ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2188
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่นอนุสรณ์ฯ ๑๐๐ปี ‘สมเด็จฯ โต’

[คัดลอกลิงก์]
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พ.ศ.๒๕๑๕ รุ่นอนุสรณ์ฯ ๑๐๐ปี ‘สมเด็จฯ โต’                       


ตำนานการสร้างพระเครื่องของ วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ธนบุรี นับตั้งแต่สมัย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เรื่อยมาจนถึงสมัย หลวงปู่นาค หลวงปู่หิน ฯลฯ ยังไม่มีครั้งใดที่มีการจัดสร้างอย่างเป็นทางการ ดั่งเช่น รุ่น "อนุสรณ์ฯ ๑๐๐ ปี" ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของวัดระฆัง ที่มีการบันทึกประวัติทุกขั้นตอนของการจัดสร้างไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ปฐมเหตุแห่งการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ สืบเนื่องมาจากวัดระฆัง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ระดับวรมหาวิหาร ที่มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่สมัยก่อตั้ง กรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้ถาวรวัตถุต่างๆ ที่สร้างในสมัยนั้น   และได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเฉพาะ หอพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นที่เก็บรักษา พระธรรมคำสอน และเอกสารสำคัญต่างๆ ของทางวัด จึงมีความจำเป็นต้องบูรณปฏิสังขรณ์อย่างเร่งด่วน โดยต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมาก ขณะที่กำลังของทางวัดเองยังมีไม่เพียงพอ
ขณะ เดียวกัน ม.ล.เนื่องพร สุทัศน์ (ผู้ริเริ่มโครงการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้) ได้อ่านพบวันมรณภาพ (บางแห่งใช้คำว่า "สิ้นชีพิตักษัย") ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เมื่อวันเสาร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จุลศักราช ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ ๘๕ ปี พรรษา ๖๕ ซึ่งจะ ครบ ๑๐๐ ปี ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๕ เห็นว่าเป็นนิมิตหมายกำหนดการที่ดี ในการจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อระดมเงินทุนบูรณะหอพระไตรปิฎกดังกล่าว จึงได้ทำเป็นโครงการขึ้น โดยขอรับความเห็นชอบจาก พระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการสร้างปูชนียวัตถุเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบ ๑๐๐ ปีแห่งมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมรํงสี) ณวัดระฆังโฆสิตาราม จ.ธนบุรี"
โครงการนี้ได้รับการสนับ สนุนจาก กองทัพเรือ โดยมี พล.ร.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้น รับผิดชอบเป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน พระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา เจ้ากรมอู่ทหารเรือ เป็นประธานกรรมการดำเนินการฝ่ายฆราวาส
วัตถุ มงคลที่ได้จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ ได้แก่
  • พระพุทธรูปจำลอง (องค์พระประธานในพระอุโบสถ วัดระฆัง) ขนาดบูชา เนื้อนวโลหะ
  • พระกริ่งจำลององค์พระประธาน เนื้อทองคำ และเนื้อนวโลหะ
  • รูปเหมือนหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขนาดบูชา เนื้อนวโลหะ
  • รูปเหมือนหล่อลอยองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เนื้อทองคำ เงิน และนวโลหะ
  • เหรียญรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เนื้อทองคำ เงิน และทองแดง
  • พระเครื่องเนื้อผง พิมพ์สมเด็จ และพิมพ์รูปเหมือน
สำหรับพระเครื่องเนื้อผง ได้จัดทำออกเป็น ๓ แบบหลักๆ คือ
  • พิมพ์พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ทรงนิยม
  • พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จฯ โต และ
  • พิมพ์สมเด็จคะแนน
แต่ ละแบบได้จัดสร้างจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ (ยกเว้นพิมพ์พระคะแนน) การจัดสร้างพระเนื้อผงทั้งหมดนี้ ทางวัดได้กำหนดขอบเขตในการจัดทำทุกขั้นตอน ให้อยู่ภายในเขตวัดเท่านั้น โดยมี พระครูใบฎีกาโชคชัย เป็นผู้ดูแลควบคุมงานทั้งหมด
ผง ต่างๆ ที่นำมาผสมเป็นมวลสาร ซึ่งเนื้อแท้มีส่วนสำคัญๆ และถือเป็นมงคลอย่างยิ่ง ได้แก่ ผงปถมัง ซึ่งพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ได้ประสิทธิประสาทไว้ ผงพระที่แตกหักชำรุดไม่เป็นองค์แล้ว เช่น พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จกรุบางขุนพรหม พระสมเด็จปิลันท์ จำนวนมาก ว่านนานาชนิด เศษปูนซึ่งหลุดกระเทาะจากพระอุโบสถ เป็นต้น รวมทั้งเกสรดอกไม้ โดยเฉพาะเกสรดอกบัวที่บูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เกสรดอกไม้ที่บูชาพระตามที่ต่างๆ เศษทองคำเปลวที่ปิดบูชาพระ เป็นต้น
ปัจจุบัน พระสมเด็จรุ่น ๑๐๐ ปี สมเด็จฯ (โตX) ปี ๒๕๑๕ ได้รับความนิยมแสวงหากันอย่างกว้างขวาง องค์ละหลายพันบาทขึ้นไปถึงหลักหมื่น ซึ่งผู้เขียนจะได้นำมาเขียนถึงแต่ละพิมพ์ในโอกาสต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จฯวัดระฆัง
การ จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ คณะกรรมการได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ ตามกำหนดฤกษ์ โอกาสนี้ได้เสด็จฯ ขึ้นทอดพระเนตรหอพระไตรปิฎก และทรงร่วมกันปลูกต้นจันทน์ที่หน้าหอพระไตรปิฎกอีกด้วย
ในครั้งนั้น ได้มีการบันทึกเหตุการณ์ถึงความอันน่าอัศจรรย์ใจในวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไว้ว่า ระยะนั้นเป็นช่วงหน้าฝน กรมอุตุฯได้พยากรณ์จากสถิติในรอบ ๓๐ ปี ว่าจะมีเมฆมาก และจะมีฝนตกชุกตลอดในช่วงบ่ายจนถึงค่ำ เกือบทั้งเดือนกันยายนของปีนั้น ซึ่งในคืนก่อนวันเสด็จฯ (๑๗ ก.ย.๒๕๑๔) ช่างได้ก่อสุมเตาหล่อหลอมโลหะ ปรากฏว่าฝนได้ตกตลอดเวลา ต่อเนื่องมาจนถึงตอนบ่ายของวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๑๔ จนได้หยุดตกก่อนหน้าเวลาเสด็จฯ เพียง ๒-๓ ชั่วโมงเท่านั้น แต่ท้องฟ้าก็คงฉ่ำไปด้วยฝน
แต่ด้วยอำนาจแห่งความ ศักดิ์สิทธิ์ และด้วยพระบารมีของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปรากฏว่า เมื่อได้ฤกษ์ที่จะทรงเททอง ท้องฟ้าซึ่งฉ่ำไปด้วยฝน ได้กลับกระจ่างสว่างขึ้นทันที มีแสงจากดวงอาทิตย์อ่อนๆ สาดไปทั่วพิธีมณฑล ยังความปีติอย่างแรงกล้าแก่ผู้ที่ได้ประสบพบเห็นโดยทั่วหน้ากัน นับเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ขณะเดียวกัน รูปเหมือนสมเด็จฯ (โต) ขนาดเท่าองค์จริง ที่ทรงประกอบพิธีเททองในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่สุมพิมพ์กลางฝนมาตลอด และเป็นของใหญ่ ซึ่งยากในการหล่อ แต่เมื่อทรงเททองแล้ว ปรากฏว่า เมื่อเอาดินพิมพ์ออกหมดแล้วพบว่า รูปเหมือนสมเด็จฯ โต เททองได้เหมือนและดีบริสุทธิ์ ไม่มีชำรุดหรือเสียหายแม้แต่น้อย
โดย อิศรา เตชะสา (ป.สตูดิโอ) จากหนังสือพิมพ์ คม ชัดลึก เสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2554
https://hellobangkok.wordpress.com

เคยมีิเต่ไม่อยู่เเล้ววว
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้