ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระครูสุนทรสาธุกิจ (หลวงปู่ซุน) วัดบ้านเสือโก้ก
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2380
ตอบกลับ: 1
พระครูสุนทรสาธุกิจ (หลวงปู่ซุน) วัดบ้านเสือโก้ก
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2019-6-14 18:59
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
หลวงปู่ซุน พระเถราจารย์ผู้เข้มขลังเมืองตักสิลานคร (มหาสารคาม)
ภิกษุผู้มีตบะบารมีแก่กล้า ศิษย์หลวงปู่สำเร็จลุน แห่งเมืองนครจำปาศักดิ์
พระครูสุนทรสาธุกิจ (หลวงปู่ซุน) วัดบ้านเสือโก้ก เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๙ บิดาชื่อ คำตัน มารดาชื่อ ผล เป็นบุตรคนที่ ๘ ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๐ คน เกิดที่บ้านเปือย เขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด คุณพ่อคำตันตั้งชื่อบุตรชาย คนนี้ว่า ซุน นามสกุล ประสงค์คุณ เมื่อเด็กชายซุน อายุได้ ๕ ขวบ บิดา มารดา ได้พาย้ายถิ่นที่อยู่ เพื่อหาแหล่งทำกินใหม่ พร้อมกับญาติพี่น้องหลายครอบครัว มาอยู่ที่บ้านหนองเสือโฮ้ก (บ้านเสือโก้กในปัจจุบัน) โดยการเดินเม้ามา เมื่ออายุ ๑๔ ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านเสือโก้ก โดยมีพระอาจารย์สีดาเป็นผู้บรรพชาให้
เมื่อบวชเป็นสามเณรท่านได้ออกธุดงศ์เพื่อศึกษาหาความรู้ ตามสถานที่ต่างๆจนกระทั่งไปถึงใกล้เขตประเทศลาว ได้ข่าวว่ามีพระเกจิชื่อดังอยู่ที่ฝั่งลาว จึงตัดสินใจข้ามไปฝั่งประเทศลาว เพื่อที่จะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์ พระอาจารย์องค์นั้นคือ สมเด็จลุน แห่งแขวงจำปาศักดิ์
ด้วยความขยัน เคร่งในวินัย สามเณร ซุน (ในขณะนี้) จึงได้รับความรู้ทั้งการเรียน และการอ่าน หนังสือภาษาขอมและลาวได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งคาถาอาคมต่างๆต่อมาจึงได้กราบนมัสการลาพระอาจารย์กลับบ้านประเทศไทย
ครั้นอายุได้ ๒๐ ปี ครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยมีพระครู อินทวงษาภิบาลเป็นพระอุปัชฌาย์ วัดคุ้ม ในเมืองร้อยเอ็ด มีพระอธิการ คือ วัดบ้านหนองไหล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการ คัมภีร์ วัดบ้าน บาก เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชเป็นพระแล้ว ท่านก็ได้พัฒนา บำรุงพุทธศาสนา ตลอดจนถนนหนทาง หนองน้ำเพื่อให้เป็นแหล่งอาศัยของญาติโยม ทำตนเป็นที่พึ่งพิงของผู้คนทุกชนชั้น จนเป็นที่เลื่อมใสของผู้อื่นอย่างมากมายจนได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครู สุนทรสาธุกิจ
สืบเนื่องจากท่านไม่เป็นคนอยู่นิ่ง ชอบพัฒนา มองกาลไกล ที่หมู่บ้านสนามในกลางป่ามีปางค์กู่เก่า มีวัตถุโบราณ ของมีค่ามากมาย และสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีผู้คนเข้ามากราบไหว้เป็นประจำแม้จะอยู่กลางป่า ท่านจึงคิดอยากจะสร้างองค์พระพุทธรูปใหญ่ เพื่อครอบวัตถุโบราณไว้เพื่อป้องกันมิให้ศูนย์หาย ในคืนหนึ่งท่านจึงได้มานอนพักแรมที่แห่งนี้ และได้ตั้งจิตอธิฐานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าตัวท่านขออนุญาตสร้างองค์พระใหญ่ หากว่ามีบุญบารมีพอที่จะสร้างเสร็จขอให้เข้านิมิตรหรือหากจะไม่สำเร็จประการใดขอให้ชี้แนะในนิมิตรนั้น จนรุ่งเช้าท่านจึงได้บอกกับญาติโยมผู้ติดตามว่า เราจะสร้างพระพุทธรูปใหญ่ ณ ที่แห่งนี้ ขอให้ญาติโยมทั้งหลายบอกกล่าวต่อๆไป และจนในที่สุด ท่านก็ได้เริ่มก่อสร้างองค์พระพุทธรูปใหญ่ขึ้นในป่า เมื่อปี พ.ศ. และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. โดยมีชาวบ้าน สนาม – เสือโก้ก บ้านใกล้เคียงและที่สำคัญคือผู้เลื่อมใสท่านทางจังหวัดร้อยเอ็ด อย่างเจ้าของรถโดยสาร เสี่ยประเสริฐ (เสี่ยเซ้ง) ชื่อจริงว่า ประเสริฐ อินทรกำแพง พร้อมทั้งครอบครัว และเพื่อนๆ มาช่วยในทุกๆด้าน จนสร้างได้สำเร็จอย่างไม่ยากนัก และองค์ประพุทธรูปใหญ่องค์นี้ ท่านได้ตั้งชื่อ ปรางค์ว่า พระพุทธนิมิต ชินราชมัธยมพุทธกาล ดังปรากฏเป็นหลักฐานไว้ให้ผู้คนชาวพุทธได้กราบไหว้บูชา ตราบจนถึงทุกวันนี้ และทุกปีของวันเพ็ญเดือน ๕ (คือ ๑๕ ค่ำ เดือน ๕) ของทุกๆปีจะมีประเพณีสรงกู่ ณ วัดกู่สุนทราราม (วัดกู่สนาม) บ้านกู่สนาม ตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม วัดกู่สนามแห่งนี้ ท่านได้ตั้งขึ้นพร้อมกับสร้างองค์พระใหญ่ และเมื่อท่านสร้างเสร็จไม่นานท่านก็เริ่มอาพาธ และในที่สุดท่านก็ได้จากญาติโยมไปด้วยโรคชรา มรณภาพที่วัดกู่สุนทราราม (วัดกู่สนาม) เมื่อวันที่ ๒๙กันยายน ๒๕๐๔ สิริอายุได้ ๗๖ พรรษา
บุญญาภินิหารหลวงปู่ซุน
กาลครั้งหนึ่งคุณตาทองแดง อดีตผู้จัดการวงหมอลำ (หัวหน้าวงหมอลำ) คณะหนึ่งในโผล่งฟ้าในอดีต ปัจจุบันเป็นคณะดอกฟ้าสารคาม ยกให้ลูกชายสานต่อ ท่านคือตาผมเอง เป็นลูกศิษย์ที่สืบทอดวิชาจากหลวงปู่ วิชาครูอ้อ วิชามหาช้างเทียมแม่(ตัวผู้) และ (ตัวเมีย) ฯลฯ สืบทอดวิชาในช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๘
-๒๕๐๐
ล้ำเรียนวิชากับหลวงปู่ถึงสองปีเต็ม เรียนกับเพื่อน ปัจจุบันเป็นทหารเกษียนราชการ แต่ก็ยังกลับมาไหว้ครูทุกปี จนหลวงปู่สิ้นอายุไข.....
เรื่องมีอยู่ว่า ในช่วงปี ๒๔๙๘
-
๒๔๙๙ในขณะที่หลวงปู่จำวัดอยู่ ก็มีบุคคลที่ปกปิดใบหน้าหนึ่งคน นำมะพร้าวมาด้วยสองลูก เพื่อจะมาถวายหลวงปู่ (ลองวิชา) พอเดินมาถึงกุฏิหลวงปู่ ก็ได้ยกลูกมะพร้าวขึ้นเหนือหัว แล้วเอาสองมือจับลูกมะพร้าวบีบมะพร้าวแตกคามือ แล้วเอามือปาดนวนมะพร้าวพร้อมถวายใส่มือ ให้หลวงปู่ บอกหลวงปู่ว่าให้ไปจากนี้เถิด... หลวงปู่เลยตอบไปว่า "สิให้ไปใสน้อพ่อออก เก่งปานนั้นติพ่อออก" พอหลวงปู่พูดจบ หลวงปู่ยกนิ้วทั้งห้าพนมมือ แล้วใช้อีกมือแทงลงไปในพื้นไม้ที่อยู่กุฏิท่าน ไม้มีความหนาประมาณ ๔นิ้ว แล้วสะบัดมือจนไม้แตกเป็นสายไปถึงคนที่นำมะพร้าวมาถวายหลวงปู่ ทันใดนั้นบุคคลนั้นก็กราบหลวงปู่สามครั้งแล้วเดินหนี้ไป โดยไม่หันหน้ากลับมาอีกเลย เป็นอีกคำเล่าขานที่ผมได้ยินมาจากตาผมเอง ซึ่งปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว เหลือเพียงแต่ตำนานที่ท่านได้เล่าให้ฟัง และพระคาถาที่ตาได้สั่งสอนไว้ให้ใช้ยามคับขัน วัตถุมงคลที่ตาได้จากหลวงปู่ มีรูปถ่าย เหรียญรุ่นแรก รุ่นสอง ตะกรุด สืบถอดมรดกให้น้องชายยังมีชีวิตอยู่ ของทุกชิ้นยังเหลือครบ
Cr.
หน่อย กันทรวิชัย
โจรลักวัวหลวงพ่อซุน!!
เรื่องราวที่ผู้คนเล่าขานสืบต่อกันมาเมื่อครั้งสมัยที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบัน กับเหตุการณ์โจรขโมยวัว ขอย้อนเหตุการณ์ไปเมื่อครั้งนั้น ที่วัดของหลวงปู่มีวัวที่หลวงปู่เลี้ยงไว้ที่ชาวบ้านนำมาถวาย ที่ใช้สำหรับลากเกวียนหรือใช้งานอย่างอื่นภายในวัด หลวงปู่เป็นพระนักพัฒนาที่ไม่ยอมหยุดนิ่งมักหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดทำอยู่ประจำตลอดเวลา รวมไปถึงการสร้างพระใหญ่อีกด้วย เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีความเจริญเท่าที่ควร วัวจึงเป็นพาหนะชั้นดีในการขนสิ่งของ ในค่ำคืนอันเงียบสงัดกลับมีโจรอยากลองดีมาลักขโมยวัวซึ้งเป็นพาหนะของหลวงปู่ไป ไม่ละอายแก่บาปบุญคุณโทษ เเต่เหตุการณ์ที่ไม่น่าเชื่อก็เกิดขึ้น โจรใจบาปเหล่านั้นไม่สามารถนำวัวออกจากวัดหลวงปู่ได้ จูงวัวรอบวัดหาทางออกไม่เจอ เดินวนรอบวัดเป็นรอยเท้าคนและรอยเท้าวัวเต็มไปทั่วบริเวณวัด สันนิษฐานว่าคงจะเดินทั่งคืนเป็นแน่ โจรใจบาปคงจะรู้ตัวว่าเจอดีเข้าให้จึงพากันหลบหนีไปเฉพาะตัวเองทิ้งวัวที่จะขโมยไปไว้ที่วัดเหมือนเดิม พอรุ่งเช้ามาพระลูกวัดและชาวบ้านต่างพากันมาดูรอยเท้าคนที่จูงวัวรอบวัดกันทังคืน สร้างความประหลาดใจต่อสายตากันอย่างมากที่มีคนมาขโมยวัวหลวงปู่ไปแต่เอาไปไม่ได้ จนกลายเป็นคำเล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูลที่มีอาจจะเรียบเรียงได้ไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไหร่นะครับ แต่ก็พอที่จะให้ผู้ที่กำลังสนใจในเรื่องราวของหลวงปู่ได้ทราบกันไม่มากก็น้อยครับ ขอบคุณครับ)
Cr.
กอล์ฟ
Anupon
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ ที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
Cr.
หน่อย กันทรวิชัย
Cr.
กอล์ฟ
Anupon
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54549
2
#
โพสต์ 2019-6-20 03:10
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...