ

ครั้งหนึ่งในการทำสงครามที่เฟซาเลีย ซึ่งในที่สุดโรมันก็เป็นฝ่ายได้ชัยชนะ ฟาร์เนเซส เจ้าผู้ครองแคว้น
ได้ก่อการกบฎขึ้น โดยปฏิเสธไม่ยอมสวามิภักดิ์ด้วย จูเลียสจึงยกทัพเข้าตะลุมบอน และได้ชัยชนะภายในเวลาเพียงวันเดียว
ผลจากการสู้รบครั้งนี้เอง ทำให้เราได้รู้จักคำพูดที่เป็นอมตะประโยคหนึ่งของจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งได้รายงานกลับมาโรมว่า

Veni, Vedi, Vici! ซึ่งแปลว่า "ข้าไปถึงแล้ว ข้าได้เห็น และข้าก็ได้ชัยชนะ"

เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในสมัยที่ซีซาร์ครองโรม

เหตุการณ์ที่สำคัญนั้นก็คือ การยกทัพเข้ารุกรานเกาะอังกฤษ ที่เรียกว่าสำคัญก็ด้วยเหตุผลประการหนึ่งคือ
ทำให้คนรุ่นหลังได้รู้จักประวัติของเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่งซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยมีอยู่บนแผนที่เลยด้วยซ้ำ

ปีนั้นตรงกับปีที่ 55 ก่อนคริสต์ศักราช ซีซาร์ได้ครองอาณาจักรโกล ซึ่งปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศสเรียบร้อยแล้ว
แต่พวกโกลมักจะได้รับความช่วยเหลือจากชนชาติหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงข้ามเมืองคาเล่ส์ให้ก่อการกบฎอยู่เสมอ
และถ้าพ่ายแพ้ พวกนี้ก็มักจะอพยพหนีไปพำนักพักพิงชั่วคราวอยู่ ณ เกาะเล็ก ๆ แห่งนั้น เกาะนั้นจะเป็นเกาะอะไร มีพลเมือง
มากน้อยเพียงใด มีความเป็นอยู่อย่างไร จูเลียส ซีซาร์ หาได้มีความรู้แม้แต่น้อยไม่

แต่กระนั้น เขาก็ตัดสินใจยกทัพเข้ารุกรานทันที จูเลียส สั่งเตรียมทหารให้มาพร้อมกันลงเรือที่เมืองบูโลญราว 10,000 คน
เพียงข้ามคืนเดียว กองทัพโรมก็จะขึ้นฝั่งได้แถบบริเวณโดเวอร์ แต่ชาวพื้นเมืองเตรียมต่อสู้อย่างเต็มที่ ทำให้จูเลียสต้องสั่งทหาร
ให้แล่นเรือต่อไปรอบ ๆ เกาะจนถึงดีส จึงขึ้นบกและขับไล่ชาวพื้นเมืองให้หนีไปได้ เหตุการณ์เป็นปกติเรียบร้อย จนถึงวันที่สี่
นับจากการยึดครองเกาะได้ คืนนั้นเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง น้ำทะเลขึ้นสูง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ชาวโรมันไม่เคยได้รู้จักมาก่อน
กำลังน้ำทำลายเรือเสียมากต่อมาก ในที่สุดซีซาร์ต้องออกคำสั่งให้ถอยทัพกลับยุโรป พอดีกับเหตุการณ์วุ่นวายในแถบยุโรปตะวันออก
ซึ่งซีซาร์ต้องเสียเวลาปราบปรามอยู่พักหนึ่ง

เดือนเมษายนปีต่อมา จูเลียส ซีซาร์ สั่งให้เตรียมกองทัพเรืออีกครั้ง คราวนี้มีเรือถึง 600 ลำ กองทหารถึง 28 กอง
และเมื่อถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ก็เริ่มออกเดินทาง คราวนี้ชาวเกาะมิได้คิดต่อสู้เลย คงจะเกิดความกลัวตั้งแต่เห็นความยิ่งใหญ่ของกองเรือ
จึงพากันอพยพหนีขึ้นไปทางเหนือ ซีซาร์ยกทัพตามขึ้นไปจนถึงเมืองเซนต์ อาลลานส์ เมื่อฤดูหนาวใกล้เข้ามาก็ตัดสินใจยกทัพกลับโรม
โดยนำเชลยติดมาด้วยเป็นจำนวนมาก ชาวโรมันตื่นเต้นกันมากในชัยชนะครั้งนี้

เมื่อวัยหนุ่ม ซีซาร์ได้เดินทางไปรับการศึกษา ณ เกาะโรดส์ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามขึ้น และซีซาร์ก็ได้ไปร่วมรบด้วย
ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้น และเมื่อกลับมายังโรม เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นมอนติเฟดส์ และเริ่มสนใจทางการเมือง เขาร่วมมือ
กับปอมเปย์ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทัพโรมัน และเครสซัส เศรษฐีคนหนึ่งเรียกคณะของตนว่า ไตรอุมวิเรท มีอำนาจควบคุมกิจการ
บริหารในสมัยนั้นอย่างมากมาย

ต่อมาราว 59 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จูเลียสได้รับเลือกเป็นกงสุลและได้มีการแบ่งอำนาจกันระหว่างคู่สัญญาทั้งสาม
ซึ่งทำให้จูเลียสได้โอกาสแผ่ขยายอำนาจต่อไปได้เต็มที่ จนปอมเปย์อิจฉา จนในที่สุดเกิดเป็นสงครามขึ้น ตอนนี้แครสซัสตายแล้ว
จูเลียสได้ชัยชนะ ปอมเปย์หนีไปอียิปต์ และไปถูกฆ่าตายที่นั้น ราว 48 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขาได้เข้าเมืองอียิปต์ช่วยจัดการ
ให้คลีโอพัตรา ซึ่งกำลังมีเรื่องแย่งราชสมบัติกับพระอนุชาให้ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ จนมีเรื่องลือกระฉ่อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์
ของเขากับพระนางคลีโอพัตรา

อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้จูเลียสก็ได้มีอำนาจเต็มที่ในโรมเขากลับมาถึงโรม และได้รับการยกย่องให้เป็น
"ผู้มีอำนาจปกครองโดยเผด็จการ" โดยกำหนดให้มีอำนาจอยู่ครั้งละสิบปี และต่อมาเมื่อเขาปราบปราม
ตีดินแดนทางแถบแอฟริกาและสเปนได้ เขาจึงได้รับการอนุมัติให้เป็น "หัวหน้าผู้เผด็จการ" ตลอดชีวิต

ด้านมืด และจุดจบของซีซาร์



ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะไม่มีความชั่วติดตัวเลย จูเลียส ซีซาร์เอง แม้ว่าจะมีความสามารถเก่งกล้ายิ่งนักในการสงคราม
แต่ก็มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ มีความทะเยอทะยานอย่างรุนแรง เมื่อเล็ก ๆ เขามีชื่อเสียงในเรื่องการใช้เงินเปลือง
จนเป็นหนี้สินเมื่อเติบโตมีอำนาจในมือ เขาก็จับจ่ายใช้สอยอย่างมือเติบทั้ง ๆที่เงินนั้นเป็นของหลวง

ในด้านการสงคราม จูเลียส ซีซาร์ ก็ถูกโจมตีว่าพาคนไปตายเสียมากต่อมาก แต่ในการรบในสมัยโน้น แต่ละฝ่ายต่างก็ยอมเสีย
ทหารเป็นจำนวนมากเสมอ การสั่งประหารชีวิตแม่ทัพโกล ซึ่งย่อมแพ้ต่อทัพโรมันเมื่อครั้งจูเลียส ซีซาร์ พากองทัพอันเกรียงไกร
เข้าไปบุกโกล เป็นตราบาปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา จูเลียสสั่งขังแม่ทัพโกลไว้ถึงหกปี แล้วจึงสั่งให้ประหารชีวิตทั้ง ๆ
ที่มิได้มีความผิดใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้เป็นเครื่องส่งเสริมบารมีของเขาเพียงคนเดียวเท่านั้น

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-8 22:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แต่ก็น่าแปลกที่ครั้งหนึ่งจูเลียส ซีซาร์ ได้ทราบข่าวว่าปอมเปย์ คู่อริที่ยิ่งใหญ่ของเขาถูกฆ่าแล้วในอียิปต์
จูเลียสก็ถึงกับทรุดนั่ง และร้องไห้

อย่างไรก็ตาม แม้จูเลียสจะได้ชื่อว่าทารุณ โหดร้าย แต่เขาก็เป็นแม่ทัพที่ทหารพากันจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง จนแทบจะพูดได้ว่า
ไม่เคยมีทหารในสมัยใดจะ รักเจ้านายของตนยิ่งไปกว่าทหารรักซีซาร์ ที่ไหนมีอันตราย ที่นั่นซีซาร์จะเป็นคนแรกที่บุกเข้าไปก่อน
ถ้าในการเดินทางกองทหารจำเป็นจะต้องข้ามแม่น้ำสักสายหนึ่งที่น่ากลัวที่สุด จูเลียสจะเป็นคนแรกที่ลงว่ายน้ำนำบรรดาทหารทั้งหลายลงไป

ผู้ยิ่งใหญ่ทุกคนย่อมมีศัตรู ในโลกนี้มีคนอีกหลายคนที่ทนเห็นความสำเร็จของผู้อื่นไม่ได้ จูเลียส ซีซาร์ เป็นคน ๆ หนึ่งที่ถูกอิจฉาริษยา
เขาเองก็รู้ตัวดี แต่เขาจำเป็นต้องทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็นเสียบ้าง คนที่คิดปองร้ายเขา คือนักโทษคนหนึ่งที่ซีซาร์เองเป็นผู้ออกคำสั่งให้ไว้ชีวิต
จูเลียสไม่เคยคิดเลยว่า คน ๆ นี้จะเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ เขาผู้นั้นมีชื่อว่า มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ซึ่งเขารับเป็นลูกเลี้ยงในเวลาต่อมา

การลอบฆ่าเป็นไปอย่างง่ายดาย ซีซาร์เองไม่เคยได้คิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย จึงไม่มีการระวังตัวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามในวันที่ 14 มีนาคมก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ซึ่งเป็นวันก่อนวันเกิดเหตุร้ายเพียงหนึ่งวัน ก็ได้มีสัญญาณหลายอย่างที่แสดงว่า
โลกเรากำลังจะต้องสูญเสียผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่ง พายุพัดแรงจัด มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้าคัลเฟอร์เนีย ภรรยาของจูเลียสนึกสังหรณ์ใจจนถึงกับ
กราบขอร้องอ้อนวอนมิให้สามีเธอเดินทางไปประชุมสภาเซเนทในวันรุ่งขึ้น แต่จูเลียสกลับหัวเราะเยาะราวกับเห็นเป็นเรื่องขบขันเสียเต็มประดา
จูเลียสดื้อรั้นที่จะไปประชุมในวันนั้นให้ได้ เมื่อเขาเดินผ่านห้องโถง รูปปั้นตัวเขาเองก็หล่นลงมาแตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
นอกจากนั้นระหว่างทาง มีชายคนหนึ่งแอบส่งจดหมายให้เขาฉบับหนึ่งขอร้องให้เขาอ่านก่อนที่จะเข้าประชุม แต่จูเลียสเพียงแต่กำไว้ในมือ
โดยไม่ทันได้อ่าน ถ้าเพียงแต่เขาจะได้มีโอกาสอ่านจดหมายฉบับนั้น ประวัติศาสตร์โรมันก็คงจะเปลี่ยนไปอีกเป็นคนละรูป
เพราะในจดหมายฉบับนั้นมีรายชื่อของผู้ที่คิดวางแผนจะเอาชีวิตเขาทั้งหมด รวมทั้งแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการนั้นด้วย

11.00 น. เช้าวันที่ 15 มีนาคม ก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ขณะที่จูเลียส ซีซาร์กำลังยืนอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการประชุมในสภาเซเนท
แคสซิอุส มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ลูกเลี้ยงของเขา หนึ่งในจำนวนผู้วางแผนทรยศก็ได้ปักดาบคู่มือทะลุผ่านลำคอ ซีซาร์ยกมือขึ้นรับ
แต่ก็ไม่สำเร็จ เขาล้มลงขาดใจตายจมกองเลือดอยู่ ณ ที่นั่นเอง

การตีความคำพูดสุดท้ายของซีซาร์




ซีซาร์เป็นเผด็จการแต่ก็ไม่เคยเป็นจักรพรรดิ แม้ว่าเขาจะมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนั้น
อันเป็นเหตุให้ถูกลอบสังหารในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์ได้แก่ καὶ σύ, τέκνον (kaì sú, téknon) ในภาษากรีก
ภาษาของบุคคลชั้นสูงในกรุงโรม (หรือแปลเป็นภาษาละตินโดยซูเอโทนว่า "Tu quoque, fili"
ซึ่งแปลว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า") มีความเห็นต่างๆกันไปเกี่ยวกับความหมาย
ในคำพูดสุดท้ายของจูเลียส ซีซาร์

การตีความที่พบบ่อยที่สุด คือซีซาร์รู้สึกประหลาดใจที่บุตรชายของตนเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้วางแผนทรยศ

บางคนเชื่อว่านี่เป็นคำสาปที่ซีซาร์แช่งให้บรูตุสได้รับชะตากรรมเดียวกับตน
การตีความอีกรูปแบบมีการอ้างอิงถึงสุขภาพที่ทรุดโทรมของซีซาร์ก่อนถึงแก่อสัญกรรม เขาอาจจะเป็นโรคเรื้อน
ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียนอย่างรุนแรง ไม่ฟังเสียงทัดทานของคนรอบข้าง และเลือกจะจบชีวิตตนเองในที่สุด
คำพูดสุดท้ายของซีซาร์จึงอาจตีความได้ว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า เจ้าจะต้องแก่และอ่อนแอ
และมีชะตากับเดียวกับข้า"

และท้ายสุด เป. อาร์โนด์ ได้เสนอแนวทางตีความต่อไปนี้ เราพบว่าซูเอโทนก็ใช้คำว่า καὶ σύ, τέκνον เมื่อ ซีซาร์ออกุสตุส
กล่าวถึง กัลบา บุตรชาย (ซึ่งได้กลายเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา) ในความหมายว่า "เจ้าก็ด้วย บุตรของข้า
เจ้าจะสืบทอดอำนาจข้าต่อไป"

แม้แต่ดิออน ซาสซิอุส ก็ใช้คำนี้เพื่อบอกเล่าเรื่องของ 'ทิเบรุส เคลาดิอุส เนโร' กล่าวกับกัลบา คนเดียวกัน
ดังนั้น เมื่อซีซาร์ถูกลอบสังหารอย่างเป็นทางการเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ เขาจึงได้กล่าวโทษบรูตุสซึ่งต้องการขึ้นสู่อำนาจเช่นเดียว
กับเขา และได้กล่าวทำนายการลอบสังหารบรูตุสในอนาคตว่าจะเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่เขาถูกลอบสังหาร


8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-8 22:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
4. Hannibal Barca



ฮันนิบาล บาร์กา (อังกฤษ: Hannibal Barca) (พ.ศ. 296-พ.ศ. 360) เป็นรัฐบุรษของชาวคาร์เทจ และเป็นแม่ทัพที่ยิ่งใหญ่
คนหนึ่งในโลกยุคโบราณ เพราะเขาบุกโจมตีโรมและทำศึกโดยปราศจากความพ่ายแพ้เป็นเวลานานกว่า 15 ปี โดยใช้กลยุทธ์
และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการรบ

บิดาของฮันนิบาลเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์เทจ ชื่อ ฮามิลการ์ บาร์กา (Hamilcar Barca) เสียชีวิตในการรบเพื่อกำราบชนพื้นเมือง
ในคาบสมุทรไอบีเรีย ฮัสดรูบาล (Hasdrubal the Fair) บุตรเขยจึงรับหน้าที่เป็นแม่ทัพต่อจากเขา ฮัสดรูบาลสามารถ
สร้างกองทัพคาร์เทจใหม่ได้สำเร็จ แต่ไม่นานเขาก็สิ้นชีวิตลงเนื่องจากถูกชนพื้นเมืองชาวเคลต์ลอบสังหาร และก่อนที่คำสั่งแต่งตั้ง
แม่ทัพคนใหม่จากคาร์เทจจะมาถึง เหล่าทหารก็ยกให้ฮันนิบาลขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์ธาจีนา (ศูนย์กลางของชาวคาร์เทจในไอบีเรีย)
หลังจากรับตำแหน่ง ฮันนิบาลยังไม่วางแผนโจมตีโรมในทันที เนื่องจากต้องการสร้างพันธมิตรที่เข้มแข็งกับบรรดาเมืองและชนเผ่าต่าง ๆ
ในคาบสมุทรไอบีเรียเสียก่อน



ทว่าในบรรดาเมืองเหล่านั้น นครซากุนโต (Sagunto) ซึ่งมีเหมืองเงินที่อุดมสมบูรณ์ได้ขอเป็นพันธมิตรกับโรมและปฏิเสธข้อเสนอของฮันนิบาล
นอกจากนี้ ซากุนโตยังวางแผนที่จะดึงพันธมิตรต่าง ๆ ในไอบีเรียไปจากคาร์เทจอีกด้วย ฮันนิบาลจึงตัดสินใจเข้าโจมตีซากุนโตในปี พ.ศ. 324
แม้จะรู้ว่านั่นหมายถึงสงครามกับโรมก็ตาม หลังจากล้อมอยู่ไม่นาน ทัพคาร์เทจก็พิชิตซากุนโตได้สำเร็จ ทางโรมทราบเรื่องด้วยความไม่พอใจมาก
แต่เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงคราม ดังนั้น ทางสภาโรมจึงสั่งให้คาร์เทจส่งตัวฮันนิบาลไปยังโรม ฮันนิบาลปฏิเสธและระดมกองทัพทันที

และในปี พ.ศ. 325 สงครามพิวนิกครั้งที่ 2 ก็เริ่มขึ้น ฮันนิบาลแม่ทัพหนุ่มวัย 29 ปี ยกกองทัพอันประกอบด้วยทหารราบคาร์เทจ
และสเปน 70,000 นาย ทหารม้านูมิเดียน 12,000 นาย และช้างศึกหุ้มเกราะ 40 เชือก ออกจากการ์ตาโกโนวา ทางโรมเชื่อว่าฮันนิบาล
จะเข้าตีโรมโดยทางเรือ จึงเตรียมการป้องกันตลอดแนวชายฝั่ง

ทว่าฮันนิบาลทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด คือการรุกข้ามเทือกเขาพิเรนีสและเทือกเขาแอลป์เข้าไปทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลี
รวมทั้งสามารถเอาชนะกองทัพโรมันได้ในการรบอีกหลายครั้ง แผนที่เส้นทางเดินทัพทางบกของฮันนิบาล ด้วยความเอื้อเฟื้อจาก
ภาควิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยการทหารสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม การรุกรานแอฟริกาเหนือของโรมันก็ทำให้ฮันนิบาลต้องถอนทหารกลับไปป้องกันเมืองคาร์เทจในยุทธการที่ซามา ซึ่
งเป็นการรบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของสงครามพิวนิกครั้งที่ 2 เขาได้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพโรมันที่นำโดยสกีปีโอ อาฟรีกานุส (Scipio Africanus)
โดยเมืองคาร์เทจต้องยอมจำนนต่อกรุงโรมหลังจากที่สูญเสียทหารไปกว่า 30,000 คน และต้องเสียคาบสมุทรไอบีเรียให้กับโรมันไปอีกด้วย



ต่อมาอีก 14 ปี โรมันก็ได้เรียกร้องให้ฮันนิบาลยอมมอบตัว เขาจึงเนรเทศตัวเองไปอยู่ที่เมืองไทร์ (ปัจจุบันอยู่ในเลบานอน)
ซึ่งเป็นเมืองแม่ของคาร์เทจ (ชาวฟินิเชียนจากเมืองไทร์เป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้) และจากนั้นจึงเดินทางไปที่เมืองเอเฟซุส (ปัจจุบันอยู่ในตุรกี)
ขณะอยู่ที่เอเฟซุส ฮันนิบาลพยายามสนับสนุนพระเจ้าอันตีโอกุสที่ 3 (Antiochus III) กษัตริย์แห่งเมืองนั้นให้ทรงทำสงครามกับโรมัน
และเขาก็ได้บัญชาการทัพเรือของพระองค์ในปี พ.ศ. 348 แต่ก็พ่ายแพ้ในยุทธการใกล้แม่น้ำยูริเมดอน เขาจึงหนีจากเอเฟซุส
(ซึ่งมีทีท่าว่าจะส่งตัวเขาให้กับโรมันด้วย) ไปอยู่เกาะครีต

แต่จากนั้นไม่นานก็กลับมาที่เอเชียไมเนอร์อีกครั้ง โดยขอลี้ภัยกับพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 (Prusias I) แห่งบิทิเนีย ฮันนิบาลได้ช่วยพระองค์
รบกับกองทัพจากเมืองเปอร์กามอนซึ่งเป็นพันธมิตรของโรมัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายโรมันก็ยังยืนกรานที่จะให้เขามอบตัว ซึ่งพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1
ก็ทรงยินยอมที่จะส่งตัวฮันนิบาลให้ ในที่สุดเมื่อสิ้นหนทางหนี เขาจึงตัดสินใจที่จะไม่ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูโดยจบชีวิตของตนลง
ด้วยการดื่มยาพิษในปี พ.ศ. 360 ที่เมืองลิบิสซา ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลมาร์มะรา

แม้ว่าจะไม่อาจเอาชนะโรมได้อีก แต่ฮันนิบาลก็ได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งแม่ทัพของโลกคนหนึ่ง ด้วยว่าตลอดเวลา 15 ปี
ที่เขาทำศึกในดินแดนโรมันนั้น ฮันนิบาลไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้รับกำลังสนับสนุนจากใครเลย

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-8 22:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3. Sun Tzu



ซุนวู (จีนตัวเต็ม: 孫武; จีนตัวย่อ: 孙武; พินอิน: Sūn Wǔ; ซุนอู่) หรือ ซุนจื่อ (จีนตัวเต็ม: 孫子; จีนตัวย่อ: 孙子;
พินอิน: Sūn Zǐ; เวด-ไจลส์: Sun Tzu, แปลว่า "ปราชญ์แซ่ซุน") เป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงครามของซุนวู (ซุนจื่อปิงฝ่า - 孙子兵法)

ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร ที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน ปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำราได้ถูกประยุกต์
ใช้อย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและการเมือง หลักการที่สำคัญเช่น รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

ข้อมูลที่มีหลงเหลืออยู่เกี่ยวกับชีวประวัติของซุนวูคือชีวประวัติที่เขียนขึ้นในช่วง 2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล โดยซือหม่าเชียน
นักเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ได้บรรยายถึงซุนวูว่าเป็นแม่ทัพที่อาศัยอยู่ในรัฐอู๋ ในช่วงประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล
ซึ่งอยุ่ในยุคเดียวกันกับ ขงจื๊อ นักปรัชญาจีนผู้ยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตามชีวประวัตินี้ขัดแย้งกับหลักฐานอื่นๆ ของยุคนั้น
รวมทั้งลักษณะการเขียนและเนื้อหาของ "ตำราพิชัยสงครามของซุนวู" ก็บ่งชี้ว่าไม่น่าจะเป็นงานที่เขียนขึ้น
ในช่วง 400-320 ปีก่อนคริสตกาล



"ตำราพิชัยสงครามของซุนวู" ได้ทิ้งเบาะแสเป็นนัยๆ ถึงชีวิตของซุนวู เช่น รถม้าใช้ในการสงครามที่อธิบายโดยซุนวูนั้น
มีการใช้เพียงแค่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในช่วงยุค 400 ปีก่อนคริสตกาล ดังนั้นจึงถือว่าบางส่วนของงานเขียนนี้ก็อยู่ในช่วงเวลานั้น
โดยคาดว่าซุนวูมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ตำราพิชัยสงครามของซุนวูได้มีการกล่าวถึงหลายคราในนิยายเรื่อง สามก๊ก

ในเลียดก๊ก ซุนวูเป็นสหายกับอู๋จื่อซี อู๋จื่อซีได้ชักชวนซุนวูให้มารับราชการในแคว้นอู๋ โดยทำหน้าที่ฝึกทหารให้แก่ อู๋อ๋องเหอหลี
อ๋องแห่งแคว้นอู๋ ซุนวูได้เสนอแผนพิชัยสงคราม 13 บรรพ แต่อู๋อ๋องเหอหลียังไม่เชื่อ ซุนวูจึงขอฝึกนางสนมของอู๋อ๋องเหอหลี
อู๋อ๋องเหอหลีก็อนุญาต ในการฝึกมีนางสนม 2 นางได้หัวเราะอย่างสนุกสนานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของซุนวู

ซุนวูจึงสั่งประหารสนม 2 นางนี้ทันที เพื่อให้เห็นถึงความเอาจริง ท้ายที่สุด อู๋อ๋องเหอหลีจึงได้เชื่อมั่นในตัวซุนวูและตำราพิชัยสงคราม
อย่างเต็มที่ ในก่อนคริสต์ศักราช 507 ปี อู๋อ๋องเหอหลีแต่งตั้งให้ซุนวูเป็นแม่ทัพ อู๋จื่อซีและป๋อผีเป็นรองแม่ทัพ ยกพลหนึ่งแสนไปตีแคว้นฉู่
สามารถตีแคว้นฉู่ที่ใหญ่กว่าเข้มแข็งกว่าได้สำเร็จ แต่ต่อมาสถานการณ์พลิกผลัน เพราะฉู่เจาอ๋อง อ๋องแคว้นฉู่ได้หลบหนีไปเสียก่อน
เย่วอ๋องยุ่นฉาง อ๋องแห่งแคว้นเยว่ ฉวยโอกาสที่แคว้นอู๋ว่างเปล่ายกทัพมาตีแคว้นอู๋ อู๋อ๋องเหอหลีจึงรีบยกทัพกลับทันที เย่วอ๋องยุ่นฉางจึงหนีไป
ทำให้อู๋อ๋องเหอหลีผูกใจเจ็บคิดจะล้างแค้นเย่วอ๋องยุ่นฉางตลอดไป



ต่อมาในก่อนคริสต์ศักราช 497 ปี เย่วอ๋องยุ่นฉางถึงแก่กรรม โกวเจี้ยนผู้บุตรได้ขึ้นครองแคว้นแทน จึงคิดฉวยโอกาสไปตีตอนนี้
ซุนวูและอู๋จื่อซีคัดค้าน แต่อู๋อ๋องเหอหลีไม่ฟัง ยกทัพสามหมื่นไปตีแคว้นเยว่ ผลคือทั้งคู่ปะทะกันที่จุ้ยหลี่ ในที่สุดอู๋อ๋องเหอหลีกลับเป็น
ฝ่ายพ่ายแพ้และตนเองก็ถูกอาวุธจนบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่กรรมระหว่างการเดินทางกลับแคว้นอู๋ อู๋อ๋องฟูซาจึงได้ขึ้นครองแคว้นสืบ

ต่อจากอู๋อ๋องเหอหลีผู้บิดา อู๋อ๋องฟูซาแรกทีเดียวดำเนินการอย่างเข้มแข็งหมายจะล้างแค้นให้บิดาให้ได้ แต่ต่อมาความประพฤติกลับเหลวไหล
หลงแต่สุราและนารีจากแผนนางงามไซซี จนในที่สุดต้องฆ่าตัวตาย อู๋จื่อซือได้ฆ่าตัวตายเมื่อก่อนคริสต์ศักราช 485 ปี ส่วนของซุนวูเมื่อได้
รู้ถึงนิสัยที่แท้จริงของอู๋อ๋องฟูซา คิดว่าต่อไปภายภาคหน้าแคว้นอู๋ต้องล่มสลายแน่ จึงลาออกจากราชการในก่อนคริสต์ศักราช 495 ปี


10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-8 22:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
2. Leonidas I



เลโอไนดาสที่ 1 (อังกฤษ: Leonidas I) เป็นกษัตริย์ของชาวสปาร์ตัน ซึงนำกำลังทหารนักรบสปาร์ต้าจำนวนไม่มากนัก
ไปต่อต้านกำลังทหารที่มีมากมายซึ่งมาจากจักรวรรดิเปอร์เซียที่ยกทัพมารุกรานนครรัฐกรีก

ประวัติสปาตัน

ประมาณปีพ.ศ.63 (480ปีก่อนค.ศ.) กองทัพเปอร์เซียของกษัตริย์เซอร์ซิสที่1 ได้นำกองทัพขนาดมหาศาลจำนวน500,000คน
(ทัพบก250,000 ทัพเรือ250,000)เข้าตีดินแดนกรีกทางเขตมาซีโดเนีย เพื่อเป็นการล้างแค้นแทนพระบิดาของตน(กษัตริย์ดาริอุส)
ที่เคยพ่ายแพ้สงครามแก่พันธมิตรแห่งกรีกในสงครามเปอร์เซียครั้งแรก(พ่ายแพ้การยุทธที่มาราธอน)
และเป็นการเปิดฉากสงครามเปอร์เซียครั้งที่ 2

ด้วยความเข้มแข็งของทัพเปอร์เซียและแผนของแม่ทัพกรีกที่จะถ่วงเวลาเพื่อรวบรวมกำลัง กรีกจึงต้องยอมเสียเมืองเล็กเมืองน้อย
ให้ฝ่ายเปอร์เซียยึดไล่มาเรื่อยจนทัพเปอร์เซียมาถึงบริเวณช่องเขาแห่งหนึ่งคือ "เธอร์โมไพลาย"(Thermopylae)
ซึ่งเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนจะถึงนครเอเธนส์ ช่องเขานี้เองจะกลายเป็นสมรภูมิที่นองเลือดที่สุดแห่งหนึ่งในสงครามครั้งนั้น



ตอนนี้ทัพเปอร์เซียต้องมาเจอกับกองกำลังผสมของทหารเอเธนส์-สปาร์ตา-นครพันธมิตร จำนวน7,000นายซึ่งนำมาโดยกษัตริย์ "เลโอนิดาส"
แห่งสปาร์ตาผู้เจนศึก แต่จำนวนทหารสปาร์ตาที่เชี่ยวชาญสงครามนั้นมีจำนวนแค่น้อยนิด เพราะว่าเวลานั้นเป็นช่วงเทศกาล"คาร์เนี่ยน"
ที่ชาวสปาร์ตาเขาถือกันว่าไม่ควรออกทำศึก ทหารสปาร์ตาที่มาจึงเป็นกองกำลังเล็กๆ ของเลโอนิดาสที่คัดเลือกมานั่นเอง

(เทศกาล"คาร์เนี่ยน"จัดขึ้นในสปาร์ตายุคโบราณเพื่อบูชาเทพเจ้าอะพอลโล่ โดยเมื่อถึงเวลาชาวสปาร์ตาจะเก็บตัวและจัดงานฉลอง
อยู่ในบ้านเมืองตนเองเท่านั้น และห้ามทหารออกรบรึเข้าร่วมศึกสงครามใดๆ ทั้งสิ้น)

เมื่อกว่า2500ปีมาแล้ว กรีกไม่ได้รวมเป็นอาณาจักร แต่เป็นรัฐอิสระจำนวนมาก เช่น เอเธนส์ โครินธ์ และสปาทาซึ่งต่างก็มีกฎหมาย
และระบบการปกครองเป็นของตนเอง ชาวกรีกอยู่ภายใต้ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งมีอาณาเขตตั้งแต่ ตรุกี อียิปต์ตอนเหนือ

*แถมเกร็ดนิดหน่อยสมัยนั้นกรีกมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีนครรัฐหลายแห่งมารวมตัวกัน ซึ่งนครเอเธนส์กะนครสปาร์ตานี้
จะเป็นคู่กัดกันตลอด เพราะเอเธนส์เน้นการปกครองประชาธิปไตยกับการพัฒนาวัฒนธรรมมีกองทัพเรือที่แข็งแกร่งสุด
ส่วนสปาร์ตาเน้นด้านเผด็จการทหารมีกองทัพบกที่แกร่งสุด 2 นครนี้จึงต่างแย่งกันจะเป็นผู้นำของกรีก

รวมถึงจากการที่สปาร์ตาทอดทิ้งเอเธนส์ในสงครามเปอร์เซียครั้งแรก (ย้อนกับไปอ่านด้านบน) เมื่อพลนำสารเอเธนส์วิ่งทรหดจากหาด
มาราธอนเพื่อไปขอความช่วยเหลือจากกองทัพสปาร์ตาจนเป็นตำนานอันลือลั่น (ตำนานการวิ่งมาราธอน) แต่สปาร์ตาไม่ส่งกำลังมาช่วย
เพราะอ้างว่าอาณาจักรของตนกำลังมีเทศกาล"คาร์เนี่ยน"อยู่ และเหตุการณ์ดันพลิกผันเมื่อเอเธนส์สามารถเอาชนะเปอร์เซียตอนนั้น
ได้ด้วยกำลังตนเอง และได้รับการยกย่องจากนครรัฐต่างๆ ของกรีกให้เป็นผู้นำ นครสปาร์ตาซึ่งอยากเป็นใหญ่จึงเริ่มมีอคติกับเอเธนส์มากขึ้น



กลับมาที่เทอโมไพลาย กษัตริย์เลโอนิดาสคะเนจากชัยภูมิแล้วจึงให้วางกำลังทหารส่วนหนึ่งไว้บนที่สูงและบริเวณปากช่องเขา
พอทหารเปอร์เซียเดินทัพเข้ามาทางหุบเขาที่เป็นบริเวณแคบอยู่แล้วก็ถูกกำลังของเลโอนิดาสซุ่มโจมตีจนต้องสูญเสียไพร่พลไปจำนวนมาก

สองวันแรกของการรบนั้นสถาณการณ์อยู่ข้างฝ่ายกรีก ตอนแรกฝ่ายเปอร์เซียส่งทหารชาวเมเดส(Medes)เข้าเป็นหน่วยแนวหน้า
แต่เมื่อชาวเมเดสอันเหี้ยมหาญต้องมาเจอกับยุทธวิธีแบบ"ฟาแลงซ์"(phalanx)ของชาวกรีกเข้าก็ต้องสิ้นท่าครับตายกันเกลื่อนบริเวณ
แม้ต่อมาเซอร์ซิสได้ส่งทหารหน่วยอมตะ(Immortal)จำนวน 10,000นายซึงเป็นทหารหน่วยที่เยี่ยมที่สุดเข้าต่อกรแต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างกัน
การรบช่วงแรกชัยชนะจึงตกเป็นของกรีก

ระหว่างที่คิดหาทางจะโจมตีทัพกรีกอยู่นั้นก็เหมือนสวรรค์เข้าข้างเปอร์เซีย มีชาวกรีกทรยศชื่อ"เอพิเทส"(Ephialtes)ได้มาเสนอว่า
จะพาเซอร์ซิสไปชมพื้นที่ของช่องเขาแห่งนี้โดยแลกกับรางวัล เอพิเทสพากษัตริย์เปอร์เซียไปชมช่องเขารอบๆ และเส้นทางแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นที่รกไปด้วยพุ่มไม้หนามแต่ว่าสามารถไปทะลุที่หลังค่ายชาวกรีกได้

(ต่อมาชื่อ"เอพิเทส"นี้ได้ถูกนำมาต่อท้ายกลายมาเป็นคำว่า"Ephialtes the tratiors" หรือเอพิเทสคนขายชาติ โดยชื่อของเขา
ได้กลายมาเป็นคำศัพท์ในภาษากรีกซึ่งถ้าแปลเป็นอังกฤษจะหมายความว่า "nightmare" ฝันร้ายนั่นเอง)

ในวันที่สามตอนรุ่งสางแม่ทัพเปอร์เซียได้นำทหารหน่วยอมตะจำนวนหนึ่งไปตามเส้นทางลับนี้และเจอกองทหารชาว"โพเชี่ยน"1,000นาย
ซึ่งเลโอนิดาสให้มาเฝ้าเส้นทางไว้ ฝ่ายเปอร์เซียได้ทำการยิงห่าฝนธนูจำนวนมากไปยังทหารโพเชี่ยนที่ส่วนใหญ่ยังหลับอยู่ ก่อนเข้าประจัญบาน
จนทหารโพเชี่ยนแตกกระบวนถอยหนีไปหมด ทำให้เปอร์เซียสามารถตียึดเส้นทางนี้ได้อย่างง่ายดาย

เมื่อตะวันขึ้นเลโอนิดาสจึงทราบว่ากองทัพของตนตอนนี้ถูกล้อมกรอบเสียแล้วเขาจึงทำการเรียกประชุมแม่ทัพนายกองทั้งหมด
โดยขุนศึกของเอเธนส์และนครกรีกอื่นๆ เสนอว่าควรถอยทัพกลับไปขณะที่ยังมีโอกาส หลังการประชุมกษัตริย์เลโอนิดาสจึงออกคำสั่ง
ที่กล้าหาญเยี่ยงวีรบุรุษ

คำสั่งคือให้ทัพจากนครกรีกอื่นๆ ถอยทัพไปรวมพลกับกองทัพพันธมิตรที่ตั้งค่ายรออยู่ ส่วนตนเองพร้อมทหารสปาร์ตา "300"
นายจะคอยยันถ่วงเวลาทหารเปอร์เซียไว้เพื่อให้ทัพกรีกหนีไปอย่างปลอดภัย โดยที่มีทหารจากนคร"เทปเซียน"(Thepsians)
จำนวน700นายซึ่งนำโดยแม่ทัพ"เดโมฟิลัส" ตัดสินใจที่จะอยู่ช่วยสปาร์ตาอีกแรงหนึ่งด้วย

โดยในวันนั้นเลโอนิดาสได้จัดการแจกจ่ายเสบียงให้ทหารของตนกินกันให้เต็มที่พร้อมทั้งกล่าวปลุกใจทหารของตนว่า
(Tonight we will dine in Hell) "คืนนี้เราจะฉลองมื้อค่ำกันในนรกภูมิ" โดยหลังจากนั้นเมื่อทหารกรีกอื่นๆ เริ่มทยอยหนี
จากค่ายไปแล้วทหารสปาร์ตา300นายและทหารเทปเซียนได้เดินทัพออกมาจากค่ายและได้เข้าประจัญบานกับทัพเปอร์เซียในที่โล่ง

ทหารหลายคนโดนธนูยิงตายตั้งแต่ยังไม่ตะลุมบอน ที่รอดจากคมธนูต่างต่อสู้อย่างถวายชีวิตด้วยรู้ว่าตนจะไม่มีโอกาสรอดกลับไป
บ้านเกิดเมืองนอนแล้ว ทั้งหอกและดาบสั้นถูกนำมาใช้ประมือกันในระยะใกล้อย่างเหี้ยมโหด ถึงแม้ทหารสปาร์ตาแต่ละคนจะเป็นเผ่าพันธุ์
นักรบและได้รับการฝึกมาอย่างดี แต่ด้วยจำนวนเพียงน้อยนิดจึงทำให้ตกเป็นรองและถูกฝ่ายเปอร์เซียฆ่าล้างบางจนเกลี้ยง

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้