ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
~ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) ~
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 5809
ตอบกลับ: 16
~ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) ~
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2017-8-18 18:24
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
(ครูบาวงศ์, พระครูพัฒนากิจจานุรักษ์)
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
บ้านห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน
ชาติภูมิ
นามเดิม
วงศ์
หรือ
ชัยวงศ์
นามสกุล
ต๊ะแหนม
เกิดที่ตำบลหันก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน ๗ (เหนือ) แรม ๒ ค่ำ ปีฉลู
ตรงกับวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๕๖ เวลา ๒๔.๑๕ นาฬิกา
โยมบิดาชื่อ น้อย จันต๊ะ (ถึงแก่กรรม เมื่ออายุ ๔๔ ปี)
โยมมารดาชื่อ บัวแก้ว (ถึงแก่กรรม เมื่ออายุ ๗๘ ปี)
จำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓
มีน้องต่างบิดาอีก ๑ คน รวมเป็น ๙ คน ดังนี้
๑. เด็กหญิงคำเอื้อย ปัจจุบัน ถึงแก่กรรม
๒. เด็กชายก่องคำ ปัจจุบัน ถึงแก่กรรม
๓. เด็กชายวงศ์ ปัจจุบัน หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ถึงแก่มรณภาพ)
๔. เด็กชายคำตั๋ว ปัจจุบัน นายคำตั๋ว
๕. เด็กหญิงบัวผัน ปัจจุบัน ถึงแก่กรรม
๖. เด็กหญิงบัวใย ปัจจุบัน ถึงแก่กรรม
๗. เด็กหญิงเฮือนมูล ปัจจุบัน ถึงแก่กรรม
๘. เด็กชายอินปั๋น ปัจจุบัน ถึงแก่กรรม
๙. เด็กชายหมอก ปัจจุบัน นายหมอก (เคยอุปสมบทกับหลวงปู่)
ชีวิตในวัยเด็ก
หลวงปู่เกิดในตระกูลชาวไร่ชาวนาที่ยากจน พ่อแม่ของท่านมีสมบัติติดตัวมาแค่นา ๓-๔ ไร่
ควาย ๒-๓ ตัว ทำนาได้ข้าวปีละ ๒๐-๓๐ หาบ ไม่พอกินเพราะต้องแบ่งไว้ทำพันธุ์ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งเอาไว้ใส่บาตรทำบุญบูชาพระ ส่วนที่เหลือจึงจะเก็บไว้กินเอง
ต้องอาศัยขุยไผ่ขุยหลวกมาตำเอาเม็ดมาหุงแทนข้าวและอาศัยของในป่า
รวมทั้งมันและกลอยเพื่อประทั้งชีวิต บางครั้งต้องอดมื้อกินมื้อก็มี
แม่ต้องไปขอญาติพี่น้องๆ เขาก็ไม่มีจะกินเหมือนกัน
แม่ต้องกลับมามือเปล่าพร้อมน้ำตาบนใบหน้า มาถึงเรือน ลูกๆ ก็ร้องไห้เพราะหิวข้าว
แม้ว่าครอบครัวของท่านต้องดิ้นรนต่อสู้กับความอดทนอยาก
แต่ก็ไม่ได้ละทิ้งเรื่องการทำบุญให้ทาน ข้าวที่แบ่งไว้ทำบุญ
แม่จะแบ่งให้ลูกทุกคนๆ ละปั้นไปใส่บาตร บูชาพระพุทธทุกวันพระ
ชีวิตของหลวงปู่ในสมัยเด็กมีความลำบากยากแค้นมาตลอด
หลวงปู่มีนิสัยชอบพึ่งตนเองสิ่งใดที่ทำได้โดยไม่เกินกำลังแล้วจะทำเองทุกอย่าง
ท่านเป็นนักพัฒนา นักก่อสร้าง และสนใจในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เล็กๆ
ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่ออายุประมาณ ๓ ปี ท่านชอบเอาดินมาปั้นแต่งเป็นบ้าน ปั้นวัว ปั้นควาย
อายุ ๔-๕ ปี ชอบปั้นพระพุทธรูป เอาข้าวเปลือกมาตบแต่งทำพระเนตรแล้วก็กราบไหว้เอง
อายุ ๕-๖ ปี พอที่จะช่วยโยมพ่อโยมแม่ทำงานได้
ในขณะนั้นโยมพ่อโยมแม่ไปทำนาซึ่งอยู่ห่างไกลจากบ้าน ระหว่างที่ข้าวออกรวง
หลวงปู่ต้องไปไล่นกไม่ให้มากินข้าวที่ทำไว้ เวลาไปต้องไปแต่เช้า กว่าจะกลับก็มืดค่ำ
ข้าวบางวันก็ได้กินบางวันก็ไม่ได้กิน เที่ยวเสาะหาอาหารตามป่าเขากินพอประทังชีวิตไปวันหนึ่งๆ
อายุ ๗-๑๒ ปี ท่านได้ไปหาบดินซึ่งเป็นขี้ค้างคาวในถ้ำกับโยมพ่อ
นำมาทำเป็นดินปืนสำหรับทำบ้องไฟ (ทางเหนือเรียกดินไฟ)
วิธีทำโดยการนำดินเหล่านี้ผสมกับขี้เถ้าแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน เงินที่ได้เอามาซื้อแลกข้าว
ซึ่งในขณะนั้นราคาประมาณถังละ ๘๐ สตางค์ นับว่ามีราคาแพงมาก
สมัยนั้น ๗-๘ วัน ได้กินข้าวเท่ากำมือหนึ่งก็ดีมากแล้ว
มีอยู่ครั้งหนึ่งโยมพ่อพาลูกๆ ออกไปทำไร่ โยมแม่ได้นำอาหารกลางวันมาส่งให้
ซึ่งประกอบด้วยขนุนที่ยังดิบอยู่นำมาต้มให้สุก
พริกตำห่อด้วยใบตองห่อใหญ่และข้าวห่อเล็กๆ ห่อหนึ่ง
โยมพ่อเรียกลูกๆ ทุกคนมานั่งรวมกันแล้วแบ่งปันอาหารให้กิน
หลังจากกินอาหารเรียบร้อยแล้วโยมพ่อจึงอบรมสั่งสอนลูกๆ ว่า
"ตอนนี้พ่อแม่อด ลูกทุกคนก็อด แต่ลูกๆ ทุกคนอย่าท้อแท้ใจ
ค่อยทำบุญ ไปเรื่อยๆ บุญมี ภายหน้าก็จะสบาย"
แล้วท่านชี้มือมาที่หลวงปู่ และกล่าวว่า
"ลูกเอ๋ยเราทุกข์ขนาดนี้เชียวหนอ ข้าวจะกินก็ไม่มี ต้องกินไปอย่างนี้
ค่อยอดค่อยกลั้นไปบุญมีก็ไม่ถึงกับอดตายหรอก ทรมานมานานแล้วถึงวันนี้ก็ยังไม่ตาย
มันจะตายก็ตายไม่ตายก็แล้วไป ให้ลูกอดทนไปนะ
ภายหน้าถ้าพ่อยังไม่ตายเสียก่อนก็ดีตายไปแล้วก็ดี
บางทีลูกจะได้
"นั่งขดถวาย หงายองค์ตีน (บวช)"
กินข้าวดีๆ อร่อยๆ
พ่อนี่จะอยู่ทันเห็นหรือไม่ทันก็ยังไม่รู้"
หลังจากโยมพ่อได้อบรมสั่งสอนลูกๆ ได้สักพักหนึ่งต่างก็แยกทางกันไปทำงาน
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-8-18 18:26
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เป็นผู้มีความขยันและอดทน
ในสมัยที่ท่านยังเล็กๆ อายุ ๓-๔ ขวบ ท่านมีโรคประจำตัวคือโรคลมสันนิบาต
ลมเปี่ยวลมกัง ต้องนั่งทุกข์อยู่เป็นวันเป็นคืน เดินไปไกลก็ไม่ได้
วิ่งก็ไม่ได้เพราะลมเปี่ยว ตะคริวกินขากินน่อง เดินเร็วๆ ก็ไม่ได้ ต้องค่อยไปค่อยยั้ง
เวลาอยู่บ้านต้องคอยเลี้ยงน้อง ตักน้ำติดไฟไว้คอยพ่อแม่ที่เข้าไปในป่าหาอาหาร
ในช่วงที่ท่านมีอายุได้ ๕-๑๐ ขวบ ท่านต้องเป็นหลักในบรรดาพี่น้องทั้งหมด
ที่ต้องช่วยงานพ่อแม่มากที่สุด เวลาพ่อแม่ไปไร่ไปนาก็ไปด้วย
เวลาพ่อแม่ไปหากลอบขุดมัน หาลูกไม้ในป่า ท่านก็ไปช่วยขุดช่วยหาบกลับบ้าน
บางครั้งพ่อแม่หลงทางเพราะไปหากลอยตามเนินดอยเนินเขา
กว่าจะหากลอยได้เต็มหาบก็ดึก ขากลับพ่อแม่จำทางไม่ได้ ท่านก็ช่วยพาพ่อแม่กลับบ้านจนได้
ครั้นถึงหน้าฝน พ่อแม่ออกไปทำนา ท่านก็ติดตามไปช่วยทุกอย่าง
พ่อปั้นคันนาท่านก็ช่วยพ่อ พ่อไถนาท่านก็คอยจูงควายให้พ่อ
เวลาแม่ปลูกข้าวก็ช่วยแม่ปลูกจนเสร็จ
เสร็จจากหน้าทำนา ท่านก็จะเผาไม้ในไร่เอาขี้เถ้า ไปขุดดินในถ้ำมาผสมทำดินปืนไปขาย
ได้เงินซื้อข้าวและเกลือ บางครั้งก็ไปอยู่กับลุงน้อยเดชะรับจ้างเลี้ยงควาย
บางปีก็ได้ค่าแรงเป็นข้าว ๒-๓ หาบ บางปีก็เพียงแต่ขอกินข้าวกับลุงพอตุนท้องตุนไส้ไปวันๆ
พอถึงเวลาข้าวออกรวง นกเขาจะลงกินข้าวในนา
ท่านก็จะขอพ่อแม่ไปเฝ้าข้าวในนาตั้งแต่ เช้ามืด กว่าจะกลับก็ตะวันลับฟ้าไปแล้ว
เป็นผู้มีความกตัญญู
หลวงปู่มีความกตัญญูมาตั้งแต่เด็ก ท่านช่วยพ่อแม่ทำงานต่างๆ ทุกอย่างเท่าที่ทำได้
ตั้งแต่อายุได้ประมาณ ๕ ขวบ ท่านก็ช่วยพ่อแม่เฝ้านาเลี้ยงน้อง
ตลอดจนช่วยงานทุกอย่างของพ่อแม่ เมื่อเวลาที่พ่อแม่หาอาหารไม่ได้
ท่านก็จะไปรับจ้างชาวบ้าน แถบบ้านก้อ ทำความสะอาด หรือช่วยเฝ้าไร่นา
เพื่อแลกกับข้าวปลาอาหารมาให้พ่อแม่และน้องๆ กิน
ในบางครั้ง อาหารที่ได้มา หรือที่พ่อแม่จัดหาให้ ไม่เพียงพอกับคนในครอบครัว
ด้วยความที่ท่านมีนิสัยเสียสละ และไม่ต้องการให้พ่อแม่ต้องเจียดอาหารของท่านทั้งสอง
ซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว ออกมาให้ท่านอีก ท่านจึงได้บอกว่า "กินมาแล้ว" เพื่อให้พ่อแม่สบายใจ
แต่พอลับตาผู้อื่น หรือเมื่อผู้อื่นในบ้านหลับกันหมดแล้ว ท่านก็จะหลบไปดื่มน้ำ
หรือบางครั้งจะหลบไปหาใบไม้ที่พอจะกินได้มาเคี้ยวกิน เพื่อประทังความหิวที่เกิดขึ้น
ซึ่งผู้เขียนได้รับฟังมาจากน้องของท่านว่า
"หลวงพ่อเติบโตขึ้นมาโดยพ่อแม่เลี้ยงข้าวท่านไม่ถึง ๑๐ ถัง
แต่ท่านในสมัยเป็นเด็ก กลับหาเลี้ยงพ่อแม่ มากกว่าที่พ่อแม่หาเลี้ยงท่าน"
ชอบลองใจ
ปกติท่านมักจะหาเวลาว่างไปทำบุญ ช่วยเหลือการงานที่วัดก้อจอก ซึ่งอยู่ใกล้บ้านเสมอ
ครั้งหนึ่ง ท่านได้ชวนผู้เฒ่าคนหนึ่ง ซึ่งโดยปกติไม่ชอบไปวัดทำบุญ
แต่ชอบยิงนกตกปลาเป็นประจำ และมักจะมีข้ออ้างเสมอ
เมื่อถูกชวนไปวัด คราวนี้แกก็ปฏิเสธเช่นเคย โดยอ้างว่า เท้าเจ็บไปไหนไม่ได้
ท่านอยากจะลองดูซิว่าเท้าแกเจ็บจริงหรือไม่ เมื่อท่านเดินออกไปได้สักระยะหนึ่ง
ก็ทำเสียงอีเก้งร้อง เมื่อร้องครั้งแรก ผู้เฒ่าคนนั้นก็ยกหัวขึ้นมาดู
(ขณะนั้นนอนทำเป็นป่วยอยู่) หันซ้ายหันขวามองตามเสียงอีเก้งร้อง
เมื่อแกได้ยินเสียงร้องครั้งที่สอง ก็ลุกนั่งมีอาการอยากจะออกไปยิงอีเก้ง
พอได้ยินเสียงร้องครั้งที่สาม ผู้เฒ่าทนไม่ไหวลุกขึ้นไปหยิบเอาปืน
จะออกไปยิงอีเก้งตัวนี้เสียทันทีทันใด
จนท่านเห็นแล้วต้องรีบวิ่งหนี เพราะกลัวจะโดนลูกหลง
มีนิสัยกล้าหาญ
เมื่อท่านอายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบ ท่านต้องออกไปเฝ้านาข้าว เพื่อคอยไล่นกที่จะมากินข้าวในนา
ท่านต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี ๔ ยังไม่สว่าง นกยังไม่ตื่นออกหากิน
การที่ท่านต้องออกไปไร่นาแต่เพียงลำพังคนเดียวเป็นประจำ
ทำให้ลุงตาลซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของท่าน อดสงสัยไม่ได้ จนต้องเข้ามาถามท่าน
ลุงตาล : มึงนี้เป็นผีเสือหรือไร แจ้งมา กูก็เห็นมึงที่นี่ มึงไม่ได้นอนบ้านหรือ
ด.ช.วงศ์ : เมื่อนกหนูนอนแล้ว ข้าจึงกลับไปบ้าน เช้ามืดไก่ขันหัวที ยังบ่แจ้ง
นกยังบ่ลงบ่ตื่น ข้าก็มาคนเดียว
ลุงตาล : ไม่กลัวเสือ ไม่กลัวผีป่าหรือ ?
ด.ช.วงศ์ : ผีเสือมันก็รู้จักเรา มันไม่ทำอะไรเรา เราเทียวไปเทียวมา มันคงรู้ และเอ็นดูเรา
บางวันตอนเช้าเราเห็นคนเดินไปข้างหน้าเราก็เดินตามก็ไม่ทัน
จนถึงไร่มันก็หายไปเราก็เข้าใจว่ามันไปส่งเรา เราก็ไม่กลัว บางเช้าก็ได้ยินเสียงเสือร้องไปก่อนหน้า
ลุงตาล : ไม่กลัวเสือหรือ ?
ด.ช.วงศ์ : เราไม่กลัว มันเป็นสัตว์เราเป็นคน มันไม่รังแกเรา
มันคงสงสารเราที่เป็นทุกข์ยาก มันคงจะมาอยู่เป็นเพื่อน
เราจะไปจะมาก็ขอเทวดาที่รักษาป่า ช่วยรักษาเรา เราจึงไม่กลัว
ลุงตาล : มึงเก่งมาก กูจักทำตามมึง
ด.ช.วงศ์ : เราไม่ได้ทำอะไรมัน มันก็ไม่ทำอะไรเรา มันไม่รังแกเรา
เราคิดว่าคนที่ใจบาปไปเสาะหาเนื้อในป่า กินกวางกินเก้งกินปลา
เสือก็ยังไม่กัดใครตายในป่าสักคน เวลาเราจะลงเรือน เราก็ขอให้บุญช่วยเรา
ลุงตาล : มึงยังเด็ก อายุไม่ถึง ๑๐ ขวบ มืดๆ ดึกๆ ก็ไม่กลัวป่า
ไม่กลัวเถื่อน ไม่กลัวผีป่า ผีพง ไม่กลัวช้าง กูยอมมึงแล้ว
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-8-18 18:28
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มีปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์
ขณะที่ท่านนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ในป่าคนเดียวตามลำพัง
ท่านได้เปรียบเทียบชีวิตท่านกับสัตว์ป่า ทั้งหลายว่า
"นกทั้งหลายต่างก็หากินไปไม่มีที่หยุด
ต่างก็เลี้ยงตัวเองไปตามประสามันก็ยังทนทานไปได้
ตัวเราค่อยอดค่อนทนไปก็ดีเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายก็ทุกข์ยากอย่างเรา
เราก็ทุกข์ยากอย่างเรา สัตว์ในโลกก็ทุกข์เหมือนกันทุกอย่าง
เราไม่ควรจะเหนื่อยคร้าน ค่อยอดค่อยทนตามพ่อแม่นำพาไป"
เป็นผู้มีพรหมวิหารสี่
หลวงปู่มีความเมตตากรุณาและพรหมวิหารสี่มาแต่เยาว์วัยอย่างหาที่เปรียบมิได้
เพื่อนของ หลวงปู่ตั้งแต่สมัยนั้นเล่าว่า เมื่อสมัยที่ท่านเป็นเด็กระหว่างทางไปหาของหรืออาหารป่า
ทุกครั้งที่เห็นสัตว์ถูกกับดักของนายพราน ท่านจะปล่อยสัตว์เหล่านั้นให้มีอิสรภาพเสมอ
แล้วจะหาสิ่งของมาทดแทนให้กับนายพราน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับชีวิตของมัน
ครั้งหนึ่งท่านเห็นตัวตุ่นถูกกับดักนายพรานติดอยู่ในโพรงไม้ไผ่
ด้วยความสงสารท่านจึงปล่อยตัวตุ่นนั้นไป แล้วหยิบหัวมันที่หามาได้จากในป่า
ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปให้พ่อแม่และน้องๆ กิน ใส่เข้าไปในโพรงไม้นั้นแทน
เพื่อเป็นการชดใช้แลกเปลี่ยนกับชีวิตของตัวตุ่นนั้น
ต่อมามีอยู่วันหนึ่ง ท่านไปพบปลาดุกติดเบ็ดของชาวบ้านที่นำมาปักไว้ที่ห้วย
ท่านเห็นมันดิ้นทุรนทุรายแล้วเกิดความสงสาร เวทนาปลาดุกตัวนั้นมาก
จึงปลดมันออกจากเบ็ด แล้วเอาหัวผักกาดที่ท่านทำงานแลกมา
ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปให้พ่อแม่และน้องๆ กิน มาเกี่ยวไว้แทน
เป็นการแลกเปลี่ยนชีวิตปลาดุกนั้น หลวงปู่ได้เมตตาบอกถึงเหตุผลที่กระทำเช่นนั้นว่า
ในเวลานั้นท่านมีความเวทนาสงสาร สัตว์เหล่านั้นจึงได้ช่วยชีวิตของมันไว้
ท่านมักจะสั่งสอนลูกศิษย์อยู่เสมอว่า
"ชีวิตของใคร ๆ ก็รักทั้งนั้น เราทุกคนควรจะเมตตาตนเอง
และเมตตาผู้อื่นอยู่เสมอโลกนี้จะได้มีความสุข"
ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่ไม่ชอบการผิดศีลมาตั้งแต่สมัยเด็ก
เมื่อท่านเห็นว่าคนอื่นจะผิดศีลข้อปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต)
ก็รู้สึกสงสารทั้งผู้ทำปาณาติบาตและผู้ถูกปาณาติบาต
ซึ่งท่านไม่อยากเห็นพวกเขามีเวรมีกรรมกันต่อไป
แต่ในขณะเดียวกันท่านก็ไม่ต้องการให้ตัวเองต้องผิดศีลโดยไปลักขโมยของผู้อื่น
ซึ่งในเวลานั้นท่านไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ท่านจึงต้องหาสิ่งของมาตอบแทนให้กับเขา
แต่ในบางครั้งก็ไม่มีสิ่งของมาแลกกับชีวิตของสัตว์เหล่านั้นเหมือนกัน
แต่ท่านก็สามารถจะช่วยมันได้โดยปล่อยมันให้เป็นอิสระ แล้วท่านจะนั่งรอนายพราน
จนกว่าเขาจะมา และก็ขอเอาตัวเองชดใช้แทน ซึ่งท่านได้เล่าว่า
บางคนก็ไม่ถือสาเอาความ แต่บางคนก็ให้ไปทำงานหรือทำความสะอาด
ทดแทนกับที่ท่านไปปล่อยสัตว์ที่เขาดักไว้ แต่ไม่เคยมีใครทำร้ายทุบตีท่าน
อาจจะมีบ้างก็เพียงแต่ว่ากล่าวตักเตือน
ในปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน หลวงปู่ชอบปล่อยสัตว์ ปล่อยปลามาก
มีอยู่หลายแห่งที่ท่านไปโปรดญาติโยม แล้วญาติโยมซื้อสัตว์มาให้ท่านปล่อย
สัตว์พวกนี้ดีใจมากเมื่อปล่อยให้มันเป็นอิสรภาพ ขณะที่ท่านปล่อยสัตว์โดยเฉพาะสัตว์น้ำ
เช่น ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ เหมือนหนึ่งว่ามันไม่อยากจากท่านไป
เมื่อท่านให้ศีลให้พรจะดำผลุบดำโผล่อยู่ที่หน้าท่านเป็นเวลานาน
บางตัวก็ขึ้นมานอนสงบนิ่งเพื่อรับพรจากท่าน บางตัวขึ้นมาเคล้าเคลียที่เท้าของท่านที่จุ่มลงในน้ำ
แสดงถึงความรักและความเมตตาจิตที่ได้รับจากท่าน
และสมัยเมื่อท่านจำพรรษาอยู่ป่าแม่ระได้ ๔ ปี ช้างจะมาล้อมฟังเสียงสวดมนต์ทุกเช้า
เมื่อฟังจบแล้วต่างก็แยกย้ายกันไปหากิน เมื่อหลวงปู่ตีระฆัง ช้างก็จะมาขอกินข้าว
หลังจากได้กินข้าวแล้ว ก่อนจากไปช้างที่เป็นหัวหน้าจะครางฮือๆ
เพื่อแสดงความเคารพและขอบคุณ แม้แต่เสือก็ยังมีความเกรงใจ
คือถ้าเสือเดินมาในระยะไกลๆ มันจะร้องมาเรื่อย
เมื่อเดินเข้ามาใกล้ที่ หลวงปู่พักอยู่มันจะไม่ร้อง จะร้องอีกต่อเมื่อออกห่างไปไกล
ท่านได้พูดกับผู้เขียนว่า
"แม้ว่าบางครั้งจะต้องทำงานหนักเพื่อใช้ชีวิตของสัตว์ที่ท่านได้ปล่อยไป
แต่ท่านก็รู้สึกยินดีและปิติใจเป็นอันมากที่ได้ทำในสิ่งที่ดีงามเหล่านี้"
กินอาหารมังสวิรัติ
เมื่อท่านอายุได้ ๑๒ ปี ท่านได้พบเหตุการณ์สำคัญที่ทำไม่อยากจะกินเนื้อสัตว์นั้นเลยนับแต่นั้นมา
กล่าวคือ มีครั้งหนึ่งท่านได้เห็นพญากวางใหญ่ถูกนายพรานยิง
แทนที่พญากวางตัวนั้นจะร้องเป็นเสียงสัตว์ มันกลับร้องโอย โอยๆ ๆ ๆ เหมือนเสียงคนร้อง
แล้วสิ้นใจตายในที่สุด และเมื่อท่านไปอยู่กับครูบาชัยลังก๋าซึ่งไม่ฉันเนื้อสัตว์
หลวงปู่จึงงดเว้นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ตั้งแต่นั้นมา อีกประการหนึ่ง
อาจเป็นด้วยบุญบารมีที่ท่านได้สร้างสมมาแต่อดีตชาติ
ประกอบกับได้เห็นความทุกข์ยากของสัตว์ต่างๆ ที่ถูกทำร้าย
จึงทำให้ท่านเกิดความสลดใจอยู่เสมอ
ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐานถึงคุณพระศรีรัตนตรัยตั้งแต่นั้นมาว่า
"จะไม่ขอเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์
และจะไม่ขอกินเนื้อสัตว์อีกต่อไป"
ท่านเมตตาสอนว่า
"สรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมรักและหวงแหนชีวิตของมันเอง
เราทุกคนไม่ควรจะเบียดเบียนมัน มันจะได้อยู่อย่างเป็นสุข"
และท่านยังพูดเสมอว่า
"ท่านต้องการให้ศีลของท่านบริสุทธิ์ขึ้นไปเรื่อยๆ"
สัตว์ทุกตัวมันก็รักชีวิตของมันเหมือนกัน เมื่อเราฆ่ามันตายเพื่อกินเนื้อมัน
จิตของมันไปที่สำนักพญายม ก็จะฟ้องร้องว่าคนนั้นฆ่ามันตาย
คนนี้กินเนื้อของมัน ถึงแม้จะไม่ได้ฆ่า คนกินก็เป็นจำเลยด้วย ก็ย่อมต้องได้รับโทษ
แต่จะออกมาในรูปของการเจ็บไข้ได้ป่วย
และความไม่สบายต่างๆ ซึ่งเจ้าตัวไม่รู้สึก เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-8-18 18:29
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บรรพชาเป็นสามเณร
ครูบาชัยลังก๋า
เมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๒ ปี ด้วยผลบุญที่ท่านได้บำเพ็ญมาตั้งแต่ปางก่อนในอดีตชาติ
และได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ในชาตินี้
จึงดลบันดาลให้ท่านมีความ เบื่อหน่ายต่อชีวิตทางโลก อันเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แห่งนี้
ท่านจึงได้รบเร้าขอให้พ่อแม่พาท่านไปบวช เพื่อท่านจะได้บำเพ็ญธรรมะ
ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบิดามารดาได้ฟัง ก็เกิดความปิติยินดีเป็นยิ่งนัก
โยมพ่อจึงนำท่านไปฝากไว้ที่วัดกับหลวงอา และในปีนี้เองโยมพ่อก็เสียชีวิตลง
หลังจากหลวงปู่มาอยู่วัดได้เพียง ๑ เดือน โยมพ่อของท่านจึงไม่มีโอกาสเห็นท่าน
"นั่งขดถวายหงายองค์ตีนกินข้าว" จริงตามที่เคยพูดไว้
หลวงปู่ศึกษาเล่าเรียนอยู่ ๘ เดือน เมื่อท่านอายุย่าง ๑๓ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๘)
จึงได้บวชเป็นสามเณรกับครูบาชัยลังก๋า (ซึ่งเป็นพระธุดงค์กรรมฐานรุ่นพี่ของครูบาศรีชัย)
ครูบาชัยลังก๋าได้ตั้งชื่อให้ท่านใหม่หลังจากเป็นสามเณรแล้วว่า
"สามเณรชัย ลังก๋า"
เช่นเดียวกับชื่อของครูบาชัยลังก๋า
มีความเคารพเชื่อฟัง
ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรและเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ตลอดจนผู้สูงอายุ
จึงทำให้ครูบาอาจารย์และผู้เฒ่าผู้แก่รักใคร่เอ็นดูมาก
จนเป็นเหตุทำให้เพื่อนเณรบางคนพากันอิจฉาริษยา หาว่าท่านประจบครูบาอาจารย์
และถูกกลั่นแกล้งรังแกอยู่เสมอ ระหว่างศึกษาเล่าเรียนภาษาล้านนา
ท่านมักจะโดนครูที่สอนตีเป็นประจำ อ่านหนังสือแทบทุกตัวอักขระไม่ว่าเล็กๆ น้อยๆ
เช่น อ่านไม่ออกก็โดนทุบโดนตีเหมือนอย่างวัว อย่างควาย
บางครั้งโดนตีด้วยแซ่จนเป็นรอยเต็มไปหมด ไม่ว่าจะที่ต่ำที่สูง
บางทีก็โดนสันขวานทุบตีที่หัว เช่น อ่านหนังสือว่า กะ ขะ ก๊ะ เมื่ออ่านผิดก็โดนตี ๑ ครั้ง
ท่านเล่าให้ฟังว่า ตาสองข้างลายพร่าไปหมด
มีอาการเหมือนคนมึนงง ต้องถูกตีถอนพิษอีก ๑ ครั้งจึงจะหาย
ถ้าสังเกตให้ดีแล้ว ศีรษะของหลวงปู่จะไม่สวยเนื่องจากมีร่องรอยการถูกตีนี่เอง
หลวงปู่คิดอยู่ในใจเสมอว่าครูพวกนี้ขาดความเมตตา
ถ้าท่านได้มีโอกาสเป็นครูเขาแล้วจะค่อยๆ สอน จะไม่ทุบไม่ตีใคร
เมื่อใดที่ท่านอยู่ห่างจากครูบาอาจารย์เป็นต้องถูกรังแกเสมอ
ทำให้การอยู่ปรนนิบัติติดตามครูบาอาจารย์เป็นไปอย่างไม่มีความสุข
เมื่อยามหลับนอนบางครั้งก็โดนเอาทรายมากรอกปากบ้าง เอาไฟเผามือเผาเท้าบ้าง (ไฟเย็น)
ไปฟ้องก็ไม่ได้ ถูกรุมตี ไปทางครู ครูตี มาหาเพื่อน เพื่อนตี
เวลาฉันเข้าก็ฉันไม่ได้มากเพราะถูกรังแก ระหว่างฉันอยู่ถูกพระเณรองค์โน้นบ้างองค์นี้บ้าง
หยิบเอาข้าวเอากับในสำรับไปกิน ท่านถูกกลั่นแกล้งทุกอย่าง
แต่ก็ด้วยขันติบารมีอย่างยิ่งของท่าน จึงสามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ตลอดมา
ครั้งหนึ่งในขณะที่ท่านกำลังฉันข้าวอยู่ พวกที่เป็นศัตรูกับท่านได้นำเอากระโถนของครูบาก๋า
ซึ่งท่านถ่มน้ำมูกน้ำลายเอาไว้มาวางรวมในสำรับกับข้าวที่ท่านฉัน
แล้วหัวเราะด้วยความภูมิใจ หลวงปู่ท่านฉันโดยไม่รู้สึกรังเกียจและคิดจะให้พวกเหล่า
นี้เห็นถึงความจงรักภักดีที่ท่านมีต่อครูบาอาจารย์
ท่านได้นำอาหารบ้างข้าวบ้างจิ้มลงไปในกระโถน แล้วหยิบขึ้นมาฉันอย่างปกติ
ผู้ที่แกล้งท่านต่างอาเจียนไปตามๆ กันด้วยความรังเกียจ
และโดยปกติแล้วหลวงปู่มักจะดื่มน้ำล้างกระโถนของครูบาก๋าเป็นประจำ
โดยการเทน้ำมูกน้ำลายทิ้งเสียก่อนครั้งหนึ่ง
จากนั้นเอาน้ำเปล่าเทผสมลงไปกับน้ำมูกน้ำลายที่ยังติดคราบกระโถนอยู่
ก่อนดื่มท่านอธิษฐานจิตขอให้เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่งๆ ขึ้นไป
ด้วยความเคารพกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ และต้องการที่จะปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
เพื่อมรรคผลพระนิพพาน ท่านจึงได้ใช้ขันติและให้อภัยแก่พระเณรเหล่านั้น
ที่ไม่รู้สัจธรรมในเรื่องกฎแห่งกรรมที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ได้กล่าวไว้ว่า
"ทำความดี ได้ดี ทำความชั่ว ผลแห่งความชั่วย่อมตอบสนองผู้นั้น"
พบชายชราลึกลับ
เพื่อนพระสงฆ์ที่เคยอยู่ร่วมกันกับท่านในสมัยเป็นเณรได้เล่าว่า
"หลวงพ่อวงศ์เป็นผู้มีขันติและอภัยทานสูงส่งจริงๆ"
ครั้งหนึ่งท่านเคยถูกเณรองค์อื่น (ซึ่งไม่ควรจะถือว่าเป็นพระหรือเณร)
เอาน้ำรักทาไว้บนที่นอนของท่าน ในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้า
และเทียนก็หาได้ยาก ท่านจึงมองไม่เห็น เมื่อท่านนอนลงไป
น้ำรักก็ได้กัดผิวหนังของท่านจนแสบจนคัน ท่านจึงได้เกาจนเป็นแผลไปทั้งตัว
ไม่นานแผลเหล่านั้นก็ได้เน่าเปื่อยขึ้นมา จนทำให้ท่านได้รับทุกขเวทนามาก
แต่ด้วยความที่ท่านเป็นคนดีมีธรรมะ เมตตาให้อโหสิกรรมกับผู้อื่น
ท่านจึงใช้ขันติข่มความเจ็บปวดเหล่านั้นโดยไม่ปริปากหรือกล่าวโทษผู้ใด
ทุกครั้งที่ครูบาอาจารย์ถาม ท่านก็ไม่ยอมที่จะกล่าวโทษใครเลย
เพียงเรียนไปว่า ขออภัยให้กับพวกคนเหล่านั้นเท่านั้น และขอยึดเอาคำของครูบาอาจารย์มาปฏิบัติ
เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมกันต่อไปในอนาคต และเพื่อความหลุดพ้นจากวัฎสงสารแห่งนี้เข้าสู่นิพพาน
ดังที่ครูบาอาจารย์ได้อบรมสั่งสอนมาด้วยความยากลำบาก
ในการที่จะให้ลูกศิษย์ลูกหาเป็นคนดีและเป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญของพุทธบริษัทต่อไป
ด้วยผลบุญที่ท่านได้สั่งสมมาแต่อดีตถึงปัจจุบันจึงดลบันดาลให้
มีชายชราชาวขมุ นำยามาให้ท่านกินให้ท่านทา เป็นเวลา ๓ คืน
เมื่อท่านหายดีแล้ว ชายชราผู้นั้นก็ได้กลับมาหาท่าน และได้พูดกับท่านว่า
"เป็นผลบุญของเณรน้อยที่ได้สร้างสมมาแต่อดีตถึงปัจจุบันไว้ดีมาก
และมีความกตัญญูเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ครูบาอาจารย์ดีมากจึงทำให้แผลหายเร็ว
ขอให้เณรน้อยจงหมั่นทำความดีปฏิบัติธรรมและเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ต่อไป
อย่าได้ท้อถอยไม่ว่าจะมีมารมาขัดขวางอย่างไรก็ดี
ขอเณรน้อยใช้ความดีชนะความไม่ดีทั้งหลายต่อไปในภายภาคหน้า
สามเณรน้อยจะได้เป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญของพุทธบริษัทต่อไป"
เมื่อชายชราผู้นั้นกล่าวจบแล้ว จึงได้เดินลงจากกุฏิที่ท่านพักอยู่
สามเณรชัยลังก๋านึกได้ ยังไม่ได้ถามชื่อแซ่ของชายชราผู้มีพระคุณ จึงวิ่งตามลงมา
แต่เดินหาเท่าไรก็ไม่พบชายชราผู้นั้น ท่านจึงได้สอบถามผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้น
ทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่พบเห็นชายชราเช่นนี้มาก่อนเลย
นอกจากเห็นท่านนอนอยู่องค์เดียวในกุฏิ จากคำพูดของคนเหล่านี้
ทำให้ท่านประหลาดใจมาก เพราะท่านได้พูดคุยกับชายชราผู้นั้นถึง ๓ คืน
ทุกครั้งที่ชายชราผู้นี้มาทายา และทำยาให้ท่านกินเหตุการณ์นี้ ทำให้ท่านคิดว่าชายชราผู้นั้น
ถ้าไม่เป็นเทพแปลงกายมา ก็อาจจะเป็นผู้ทรงศีลที่บำเพ็ญอยู่ในป่าจนได้อภิญญา
เรื่องการกลั่นแกล้งจากพระเณรต่างๆ เหล่านี้
เมื่อท่านได้มีโอกาสกราบเรียนให้ครูบาก๋าทราบ ครูบาก็เมตตาสั่งสอนว่า
"เณรน้อยให้อดทนไว้ที่ถูกกลั่นแกล้งเช่นนี่ ก็เพราะเป็นเวรกรรมที่เคยทำไว้ในอดีต
ถ้าผูกเวรกันแล้วก็จะไม่มีวันพ้นทุกข์ไปได้ กรรมใดใครก่อกรรมนั้นย่อมตามสนอง
เณรน้อยควรรู้จักการให้อภัยเสียแต่บัดนี้ ต่อไปภายหน้าเณรน้อยก็จะสบาย"
ครูบาชัยลังก๋ามักลูบหัวของท่านด้วยความรักเอ็นดู และสั่งสอนให้ด้วยความเมตตาอยู่เสมอว่า
"มันเป็นกรรมเก่าของเณรน้อย ตุ๊ลุงขอให้เณรน้อยใช้ขันติและความเพียรต่อไป
เพื่อโลกุตตรธรรมอันยิ่งใหญ่ในภายหน้า เมื่อถึงเวลานั้นแล้ว
ทุกคนที่เคยล่วงเกินเณรน้อย เขาจะรู้กรรมที่ได้ล่วงเกินเณรน้อยมา"
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-8-18 18:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ครูบาชัยลังก๋า
(ปฐมอาจารย์ของหลวงปู่องค์แรก)
ครูบาชัยลังก๋า ปฐมอาจารย์ของหลวงปู่องค์แรก
ครูบาชัยลังก๋าเป็นพระอาจารย์องค์แรกของหลวงปู่ ท่านเป็นผู้มีศีลาจารวัตรงดงาม
อบรมสั่งสอนทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ให้ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม
แต่ท่านจะเลือกสั่งสอนเฉพาะผู้ที่ควรจะเมตตาได้เท่านั้น
ดังมีเรื่องอยู่หลายครั้งตามที่ได้รับฟังมาว่า ท่านสามารถหยั่งรู้ถึงเหตุการณ์ในภายหน้าได้ว่า
ใครบ้างจะมาหาท่าน มาดีมาร้ายอย่างไร
ถ้าผู้ใดมีจิตปรารถนาที่ดีต้องการมาเพื่อทำบุญทำทานรักษาศีลฟังธรรม
ท่านจะต้อนรับด้วยความยินดีและเมตตาสั่งสอนให้สำเร็จสมความมุ่งหมายที่ได้ตั้งใจ
แต่ถ้าต้องการมาพบในทางที่ไม่ชอบแล้ว ท่านจะหลบเข้าป่าไม่ให้พบตัว
จนกว่าพวกนี้กลับไป ท่านจึงจะออกมา ท่านไม่มีกำหนดเวลาว่าจะเข้าป่าเมื่อไหร่
บางครั้ง ๕ ทุ่ม เที่ยงคืน ตี ๑ ตี ๒ ถ้าท่านต้องการจะไปแล้ว
หลวงปู่ต้องเตรียมตัวให้ทันตามที่ท่านปรารถนา บางครั้งก็ไม่ได้ฉันอาหารเพราะไปอดอยู่ในป่า
ครูบาชัยลังก๋า มักจะพาหลวงปู่ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาเสมอ
การเดินป่าต้องมีความเคารพต่อสถานที่และเจ้าป่าเจ้าเขา
เช่นการตัดไม้ผ่าฟืนจะทำเหมือนอยู่ตามบ้านไม่ได้
เมื่อตัดไม้แล้วต้องเดินไปวางกองรวมกันให้เรียบร้อย
จะโยนไปรวมกันไม่ได้ ไม้มีขนาดใหญ่ไม่สามารถแบกมาได้
ต้องตัดแบ่งเป็นท่อนเล็กๆ แล้วแบกมา จะถือลากมาตามพื้นก็ไม่ได้
มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อได้เข้าไปตัดไม้ในป่าแล้วนำออกมาโดยลากมาตามพื้น
ซึ่งการทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการไม่เคารพสถานที่เจ้าป่าเจ้าเขา
และในคืนนั้นเองเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็บังเกิดขึ้นคือ หลวงปู่มีอาการเริ่มป่วยครึ่งหลับครึ่งตื่น
ในขณะนั้นมีนกตัวเล็กซึ่งทางเหนือเรียกว่า ผีปะโก้โล้งปงตง ทางภาคกลางเรียกว่าผีกองกอย
นกชนิดนี้โดยปกติจะร้องออกมาเป็นเสียงธรรมชาติที่ได้ยินทั่วไปคือ คอกๆ คอยๆ
แต่ถ้าได้ยินเสียงร้องผิดปกติว่า คอกๆ คอขาด ต้องระวังให้ดี
และในคืนนี้ก็เช่นกันเสียงมันร้องว่า คอกๆ คอขาด ใกล้เข้ามาที่หลวงปู่ทุกที
เมื่อเป็นดังนั้นครูบาก๋าท่านได้สวดมนต์ให้พรเพื่อเป็นการปัดเป่าภยันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
หลวงปู่มีการเหมือนจะเคลิ้มหลับ ได้ยินเสียงสวดมนต์และเสียงนกร้องทุกอย่าง
แต่ไม่สามารถบังคับตัวเองได้ บางครั้งใจเหมือนจะหลุดออกจากร่าง
ครูบาก๋าท่านสวดมนต์อยู่เป็นเวลานาน แต่เสียงนกที่ร้องก็ยังไม่ยอมหยุด
ประหนึ่งว่าจะเอาชีวิตของหลวงปู่ให้จงได้ เสียงร้องถี่และชัดเข้ามาทุกที
ครูบาก๋าท่านสุดวิสัยที่จะแก้ไขเหตุการณ์เช่นนี้ได้ เพราะสวดมนต์ให้พรหมดทุกบทแล้วยังไม่ยอมไป
สัตว์พวกนี้ฟังเสียงธรรมไม่ยอมรู้ซึ้ง ท่านจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีใหม่เป็นวิธีที่หยาบคาย
โดนท่านพูดด่าออกไปว่า "โคตรพ่อโคตรแม่มึง สวดมนต์สวดพรให้รับก็ไม่อยากจะได้บุญ
มึงจะเอาอะไรหรือ โคตรพ่อโคตรแม่มึง" และด่าคำหยาบคายอีกหลายอย่าง
ซึ่งการทำเช่นนี้ปรากฏว่าได้ผล นกผีกองกอยค่อยๆ ร้องห่างออกไปเรื่อยๆ
ในที่สุดก็หายไป ในไม่ช้า หลวงปู่ท่านก็มีสติขึ้นมาตามเดิม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-8-18 18:33
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดพระธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
ไปวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
ในระยะที่อยู่กับครูบาชัยลังก๋าๆ ได้เมตตาอบรมสั่งสอนวิชาการต่างๆ ให้แก่ท่าน
เช่น ภาษาลานนา ธรรมะ การปฏิบัติกรรมฐาน รวมทั้งธุดงควัตร
ตลอดถึงการดำรงชีวิตในป่าขณะธุดงค์ ครูบาชัยลังก๋ามักพาท่านไปแสวงบุญ
และธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เสมอ เพื่อให้ท่านมีประสบการณ์
ทั้งยังเคยพาท่านไปนมัสการรอบพระพุทธบาทห้วยต้มหลายครั้ง
(
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
ในสมัยก่อนนั้นชื่อว่า วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม)
สมัยนั้นวัดนี้เป็นวัดร้าง ยังเป็นเขาอยู่
ครั้งหนึ่งสามเณรชัยลังก๋าเห็นวิหารทรุดโทรมมาก จึงกราบเรียนถามครูบาชัยลังก๋า
"ทำไมตุ๊ลุงถึงไม่มาสร้างวัดนี้มันทรุดโทรมมาก"
ครูบาชัยลังก๋าตอบด้วยความเมตตาว่า
"มันไม่ใช่หน้าที่ของตุ๊ลุง แต่จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้าง"
ขณะที่ครูบาชัยลังก๋ากล่าวอยู่นั้น ท่านก็ได้ชี้มือมาที่สามเณรน้อยชัยลังก๋าพร้อมกับกล่าวว่า
"อาจจะเป็นเณรน้อยนี้กะบ่ฮู้ที่จะมาบูรณะวัดนี้"
ท่านจึงได้เรียนไปว่า
"เฮายังเป็นเณร จะสร้างได้อย่างใด"
ครูบาชัยลังก๋าจึงกล่าวตอบไปด้วยความเมตตาว่า
"ถึงเวลาจะมาสร้าง ก็จะมาสร้างเอง"
คำพูดของครูบาชัยลังก๋านี้ไปพ้องกับคำพูดของครูบาศรีวิชัย ที่เคยกล่าวกับหม่องย่นชาวพม่า
เมื่อตอนที่หลวงพ่ออายุได้ ๕ ขวบ ในครั้งนั้นครูบาศรีวิชัยได้รับนิมนต์จากหม่องย่น
ให้มารับถวายศาลาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม หม่องย่นให้ขอนิมนต์ครูบาศรีวิชัย
มาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้มให้เจริญรุ่งเรือง แต่ครูบาศรีวิชัยได้ตอบปฏิเสธไปว่า
"ไม่ใช่หน้าที่กู จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้างในภายภาคหน้า"
ท่านอยู่กับครูบาชัยลังก๋าที่
วัดพระธาตุแก่งสร้อย
จังหวัดตาก เป็นเวลา ๑ ปี
หลังจากนั้นครูบาชัยลังก๋าได้ออกจาริกธุดงค์ไปโปรดชาวบ้านที่จังหวัดเชียงราย
ครูบาชัยลังก๋าได้ให้ท่านอยู่เฝ้าวัดกับพระเณรองค์อื่น และเมื่ออายุของหลวงพ่อได้ ๑๙ ปี
ครูบาชัยลังก๋าก็ล้มป่วยและมรณภาพ รวมอายุของท่านได้ ๗๐ กว่าปี
ในช่วงที่ท่านอยู่วัดนี้ ท่านก็ได้พบกัน
ครูบาศรีวิชัย
เป็นครั้งแรก
ซึ่งท่านเคารพนับถือครูบาศรีวิชัยมาก่อนหน้านี้แล้ว ในครั้งนั้นครูบาศรีวิชัย
ได้มาเป็นประธานในการฉลองพระธาตุที่วัดพระธาตุแก่งสร้อย
ในโอกาสนี้ท่านจึงได้อยู่ใกล้ชิดปรนนิบัติรับใช้ครูบาศรีวิชัยเป็นเวลา ๗ วัน
การพบกันครั้งแรกนี้ ครูบาศรีวิชัยก็ได้รับท่านไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นมา
หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ผ่านพ้นไปแล้ว ท่านก็ยังประจำอยู่ที่วัดพระธาตุแก่งสร้อยได้ไม่นาน
เพราะทนต่อการกลั่นแกล้งจากพระเณรอื่นไม่ไหว จึงได้เดินทางกลับมาอยู่กับหลวงน้าของท่าน
เพื่อช่วยสร้างพระวิหารที่วัดก้อท่าซึ่งเป็นวัดร้างประจำหมู่บ้านก้อท่า ตำบลก้อทุ่ง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ในระหว่างอายุ ๑๕-๒๐ ปีนั้น ท่านได้ติดตามครูบาอาจารย์หลายองค์ และได้จาริกออกธุดงค์
ปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆ ตลอดจนได้ไปอบรมสั่งสอนชาวบ้านชาวเขาในที่ต่างๆ ด้วยเช่นกัน
ในบางครั้งก็ไปกับครูบาอาจารย์ ในบางครั้งก็ไปองค์เดียวเพียงลำพัง
เมื่อมีโอกาสท่านก็จะกลับมารับการ ฝึกอบรมจากครูบาอาจารย์ทุกองค์ของท่านเสมอๆ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-8-18 18:34
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย
ครูบาพรหมจักร (พระอุปัชฌาย์)
ครูบาพรหมจักร
ก่อนที่หลวงปู่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้มาอยู่กับครูบาพรหมจักร
ที่วัดจอมหมอก ต.แม่ตืน และมีเหตุการณ์ที่เกือบจะทำให้หลวงปู่กระทำในสิ่งที่ร้ายแรงลงไป
ถ้าไม่ได้รับคำเตือนให้มีสติกลับคืนมาจากครูบาพรหมจักร
โดยมีพระเฒ่าองค์หนึ่งอายุ ๗๐ กว่าปีซึ่งติดตามครูบาพรหมจักรเช่นเดียวกัน
ชอบพูดว่าหลวงปู่อยู่เสมอโดยเรียกหลวงปู่ว่า "ไอ้ก้อ" (หลวงปู่เกิดที่บ้านก้อ)
หลวงปู่ท่านอดทนมาตลอดไม่เคยโต้ตอบ แต่ที่ทนไม่ไหวเนื่องจากดูถูกดูหมิ่นกันมากเกินไป
โดยพระเฒ่าได้จัดที่นอนไว้ให้ลูกศิษย์ที่คอยรับใช้ตนนอน
หลวงปู่ท่านเวลานอนก็นอนใกล้ครูบาพรหมจักร
ในเช้าวันหนึ่งหลังจากที่ครูบาพรหมจักรฉันอาหารแล้ว
หลวงปู่ท่านก็นำอาหารไปฉันยังที่พระเฒ่าจัดให้ลูกศิษย์นอน
พระเฒ่าเกิดไม่พอใจหลวงปู่ที่ไปใช้สถานที่ของลูกศิษย์ตน จึงด่าออกไปว่า
"ไอ้ก้อกูไม่ได้จัดที่ให้มึงใช้ มึงมาใช้ทำไม ออกไปเดี๋ยวนี้นะ กลับบ้านก้อมึงไปซะ"
ขณะนั้นหลวงปู่โมโหมาก จึงตอบโต้ไปว่า "ไอ้ปากเมือง (พระเฒ่าองค์นี้อยู่ปากเมือง)
มาอยู่แม่ตืนทำไมก็กลับไปปากเมืองซิ"
พระเฒ่าก็ว่า "ไอ้ก้อ" หลวงปู่ก็ตอบว่า "ไอ้ปากเมือง"
โต้กันไปโต้กันมา พระเฒ่าลุกขึ้นหยิบเอาชะแลงจะมาตีหลวงปู่
หลวงปู่ก็หยิบเอามีดจะไปฟันพระเฒ่า
ครูบาพรหมจักรซึ่งนั่งอยู่ที่ฉันอาหารเห็นเข้าจึงร้องห้ามขึ้นว่า
"เดี๋ยวก่อนๆ นี่เราเณรนะอย่าไปตอบโต้เขา มานี่ก่อนซิ"
หลวงปู่เข้าไปหาครูบาพรหมจักรน้ำตาไหลพรากนั้นสองข้างและเล่าเรื่องที่เกิดขึ้น
ให้ครูบาพรหมจักรฟัง ท่านก็ตักเตือนให้อดทนไว้
ถ้าครูบาพรหมจักรไม่อยู่ในที่นั้นคงจะมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
8
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-8-18 18:37
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) กับ ครูบาพรหมจักร
เมื่ออายุ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาพรหมจักร
วัดพระบาทตากผ้าเป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า
"ชัยยะวงศา"
และออกเดินธุดงค์
ไปบำเพ็ญสมณธรรมกับท่านเป็นเวลา ๒ ปี ในบางโอกาสท่านก็จะเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในที่ต่างๆ
ทั้งลาวและพม่า ท่านได้อยู่กับครูบาพรหมจักรระยะหนึ่งแล้ว จึงได้กราบลาครูบาพรหมจักร
ออกจาริกธุดงค์ไปแสวงหาสัจจธรรม ความหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งนี้เพียงลำพังองค์เดียวต่อ
เพื่อเผยแผ่สั่งสอนธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกชาวเขาในที่ต่างๆ
หลวงพ่อท่านมีความเคารพในครูบาพรหมจักรเป็นอย่างมาก
ท่านกล่าวเสมอว่าครูบาพรหมจักรเป็นผู้ที่มีความบริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ
อันจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยากนัก
สอนธรรมะแก่ชาวเขา
ขณะที่ท่านธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ท่านได้พบและอบรมสั่งสอนธรรมะของพระพุทธองค์
ให้กับชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆ ท่านเล่าว่า ตอนที่ท่านพบชาวเขาใหม่ๆ นั้น
ในสมัยนั้นชาวเขาส่วนใหญ่ยังไม่ได้นับถือพุทธศาสนา
ในขณะที่ท่านจาริกธุดงค์ไปตามหมู่บ้านของพวกชาวเขา พวกชาวเขาเหล่านี้ก็จะรีบอุ้มลูกจูงหลา
นหลบเข้าบ้านเงียบหายกันหมดพร้อมกับตะโกนบอกต่อๆ กันว่า "ผีตาวอดมาแล้วๆ ๆ..."
ในบางแห่ง พวกผู้ชายบางคนที่ใจกล้าหน่อยก็เข้ามาสอบถามและพูดคุยกับท่าน
บางคนเห็นหัวของท่านแล้วอดรนทนไม่ไหวที่เห็นหัวของท่านเหน่งใส
จึงเอามือลูบหัวของท่านและทักทายท่านว่า "เสี่ยว" (แปลว่า เพื่อน)
หลวงพ่อว่าในตอนนั้นท่านไม่รู้สึกเคืองหรือตำหนิเขาเหล่านั้นเลย
นอกจากขบขันในความซื่อของพวกเขา เพราะพวกเขายังไม่รู้จักพุทธศาสนา
ในสมัยนั้นพวกชาวเขายังนับถือลัทธิบูชาผีบูชาเจ้า
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ถือธุดงค์ปฏิบัติกรรมฐานในสถานที่แห่งนั้น
เพื่อจะหาโอกาสสอนธรรมะของพระพุทธองค์ให้กับพวกชาวเขา การสอนของท่านนั้น
ท่านได้เมตตาบอกว่า ท่านต้องทำและสอนให้พวกเขารู้อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป
โดยไม่ทำให้พวกเขามีความรู้สึกแปลกประหลาดและขัดต่อจิตใจความเป็นอยู่ที่เขามีอยู่
ท่านได้ใช้ตัวของท่านเองเป็นตัวอย่างให้เขาดู ในการที่จะทำให้พวกเขา
หันมาปฏิบัติธรรมะของพระพุทธองค์ เมื่อพวกเขาถามท่านว่า
"ทำไมท่านจึงโกนผมจนหัวเหน่ง และนุ่งห่มสีเหลืองทั้งชุด ดูแล้วแปลกดี"
ท่านก็จะถือเอาเรื่องที่เขาถามมาเป็นเหตุในการเทศน์
เพื่อเผยแผ่ธรรมะให้พวกเขาได้ปฏิบัติและรับรู้กัน
หลวงพ่อได้เล่าว่า การสอนให้เขารู้ธรรมะนั้น ท่านต้องสอนไปทีละขั้น
เพื่อให้เขารู้จัก พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์เสียก่อน
จากนั้นท่านจึงสอนพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกเขา
โดยเฉพาะการทำงาน การถือศีลและการนั่งภาวนา ให้พวกเขาได้ปฏิบัติยึดถือกัน
โดยเฉพาะเรื่องของศีล ๕ ท่านจะสอนเน้นให้พวกเขาไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่ทำร้ายผู้อื่น
เพื่อจะได้ไม่เป็นเวรกรรมกันต่อไปในภายภาคหน้า
ซึ่งการสอนของท่านทำให้พวกชาวเขาได้รับความสงบสุขภายในหมู่บ้านของเขา
อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน พวกเขาจึงยิ่งเคารพนับถือและเชื่อฟังในคำสั่งสอนของท่านมากยิ่งขึ้น
หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
9
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-8-18 18:38
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สอนกินมังสวิรัติ
หลวงพ่อได้เมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าในสมัยนั้น พวกชาวเขาได้นำอาหารที่มีเนื้อสัตว์มาถวาย
แต่ท่านหยิบฉันเฉพาะที่เป็นผักเป็นพืชเท่านั้น ทำให้เขาเกิดความสงสัย
ท่านจึงได้ยกเอาเรื่องในพุทธชาดกมาเทศน์ให้พวกเขาฟัง
เพื่อเป็นการเน้นให้เห็นถึงกฎแห่งกรรมและผลดีของการรักษาศีล
ท่านได้อยู่อบรมสั่งสอนให้พวกเขารับรู้ถึงธรรมะและการรักษาศีลอยู่เสมอๆ
ทำให้พวกเขาเลื่อมใสและหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนาโดยละทิ้งประเพณีเก่าๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา
ต่อมาพวกชาวเขาเหล่านี้ก็ได้เจริญรอยตามท่าน โดยเลิกกินเนื้อสัตว์หันมากินมังสวิรัติแทน
(ดังที่เราจะเห็นได้จากกะเหรี่ยงที่อพยพมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยต้มในปัจจุบันนี้)
เมื่อท่านได้สอนพวกเขาให้นับถือศาสนาพุทธแล้ว ท่านก็จะจาริกธุดงค์แสวงหาสัจธรรมต่อไป
และถ้ามีโอกาสท่านก็จะกลับไปโปรดพวกเขาเหล่านั้นอยู่เสมอ
ด้วยเหตุนี้ชาวเขาและชาวบ้านในที่ต่างๆ ที่ท่านเคยไปสั่งสอนมาจึงเคารพนับถือท่านมาก
เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านจึงเดินทางกลับมาหาครูบาศรีวิชัยพร้อมกับชาวกะเหรี่ยงที่เป็นศิษย์ของท่าน
เพื่อช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพในครั้งนี้
ครูบาศรีวิชัยได้เมตตาให้ท่านเป็นกำลังสำคัญทำงาน ร่วมกับครูบาขาวปี
ในการควบคุมชาวเขาช่วยสร้างทางอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ยากลำบาก
เช่น การสร้างถนนในช่วงหักศอกก่อนที่จะถึงดอยสุเทพ
(ช่วงที่คนวิพากษ์วิจารณ์ครูบาศรีวิชัยกันมากที่สร้างถนนหักศอกมากเกินไป)
ในระหว่างกำลังสร้างทางช่วงนี้ ได้มีหินก้อนใหญ่มากติดอยู่ใกล้หน้าผา
จะใช้กำลังคนหรือช้างลากเช่นไร ก็ไม่ทำให้หินนั้นเคลื่อนไหวได้
ชาวกะเหรี่ยงที่ทำงานอยู่นั้นจึงไปกราบเรียนให้ครูบาศรีวิชัยทราบ
ท่านจึงให้คนไปตามหลวงพ่อซึ่งกำลังสร้างทางช่วงอื่นอยู่
เมื่อหลวงพ่อวงศ์มาถึงท่านได้ยืนพิจารณาอยู่ครู่หนึ่ง
จึงได้เดินทางไปผลักหินก้อนนั้นลงสู่หน้าผานั้นไป เหตุการณ์นี้ทำให้
ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์แปลกใจไปตามๆ กันที่เห็นท่านใช้มือผลักหินนั้นโดยไม่อาศัยเครื่องมือใดๆ
ครูบาศรีวิชัยได้ยืนยิ้มอยู่ข้างๆ ท่านด้วยความพอใจ
(เรื่องนี้ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระและกะเหรี่ยงที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น)
โค้งขุนกันฯ เป็นโค้งหักศอก ช่วงก่อนถึงพระธาตุดอยสุเทพ
ครูบาศรีวิชัย ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกับศิษยานุศิษย์มี ครูบาขาวปี, ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ฯลฯ
เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และประชาชน ณ บันไดนาค ทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
ในคราวสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพแล้วเสร็จ ในวันเปิดใช้ทางเป็นวันแรก วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๗๘
จากซ้าย : พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
หลวงปู่คำแสน คุณาลงฺกาโร (หลวงปู่ครูบาคำแสนน้อย)
วัดดอนมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ (ศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต)
หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย (วัดชัยมงคล) อ.เมือง จ.ลำพูน
ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน
พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน บุญ-หลง อาภรโณ)
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
ครูบาธรรมชัย ธมฺมชโย วัดทุ่งหลวง อ.แม่แต่ง จ.เชียงใหม่
ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)
กับ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
10
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-8-18 18:40
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประทับรอยเท้าเป็นอนุสรณ์
ขณะที่ท่านช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ
ท่านได้ประทับรอยเท้าลึกลงไปในหินประมาณ ๑ ชั่วโมง ข้างน้ำตกห้วยแก้ว
ช่วงตอนกลางๆ ของทางขึ้นดอยสุเทพ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ท่านได้มาช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทาง
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ผู้เขียนและคณะได้มีโอกาสติดตามหลวงพ่อ
ขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ ขากลับท่านได้พาไปนมัสการวัดอนาคามี
(ซึ่งเป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยได้มอบให้ท่านเป็นผู้ควบคุมการสร้าง ปัจจุบันทรุดโทรมหมดแล้ว)
ระหว่างทางท่านได้พาพวกเราไปดูรอยเท้าที่ท่านประทับไว้
รอยเท้านั้นลึกลงไปในหินประมาณครึ่งเซนติเมตรมีรอยถูกน้ำกัดเซาะ
พวกเราแปลกใจมากที่เห็นรอยเท้านั้น พอดีกับเท้าของท่านเมื่อท่านเหยียบลงไป
(การประทับรอยเท้าเช่นนี้ท่านเคยไปประทับรอยเท้าและรอยมือไว้บนแผ่นหิน
ณ ประเทศศรีลังกา เพื่อเป็นอนุสรณ์เช่นกัน
เป็นที่ประจักษ์สายตาของคณะศิษย์ที่ร่วมเดินทางไปทุกครั้ง)
อุปสรรค
ท่านเป็นผู้ที่ครูบาศรีวิชัยไว้ใจมากองค์หนึ่งเพราะเมื่อครูบาศรีวิชัยมีปัญหาเรื่องขาดกำลังคน
ครูบาศรีวิชัยก็จะมอบหน้าที่ให้ท่านไปนำกะเหรี่ยงอยู่บนดอยต่างๆ มาช่วยสร้างทาง
วัดอนาคามี ในปัจจุบัน ซึ่งเหลือแต่ซาก
หลวงพ่อเล่าว่า การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ และการสร้างบารมีของครูบาศรีวิชัยนั้น
ทุกข์ยากลำบากมาก เพราะถูกกลั่นแกล้งจากบุคคลอื่นที่ไม่เข้าใจและอิจฉาริษยาอยู่เสมอ
ทุกครั้งที่ครูบาศรีวิชัยให้ท่านไปนำกะเหรี่ยงมาช่วยสร้างทาง
ระหว่างการเดินทางต้องคอยหลบเลี่ยงจากการตรวจจับของพวกตำรวจหลวงและคณะสงฆ์ที่ไม่เข้าใจ
ครูบาศรีวิชัยท่านได้เล่าว่าในเวลากลางวันต้องหลบซ่อนกันในป่า
หรือเดินทางให้ห่างไกลจากเส้นทางสัญจร เพื่อหลบให้ห่างจากผู้ขัดขวาง
ส่วนในเวลากลางคืนต้องรีบเดินทางกันอย่างฉุกละหุก
เพราะเส้นทางต่างๆ มืดมากต้องอาศัยโคมไฟตามบ้านเป็นการดูทิศทาง
เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ด้วยบารมีและความตั้งมั่นในการทำความดีของครูบาศรีวิชัยที่มีต่อพระพุทธศาสนา
ทำให้พุทธบริษัททั้งชาวบ้านและชาวเขาจากในที่ต่างๆ จำนวนมาก
มาช่วยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพได้สำเร็จดังความตั้งใจของครูบาศรีวิชัย
โดยใช้เวลาสร้างเพียง ๗ เดือนเท่านั้น
เมื่อครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพสำเร็จแล้ว
หลวงพ่อจึงได้ไปกราบลาครูบาศรีวิชัย กลับไปอยู่ที่เมืองตื๋น วัดจอมหมอก
ตำบลแม่ตื๋น กิ่งอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ถูกจับห่มขาว
ครูบาอภิชัย (ครูบาขาวปี) วัดผาหนาม
เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๙) ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดจอมหมอก
เจ้าคณะตำบลได้มาจับท่านสึก ในข้อหาที่ท่านเป็นศิษย์และเป็นกำลังสำคัญ
ที่ปฏิบัติเชื่อฟังครูบาศรีวิชัยอย่างเคร่งครัด
(ซึ่งในขณะนั้นครูบาศรีวิชัยได้ถูกจับมาสอบสวนอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ครั้งสุดท้าย)
แต่ตัวท่านเองไม่ปรารถนาที่จะสึก จะหนีไม่ได้
เมื่อทางคณะสงฆ์จะจับท่านสึกและให้นุ่งห่มดำหรือแต่งแบบฆราวาส
ท่านไม่ยอมเพราะท่านไม่ได้ผิดข้อปฏิบัติของสงฆ์
แต่เมื่อคณะสงฆ์ที่ไปจับท่านสึกไม่ให้ห่มเหลือง ท่านจึงหาผ้าขาวมาห่มแบบสงฆ์
เลียนเยี่ยงอย่าง
ครูบาขาวปี วัดผาหนาม
(ซึ่งเคยถูกจับสึกไม่ให้ห่มเหลืองในข้อหาเดียวกัน
ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยถูกอธิกรณ์ก่อนที่จะมีการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ
และยึดถือข้อวัตรปฏิบัติเหมือนที่เป็นสงฆ์อย่างเดิม
ผู้เขียนได้ทราบจากหลวงพ่อครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้า,
ครูบาบุญทืม และเจ้าคุณราชฯ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนองค์ก่อน วัดจามเทวี พูดให้ผู้เขียนฟังว่า
"ในหมู่พระสงฆ์และฆราวาสที่เป็นศิษย์ของครูบาศรีวิชัย
ก็ยังนับถือหลวงพ่อเป็นพระสงฆ์เช่นเดิม เพราะการสึกในครั้งนั้นไม่สมบูรณ์
ครูบาวงศ์ไม่ได้ทำผิดพระวินัยของสงฆ์ และในขณะที่สึกนั้นจิตใจของท่านก็ไม่ยอมรับที่จะสึก
ยังยึดมั่นว่าตัวเองเป็นพระสงฆ์เหมือนเดิม
ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านยังปฏิบัติข้อวัตร พระธรรมวินัยของสงฆ์ทุกประการ"
หลวงพ่อได้เล่าว่า ในคราวนั้นลูกศิษย์ลูกหาของครูบาศรีวิชัยระส่ำระสายกันมาก
บางองค์ก็ถูกจับสึกเป็นฆราวาส บางองค์ก็หนีไปอยู่ที่อื่นบ้าง ในป่าในเขาบ้าง เพื่อไม่ให้ถูกจับสึก
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ดูบอร์ด
พูดคุยตามประสา คศช.
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...