ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 13456
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระกำแพงแก้ว วัดรัมภาราม (วัดบ้านกล้วย) อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-8-19 09:52




พระกำแพงแก้ว วัดรัมภาราม (วัดบ้านกล้วย) อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี






ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504 ได้เก็บรวบรวมมวลสารอันเป็นมงคลต่างๆ มาเป็นส่วนผสมดังนี้

1.ดินกรุพระเครื่องมีชื่อ 7 กรุ

2.ไคลเสมาจากวัดที่มีชื่อลงท้ายว่า "แก้ว" 7 วัด

3.ดินสังเวชนียสถาน 7 ตำบล

4.ทรายจากกระถางธูปหน้าพระพุทธรูป ที่มีคนมาสักการะมาก 7 แห่ง

5.เกสรดอกไม้ในที่บูชาตามสถานที่สำคัญ 7 แห่ง

6.ใบโพธิ์ตรัสรู้จากประเทศอินเดีย 7 ต้น

7.พระอภิธรรม 7 คัมภีร์

8.ดินจอมปลวก 7 จอม

9.น้ำมนต์ 7 วัด เป็นเครื่องประสาน อาทิ น้ำมนต์ คาถาแสน วัดรัมภาราม ปี พ.ศ.2501, น้ำมนต์ 100 ปี วัดบวรนิเวศวิหารและวัดราชบพิธฯ, น้ำมนต์เสาร์ 5 วิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช พิษณุโลก, น้ำมนต์หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรฯ, น้ำมนต์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร, น้ำมนต์จากวัดระฆังฯ นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน

แล้วแผ่เป็นแผ่นผูกดวงชะตาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ดวงประสูติ ดวงตรัสรู้ ดวงปรินิพพาน




นอกจากนี้ ยังได้รับผงเกสรดอกไม้และว่านต่างๆ จากอีกหลายพระคณาจารย์ เช่น หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ มอบผงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผงเศษพระปิลันทน์กับผงที่ท่านทำเอง พระครูวิริยกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี มอบผงที่ท่านเก็บสะสมไว้ ซึ่งเหลือจากการสร้างพระรุ่นอินโดจีน

หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก มอบผงมหาราช, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มอบผงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ มูลกัจจายน์ อิทธิเจ, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง มอบผงมหาราช ปถมัง ตรีนิสิงเห นะ 108 เกสร 108 และว่านต่างๆ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ มอบผงวิเศษมหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี, พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ มอบเศษพระจากกรุวัดบ้านกร่าง และดินกลางใจเมือง 8 จังหวัด ดิน 534 วัด ดินสระ 7 สระ ดินโป่ง 5 แห่ง ดินจากสถานที่สำคัญอีก 24 แห่ง

พระอาจารย์ถนอม เขมจาโร วัดนางพญา พิษณุโลก มอบเศษพระชำรุดเป็นจำนวนมากจากหลายกรุหลายจังหวัด คือ จากพิษณุโลก 115 กรุ รวมทั้งเศษพระนางพญา สุโขทัย 16 กรุ อุตรดิตถ์ 1 กรุ กำแพงเพชร 1 กรุ พิจิตร 1 กรุ ลพบุรี 1 กรุ ลำพูน 1 กรุ พระอาจารย์ประหยัด วัดสุทัศน์ มอบผงที่เหลือจากการสร้างพระเมื่อปี พ.ศ.2496 ซึ่งปลุกเสกโดยพระอาจารย์หลายสิบรูป เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน รวมทั้งผงเศษตะไบพระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ)

พระครูปริยัติยานุกูล วัดพระงาม ลพบุรี มอบทรายทองในถ้ำสังกิจโจ และเม็ดพระศกหลวงพ่อพระงาม นอกจากนั้นยังมีผงศักดิ์สิทธิ์จากพระคณาจารย์อื่นๆ ที่มอบให้อีกเป็นจำนวนมาก




มวลสารที่ได้มาในคราวหลังนี้ นำมาผสมรวมกับคราวแรกจัดพิมพ์เป็น พระเครื่องเนื้อผง ด้านหน้าเป็นรูป พระแก้วมรกต ประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ ล้อมด้วยซุ้มเส้นลวด เป็นกำแพง 7 ชั้น ใต้สุดมีตัวหนังสือว่า กำแพงแก้ว ด้านหลังเรียบปราศจากอักขระเลขยันต์ใดทั้งหมดอยู่ในกรอบพิมพ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความกว้างประมาณ 2.1 ซ.ม. ยาวประมาณ 3.4 ซ.ม. เนื้อหาเป็นเนื้อผงอมน้ำมัน สีน้ำตาลอมเขียว


จำนวนไม่ทราบแน่ชัดแต่ประมาณว่าคงจะอยู่ในราว 3,000 องค์


เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงทางวิทยาคม จำนวน 27 รูป มาร่วมพิธีปรกปลุกเสก

พิธีการได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ.2504 ตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 รวมเวลา 7 วัน 7 คืน รายนามพระคณาจารย์ ที่อาราธนามานั่งปรกปลุกเสก หมุนเวียนกันก็มี อาทิ


พระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆังฯ พระครูทักษิณานุกิจ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม พระครูวิริยกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ พระครูอาคมสุนทร (มา) วัดสุทัศน์ พระครูศรีพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทอง พระครูรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลย์ พระครูนิสิตคุณากร (กัน) วัดเขาแก้ว หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว หลวงพ่อชม วัดตลุก หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน หลวงพ่อฉาย วัดป่าธรรมโสภณ หลวงพ่อผัน วัดพยัคฆาราม หลวงพ่อดำ วัดเสาธงทอง หลวงพ่อสาย วัดไลย์ หลวงพ่อโสภิต วัดรัมภาราม

และพระคณาจารย์ชื่อดังอีก 7 รูป เท่านี้ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีแล้วว่า พระเครื่องที่สร้างขึ้นครั้งนี้ ย่อมจะบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชา หากไม่คิดเห็นเป็นอย่างอื่น ในเรื่องของพระหลักพระนิยมแล้ว พระสมเด็จกำแพงแก้ว หรือพระกำแพงแก้ว ของวัดรัมภาราม ท่าวุ้ง ลพบุรีนี้ จึงควรค่าแก่การสะสมสักการบูชาอย่างยิ่ง

พระกำแพงแก้ว มีด้วยกันสองพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก พุทธลักษณะเป็นพระแก้วมรกต ประทับนั่งอยู่ภายในเส้นซุ้มครอบแก้ว 7 ชั้น ใต้ฐานมีอักษรเขียนว่า "กำแพงแก้ว" พระพิมพ์ใหญ่เป็นรูปทรงขอบสี่เหลี่ยม ส่วนพระพิมพ์เล็ก เป็นพระที่ตัดขอบเข้ารูปตามซุ้มครอบแก้ว นอกนั้นจะคล้ายๆ กัน พระกำแพงแก้วนี้เป็นพระเนื้อผง


พระกำแพงแก้ว พุทธคุณคุ้มครองดั่งกำแพงแก้ว 7 ชั้นที่ล้อมรอบองค์พระครับ เท่าที่ดูจากมวลสาร และพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกแล้ว ล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์ดังๆ ทั้งสิ้นครับ


ที่มา..http://www.khaosod.co.th/view_ne ... XdPVEU0TVRBMU5BPT0=
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-19 09:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-8-19 09:54

พระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้ว
วัดรัมภาราม ( บ้านกล้วย )
อำเภอท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
พ.ศ.๒๕๐๔
เนื้อผงน้ำมัน





เป็นพระสมเด็จที่สร้างขึ้นในสมัยพระครูโสภิตธรรมสาส์น อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ( พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๕๑๘ ) พร้อมกับพระสมเด็จกำแพงแก้ว  ท่านพระครูโสภิตธรรมสาส์นได้จัดสร้างพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้วขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นของสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ตั้งมูลนิธิเลี้ยงพระ เณร และนักศึกษาในวัด  ด้วยเหตุนี้ จึงนับได้ว่าทั้งพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้วนี้  ต่างก็เป็นพระเครื่องที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างที่ดี
   
     พระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้ว   นับเป็นพระเครื่องที่มีความโดดเด่นและมีชื่อเสียงในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องมานานจวบถึงถึงปัจจุบัน   ทั้งนี้   มิใช่เป็นเพียงเพราะการเป็นพระพิมพ์สมเด็จที่มีการประยุกต์ให้ดีขึ้นจากต้นแบบเดิมเท่านั้น  หากแต่ยังเป็นเพราะว่าได้มีนำรูปพระแก้วมรกตมาจำลองแบบไว้ภายในครอบแก้วด้วยนั่นเอง ซึ่งเดิมทีแล้ว  ทางวัดได้ทำการแจกจ่ายออกไปโดยที่มิได้มุ่งหวังความโด่งดังอะไรเลย    แต่ผลปรากฎที่ออกมากลับเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง    กล่าวคือใครก็ตามที่ได้พบเห็นพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้วไม่ว่าจะ ณ ที่ใดก็ตาม  จะรู้สึกเหมือนมีอะไรดึงดูดใจให้ต้องเข้าไปชะโงกดูใกล้ ๆ แล้วก็พากันยอมรับในฝีมือช่างโดยปราศจากข้อกังขา แม้ว่าจะมีผู้สร้างพระสมเด็จออกมาเป็นล้าน ๆ องค์  แต่ก็หาใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีพระพิมพ์สมเด็จของใครสร้างออกมาได้อย่างเป็นที่โดดเด่น  มีเอกลักษณ์เฉพาะเช่นนี้ และที่สำคัญมวลสารที่นำมาจัดสร้างทั้งพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้ว ก็นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความขลังได้ไม่น้อยเลยที่เดียว

มวลสารที่นำมาจัดสร้าง :

     - ดินเก่าในกรุวัดราชบูรณะ  จ.อยุธยา

     - ดินเก่าวัดพระรูป  จ.สุพรรณบุรี

     - ดินเก่าวัดมหาธาตุ  จ.ลพบุรี

     - ดินกรุวัดหินตั้ง จ.สุโขทัย

     - ดินกรุวัดอรัญญิก จ.พิษณุโลก

     - ดินกรุวัดนครชุม จ.พิจิตร

     - ดินกรุวัดบรมธาตุทุ่งเศรษฐี  จ.กำแพงเพชร

     - ไคลสีมาวัดโพธิ์แก้วนพคุณ จ.สิงห์บุรี

     - ไคลสีมาวัดเกาะแก้ว  จ.ลพบุรี

     - ไคลสีมาวัดเขาแก้ว จ.ลพบุรี

     - ไคลสีมาวัดป่าแก้ว จ.อยุธยา

     - ไคลสีมาวัดชุมแก้ว จ.ปทุมธานี

     - ไคลสีมาวัดอ่างแก้ว จ.สมุทรสาคร

     - ไคลสีมาวัดแก้ว จ.ลพบุรี

     - ดินสังเวชนียสถานจากอินเดีย ๗ ตำบล

     - ทรายจากกระถางธูปในสถานที่ที่มีผู้คนสักการะบูชา ๗ แห่ง

     - เกสรดอกไม้บูชาพระ ๗ แห่ง

     - ใบโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่นำมาปลูกในประเทศไทย ๗ ต้น

     - คัมภีร์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ตัวขอมผูกอาราธนาหลวงพ่อผู้ทรงคุณพิเศษ ๗ รูป

     - ดินจอมปลวก ๗ จอม

     - น้ำมนต์ ๗ วัดเป็นตัวประสานมวลสาร

พิธีพุทธาภิเษก :   

     ได้มีการจัดพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำโดยได้มีการอัญเชิญองค์พระแก้วมรกตจำลองสู่โรงพิธี  จากนั้นพระสงฆ์ ๗ รูปเจริญพระพุทธมนต์เย็น  พอตะวันตกดิน พระสงฆ์เริ่มสวดพุทธาภิเษก คณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษนั่งปรกปลุกเสกตลอด ๗ คืน หลังจากนั้น  พอขึ้น ๑๔ ค่ำก็สวดเดินธาตุและสวดญัตติตามคัมภีร์โบราณก่อนจะนำออกให้ชาวบ้านญาติโยมบูชาต่อไป  

     อนึ่ง ก่อนหน้านั้น  ทางวัดได้อาราธนาหลวงพ่อผู้เป็นที่ยอมรับนับถือของคนไทยทั้งประเทศในสมัยนั้น ๗ องค์มาร่วมทำการปลุกเสกอันได้แก่ :-

     ๑.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก  จ.อยุธยา

     ๒.หลวงปู่คำมี  วัดถ้ำคูหาสวรรค์  จ.ลพบุรี

     ๓.หลวงพ่อชม วัดตลุก จ.ชัยนาท

     ๔.หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี

     ๕.หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว จ.สิงห์บุรี

     ๖.หลวงพ่อโสภิตธรรมสาส์น วัดรัมภาราม จ.ลพบุรี

     ๗.หลวงพ่อสมดี จ.สิงห์บุรี

     เมื่อสร้างและทำพิธีปลุกเสกเสร็จสมบูรณ์แล้ว   ทางวัดก็ได้มอบพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำ แพงแก้วให้แก่พระเกจิอาจารย์ทั้ง ๗ รูปไปจำนวนหนึ่ง  ซึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่ามากน้อยเท่าใด  แต่โดยเฉพาะหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกนั้น  น่าจะได้มากกว่าเกจิอาจารย์รูปอื่น ๆ   เนื่องจากปรากฎภายหลังว่าหลวงพ่อจงท่านได้นำเอาพระสมเด็จกำแพงแก้วแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหาไปจำนวนหนึ่งไม่น้อยเลยทีเดียว   และภายหลังปรากฎว่าพระสมเด็จทีแจกไปนั้น  เป็นที่นิยมศรัทธาอย่างสูง  โดยผู้ที่ได้รับแจกต่างพากันเข้าใจไปว่าเป็นพระสมเด็จสร้างโดยหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ทั้งแท้ที่จริงแล้วเป็นของวัดรัมภารามนั่นเอง

ของปลอม :
   
     เนื่องจากพระสมเด็จรุ่นนี้ เป็นที่ได้รับความนิยมศรัทธาอย่างมาก   จึงสันนิษฐานว่าส่วนหนึ่งอาจจะมีการทำปลอมแปลงออกมาต้มตุ๋นหมูสนาม  ดังนั้น  ในการเล่นหาจึงควรพึงระวังให้มาก  ให้จำไว้อย่างหนึ่งว่าพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้ว เป็นพระ “เนื้อผงน้ำมัน“ ที่มีความแกร่งต่างจากพระผงน้ำมันสำนักอื่น ๆ  โดยสีสันวรรณะขององค์พระนั้น มีหลายสีไม่เหมือนกันโดยเท่าที่พบ จะมีทั้งสีขาวอมชมพู , สีขาวออกเทา , สีกลีบดอกจำปี , สีช็อคโกแลต , สีแดงคล้ายสีดินเผา , และสีขาวอมฟ้า

ที่มา..http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=12260
พิธีดีมากครับ...ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
เกือบได้เป็นเจ้าของ
oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2013-8-19 18:17
เกือบได้เป็นเจ้าของ

เก็บมาเผื่อบ้างนะครับ
ได้แค่เกือบครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้