ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2145
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ช่วงเวลาการดื่มน้ำเปล่าบำบัดโรค

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-11-26 06:08

ช่วงเวลาการดื่มน้ำเปล่าบำบัดโรค





ดื่มน้ำเปล่า สามารถใช้ชะลอความแก่ และสามารถบำบัดรักษาโรคได้ เราสามารถ ดื่มน้ำเปล่า เพื่อบำบัดรักษาโรคได้หลายโรค มีการพิสูจน์จนยอมรับว่าสามารถบำบัดรักษาโรคเหล่านี้ได้ผล 100% (แต่ต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ต้องใช้ระยะเวลานะครับ) ดังอย่างเช่น อาการปวดหัว อาการปวดตามตัว โรคระบบหัวใจ โรคไขข้ออักเสบ โรคหัวใจเต้นเร็ว โรคลมบ้าหมู โรคอ้วน โรคหลอดลมอักเสบ โรคหืด วัณโรค อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ โรคไต และยูริก โรคแสลงคลื่นไส้ต่างๆ โรคกระเพาะ โรคท้องร่วง โรคริดสีดวง โรคเบาหวาน โรคอาการท้องผูก โรคตา โรคภายในสตรี มะเร็ง และรอบเดือนไม่ปกติ โรคคอ หู จมูก

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญใน ร่าางกายมากถึง 70% คุณทราบไหมค่ะว่าการ ดื่มน้ำเปล่า การดื่มน้ำเวลาไหนถึงจะให้ประโยชน์สูงสุด ถ้าใครยังไม่ทราบวันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

การ ดื่มน้ำเปล่า ที่ถูกต้องไม่ใช่ดื่มกันวันละ 8-10 แก้วให้หมดในคราวเดียวเลยนะคะแต่เราควรค่อยๆ
ดื่มน้ำเปล่า ตอนไหนเวิร์กสุด

เวลาตื่นนอนตอนเช้า ก่อนแปรงฟัน ให้ดื่มน้ำ 1 แก้ว (400ซีซี) เพราะเป็นช่วงที่เลือดมีความเข้มข้นสูงเลือดมีลักษณะขาดน้ำนั่นเอง



  • เวลา 09.00-10.00น. ดื่ม 2 แก้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายมีของสียเกิดขึ้นจึงควรดื่มน้ำมาชำระของเสียเหล่านั้นออกไป
  • เวลา 13.00-14.00น. ดื่ม 3 แก้ว เป็นเพราะช่วงนี้เป็นภาวะขาดน้ำจะทำให้รู้สึกง่วงนอนหากดื่มช่วงเวลานี้จะทำ ให้เราสดชื้นและมีความคิดที่ดี
  • เวลา 19.00-20.00น. ดื่ม 3 แก้ว ก่อนนอนต้องดื่มอีก 1 แก้ว เพื่อให้น้ำที่ดื่มไหลเวียนชำระล้างสิ่งตกค้างในลำไส้และกระเพาะอาหารยิ่ง ถ้าเป็นน้ำอุ่นแล้วจะยิ่งทำให้เราหลับสบายขึ้นอีกด้วย

ที่มา : กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-26 06:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ควร/ไม่ควรในการดื่มน้ำเพื่อให้มีสุขภาพดี


ควร... ดื่มน้ำทีละอึก ค่อยๆ ดื่ม เพราะร่างกายจะดูดซึมได้ดีกว่า


ไม่ควร... ดื่มน้ำรวดเดียวหมด เพราะร่างกายจะดูดซึมได้ช้าและยังเกิดอาการจุกเสียดกระเพาะและอึดอัดท้อง ควร... ดื่มน้ำอุ่นเมื่อตื่นขึ้นในตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายได้ขับถ่ายของเสียและสารพิษ ไม่ควร... ดื่มน้ำเย็นก่อนนอน เพราะจะทำให้เวลากลางคืนที่หลับ จะลุกขึ้นมาปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้การนอนหลับขาดช่วง เท่ากับว่าต้องไปเริ่มกระบวนการพักผ่อนใหม่อีกครั้ง ควร... ดื่มน้ำผลไม้ ชนิดไม่แยกกาก หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของธัญพืชช่วยเพิ่มความสดชื่นและเติมไฟเบอร์ให้ร่างกาย การขับถ่ายก็จะง่ายขึ้น ไม่ควร... ดื่มน้ำอัดลม เพราะยิ่งจะไปเพิ่มปริมาณแก๊สในกระเพาะ ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และที่สำคัญ ลมกรดในน้ำจะทำให้ฟันผุ โดยเฉพาะเด็กที่ฟันยังไม่สมบูรณ์แข็งแรง การดื่มน้ำอัดลมเหมือนกับเอาฟันแช่อยู่ในน้ำกรด ซึ่งจะกัดกร่อนฟัน แต่หากเปลี่ยนวิธีดื่ม ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้บ้างค่ะ นั่นก็คือ ใช้หลอด แต่ควรให้หลอดอยู่หลังฟันหน้า เมื่อดูดน้ำเข้าไป น้ำจะถูกกลืนเข้าหลอดอาหารโดยตรง โอกาสที่น้ำอัดลมจะสัมผัสกับฟันก็จะลดน้อยลง เป็นวิธีการรักษาฟันให้แข็งแรงสำหรับผู้ที่ชอบดื่มน้ำอัดลมค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม ควรพยายามลดการดื่มน้ำอัดลงให้น้อยลง โดยเฉพาะเด็กดื่มแล้วมักจะทำให้ไม่อยากทานข้าวและไม่ชอบทานน้ำเปล่า นานวันเข้าจะไม่ดีต่อสุขภาพ ควร... ดื่มน้ำหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 15-30 นาที เพื่อให้อาหารที่รับประทานเข้าไปย่อยให้หมด ไม่ควร... ดื่มน้ำเวลารับประทานอาหาร เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจาง ยากต่อการย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไป จะเกิดอาการปวดท้อง แต่สามารถจิบน้ำซุประหว่างรับประทานอาหารได้ แค่เปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มน้ำ ก็จะมีสุขภาพที่ดีได้ง่ายๆ แล้วค่ะ

คนที่ไม่ควรดื่มน้ำมาก
การบำรุงสุขภาพมักจะส่งเสริมให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย แต่ใช่ว่าจะเหมาะกับทุกคนเสมอไป บางคนที่กำลังทานยารักษาโรค หากดื่มน้ำมากเิกินไป อาจจะทำให้อาการหนักขึ้น หรือลดสรรพคุณของยา และการดื่มน้ำควรถูกเวลา หากดื่ืมน้ำผิดเวลา ก็จะไม่ดีต่อสุขภาพ กระทั่งเป็นการคุกคามต่อชีวิตด้วย คนที่เป็นโรคหัวใจอย่าดื่มน้ำรวดเดียว เพราะเมื่อน้ำปริมาณมากเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เลือดเจือจาง ซึ่งจะเพิ่มภาระให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น สำหรับผู้ที่มีหัวใจแข็งแร็งเป็นปกติแล้วอาจจะไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจแล้วคงยากที่จะแบกรับภาระหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดอาการไม่สบาย เพราะฉะนั้น คนที่หัวใจไม่แข็งแรง เวลาดื่มน้ำควรค่อยๆ ดื่มและครั้งหนึ่งอย่าดื่มมาก ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือนไม่ควรดื่มน้ำมาก เนื่องจากไตของทารกแรกเกิดยังไม่แข็งแรง หากดื่มน้ำมากไปในขณะที่ขับถ่ายน้ำออกจากร่างกายนั้น สารโซเดียมสูญหายไปด้วย การขาดสารโซเดียมจะส่งผลกระทบต่อสมองของทารก ทำให้เกิดอาการหงุดหงิด หลับนานเกินควร อุณหภูมิร่่างกายต่ำและหน้าบวม กระทั่งมีอาการชัก เป็นตะคริวและผวาตื่น ซึ่งล้วนเป็นอาการที่เกิดจากการขาดสารโซเดียม เพราะฉะนั้น ควรให้ทารกที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือนทานนมแม่หรือนมผง และเวลาชงนมผงควรทำตามสูตรที่กำหนด อย่าใส่น้ำมากเกินไป แต่สำหรับเด็กที่อายุเกิน 6 เดือนแล้วจะไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว

ผู้ป่วยโรคกระเพาะที่กำลังรับประทานยารักษาแผลในกระเพาะไม่ควรดื่มน้ำมาก เนื่องจากยารักษาแผลในกระเพาะบางชนิดเวลาเข้าสู่กระเพาะจะกลายเป็นเม็ดเล็กๆ ติดกับแผลในกระเพาะ เพื่อไม่ให้น้ำย่อยกัดแผล แผลก็จะค่อยๆ หาย หากดื่มน้ำมาก เม็ดยาที่ติดกับแผลจะถูกน้ำเซาะจนหายไปซึ่งจะลดสรรพคุณยา เพราะฉะนั้น เมื่อทานยารักษาโรคกระเพาะแล้วภายในเวลาครึ่งชั่วโมงอย่าดื่มน้ำ นอกจากยาโรคกระเพาะแล้ว เวลาทานยาแก้ไอก็เช่นกัน ไม่ควรดื่มน้ำมาก


ที่มา..http://thai.cri.cn/461/2010/04/15/242s174030.htm

ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้