ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1675
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

[คัดลอกลิงก์]
พระธรรมคุณ ๑๔ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
›››››
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหารฒ
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
]
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ธรรมะเป็น สวากขาโต ภควตาธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว สันทิฏฐิโก อันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดูโอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา และ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญูคือผู้รู้พึงรู้เฉพาะตน ดั่งนี้
ได้แสดงอธิบายพระธรรมคุณตั้งแต่บทต้นมาโดยลำดับ จนถึงบทที่ ๕โอปนยิโกควรน้อมเข้ามา และจะได้เริ่มแสดงอธิบายต่อในบทที่ ๖ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญูคือผู้รู้พึงรู้เฉพาะตน พระธรรมคุณทั้ง ๖ บทนี้ย่อมเป็นพระธรรมคุณของธรรมะทั้งสิ้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
ธรรมะที่พระองค์ตรัสแล้วดีทุกข้อทุกบท ย่อมเป็นพระธรรมคุณบทที่ ๑ และย่อมประกอบด้วยอีก ๕ บท ด้วยกันทั้งหมด ไม่ใช่จำเพาะบทใดบทหนึ่ง และพระธรรมที่พระองค์ตรัสดีแล้วนั้น ก็ตรัสชี้ข้อปฏิบัติต่างๆ อันเป็นปฏิบัติธรรม เพื่อผลที่พึงได้พึงถึง ตั้งแต่ในขั้นโลกิยะเกี่ยวกับโลก จนถึงโลกุตรเหนือโลกพ้นโลก คือมรรคผลนิพพานซึ่งเรียกว่าเป็นปฏิเวธ คือเป็นธรรมะที่พึงเจาะแทงด้วยความรู้แจ้ง ที่มักจะใช้เป็นคำแปลของปฏิเวธว่ารู้แจ้งแทงตลอด ก็ล้วนประกอบด้วยพระธรรมคุณทั้งปวงนี้ ฉะนั้นความต่างกันแห่งบทพระธรรมคุณ จึงอยู่ที่พยัญชนะคือถ้อยคำอันเป็นบัญญัติโวหาร ซึ่งอาจที่จะบัญญัติขึ้นกล่าวเป็นภาษาคำพูดได้จำเพาะเจาะจงในแง่หนึ่งมุมหนึ่ง ฉะนั้นจึงต้องใช้กล่าวหลายๆ บท แต่ก็ย่อมมุ่งสู่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน รวมเข้าในพระธรรมคุณเป็นอันเดียวกัน
และยังมีบทอื่นๆ ที่แม้พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้เอง อันเป็นพระธรรมคุณอีกเป็นอันมาก เช่นที่ตรัสเอาไว้ว่านิยานิโก เป็นธรรมะที่นำออก อุปสมิโก เป็นธรรมะที่นำให้เกิดความสงบรำงับ ปรินิพานิโก เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งสิ้น ดั่งนี้เป็นต้น ฉะนั้นพระธรรมคุณ ๖ บทนี้ จึงเป็นพระธรรมคุณที่ยกขึ้นมาแสดง มากล่าวสรรเสริญ มาสวดสาธยายจำเพาะบทที่มีเนื้อความสำคัญๆ เท่านั้น แม้บทอื่นที่ไม่ได้ยกมาแสดง มาสวดสรรเสริญกันใน ๖ บทนี้ จะหาว่าไม่สำคัญก็ไม่ได้ ก็เป็นบทสำคัญด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่าก็จำที่จะต้องเลือกมาสำหรับกล่าวเป็นบทสรรเสริญ เป็นบทสวด ตามจำนวนที่เหมาะสมเท่านั้น
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-1 13:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วิญญู ๓ จำพวก
และแม้ในบทที่ ๖ นี้ก็ย่อมมีอยู่ร่วมกับพระธรรมคุณที่แสดงมาข้างต้นทั้งหมด พระธรรมคุณที่แสดงมาข้างต้นทั้งหมดแต่ละบท ก็ย่อมมีร่วมอยู่ในบทอื่นๆ ด้วยกันทั้งหมด เช่นเดียวกันดังที่กล่าว
และในบทที่ ๖ นี้ที่เจาะจงไว้ว่า อันวิญญูคือผู้รู้พึงรู้เฉพาะตนนั้น ก็มีอธิบายโดยย่อว่า ที่ชื่อว่าวิญญูคือผู้รู้นั้นก็หมายถึง ผู้รู้จำพวกที่เรียกว่า อุคคติตัญญู รู้ธรรมที่เพียงแต่ยกหัวข้อขึ้นแสดง เป็นบุคคลจำพวกที่มีความรู้ไว และเป็นวิญญูคือผู้รู้จำพวกที่รองลงมาคือ วิปจิตัญญู  รู้ธรรมต่อเมื่อแสดงอธิบายหัวข้อที่ยกขึ้น กับจำพวกที่รู้ช้าเข้าอันเรียกว่า เนยยะ คือพึงแนะนำได้ คือต้องอธิบายแนะนำหลายครั้งหลายหน อันเป็นบุคคลที่รู้ธรรมทั่วๆ ไป วิญญูคือผู้รู้หมายถึงรู้ธรรม ก็คือรู้ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ๓ จำพวกดังที่กล่าวมา และก็พึงรู้เฉพาะตน คือจะต้องรู้ด้วยตนเอง มิใช่ว่าจะมีผู้อื่นรู้แทนได้ หรือจะไปรู้แทนผู้อื่นได้
ข้อว่าผู้รู้พึงรู้จำเพาะตน
อันผู้รู้พึงรู้จำเพาะตนนี้ก็เป็นหลักธรรมดาทั่วไปของความรู้ ของทุกๆ คน ยกตัวอย่างเช่น ความรู้ที่ได้จากการเรียน เช่นเรียนหนังสือเรียนวิทยาการต่างๆ ทุกๆ คนก็ต้องเรียนเอง ต้องศึกษาเองจึงจะรู้ ตั้งแต่เด็กๆ เป็นต้นมา ฉะนั้นผู้ปกครองเช่นมารดาบิดาจึงต้องส่งลูกหลานเข้าโรงเรียน ลูกหลานนั้นก็ได้รับอุปการะด้วยเสื้อผ้า ตำราเรียนเครื่องเรียน อาหารเป็นต้น จากมารดาบิดาผู้อุปการะทั้งหลาย แต่ก็ต้องเรียนเอง มารดาบิดาผู้อุปการะทั้งหลายจะเรียนแทนให้ไม่ได้ เด็กทุกคนต้องเรียนเอง ฉะนั้นแม้ความรู้ทั่วๆ ไป ศิลปวิทยาการทั่วๆ ไปก็ต้องรู้จำเพาะตนดังที่กล่าว และเมื่อเรียนรู้แล้วจะไปยกเอาความรู้ที่ตนเรียนมานั้นให้แก่ผู้อื่นก็ไม่ได้ ผู้อื่นเมื่อต้องการจะรู้ก็ต้องเรียนเอง ต้องศึกษาเอง ด้วยการอ่านการฟัง การคิดพินิจพิจารณา และการปฏิบัติต่างๆ ด้วยตนเองของทุกๆ คน จึงจะรู้ได้ในสิ่งที่ต้องการรู้นั้นๆ
แม้ในขั้นปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง จึงจะรู้ในธรรมะที่ปฏิบัตินั้น ในสิ่งที่ปฏิบัตินั้น
แม้ในการปฏิบัติทั่วๆ ไปที่เป็นสามัญก็เป็นเช่นนั้น เช่น การที่จะใช้มือปฏิบัติ เช่นเขียนหนังสือก็ต้องหัดมือให้เขียนหนังสือ และเมื่อหัดมือให้เขียนหนังสือมือข้างไหนที่หัดไว้ก็เขียนได้ แต่มือข้างที่ไม่หัดก็เขียนไม่ได้ เช่นหัดเขียนหนังสือด้วยมือขวา หัดมือขวาเขียนหนังสือ ก็ใช้มือขวาเขียนได้ แต่ครั้นมาใช้มือซ้ายเขียนหนังสือ มือซ้ายไม่ได้หัดไว้ก็เขียนไม่ได้เหมือนอย่างมือขวา เพราะฉะนั้น แม้ในการปฏิบัติของอวัยวะร่างกายก็ต้องอาศัยการฝึกหัดปฏิบัติกระทำ และก็กระทำได้จำเพาะเหมือนกัน แม้แต่มือก็ทำได้จำเพาะมือที่หัด มือที่ไม่หัดก็ทำไม่ได้ ยิ่งเป็นการปฏิบัติที่ละเอียดขึ้นก็จะต้องฝึกหัดให้ยิ่งขึ้น และก็ทำได้จำเพาะตน จำเพาะตน หรือจำเพาะที่ปฏิบัตินั้นอีกเหมือนกัน
การเรียนรู้ก็เพื่อปฏิบัติ
การเรียนให้รู้ก็เพื่อปฏิบัติ ถ้าหากว่าไม่ปฏิบัติก็ไม่บังเกิดเป็นผลขึ้นมาในทุกๆ อย่าง ทั้งในทางคดีโลกและทั้งในทางคดีธรรม ในทางคดีโลกก็เช่นว่า เรียนรู้การไสไม้ เป็นช่างไม้ แต่ว่าไม่ฝึกปฏิบัติด้วยมือในกิจการช่าง เช่นการไส การตัด การเจาะ เป็นต้น เพียงแต่เรียนรู้อย่างเดียว ก็ทำไม่ได้ สิ่งต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นในโลก ก็บังเกิดขึ้นจากการฝึกหัดกระทำขึ้น และก็ด้วยการลงมือกระทำทั้งนั้น แม้แต่ในการหุงข้าวต้มแกง แม้ว่าเรียนรู้วิธีหุงข้าวต้มแกง แต่ไม่ลงมือหุงข้าวต้มแกงด้วยตัวเองก็ทำไม่ได้ เรียนรู้ในวิธีที่จะขับขี่รถจักรยานแต่ไม่ฝึกหัดขับขี่ด้วยตัวเองก็ขับขี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการปฏิบัติ และเมื่อปฏิบัติก็ย่อมรู้ในสิ่งที่ตนปฏิบัตินั้น
มาถึงธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วก็เช่นเดียวกัน ทีแรกก็ต้องเรียนเพื่อรู้ว่าพระองค์ทรงสั่งสอนอย่างไร แม้เรียนเพื่อรู้ดังกล่าวนี้ก็ต้องเรียนด้วยตัวเอง เช่นต้องตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจอ่านหนังสือธรรม ตั้งใจท่องบ่นจำทรง ตั้งใจเพ่งพินิจพิจารณา และขบเจาะด้วยทิฏฐิคือความเห็น
อันได้แก่ทำความเข้าใจในธรรมะที่ฟังนั้น เหล่านี้ก็ต้องเรียนรู้ดังกล่าวด้วยตัวเอง เรียนแทนกันไม่ได้ หรือเรียนให้กันไม่ได้ และเมื่อเรียนรู้แล้ว ถ้าเพียงเรียนรู้อย่างเดียวธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วนั้น ก็คงตั้งอยู่ในความจำ ในความเข้าใจ ไม่บังเกิดเป็นธรรมะทางปฏิบัติขึ้นมา ไม่เป็นศีล ไม่เป็นสมาธิ ไม่เป็นปัญญาขึ้นมา เหมือนอย่างว่าเรียนรู้วิธีสร้างบ้าน สร้างเรือน แต่ว่าไม่ทำการสร้างบ้านสร้างเรือนขึ้นมา ก็ไม่เกิดเป็นบ้านเป็นเรือนขึ้นมา ทุกๆ อย่างก็เช่นเดียวกัน
การปฏิบัติอันเรียกว่าภาวนา
เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปฏิบัติอันเรียกว่าภาวนา คือการทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นมา นี้คือปฏิบัติ ทำศีลให้มีขึ้นมาเป็นขึ้นมา ทำสมาธิให้มีขึ้นมาเป็นขึ้นมา ทำปัญญาให้มีขึ้นมาเป็นขึ้นมา ที่กายวาจาใจหรือจิตของตนเอง เมื่อเป็นดั่งนี้จึงจะเป็นธรรมะปฏิบัติขึ้นมา เพราะฉะนั้นการปฏิบัตินี้จึงมีคำเรียกว่าภาวนา ไม่ใช่หมายถึงว่าการระลึกถึงด้วยใจ หรือเปล่งวาจาสวดบทพุทธมนต์ต่างๆ เป็นต้น ดังที่เข้าใจกันโดยมาก เรียกกันโดยมาก
แต่ว่าภาวนานี้หมายถึงว่าทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น คือทำศีลสมาธิปัญญาให้มีขึ้น ให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญาขึ้น ให้เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญาขึ้นมาดังที่กล่าว และเมื่อได้ปฏิบัติดั่งนี้ก็ย่อมรู้จำเพาะตนที่ตนเอง ว่าตนได้ปฏิบัติมีหรือเป็นขึ้นมาอย่างไร และเมื่อได้รับผลของการปฏิบัติควบคู่ไปกับการปฏิบัติดังที่เคยแสดงมาแล้วตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงขั้นสูงสุดอันเรียกว่าปฏิเวธรู้แจ้งแทงตลอด ขั้นสูงสุดก็เป็นขั้นมรรคผลนิพพาน ก็รู้จำเพาะตนอีกเช่นเดียวกัน
(เริ่ม ๑๑๑/๑) แต่ว่าข้อที่ว่าอันวิญญูชนพึงรู้จำเพาะตนนี้ ไม่ได้หมายถึงว่าบอกกล่าวผู้อื่นไม่ได้ ก็บอกกล่าวผู้อื่นได้
ดังเช่นพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมด้วยพระองค์เองแล้ว ก็ได้ทรงแสดงธรรมะที่ตรัสรู้สั่งสอน แต่ก็ทรงสั่งสอนได้ในธรรมะ ที่ควรสั่งสอนให้รู้แจ้งเห็นจริง ทรงแสดงเหตุผลที่อาจตรองตามเห็นจริงได้ และก็ทรงแสดงมีปาฏิหาริย์ คือเป็นจริงทุกอย่าง และผู้ปฏิบัติพึงปฏิบัติได้จริง พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงสั่งสอนได้ดั่งนี้ จึงเกิดเป็นพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น สวากขาโต ภควตาธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
แต่ในการบอกนั้นก็คือบอกทางปฏิบัติ เพื่อว่าผู้ฟังจะพึงรู้ทางที่ทรงบอก และปฏิบัติด้วยตนเองอีกเช่นเดียวกัน เพื่อให้รู้ธรรมะที่ตรัสสอนนั้นด้วยตัวเอง จึงจะเป็นผลที่ตนได้รับ ถ้าหากว่าไม่เดินไปตามทางที่ทรงสั่งสอนนั้น ก็ไม่ได้บรรลุถึงธรรมะที่ทรงสั่งสอน ไม่เห็นแจ้งธรรมะที่ทรงสั่งสอน เพราะ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้