|
เดียรัจฉานวิชา แต่กลับเป็นวิชาชั้นสูงในฐานะเป็นพื้นฐาน
แห่งการหลุดพ้น การศึกษาไสยศาสตร์แคผิวเผินซะอีก
ทำให้เราพบแต่กระพี้ จึงเห็นแค่ประโยชน์ทางโลกแบบ
โลกีย์วิสัย เมื่อนักพุทธศาสตร์มีฐานความคิดดูถูก
ไสยศาสตร์แล้ว จึงขาดความนับถือวิชาเหล่านี้ด้วย
ครู คือ สิ่งจำเป็นทางไสยศาสตร์
ศาสตร์ของไหยแต่โบราณแทบทุกแขนงต้องมี "ครู" ทั้ง
นั้นเหมือนคำอีสานที่ว่า "หมกปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาท"
โดยเฉพาะไสยศาสตร์ด้วยแล้ว อ.ชุม ไชยคีรี ท่านกล่าวว่า
"ไสยศาสตร์ คือคำสั่งครู" เมื่อแรกเรียน จึงต้องมีการ
เคารพครู ขอเป็นศิษย์ มีขัน มีดอกไม้มาคารวะเสียก่อน
ตามธรรมเนียมของศาสตร์นั้นๆ เพราะเคารพครูก็เท่ากับ
เคารพวิชา เป็นการแสดงถึงฉันทะ ที่จะบอกว่า ศิษย์คน
นั้นมีโอกาสสำเร็จวิชา ตามหลักอิทธิบาทสี่ ครูเองก็มี
โอกาสเรียนรู้ว่าศิษย์เหมาะแก่การสืบวิชาหรือไม่? โดย
พิจารณาจาก สติปัญญา ความหมั่นเพียร และคุณธรรม คง
จำกลอนสุนทรภู่ได้นะครับ
พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ หลังสำเร็จวิชาจากอาจารย์ทิศา
ปาโมกข์แล้ว อาจารย์เอาเงินคืนหลังจากเก็บค่าเรียนสุด
แพง ท่านว่า "ไม่ได้ประสงค์ซึ่งสิ่งสุวรรณ แต่จะกัน มิให้
ไพร่ได้วิชา". ที่กล่าวมาไม่ใช่ว่าครูหวงวิชา แต่เป็นการ
"รักษาความบริสุทธิ์ของวิชา" ให้สืบไปภายหน้า ให้ห่าง
จากพวก นอกครู(พวกนักประยุกต์ตำรา ก็ถือว่านอกครู)
ในขณะศึกษาเล่าเรียนครูจะดูแลลูกศิษย์อย่างใกล้ชิด เพื่อจะให้
ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง บางเรื่องซับซ้อน มีกลเม็ด ที่เขาว่า
"ฝีมือชั้นครู" นั่นเอง บางอย่างเป็นวิชาลับไม่อาจจดในตำ
ราตรงๆ ขณะศิษย์อ่านหรือลอกตำรา ครูต้องคอยสอนให้
เห็นวิธีการบังวิชาในแบบต่างๆ เช่น จดสลับหน้า, กล
ตัวเลข, ตัวข่มตัวสับ, กลกุ้งนอนเฟือย ฯลฯ
การค่อยๆ เรียนอย่างมีระบบแบบแผน ภายใต้การดูแลของ
ครูนี้เรียกว่า "การต่อวิชา" |
|