เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระ ภิกษุ ได้รับฉายา “เขมังกโร” แปลว่า ผู้ทำความเกษมแล้ว ท่านเป็นพระภิกษุที่มีจิตมุ่งมั่นที่จะบำเพ็ญตนเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นหลายๆ รูป อาทิ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) พระครูภาวนา สำนักวัดโพธิ์ หลวงพ่อสี ผู้ทรงคุณวิเศษนานัปการ ฯลฯ ท่านจึงมีความเชี่ยวชาญและแตกฉานทั้งด้านคันถธุระ วิปัสสนาธุระ รวมทั้งไสยศาสตร์และวิทยาการต่างๆ ต่อมาได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระ วันรัต (เฮง เขมจารี) ให้เดินทางกลับบ้านเกิดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามในท้องถิ่นที่ชำรุดทรุด โทรม เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป ท่านจึงเดินทางกลับไปดูแลวัดพิกุลทอง ท่ามกลางความชื่นชมยินดีของชาวบ้าน ด้วยบารมีและกุศลบุญของท่านและหลวงพ่อสี การบูรณะวัดพิกุลทองสำเร็จลุล่วงในเวลาเพียงปีเศษเท่านั้น นอกจากนี้ ท่านยังพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญควบคู่ไปด้วย ชื่อเสียงของท่านเป็นที่ร่ำลือขจรขจาย มีศิษยานุศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาเดินทางมากราบนมัสการอย่างเนืองแน่น หลวงพ่อแพท่านมรณภาพในปี พ.ศ.๒๕๔๒ พระอาจารย์องค์สำคัญอีกองค์ หนึ่งของหลวงพ่อแพก็คือ พระครูวิริยะโสภิต หรือ หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ อำเภอบางระจัน จ.สิงห์บุรี ท่านเป็นพระเถระที่มีคุณธรรมสูง จิตใจสงบเยือกเย็น เมตตาปราณี ใจดีมาก ๆ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความชำนาญในเรื่องอำนาจจิต และพุทธาคมมาก มีวาจาที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าท่านเอ่ยอะไรมักจะเป็นไปตามนั้น จึงมีผู้คนที่นับถือและเกรงกลัวท่านมาก หลวงพ่อแพ ได้ร่ำเรียนวิชาจากหลวงพ่อศรี เกสโร อย่างไม่ยากเย็นนัก เพราะมีพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว ยังความดีใจแก่หลวงพ่อศรีเป็นอย่างมาก เพราะวิชาของท่านมีผู้สืบทอด ไม่ดับสูญไปพร้อมกับตัวท่าน เมื่อถึงคราวที่จะต้องจากโลกนี้ไป วิชาหนึ่งของหลวงพ่อศรีที่เลื่องลือ และท่านได้นำมาสร้างวัตถุมงคลยุคแรก ๆ เมื่อคราวที่ท่านสร้างพระอุโบสถ วัดพิกุลทอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ก็คือ แหวนหล่อเนื้อโลหะ และพระเครื่องเนื้อโลหะ เมื่อสร้างเสร็จ ปลุกเสกเสร็จ ก็นำไปให้หลวงพ่อศรีดู และปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง ท่านได้กล่าวว่า “ของที่ท่านแพทำไว้นั้น ใช้ได้แล้ว ฉันไม่ต้องปลุกเสกซ้ำก็ได้ แต่ไหนก็เอามาแล้ว ก็จะสงเคราะห์ให้” ปรากฎว่า ได้รับความศรัทธาจากมหาชนอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะแหวนนั้น หมดลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีผู้นำไปใช้ ต่างได้รับประสบการณ์อย่างมากมายทุกด้าน จนต้องมีการสร้างแหวนขึ้นอีกหลายครั้งหลายครา เมื่อนำไปให้หลวงพ่อศรีท่านปลุกเสกซ้ำ ท่านยังกล่าวอีกว่า “ดีจริง ๆ มีคนนิยมมาก และเมื่อคนต้องการ ก็ควรสร้างมาก ๆ ให้พอแก่ความต้องการ” ที่ท่านกล่าวเช่นนี้ ก็เพราะว่า ถ้ามีของที่ระลึกในการทำบุญมาก ๆ คนก็จะมาทำบุญกันมาก จะได้เงินมาก ๆ มาสร้างโบสถ์ให้เสร็จโดยเร็ว เพราะค่าใช้จ่ายในการสร้างโบสถ์นั้นสูงมาก บางวัดสร้างเป็นสิบปี ก็ยังไม่แล้วเสร็จ ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : ศิษย์มีครู
ขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก : TNews
|