ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2526
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สะพานห้วยตอง

[คัดลอกลิงก์]

เปิดประวัติความอาถรรพ์ “สะพานห้วยตอง”เส้นทางสายมรณะ ที่เปิดใช้มากว่า 30 ปี โดยช่วงวันดังกล่าวมีผู้รู้นาม.. phongp 27 ธันวาคม 2556 เวลา 09:26:12 น.ยืนยันไว้ในกระทู้พันทิปว่า…ตั้งแต่สมัยสร้างเสร็จใหม่ๆจนถึงเวลานี้ 30กว่าปี น่าจะเกิน 100 ศพ แล้วจะเกิดเหตุบ่อยโดยเฉพาะที่มาจากชุมแพ เพราะเป็นทางลงเขาและโค้งเข้าสะพาน ลงเขาตลอดจนถึงพื้นราบและยังมีเรื่องเล่าที่มีความเกี่ยวข้องกับความลี้ลับอาถรรพ์ของสะพานแห่งนี้อีกมากมาย…









วันนี้ผู้เขียนขอเสนอ เรื่องราวเกี่ยวกับ สะพานพ่อขุนผาเมือง หรือ สะพานห้วยตอง ซึ่งเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงามมากๆอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยเราและกำลังเป็นกระแสของความน่าสะพรึงกลัวขนหัวลุกให้แก่ชาวโลกโซเชี่ยลอยู่ในขณะนี้กันค่ะ
สะพานพ่อขุนผาเมือง หรือ สะพานห้วยตอง นั้นเป็นเส้นทางที่ผ่านไปอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ที่ กม. 50 ซึ่งมีสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ตอม่อสูงสุดในประเทศไทย สูงถึง 50 ม. ที่ กม.18+500 คือ สะพานข้ามห้วยตอง และได้รับการตั้งชื่อเป็นทางการว่า
"สะพานพ่อขุนผาเมือง" และเป็นเส้นทางที่ต้องใช้เครื่องจักรหนักเป็นจำนวนมาก เพื่อตัดเขาเป็นงานดินถึง 4.0 ล้าน ลบ.ม. และต้องทำ การระเบิดหินอีก 4.5 ล้านลบ.ม นับว่ามีปริมาณมาก เมื่อเทียบกับความยาวของระยะทางเพราะต้องทำการ ก่อสร้าง ที่ตัดภูเขาสูงชัน และสลับซับซ้อนมาก เหตุที่สร้างสะพานห้วยตอง หรือ สะพานพ่อขุนผาเมือง

นั้นได้มีการจัดการก่อสร้างขึ้น เพื่อเชื่อมเส้นทางระหว่างภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าด้วยกันโดย มีระยะทาง 103.4 กม. ใช้เวลาก่อสร้างรวม 6 ปี เป็นทาง มาตรฐานลาดยางตลอดโดยมีผิวลาดยางกว้าง 7.00 ม. ไหล่ทางกว้างข้างละ 1.50 ม. ออกแบบโดยกองสำรวจและออกแบบกรมทางหลวง สร้างตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน ปี 2516 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2518 เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2518
***และสาเหตุที่มาของความหลอนที่กำลังเป็นกระแสร้อนฉ่าของชาวโลกโซเชียลในขณะนี้น่าจะมาจากเมื่อหลายปีก่อนเคยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นที่นี่ก็เป็นได้…  
เอาล่ะทีนี้ผู้เขียนจะขอเกริ่นเล่าท้าวความเดิมแต่พอสังเขปให้ท่านผู้ชมทราบไปพร้อมๆดังต่อไปนี้ค่ะ …”เมื่อหลายปีก่อนเวลาประมาณ 23.00 น.ของ วันที่ 26 ธันวาคม 2556 หรือจะเรียกว่าช่วงเช้ามืดของวันที่ 27 ธันวาคม 2556 ก็ได้ค่ะ ซึ่งได้เกิดมีอุบัติเหตุรถทัวร์โดยสารประจำทาง ของบริษัทหนึ่ง สายขอนแก่น-เชียงรายหมายเลขข้างรถ 637-20   พลิกคว่ำตกสะพานพ่อขุนผาเมือง หรือสะพานห้วยตอง
ซึ่งเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ตอม่อสูงสุดของประเทศไทย บริเวณตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ส่งผลให้ผู้โดยสารเสียชีวิตเกือบทั้งหมด”



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-9-2 22:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
และผู้เขียนก็เชื่อว่าสาเหตุนี้น่าจะมีส่วนที่สอดคล้องกับเรื่องราวของผู้ใช้เฟสบุคชื่อว่า
“พัฒนศักดิ์ทิพย์รักษ์”ที่ได้โพสต์ภาพสะพานห้วยตองพร้อมทั้งขยายภาพจนมองเห็นเป็นภาพคล้ายคนกำลังยืนอยู่บนตอม่อสะพานลักษณะคล้ายกำลังมองผู้ที่ถ่ายภาพพร้อมทั้งเขียนข้อความว่า
“ไปเที่ยวจะๆทางลงเขาบรรจงดูแต่ละภาพ..เพชรบูรณ์ถ่ายไว้ที่สะพานอย่าบอกนะว่าขี้เกี้ยมนะ.!กลางวันแสกๆ..!!!!(เพิ่งมาดูในคอม)ซึ่งหลังจากโพสต์ภาพนี้ลงไปได้มีการแชร์ต่อกันไปเป็นจำนวนมากรวมทั้งมีผู้แสดงความคิดเห็นอย่างมากมายบ้างก็ว่าเป็นดวงวิญญานของผู้ที่เสียชีวิตในบริเวณดังกล่าวบ้างก็ว่าเป็นเป็นคนจริงๆที่ลงไปถ่ายรูป”

ทั้งนี้ผู้โพสต์ภาพดังกล่าวได้เปิดเผยว่า “ตนเองเป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันอาทิตย์ที่22ต.ค.2560ได้พาครอบครัวและญาติๆ
ขับรถมาเที่ยวที่จังหวัดเพชรบูรณ์ขณะขับรถใกล้จะถึงสะพานห้วยตองได้กลิ่นเบรกรถไหม้เมื่อข้ามสะพานมาจึงจอดรถตรงจุดพักรถ
จากนั้นได้เดินไปตรงจุดชมวิวกับลูกชายและใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายวิวสะพานเพราะเห็นว่าสวยดีโดยที่ไม่ทราบว่าบริเวณจุดดังกล่าวนั้นเคยมีเหตุการณ์อะไรมาก่อนกระทั่งได้ค้นหาประวัติจึงทำให้ตนทราบว่าจุดดังกล่าวเคยมีอุบัติเหตุรถทัวร์ตกทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก!!!
จากนั้นจึงได้ขับรถออกจากสถานที่ดังกล่าวไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆและเดินทางกลับที่จังหวัดร้อยเอ็ดกระทั่ง “วันศุกร์ที่ผ่านมาตนและครอบครัวได้นำภาพถ่ายลงเครื่องคอมเพื่อจะดูภาพต่างๆที่ได้ไปเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์กระทั่งมาเจอภาพที่ถ่ายสะพานห้วยตองขณะดูภาพลูกชายได้บอกว่ามีภาพคล้ายคน
จึงได้ขยายออกดูก็พบว่าเป็นภาพคล้ายๆคนใส่เสื้อสีขาวยืนแอบอยู่บนเสาตอม่อสะพานทำเอาทุกคนขนลุกไปตามๆกันโดยเฉพาะลูกชายถึงกับไม่กล้าดูอีกเลยคืนนั้นไม่มีใครกล้านอนคนเดียวเลยกระทั่งรุ่งเช้าตนและครอบครัวรีบนำสังฆทานไปถวายพระทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณตามภาพที่ปรากฏตามปกติตนไม่เชื่อเรื่องภูตผีวิญญาณแต่เมื่อมาเจอกับตนเองถึงกับต้องเปลี่ยนความคิดและรีบไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้พร้อมทั้งอธิฐานว่าหากโชคดีก็จะไปทำบุญให้อีกทั้งที่บริเวณสะพานดังกล่าว”
ท้ายนี้ผู้เขียนอยากจะฝากข้อคิดเห็นไว้กับท่านผู้ดังนี้ค่ะ ..”ไม่ว่าสิ่งที่ปรากฏให้เห็นในภาพถ่ายตรงบริเวณนั้นจะเป็นอะไรก็ขอให้ทุกท่านมีสติและใช้วิจารณญาณในการรับชมสาระข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกครั้งด้วยนะคะ!! “เรื่องราวเหล่านี้แม้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเชื่อที่บังเอิญสอดคล้องตรงกับเหตุการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นเมื่อหลายๆปีที่ผ่านมา สำหรับในแนวทางพุทธศาสนาของเราแล้ว นั่น ย่อมหมายถึง ดวงวิญญาณที่มาปรากฏให้เห็นอยู่ในภาพดังกล่าวน่าจะมาแสดงตนเพื่อขอรับส่วนบุญจากผู้ที่สามารถเชื่อมหรือเข้าถึงยังอีกมิติหนึ่งในขณะที่เป็นช่วงคาบเกี่ยวเนื่องเวลาระหว่างประตูมิติเปิดพอดีนั่นเอง…ดังนั้นเพื่อความสบายใจผู้เขียนจึงอยากเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียง เชิญชวนให้ท่านผู้ชมทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้ร่วมแรงร่วมใจกันไปทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลผลแห่งบุญให้กับเหล่าดวงวิญญาณที่ยังคงติดอยู่ตรงบริเวณนั้นตามแต่ละบุคคลจะสะดวกนะคะ เพื่อให้ผลแห่งบุญกุศลครั้งนี้จะช่วยปลดพันธนาการให้เหล่าดวงวิญญาณที่ยังคงติดอยู่ตรงบริเวณนั้นได้ไปสู่ที่สงบร่มเย็นในสัมปรายภพอย่างแท้จริงเสียที ของแบบนี้หากแต่ใครจะไม่เชื่อก็ได้ค่ะ แต่ก็ไม่ควรที่จะลบหลู่เอาเสียทีเดียว เพราะสิ่งที่เราไม่เห็นนั่น ไม่ได้แปลว่ามันไม่มีอยู่จริงๆเสมอไปหรอกนะคะ และผู้เขียนก็มีความเชื่อมากๆว่า…โดยส่วนใหญ่แล้วคนไทยเรานั้นมีความใจบุญสุนทานเป็นที่ตั้งลำดับหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ ผู้เขียน ขอโมทนาสาธุกับผู้ชมทุกๆท่านที่ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลผลแห่งบุญให้แก่เหล่าดวงวิญญาณที่อยู่บริเวณนั้นด้วยค่ะ


ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณที่มาของภาพและข้อมูลจาก:ผู้ใช้เฟสบุคชื่อว่า
“พัฒนศักดิ์ทิพย์รักษ์”,ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จ.เพชรบูรณ์ ,ภาพจาก ท่องเที่ยวสบายสไตล์ Chit และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย:โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-9-20 22:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้