ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7060
ตอบกลับ: 15
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค ~

[คัดลอกลิงก์]


ประวัติ หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

ท่านเป็นสหธรรมิกของลป.มั่น ภูริทัตตโต พระอาจารย์แห่งสายพระป่า เคยธุดงค์และปฏิบัติธรรมด้วยกัน และมีสหธรรมิกอีกหลายรูปที่ปรากฎชัดเจนอาทิ ลพ.กลั่น วัดพระญาติฯ ลป.ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ลป.ปาน วัดบางนมโค ส่วนตัวลป.สีท่านเองนั้นเป็นพระอาจารย์ของครูอาจารย์รุ่นหลัง ๆ หลายรูป อาทิ ลป.แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง ลป.สิม วัดถ้ำผาปล่อง ลพ.พรหม วัดช่องแค ลป.บุดดา วัดกลางชูครีเจริญสุข ลพ.ทบ วัดชนแดน ลพ.ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ลป.เย็น วัดสระเปรียญ ลพ.เจริญ วัดตาลานใต้ ซึ่งแต่ละรูปนั้นเป็นพระภิกษุที่ควรแก่การเคารพบูชา กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-21 15:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่สี ท่านถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2392 แรม 4 ค่ำเดือน 5 ปีระกา ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ที่บ้านหนองฮะ ตำบลหนองฮะ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
โยมพ่อท่านชื่อ "ผา (เชียงผา)" ต่อมาใช้นามสกุลว่า "ดำริห์" โยมแม่ชื่อ "ข้อล้อ" มีพี่น้องทั้ง 6 คน โดยท่านเป็นบุตรคนโตของครอบครัว
เด็กชายสีเติบโตท่ามกลางป่าเขาในสมัยนั้นและได้ติดตามพ่อเชียงผาพรานใหญ่เข้าไปล่าสัตว์ในป่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร และนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นข้าวของ หยูกยา เสื้อผ้า เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ
จวบจนเด็กชายสีอายุได้ 11 ขวบ ครั้งหนึ่งพ่อเชียงผาได้พาเด็กชายสีไปกราบนมัสการพระอาจารย์อินทร์ (หนังสือบางเล่มจะเรียกท่านเป็น "ญาคูอินทร์" โดยคำว่า "ญาคู" นั้นเป็นภาษาอีสานหมายถึงพระผู้ใหญ่)
ซึ่งเป็นสหายเก่าของท่านแต่ได้ออกบวชและใช้ชีวิตเยี่ยงอริยสงฆ์ ถือธุดงค์และเคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม เมื่อพระอาจารย์อินทร์ได้เพ่งพิจารณาเด็กชายสีด้วยความสนใจ ถึงกับเอ่ยปากขอจากพ่อเชียงผา
เพราะท่านเล็งเห็นว่าเด็กชายสีนั้นเป็นคนมีบุญวาสนา น่าจะได้รับโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนมากกว่าการใช้ชีวิตเป็นพรานป่า โดยพระอาจารย์อินทร์นั้นขอเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูอย่างดี เมื่อเป็นดังนั้นพ่อเชียงผาจึงได้อนุญาตและยกเด็กชายสีให้อยู่ในความอุปการะของพระอาจารย์อินทร์ และได้เริ่มต้นออกเดินทางตามพระอาจารย์อินทร์ โดยท่านเดินธุดงค์เข้าสู่กรุงเทพฯ ซึ่งในสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ การเดินทางนั้นจะต้องผ่านอุปสรรคและอันตรายต่าง ๆ มากมาย ทั้งอากาศ ทั้งสัตว์น้อยใหญ่ในป่า ทั้งไข้ป่า ตลอดระยะเวลาที่เดินทางกับพระอาจารย์อินทร์นั้น ท่านได้อบรมสั่งสอนสรรพสิ่งด้วยความเมตตามาโดยตลอด ซึ่งการเดินทางในคราวนั้นใช้เวลาหลาย ๆ เดือน ที่ท่านพระอาจารย์อินทร์พาศิษย์รักคือเด็กชายสีมาที่กรุงเทพฯ นั้น เพราะท่านมีจุดประสงค์ที่จะฝากเด็กชายสีนี้ไว้ให้เป็นศิษย์ขรัวโตแห่งวัดระฆังฯ ทั้งนี้เพราะพระอาจารย์อินทร์นั้นมีความสนิทสนมกับขรัวโตตั้งแต่คราวที่ขรัวโตไปศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี ในแผ่นดินของรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นตักกะศิลาที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดในสมัยนั้น หลังจากนั้นพระอาจารย์อินทร์กับขรัวโตได้มีโอกาสมาพบกันอีกครั้งเมื่อคราวแผ่นดินรัชกาลที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ขรัวโตเข้าเฝ้าเพื่อแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ แต่ขรัวโตทูลเกล้าว่าไม่ขอรับตำแหน่งนี้และได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ และได้รับความช่วยเหลือจากพระอาจารย์อินทร์เป็นผู้นำทางเดินธุดงค์สู่เมืองเขมรและดินแดนแถบภาคอีสาน ทำให้พระอาจารย์อินทร์กับขรัวโตมีความสนิทสนมกันมากจนเรียกได้ว่า "รู้อัธยาศัยซึ่งกันและกัน"

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-21 15:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จนกระทั่งเข้าแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ท่านจึงกลับมาสู่กรุงเทพฯอีกครั้งหนึ่ง พระอาจารย์อินทร์ได้พาเด็กชายสีมากราบนมัสการขรัวโตที่วัดระฆังฯ เมื่อปี พ.ศ.2403 ซึ่งขณะนั้นท่านได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง "พระเทพกวี"
และเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อขรัวโตได้พบเห็นเด็กชายสี ท่านยินดียิ่งนักด้วยบุคลิกลักษณะของเด็กชายสีถูกชะตาท่านนัก จึงได้รับเด็กชายสีไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นสืบมา
ขรัวโตท่านมีความเอ็นดูและเมตตาเด็กชายสีเป็นอันมาก ด้วยความที่เด็กชายสีเป็นผู้ที่มีความอดทน ขยัน สนใจข้อธรรม และตั้งใจศึกษาอย่างจริงจัง ขรัวโตท่านจึงอบรมสั่งสอนถ่ายทอดสรรพวิชาทั้งอ่านเขียนไทยและขอม จนเด็กชายสีนั้นมีความแตกฉานเป็นอย่างดีและเนื่องด้วยเด็กชายสีได้รับการอบรมเรื่องการปฏิบัติเป็นอย่างดีจากพระอาจารย์อินทร์ตลอดการเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์เข้าสู่กรุงเทพฯ จึงทำให้การศึกษาในสรรพวิชามีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันเด็กชายสีก็อยู่ปรนนิบัติขรัวโตท่านอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งขรัวโตท่านได้รับพระราชเลื่อนสมณศักดิ์เป็น "สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต)" เมื่อปีพ.ศ.2407 ณ ในกาลนั้นวัดระฆังฯ นั้นคราคร่ำไปได้ฝูงชนที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของเจ้าประคุณสมเด็จโต
ท่านได้เดินทางมาร่วมฉลองกันอย่างเอิกเกริกที่วัดระฆังฯ และได้จัดให้มีการบวชพระและเณร จำนวน 108 รูป ในครั้งนั้นเด็กชายสีก็ได้ปลงผมบวชเป็นเณรด้วยเช่นกันโดยมีเจ้าประคุณสมเด็จโต เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 15 ปี เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านยังคงรับใช้ใกล้ชิดเจ้าประคุณสมเด็จโตท่าน และได้รับการถ่ายทอดวิชาอื่น ๆ อีกมากมาย ตลอดเวลาที่อยู่รับใช้สนองงานท่าน นอกจากสามเณรสีจะได้เรียนรู้เรื่องอักขระขอมไทยแล้ว ยังร่ำเรียนการทำผงปถมังเป็นปฐม และตามด้วยผงวิเศษต่าง ๆ การทำผงยา ผงว่านต่าง ๆ อีกมากมายอันเป็นสูตรการทำผงวิเศษที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต นำมาใช้พระสมเด็จอันลือลั่นที่ทรงคุณวิเศษและแพงที่สุดในโลก ซึ่งสรรพวิชาที่ท่านถ่ายทอดให้สามเณรสีนั้น ท่านเคยถ่ายทอดให้บางคนเท่านั้นนั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าสามเณรสีนี้ได้รับการคัดเลือกจากเจ้าประคุณสมเด็จโตเป็นอย่างดีให้เป็นผู้สืบทอดวิชาต่อจากท่านมาจนครบทุกสูตร

สามเณรอยู่รับใช้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตจนกระทั่งลุเข้าปี พ.ศ.2411 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตอย่างสงบ เจ้าประคุณสมเด็จโตท่านมีความโศกเศร้าเสียใจและเก็บตัวเงียบ ทำให้สามเณรสีไม่ค่อยได้รับใช้สมเด็จฯ ท่านในช่วงเวลานั้น ประกอบกับในปีนั้นพระอาจารย์อินทร์ได้กลับจากธุดงค์และได้เดินทางมาแวะเยี่ยมเจ้าประคุณสมเด็จโตที่วัดระฆังฯ สามเณรสีจึงถือโอกาสขออนุญาตสมเด็จฯ ท่านกลับไปเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ที่จังหวัดสุรินทร์พร้อมกับพระอาจารย์อินทร์ ซึ่งสมเด็จโตฯ ท่านก็อนุญาตให้กลับไปเยี่ยมบ้านได้ สามเณรสีเมื่อเดินทางกลับถึงบ้านได้เห็นภาพความลำบากของโยมพ่อโยมแม่ จึงอนุญาตพระอาจารย์อินทร์สึกเป็นฆราวาส ซึ่งพระอาจารย์อินทร์ได้ตรวจดวงชะตาแล้วทราบว่า "ชะตาต้องเกี่ยวข้องกับทางโลก เมื่อพ้นวาระกรรมแล้วจะบวชไม่สึกและจะสำเร็จในบั้นปลายชีวิต" จึงได้อนุญาตตามคำขอ หนุ่มสีจึงได้ใช้ชีวิตทางโลกตั้งแต่นั้นมา

จนกระทั่งในปี พ.ศ.2416 ได้มีโอกาสเดินทางมากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่งและตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมนมัสการสมเด็จโต แต่ไม่ทันการณ์เสียเพราะสมเด็จโตท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2415 หนุ่มสีจึงใช้ชีวิตทางโลกตั้งแต่รับราชการทั้งทหารและตำรวจจนได้ชายาว่า "ไอ้เสือหาญ" เพราะท่านมีจิตใจเด็ดเดี่ยวประกอบวิชาต่าง ๆ ที่ท่านได้ร่ำเรียนจากสมเด็จโตฯ นั้นได้ถูกนำมาใช้ในช่วงนี้ อาทิ อยู่ยง คงกระพัน ตลอดจนเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-21 15:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จนกระทั่งในปี 2431 ขณะนั้นหนุ่มสีมีอายุได้ 39 ปีได้เกิดความเบื่อหน่ายต่อทางโลกจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านเส้า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มีพระครูธรรมขันธ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ได้รับฉายาว่า "ฉันทสิริ" หลังจากนั้นท่านได้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์สมาทานธุดงควัตร พระอาจารย์ท่านเห็นว่าท่านได้เคยบวชเรียนมาแล้ว เป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ ความสามารถ ประกอบกับท่านเคยบวชเรียนอยู่กับสมเด็จโตฯ มานานจึงได้อนุญาต ท่านจึงเริ่มชีวิตแบบพระป่าโดยจาริกแสวงบุญไปยังสถานที่ต่าง ๆ เป็นระยะเวลา 9 ปีอาทิ พระบาทสี่รอย พระมหาเจดีย์ชะเวดากอง หลวงพระบาง และที่ป่าหลวงพระบาง

เมื่อปี 2438 ท่านได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และร่วมเดินธุดงค์ไปด้วยกัน ยามพักผ่อนก็นั่งสนทนาธรรมกัน พระอาจารย์มั่นอายุอ่อนกว่า ลป.สี 21 ปี และพรรษาอ่อนกว่า ลป.สี 6 พรรษา แต่ถึงแม้ครูบาอาจารย์ทั้งสองรูปนี้จะมีอายุที่แตกต่างกัน แต่มีปฏิทาในการปฏิบัติและมุ่งมั่นในพระศาสนาเหมือนกัน พระอาจารย์มั่นจึงเคารพ ลป.สี โดยเรียกท่านว่า "หลวงพี่" จริง ๆ ลป.สีท่านยังพบพระที่ปฏิบัติชอบในป่าอีกหลายรูปแต่ท่านไม่เคยเล่าให้ผู้ใดฟัง เพราะตลอดชีวิตของท่านเป็นพระพูดน้อย เรียกได้ว่า หาคนที่จะทราบประวัติที่แท้จริงของท่านนั้นน้อยมาก นอกจากคนที่ปรนนิบัติท่านใกล้ชิดจริง ๆ ครั้งหนึ่งเคยมีคนถามโน่นถามนี่ท่านได้แต่ตอบว่า "บ่มีอดีต มีแต่ปัจจุบัน ชีวิตมีแต่พุทธศาสนา ป่าและวัด..

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-21 15:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
" ปีพ.ศ.2440 ท่านธุดงค์กับบ้านหมกเต่าบะฮี ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดและจำพรรษาอยู่ที่วัดอิสานหมกเต่า และถือโอกาสอยู่ดูแลโยมพ่อโยมแม่จนถึงวาระสุดท้าย แต่ท่านก็ออกธุดงค์เหมือนเช่นเคยแต่ไม่ได้ไปไกลมากเพราะเป็นห่วงโยมทั้สอง จวบจนโยมพ่อของ ลป.สี เสียชีวิตในปีพ.ศ.2475 และโยมมารดาเสียชีวิตในปีพ.ศ.2485 ขณะนั้น ลป.สีอายุ 93 ปีและเป็นครูบาใหญ่ที่วัด หลังจากสิ้นโยมพ่อและโยมแม่แล้วท่านจึงธุดงค์ต่อไปอีกหลายสถานที่จน

กระทั่งในปีพ.ศ.2512 ปู่โทร หลำแพร ซึ่งเป็นศิษย์สาย "หลวงปู่โลกเทพอุดร" เหมือนท่านได้เป็นผู้แนะนำพระอาจารย์สมบูรณ์ สำนักสงฆ์เขาถ้ำบุญนาคในเวลานั้น ให้ไปนิมนต์ ลป.สี มาร่วมสร้าง โดยพระอาจารย์สมบูรณ์พร้อมด้วยคณะชาวตาคลีได้เดินทางไปนิมนต์ ลป.สีท่านที่วัดบ้านหนองลุมพุก ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู)

ขณะนั้น ลป.สีมีอายุ 120 ปี ที่น่าแปลกใจแก่พระอาจารย์สมบูรณ์และคณะที่เดินทางไปในเวลานั้นก็คือ ลป.สีท่านสามารถหยั่งรู้ด้วยญาณทิพย์ ว่าจะมีผู้มารับท่านไปสร้างบารมี ท่านจึงเตรียมตัวรออยู่แล้ว ท่านจึงรับนิมนต์ไปจำพรรษาที่สำนักสงฆ์เขาถ้ำบุญนาคในปีนั้น

จึงถึงวาระสุดท้ายคือท่านมรณภาพเมื่อวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2520 ขึ้น 6 ค่ำเดือน 4 มะเส็ง ตรงกับรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีนับได้ว่าท่านเป็นพระภิกษุผู้มีอายุยืนนานถึง 7 รัชกาล

ที่มา http://muangput.com/webboard/index.php?topic=1004.0

สาธุกราบหลวงปู่เจ้าข้า
กราบหลวงปู่ครับ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-4-20 10:10





ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้