ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4812
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

น้อยใจ

[คัดลอกลิงก์]




พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก  เมตตาสอนว่า(เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554)



          วันนี้ พวกเรามารวมตัวกัน มาทบทวนชีวิต วันคืนล่วงไป เรากำลังทำอะไรอยู่ เราแสวงหาความสุขมาตลอด เราต้องต่อสู้หนีความทุกข์ แสวงหาความสุขตลอดชีวิต ถ้าเราไม่ศึกษาธรรมะ ดูเหมือนความสุขของเราไม่มี หายาก ทุกคนต้องการแสวงหาความสุข 100 ปี ก็ไม่เจอ ไม่มีใครค้นพบความสุขที่แท้จริง ความสำเร็จที่แท้จริงอยู่ที่ไหน


          ใครตายด้วยความสบายใจ แสดงว่า มีความสำเร็จในชีวิต เราได้ทบทวนสังคมไทย การเมืองสับสน วุ่นวาย อาฆาตพยาบาท ธรรมะข้อใดสำคัญที่สุด พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ชีวิตคนเรา ต้องรู้จักเมตตาตัวเอง รักตัวเอง เพราะ


                                ความรักเสมอตน     ไม่มี


                                ตัวเองนั่นแล        น่ารักที่สุด


          เมตตาแก่ตัวเอง  หมายความว่า ทำจิตใจของตัวเองให้สบายใจทุกกรณี ทุกสถานการณ์ การปราศจากสิ่งที่รัก คนที่รัก ของที่รัก ความไม่สมปรารถนา เป็นทุกข์ เราเกิดมาท่ามกลางความทุกข์

          เราจึงต้องเมตตาแก่ตัวเอง รักตัวเอง เพื่อให้มีสุขภาพจิตใจที่ดี มนุษย์ทั่วโลก ถ้าจิตใจไม่ดี ถึงจะรวย มีลาภ มีตำแหน่ง มีความสุขทางโลก แต่ถ้าใจไม่ดี ขี้เกียจ ขี้น้อยใจ ขี้กลัว ขี้โกรธ ขี้เหนียว ขี้อวด...จิตใจไม่ดี ไม่สะอาด อย่างนี้เรียกว่า ไม่มีเมตตา ความรักต่อจิตใจของตัวเอง
           นั่นคือ ทำจิตใจของตัวเองให้มีความสุข ทุกกรณี
           ไม่ใช่เฉพาะวันที่มีลาภ สรรเสริญ ถึงแม้จะมีปัญหาใดใดเกิดขึ้น เราก็ต้องรักษาจิตใจของเรา แล้วปัญหาจะน้อยลง ปัญหาก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
           ต้องทำตั้งแต่วันนี้ มีเมตตา และมีความรักต่อจิตใจของตัวเอง
           ก่อนนอน เราใช้เวลาครึ่งชั่วโมง หรือ หนึ่งชั่วโมง นั่งสมาธิ นั่งอย่างไรก็ได้ นั่งโซฟาก็ได้ ทำความรู้สึกว่าเราอยู่คนเดียวในโลก โลกนี้มีเราคนเดียว
            ถามตัวเองว่า มีอะไรต้องคิด มีอะไรกังวลใจ เกี่ยวกับงาน คิดให้จบ ตั้งใจคิด ถ้ากลัวลืมก็จดไว้ เสร็จแล้ว สำหรับวันนี้พอแล้ว เมื่อเราทบทวนดูชีวิตมีอะไรเกิดขึ้นตั้งแต่เช้า ถึงเดี๋ยวนี้ ถ้าไม่สบายใจ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อระลึกถึงการกระทำของตัวเราเอง แล้วไม่สบายใจ แสดงว่า การกระทำนั้น ไม่ดี
             ทำให้คนอื่น หรือตัวเอง ไม่สบายใจ เป็นบาป ไม่เป็นไร ตั้งแต่พรุ่งนี้จะไม่กระทำอย่างนี้
             แต่ถ้าเรานึกถึงการกระทำที่ผ่านมา แล้วภูมิใจ สบายใจ เรียกว่า บุญ  กล่าวคือ ทำให้ตัวเอง สบายใจ ทำให้คนอื่นสบายใจ
                สมองเราเหมือนคอมพิวเตอร์ สมองปิดไฟ  ไม่ต้องคิด  เมื่อตกลงใจแล้ว  ต่อไปนี้ทำความรู้สึก  ไม่มีอดีต ไม่ต้องคิด ไม่มีอนาคต ไม่ต้องคิด
                หายใจเข้าลึกๆ  หายใจออกยาวๆ
                หยุดคิดแม้แต่เรื่องตัวเองก็หยุดคิด ทำจิตใจสงบ สบาย
                หายใจเข้าลึกๆ     หายใจออกยาวๆ    ดูกาย นั่งกายตรง มองดูตัวเอง

                หายใจเข้า – ออก   หยุดคิด แล้วดูกาย  นี่คือการเจริญสติ
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-11 11:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้ารู้สึกนึกคิดผ่านมา ไม่ต้องห้ามความคิด ให้ถือว่า เป็นขยะของจิตใจ



                ไม่ห้ามคิด แต่อย่าส่งเสริม ทำใจให้สงบ ไม่คิดไปตามความรู้สึกนั้น


               
           พระพุทธเจ้า ทรงสอนว่า        จิตของเราอาศัยอยู่ในร่างกาย
                                                    ความรู้สึกอยู่ที่ไหน จิตก็อยู่ที่นั่น
                                                    หายใจเข้าลึกๆ     หายใจออกยาวๆ
                                                    ดูกาย   ดูลมหายใจ เจริญสติ เจริญสัมปชัญญะ


                เมื่อฝึกบ่อยๆ เราจะรู้สึกว่า จิตใจเบิกบาน จิตเป็นประภัสสร  ผ่องใสโดยธรรมชาติ
กายที่ผ่านมา มีแต่ง่วงนอน ไม่ผ่องใส อยากมีอยากได้ ตลอดเวลา

                เมื่อฝึกเจริญสติแล้ว   เราจะได้ความสุขใจ  เริ่มต้นหยุดคิด หรือ คิดให้ดี คิดให้ถูก
ถ้าไม่สบายใจ  ต้องทำอย่างไร     ไม่สบายใจ กับ สบายใจ เป็นสิ่งเดียวกัน

เปรียบเหมือน น้ำแข็งกับน้ำ มันคือสิ่งเดียวกัน  ไม่สบายใจเหมือนน้ำแข็ง ละลายด้วยความรู้สึกดี ก็ปีติสุข


ไอน์สไตน์    บอกว่า   จินตนาการสำคัญกว่าความรู้


                ลมหายใจเข้า        เป็นสิ่งที่สว่าง สะอาด เราก็จินตนาการว่า ลมหายใจเข้า คือความสุข  ระลึกถึงความสุข  เมื่อหายใจเข้า  แล้วความไม่สบายใจจะหายไป
                จิตใจชอบจินตนาการคิดอกุศล คนขี้น้อยใจ กระทบนิดหน่อยก็คิดน่าน้อยใจ เราชำนาญด้านไหน ก็เป็นอย่างนั้น

                ตัวกิเลส (ความโลภ โกรธ หลง) อวิชชา  คือ  จินตนาการ  นึกคิดไปเองทั้งนั้น

                เมื่อเราต้องการความสุข  ต้องฝึกจิตใจให้คิดเป็นประโยชน์ ใจเป็นประธาน เป็นหัวหน้าของชีวิต
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-11 11:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถึงแม้จะมีตำแหน่ง มีคนยกย่องมากขนาดไหน ถ้าเราชอบมีนิสัยเสียใจ เจ็บใจ กลัว โกรธ น้อยใจ สิ่งดีๆ ภายนอกไม่มีประโยชน์ เพราะ


ถ้าใจเสีย  เสียทุกอย่าง


                เราจึงต้องสนใจสุขภาพจิตใจของเรา  ตัวเรามีร่างกายและจิตใจ เมื่อใจดี ทำอะไรก็ดี ถึงมีปัญหา เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์  เมื่อใจดี ก็ไม่เป็นอะไร
                ถ้าเราเอาใจใส่พัฒนาจิตใจแล้ว ถึงแม้มีปัญหาเกิดขึ้น ก็ไม่ท้อแท้ใจ  ทุกข์มีไว้ เพื่อสร้างกำลังใจ
พระพุทธเจ้าทรงประสบปัญหาหนักๆ โลกธรรม 8 จนพูดได้ว่า


                พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน  มารอยู่ที่นั่น
                ปัญหาเกิดขึ้น  มันเป็นเช่นนั้นเอง  ไม่ให้เกิด  เป็นไปไม่ได้


พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีบนปัญหาอุปสรรค ทรงมีจิตใจดี หนักแน่น บางครั้งก็อุเบกขา บางครั้งก็เมตตา ใช้ปัญญา แก้ปัญหาแต่ละอย่าง
                ปัญหาเป็นบันไดก้าวหน้าของชีวิต สร้างกำลังใจ บำรุงกำลังร่างกาย ผจญปัญหาด้วยปัญญา ก็จะผ่านพ้นปัญหาได้

                ถ้าไม่สบายใจ  ดูชัดๆ ว่า  คืออะไร  ดูด้วยปัญญา  ดูด้วยสติ

ทุกข์ ก็คือน้ำแข็ง   ทำให้มันละลาย  ความเศร้าจะได้ละลายหายไป
                อุบายแรก   ทุกคนทำได้      : -
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-11 11:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หายใจเข้าลึกๆ       หายใจออกยาวๆ

                เมื่อใดจิตไม่สบายใจ    ยึดมั่นถือมั่น   นึกคิดปรุงแต่ง  แล้วแสดงออกทางกาย
                ต้องถอดความรู้สึกนั้น   ด้วยการปรับปรุงความรู้สึก  หายใจเข้าลึกๆ  หายใจออกยาวๆ
                กลับไปกลับมา       ความรู้สึกอยู่ที่ไหน   จิตอยู่ที่นั่น
                จิตอยู่กับลมหายใจ      ความรู้สึกจะไม่เป็นอกุศลอีก



                อย่าปล่อยจิตให้อยู่กับความน้อยใจ   ทุกข์ใจ  เพราะมันคือ ปฏิกูลทางจิตใจ  หายใจเข้าลึกๆ  หายใจออกยาวๆ  ความรู้สึกอกุศลก็จะหายไป
                จิตตั้งมั่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น จิตอยู่กับลมหายใจ


พระพุทธเจ้า  ทรงพบเจอ การเสื่อมลาภ เสื่อมยศ เจอสิ่งร้ายๆ มากมาย เรียกว่าเจอวิบากกรรม  เหมือนเราที่ต้องเจอวิบากกรรม
พระโมคคัลลานะ  ถูกโจร 500 คน  ตามมารุมทำร้ายชีวิตท่าน



ท่านพิจารณาแล้วระลึกรู้ว่า  100 ชาติก่อนได้ฆ่าพ่อแม่  ผลกรรมที่ได้รับ เพราะเคยทำไว้เมื่อชาติก่อนๆ บางคนทำความดียิ่งใหญ่  ก็จะได้รับผลดีข้ามภพข้ามชาติได้  เพราะการกระทำของเรา ก็เหมือนปลูกต้นไม้แห่งกรรม ต้นไม้บางต้นอายุยืน 3,000 ปี  บางต้นก็อายุสั่น  อยู่ที่เจตนา
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-11 11:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อดีตเป็นเหตุ        ปัจจุบันเป็นผล    รับกรรมเก่า


                กรรมเก่า  คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กายใจ             กรรมเก่าของแต่ละคนไม่เหมือนกัน



เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า กับมนุษย์ทุกคน ล้วนเป็นกรรมเก่า  แก้ไม่ได้  นอกจาก  ดูใจ  มีเมตตาแก่จิตใจของเรา ทำใจไม่ให้เสียใจ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใจเราดี ปัญหาต่างๆ ไม่ต้องแก้ ถ้าเราสบายใจ มีปัญหาก็เหมือนไม่มีปัญหา  แม้จิตใจและการกระทำของเราดี แต่ยังมีปัญหา ก็เหมือนอากาศที่ไม่ดี



                ถ้ามองเฉพาะตัวเอง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เราต้องรับผิดชอบ 100% ร่างกายเรากำลังแก่ เจ็บ ตาย  ชีวิตต้องอยู่กับคนที่ไม่ชอบใจ การไม่สมปรารถนาในชีวิต  ถ้าเรามองดูชีวิตตัวเอง มันเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น มีนินทา ทุกข์ หรือมีลาภ มีสรรเสริญสุข ก็เหมือนลมฟ้าอากาศ เราเป็นผู้สร้างเองทั้งสิ้น
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-11 11:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
  ดูจิต       จิตเราดีไหม                         การกระทำดีไหม

                             อดีตเป็นเหตุ                        ปัจจุบันเป็นผล

                             ปัจจุบันเป็นเหตุ                    อนาคตเป็นผล


ปัจจุบันเป็นทางเลือก สร้างเหตุถูกต้องในกาลปัจจุบันด้วยการคิดดี พูดดี ทำดี เราก็สามารถทำให้ตัวเองมีความสุขได้ทันที
ตัวอย่าง    พระองคุลีมาร  ก่อนนี้ทำผิดฆ่าคนไป 999 คนแล้ว  เมื่อทำจิตใจดีในปัจจุบัน ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้

                ไม่ต้องคิดโกรธ                               คิดน้อยใจ
                ดูกาย      ดูวาจา    ดูความคิด            เฝ้าดูการกระทำของตัวเอง
                พยายามอบรมสติปัญญา                   รักษาสุขภาพใจดี
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-11 11:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความรักเสมอตนไม่มี          เราจึงต้องรักษาจิตใจให้ดี


การปฏิบัติธรรมของเรา      ก็คือ        การสร้างห้องสุขาสะอาดให้แก่จิตใจของเรา
พระอรหันต์   ไม่มีกิเลสแล้ว  ไม่คิด  ไม่มีนิวรณ์  คือ  ขี้เกียจ  ขี้ฟุ้งซ่าน

พระอรหันต์  พระอริยบุคคล  ไม่ต้องมีห้องสุขาสะอาด   แต่ปุถุชน หมายถึง

ผู้มีกิเลสหนาต้องมีความไม่สบายใจ 100% เกิดขึ้นจากจิตใจของเรา

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-11 11:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธเจ้า  ไม่มีของเสียออกจากจิตใจ    พวกเราต้องเข้าใจชัดเจน  เมื่อมีปัญหาทางกาย
ความไม่สบายใจ  หรือปัญหาทางใจ  ให้ปล่อยวาง  ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่สบายใจได้ แต่อย่าให้มีอิทธิพลต่อมโนกรรม  วจีกรรม  กายกรรมของเรา  ความรู้สึกน้อยใจ  ไม่สบายใจ  มันเป็นขยะในจิตใจ  เกิดขึ้นแปล๊บเดียวก็หายไป  เพราะมันเป็น อนิจจัง  ทุกข์ขัง  อนัตตา
เราต้องใช้หลักพรหมวิหาร 4  คือ เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา  ในการดูแลสุขภาพใจของเราและผู้อื่น

เมตตา  คือ  ความรัก อยากให้เขามีความสุข  ถ้ามีลูก  มีลูกศิษย์  เขาทำผิด  เราก็เมตตา  สอนอะไรถูก อะไรผิด   บางครั้งอาจต้องใช้ภาษาเจ็บ  เพื่อว่า ต่อไปจะอยู่ด้วยกันอย่างถูกต้อง


กรุณา  คือ ความสงสาร  คิดช่วยให้พ้นทุกข์  จงกรุณาแก่ตัวเอง  ถ้ารู้ว่าเรานิสัยไม่ดี  ต้องรู้  ต้องกัดฟันแก้ไข  อาจต้องใช้ภาษาเจ็บ เอาชนะใจให้ได้  ทุกวันนี้ พ่อแม่บางส่วนสอนลูกผิด  ให้ลูกเล่นเกมส์ตั้งแต่เด็กๆ ไปไหนมาไหน ใครๆ ก็ชมว่าลูกน่ารักเรียบร้อย กดแต่เกมส์  แต่โตขึ้นมีปัญหา อย่างนี้แก้ไขยาก  เราต้องสอน  บางครั้งต้องใช้อุบาย  ถ้าลูกหรือเรา ติด ติด ติด ติดสารพัด  ต้องกรุณาต่อตัวเอง และต่อผู้อื่น ให้รู้จักผิด รู้จักถูก

มุทิตา  คือ  ไม่อิจฉาริษยา และกลับยินดีกับคนที่ได้รับกรรมดี เช่น  รุ่นน้องได้อะไรดีกว่า ได้เลื่อนตำแหน่งสูงกว่า ก็ไม่อิจฉา

อุเบกขา  คือ  การวางเฉย เป็นกลาง ไม่ทุกข์ใจ เขาอาจจะนิสัยไม่ดีก็วางเฉย ทำใจเฉยๆ กลางๆ เข้าใจกฎแห่งกรรม ใครทำอะไรก็ได้อย่างนั้น
จงอุเบกขาต่อตัวเอง อะไรจะเกิดขึ้น ก็เฉยๆ มีลาภ ยศ สรรเสริญ จะเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ก็ไม่ยินดียินร้าย เพราะทุกอย่างคือ กฎแห่งกรรม ทำใจได้  ชีวิตของเรา จึงต้องมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และดำเนินชีวิตด้วยอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญมากที่สุดก่อนบรรลุเป็นพระอรหันต์
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-11 11:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อิทธิบาท 4       หมายถึง   ความเอาใจใส่ ในสิ่งที่เราทำอยู่
               

เช่น  ตั้งใจรักษาศีลมั่นคง  ชีวิตจะเจริญก้าวหน้า เห็นความสุข เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่เสียใจ

อิทธิบาท 4   มี

1. ฉันทะ                มีความพอใจ มีเป้าหมายชัดเจน
2. วิริยะ                 มีความขยันหมั่นเพียร
3. จิตตะ                มีจิตจดจ่อ
4. วิมังสา               มีความไตร่ตรอง ใช้ปัญญาแก้ปัญหา
  



และ   ถ้าทำได้ครบ 4 อย่างนี้ เราจะทำอะไรก็สำเร็จ เราอาจจะมีอายุขัยครบ 120 ปีได้
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  
เวลาคิดอะไรไม่โปร่ง...
พิจารณาตามข้อธรรมนี้
รู้สึกมีกำลังใจ(ฮึดสู้ต่อไป)
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้