ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3967
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วันสัตตนาคา รำลึกโอรส-ธิดา "๗ พญานาคราช"

[คัดลอกลิงก์]



วันสัตตนาคา รำลึกโอรส-ธิดา "๗ พญานาคราช"


วันสัตตนาคารำลึกวันชุมนุมโอรส-ธิดา "๗ พญานาคราช"
              งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาลออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ อย่างไรก็ตามก่อนงานประเพณีไหลเรือไฟ ๑๐ วันยังมีประเพณีอย่างหนึ่งยังไม่เป็นที่รูจักของคนในภูมิภาคอื่น คือ "วันสัตตนาคารำลึก" โดยมีกำหนดจัดทุกๆ ปี ในวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา (ขึ้น ๑๕ ค่ำ)"

              เมื่อวันสำคัญเช่นนี้ เวียนมาถึงในแต่ละปีผู้ที่ได้ถวายตัวเป็นโอรส-ธิดา (ลูกพระธาตุ) ขององค์สัตตนาคาทั้ง ๗ และผู้ที่ประจักษ์ในปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในวันดังกล่าววัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารจึงได้จัดงานพิธีต้อนรับและอุทิศส่วนกุศลแด่องค์พญานาคราชเจ้า


               ในคืนวันงาน บริเวณลานองค์พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร บรรดาโอรส-ธิดาพญาสัตตนาคาตลอดถึงผู้ที่ศรัทธาในองค์พระธาตุพนมและพญาสัตตนาคา ต่างพร้อมเพรียงกันในลานพิธีตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น ร่วมทำวัตรสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม เมื่อถึงเวลาตี ๒พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา และพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือพิธีประทับทรงพญาสัตตนาคา เพื่อมาช่วยเหลือบรรดาโอรส-ธิดา และบ้านเมือง ขณะเดียวกันจะเป็นคืนชุมนุมร่างทรงหรือคนมีองค์พญานาคจากภาคอีสานทั่วสารทิศทั้งเพศชายและหญิง ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ ส่วนเช้าวันที่ ๒ จะมีการทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร

              พระเทพวรมุนี (สำลี ปญฺญาวโร ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารและเจ้าคณะจังหวัดนครพนม เล่าให้ฟังว่า เรื่องการนั่งประทับทรงเกี่ยวกับพญานาคเกิดขึ้นในยุคพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กนฺโตภาโส ป.ธ ๖) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร (พ.ศ.๒๔๘๐-๒๔๕๓ ) ลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนทั่วไปมักเรียกท่านว่า “ท่านพ่อ” ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และชอบค้นคว้าวิชาโบราณคดี ประวัติศาสตร์จนได้รับขนานนามว่านักปราชญ์แห่งลุ่มน้ำโขง
  
              ท่านพ่อได้ทำนุบำรุงวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารและให้เจริญก้าวหน้าอย่างมากมายใน พ.ศ.๒๔๙๙ ท่านได้ก่อตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานขึ้นที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารและได้ส่งพระภิกษุ สามเณรและแม่ชีไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจากหลายสำนัก ได้ฝึกพระภิกษุสามเณรในวัดอยู่เสมอๆ
  
              สำหรับเรื่องพญานาคนี้ เกิดขึ้นภายหลังจากที่ท่านพ่อฯ ได้ตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานขึ้นได้๑ ปี เหตุเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณตี ๒ เดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค่ำ พ.ศ.๒๕๐๐ คืนนั้นฝนตกหนักครึ่งชั่วโมงแล้วตกพรำๆ มาอีกกว่า ๒๐ นาทีขณะที่ฝนตกฟ้าร้องดังสนั่นแผ่นดินสะเทือน นายไกฮวด ชาวธาตุพนมได้ออกมารองน้ำฝนที่หน้าร้านของตนเห็นแสงประหลาดเป็นลำงามโตเท่าลำต้นตาลขนาดใหญ่มีสีต่างๆ กันถึงเจ็ดสี พุ่งแหวกอากาศแข่งกันเป็นลำยาวหลายเส้นจากทางด้านทิศเหนือมองเห็นได้แต่ไกลจึงได้ร้องเอะอะเรียกภรรยามาดูแสงสีงาม ประหลาดหน้าสะพรึงกลัวขนหัวลุกนั่น พอมาถึงหน้าซุ้มประตูแสงนั้นก็หายเข้าไปในองค์พระธาตุพนมโดยที่ไม่ได้ตาฝาดไปเอง  

              ต่อมาอีกสองวัน คือวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนเดียวกัน พระธรรมราชานุวัตรได้ให้สามเณรทรัพย์ นั่งทางในตรวจดูเหตุการณ์ว่า แสงประหลาดเจ็ดสีเท่าลำต้นตาล ที่นายไกฮวดเห็นเข้ามาในวัดนี้มีความจริงเท็จแค่ไหนสามเณรทรัพย์เจ้าฌานสมาธิอยู่คู่หนึ่ง ก็เข้าไปพบพญานาคราชทั้งเจ็ดเรียงกันเป็นแถวอยู่บริเวณลานพระธาตุพนมลำตัวโตใหญ่เท่าลำต้นตาล มีหงอนแดงน่าสะพรึงกลัวสยองพองหัวเหลือที่จะกล่าว สามเณรทรัพย์ยืนงงงันอยู่ด้วยความประหลาดใจพลันประเดี๋ยวเดียวพญานาคทั้ง ๗ ได้กลับกลายเป็นมาณพ ๗ ชายทรงเครื่องขาวเรียงกันเป็นแถวอยู่ที่เดิม จะว่าก้มมิใช่ ยืนก็มิใช่อากัปกิริยาอยู่ระหว่างยืนกับก้ม สามเณรทรัพย์สนเท่ห์ใจงงจนพูดอะไรไม่ออก ทันใดมาณพผู้เป็นหัวหน้าได้ร้องถามว่าพ่อเณรมีธุระอะไร อย่ากลัวจงบอกมา สามเณรยืนงงอยู่มิได้ตอบว่ากะไรตั้งใจจะกลับกุฏิ

               พญานาคผู้เป็นหัวหน้าได้พูดขึ้นอีกว่า“พ่อเณรจะกลับแล้วหรือยัง ขอไปด้วย จะไปสนทนากับท่านเจ้าคุณ”พอขาดคำก็เข้าประทับร่างสามเณรทรัพย์ ทันทีด้วยจิตอำนาจที่เหนือกว่าสามเณรทรัพย์พลันหมดความรู้สึกวูบไปทันที สักครู่ก็หันมายกมือไหว้ท่านพ่อพระธรรมราชานุวัตร พร้อมกับพูดว่า “สวัสดีท่านเจ้าคุณหม่อมฉันมาสองคืนแล้วมิรู้หรือ” ท่านพ่อฯ รู้สึกแปลกใจและสงสัยจึงถามว่า“ท่านเป็นใคร? มาจากไหน?  

              เสียงประทับทรงตอบว่า “พวกหม่อมฉันเป็นพญานาคราชมาจากสระอโนดาตในเทือกเขาหิมาลัย มีนามตามลำดับเป็นมงคลตามอริยทรัพย์อันประเสริฐคือ ๑.พญาสัทโทนาคราชเจ้า เป็นประธาน ๒.พญาศีลวุฒินาโค ๓.พญาหิริวุฒนาดโค๔.พญาโอตตัปปะวุฒนาโค ๕.พญาสัจจะวุฒินาโค  ๖.พญาจาคะวุฒนาโค๗.พญาปัญญาเตชะวุฒนาโค





บุญประเพณีไหลเรือไฟ
  
              "ไหลเรือไฟ" เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนอีสานยึดถือปฏิบัติ สืบทอด กันมาแต่ครั้งโบราณ ประเพณีการไหลเรือไฟบาง ทีเรียกว่า "ล่องเรือไฟ" "ลอยเรือไฟ" หรือ"ปล่อยเรือไฟ" ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆจะเป็นประเพณีที่คาบเกี่ยว ระหว่างเดือน สิบเอ็ด และเดือนสิบสองส่วนมากนิยมทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑ คำ เดือนสิบเอ็ด พอถึงวันงานชาวบ้าน พระภิกษุสงฆ์และสามเณร จะช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อไปลอยที่แม่น้ำในช่วงเช้าจะมีการประกอบการกุศล โดยการไปทำบุญตักบาตร มีการถวายภัตตาหารเพลแล้วเลี้ยงญาติโยมที่มา

              ในช่วงบ่ายมีการละเล่นต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน รวมทั้งมีการรำวงเป็นการฉลองเรือไฟพอประมาณ ๕-๖ โมงเย็น หรือตอนพลบค่ำ มีการสวดมนต์รับศีลและฟังเทศน์ ถึงเวลาประมาณ ๑๙.๐๐-๒๐.๐๐ น. ชาวบ้าน จะนำของกิน ผ้า เครื่องใช้ ขนม ข้าวต้มมัด กล้วย อ้อยหมากพลู  บุหรี่ ฯลฯ ใส่ลงในกระจาดบรรจุไว้ในเรือไฟครั้งถึงเวลาจะจุดไฟให้เรือสว่าง แล้วปล่อยเรือให้ลอยไปตามแม่น้ำ

              จังหวัดที่เคยทำพิธีกรรมการไหลเรือไฟอย่างเป็นทางการ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษสกลนคร นครพนม หนอง เลย มหาสารคาม




ขอบคุณคร้าบ
ขอบคุณครับ


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้