ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5535
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ชำแหละ”พรบ.คอมพิวเตอร์”

[คัดลอกลิงก์]
ชำแหละ”พรบ.คอมพิวเตอร์”วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559                                                                  

รายงานพิเศษ
ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ พ.ศ….) ที่ครม. เป็นผู้เสนอ อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระที่ 2 ชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) เหตุผลเพื่อป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กำหนดให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีภารกิจกำหนดมาตรฐานและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ทว่ายังมีนักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาชน และองค์กร สิทธิมนุษยชนที่ติดตาม ตั้งข้อสังเกตว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล ดังนี้

จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน

คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล
กฎหมายคอมพ์ฉบับปัจจุบันให้อำนาจเจ้าหน้าที่นำชื่อเว็บไซต์ไปขอหมายศาลเพื่อนำไปบังคับให้มีการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ แต่ร่างปรับปรุงล่าสุดในมาตรา 20 เปิดช่องให้มีกระบวนการเร่งด่วนสามารถดำเนินการให้ปิดเว็บไซต์ ได้ทันที แล้วค่อยทำรายงานแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งตามฉบับนี้คือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รับทราบภายหลัง แต่เนื้อหาของมาตรานี้ไม่ได้กำหนดว่า เร่งด่วนหมายถึงอะไร กรอบความหมายและบรรทัดฐานเป็นอย่างไร แต่เปิดช่องให้ดำเนินการได้ทันที
มันจึงมีผลกระทบต่อเสรีภาพ การแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนโดยตรง
ทั้งยังกำหนดให้ คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารคอมพิวเตอร์ ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ มีอำนาจวินิจฉัยเพื่อสั่งปิดกั้นเว็บไซต์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีได้ทันที เนื้อหามีเพียงเท่านั้น ไม่ได้ระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวนั้นผิดกฎหมายถึงปิดกั้นได้
พ.ร.บ.ฉบับนี้ไปไกลถึงขนาดจะสั่งบล็อกอะไรก็ได้ โดยที่ไม่ต้องผิด กฎหมาย เช่น มีกระทู้ความรู้การทำแท้ง แม้ทำแท้งไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากตีความว่าขัดศีลธรรมอันดี ก็ต้องเอาลงทันที
คำถามคือ เราไม่ได้มีมาตรฐานกลางของศีลธรรมที่มาใช้ร่วมกัน ถ้อยคำดังกล่าวเป็นกรอบอย่างกว้าง เปิดช่องให้รัฐใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่ ซึ่งไม่ว่าประเทศไหนเขาเปิดช่องให้คณะกรรมการชุดหนึ่ง มาชี้ขาดศีลธรรม แล้วบังคับให้คนส่วนใหญ่ในสังคมทำตามแบบนี้ บอร์ดชุดดังกล่าวจึงคล้ายกับ กบว. กองเซ็นเซอร์สื่อโทรทัศน์เมื่อสิบปีที่ผ่านมา ทว่าต้องอย่าลืมว่าสื่ออินเตอร์เน็ต ไม่ได้รวมศูนย์เหมือนสื่อทีวี ผลของการปิดกั้นจะไม่สามารถทำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ รูปแบบการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลแบบนี้ ไม่เข้ากับยุคสมัยของเราอีกต่อไป
สิ่งที่กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ของสนช. พยายามจะแก้ มาตรา 14 (1) เพื่อไม่ให้ถูกนำไปใช้ฟ้องหมิ่นประมาทออนไลน์ ยังไม่เฉียบคมพอ สุดท้ายยังเปิดช่องให้เกิดการฟ้องหมิ่นประมาทคู่กับกฎหมายคอมพิวเตอร์ เหมือนฉบับปัจจุบันได้อยู่ดี พยายามแถว่า จะถูกนำไปใช้ป้องกันการปลอมข้อมูลออนไลน์เพียงอย่างเดียว
การปิดช่องนำพ.ร.บ.คอมพ์ ไปฟ้องคู่กับกฎหมายหมิ่นประมาท เพื่อหวังจะพ่วงโทษรุนแรงขึ้นนั้น สามารถทำได้โดยระบุให้ชัดว่า คดีหมิ่นประมาทออนไลน์ให้ไปใช้กับมาตรา 326 และ 328 ตามประมวลกฎหมายอาญาตามปกติ
ขณะเดียวกันกฎหมายฉบับนี้ ได้เปิดช่องให้การกำหนดรายละเอียดวิธีการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ต่อการใช้อำนาจปิดกั้นการถึงหน้าเว็บไซต์ ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวง ที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ไม่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองกฎหมายจากฝ่ายนิติบัญญัติ แม้ประกาศดังกล่าวจะให้อำนาจเกินกว่าพ.ร.บ.ไม่ได้ แต่กระบวนการออกมาบังคับใช้ทำได้ง่ายมาก สะท้อนว่า รัฐจ้องจำกัดสิทธิประชาชน



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-11-29 17:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คณาธิป ทองรวีวงศ์
คณะนิติศาสตร์ ม.เซ็นต์จอห์น
จะเกิดผลกระทบต่อชีวิตและสังคมออนไลน์ของคนทั่วไป ชาวออนไลน์จะหวาดวิตกเช่นเดียวกับตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ที่จะพบว่ามีข่าวเยอะมาก เกี่ยวกับการโพสต์หรือแชร์แล้วเสี่ยงติดคุก ซึ่งมาตรา 14 (1) (2) และ (5) จะก่อความกังวลนี้ต่อไป เนื่องจากกินความกว้าง คนไม่รู้กฎหมายนี้ เสี่ยงถูกฟ้องได้ตลอดเวลา
ขณะเดียวกันคดีหมิ่นประมาททางออนไลน์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้สนช.จะบอกไม่ใช้ร่วมกฎหมายตัวอื่น แต่ขั้นตอนการบังคับใช้ ยังตีความได้เหมือนเดิม แล้วก็เป็นชาวบ้านทั่วไปที่ต้องอาจกลายเป็นผู้ต้องหา ขัดแย้งกับหลักสากล กฎหมายคอมพ์มักถูกออกมาเพื่อป้องกัน อาชญากรรมไซเบอร์ หลอกลวงทรัพย์สิน หรือข้อมูล
ยิ่งบทบัญญัติแบบมาตรา 16 ยิ่งไม่ควรมี ในระดับสากลไม่มีประเทศไหน กำหนดโทษการตัดต่อภาพคนตาย การให้ข้อมูลเท็จ เป็นความผิดในพ.ร.บ.คอมพ์ เพราะเรื่องหมิ่นประมาทอยู่ในกฎหมายอาญาแล้ว แต่บ้านเรา นับตั้งแต่มีกฎหมายนี้มาตั้งแต่ปี 2550 พ.ร.บ.มักจะถูกพ่วงใช้กับกฎหมายอื่น เช่น มาตรา 112 มาตรา 116 และกฎหมายหมิ่น เพื่อทำให้โทษรุนแรงขึ้น ทั้งที่ตามหลักกฎหมาย กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ก็ให้ศาลลงโทษบทหนักสุดอันเดียว การบังคับใช้กฎหมายจึงกลายเป็นความซ้ำซ้อน
พัฒนาการของร่างกฎหมายตัวนี้จนถึงชั้นกมธ. ขยายความกว้างมากขึ้นจนน่ากังวล มาตรา 14 และมาตรา 16 ครอบคลุมถึงการครอบครองข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ที่ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่มีใครคอยต้องมานั่งตรวจสอบมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ตัวเองตลอดเวลาอยู่แล้วว่า มีสิ่งผิดกฎหมายอยู่หรือไม่ บางทีเองเราก็อาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า ทำผิดกฎหมายอยู่ เช่น เราอยู่ในกลุ่มไลน์ ที่มีการส่งภาพลามก ตามมาตรา 14(1) เราแค่เผลอ กดอ่านก็ถือว่ารับรู้ หากไม่ลบก็ผิด ต้องทำลายทันที แม้จะมีข้ออ้างว่าความผิดลักษณะนี้ เมื่อไปศาลก็ถูกยกฟ้อง แต่ถามว่า มันควรเป็นเรื่องปกติกับชีวิตประจำเราหรือไม่
นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ที่รัฐบาลตื่นเต้นจนต้องตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมาเป็นเจ้าภาพหลัก จะได้รับผลกระทบมากที่สุด
ภาพรวมของกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นการควบคุมเนื้อหา ทว่าเนื้อหามันคือสิ่งสำคัญต่อการทำการตลาด ธุรกรรมการเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ คลิป หรือข้อความ หากสิ่งเหล่านี้ ถูกตีความว่า เป็นการนำเข้าข้อมูลเป็นเท็จ หรือดูหมิ่นผู้ตาย ตามมาตรา 14 และมาตรา 16 จะมีปัญหาทันที ในแง่ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ทั้งยังเอื้อต่อการฟ้องร้องกลั่นแกล้งกัน สำหรับผู้ให้บริการ ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหากมีการกระทำผิดเกิดขึ้น ดูแล้วเศรษฐกิจดิจิทัลของเราอาจเต็มไปด้วยความหวาดระแวง ขณะเดียวกัน มาตรา 15 ก็เปิดช่องให้ผู้บริการไม่ต้องรับผิด ด้วยการนำระบบ notice and take down หรือ ระบบแจ้งเตือนความผิดมาใช้ หากมีการรายงานว่า ผู้ใช้คนใดทำความผิด ผู้ให้บริการที่นำข้อมูลเหล่านั้นออกไป จะไม่ต้องรับผิด ทั้งที่เป็นเพียงขั้นตอนการแจ้งเตือน ยังไม่ได้พิสูจน์ด้วยว่า ข้อมูลที่ถูกรายงานผิดจริงหรือไม่ สุ่มเสี่ยงจะกลายเป็นวิถีปฏิบัติ ผู้ให้บริการจะกลัวผิด ก็ต้องนำข้อมูลออกไว้ก่อน ทำให้ไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน สนับสนุนให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง
พ.ร.บ.คอมพ์ที่แท้จริง ควรจะมีเพียงแค่ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ เฝ้าระวังปัญหาทางเทคนิคที่ฐานข้อมูลรัฐอาจต้องเจอกับการโจมตีโดยแฮ็กเกอร์ ตามที่เขียนไว้ในมาตรา 1-11 เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีเนื้อหา ตามที่ให้ไว้ในบันทึกหลักการและเหตุผลข้อ 8 ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของราชอาณาจักรเลย เนื่องจากเรามีกฎหมายอาญาครอบคลุมอยู่แล้ว
สฤณี อาชวานันทกุล
เครือข่ายพลเมืองเน็ต
แคมเปญที่พลเมืองเน็ตเคยรณรงค์เพื่อต่อต้านกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัล ที่มีระบบ ซิงเกิล เกตเวย์ (single gateway) ปรับให้ประตูไหลเวียนข้อมูลข่าวสาร มีเพียงช่องทางเดียว นำไปสู่ผลเสียหายหลายด้าน เช่น ง่ายต่อการแฮ็กโดยอาชญากรไซเบอร์ ความเร็วอินเตอร์ เน็ตช้าลง กำลังถูกประยุกต์มาใส่ในร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ…. ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาวาระ 2 ชั้นกมธ.ของสนช. มีลักษณะเป็น ซิงเกิล คอนโทรล (single control) ผ่านเนื้อหาที่วางไว้
เดิมขั้นตอนการบล็อกเว็บ เจ้าหน้าที่รัฐจะบล็อกเว็บได้โดยการรวบรวมข้อมูลเพื่อไปขอหมายศาลสั่งผู้ให้บริการบล็อกเว็บ แต่ตามมาตรา 20 ของร่างฉบับนี้ เปิดช่องให้รัฐทำได้ทันที ขั้นตอนและกระบวนการให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ลำพังวิธีการเดิมก็ไม่มีขั้นตอนให้ต้องเปิดเผยข้อมูล การจะรวบรวมสถิติของเว็บที่ถูกปิดกั้น ต้องสืบค้นจากหมายศาล แต่ตามรูปแบบใหม่นี้ เราจะไม่สามารถติดตามรวบรวมข้อมูลอะไรได้เลย
ร่างประกาศกระทรวงที่ว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน เบื้องต้นระบุว่า ผู้ให้บริการต้องลบใน 3 วัน ตามฐานความผิด ของมาตรา 14 ที่เขียนไว้อย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันก็ไม่มีการกำหนด กระบวนการกลั่นกรองการใช้คำสั่ง การโต้แย้งสิทธิการอุทธรณ์ ตลอดจนการเยียวยาผู้ใช้เอาไว้
สำหรับประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกฎหมายฉบับนี้ ยังมีอีก 2 ฉบับ คือ ประกาศว่าด้วยการตั้งศูนย์เซ็นเซอร์ เป็นอำนาจของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เปิดช่องให้กระทรวงบล็อกได้เอง เป็นอำนาจแบบใหม่ และประกาศว่าด้วย spam หรือที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การส่งข้อมูลจำนวนมากจนอาจก่อความรำคาญให้แก่ผู้ใช้ ค่อนข้างเกี่ยวข้องกับหลักการของกฎหมายคอมพิวเตอร์ที่อื่น แต่สุดท้ายแล้วยังไม่มีการกำหนดข้อจำกัดที่ชัดเจนว่า จำนวนเท่าไรที่จะสร้างความรำคาญแก่ผู้ใช้แล้วจะเข้าข่ายมีความผิด
สำหรับของใหม่ที่ให้ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ 5 คน ก็ยังไม่ทราบคุณสมบัติที่ชัดเจน เบื้องต้นกำหนดให้มีตัวแทนจากภาคเอกชน 2 แต่อีก 3 ยังไม่แน่นอน อำนาจของกรรมการชุดนี้ สามารถส่งเรื่องให้ศาลพิจารณาได้ หากพบว่าเว็บไซต์ใดมีข้อความเข้าข่ายขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นคือ ศาลจะตีความอย่างไรในเมื่อไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย ศาลจะทำหน้าที่ชี้ขาดความหมายของคำว่า ความสงบ เรียบร้อย และศีลธรรมอันดี ที่กฎหมายไม่ได้นิยามเอาไว้ แน่นอนว่า คำที่มีความหมายกว้างแบบนี้ ย่อมไม่มีใครในสังคมตีความเหมือนกันแน่

ภาพรวมของกฎหมายที่กำหนด ขั้นตอน กระบวนการทำงานที่เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐ จนถึงฐานความผิดของผู้ใช้ จึงสะท้อนทัศนคติว่ารัฐต้องการควบคุมข้อมูลข่าวสารไม่ต่างจาก ซิงเกิลเกตเวย์ ที่เคยต่อต้านกัน สถานะของรัฐจะมีอำนาจเพิ่มขึ้น ผู้ใช้ก็จะมีอำนาจต่อรองน้อยลง

https://www.khaosod.co.th/hot-topics/news_117853
ขอบคุณครับ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย morntanti เมื่อ 2016-11-30 09:35

พรบ.ฉบับนี้ออกมาเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการรรับรู้ของประชาชนเป็นอย่างมากแถมยังมีอำนาจตรวจสอบจำกุมประชาชนโดยการตัดสินของคนเพียงไม่กี่คนโดยไม่ผ่านขั้นตอนทางศาลอีกด้วย....ขอแค่ในเครื่องมีข้อมูลถึงแม้ไม่ได้แชร์ก็ยังสามารถโดนรับโทษได้ครี่งหนึ่งของความผิดพูดง่ายๆเผลอไปกดไลท์กดแชร์หรือบางครั้งแค่เข้าไปเปิดดูหน้าเวปแล้วเครื่องดันเก็บไว้ก็อาจโดนไปด้วย....ประเทศนี้จะต้องอยู่ภายใต้การจากคนเพียงไม่กี่คนตัดสินว่าใครถูกใครผิดที่ได้รับการคัดสรรจากคนกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ยึดโยงจากประชาชนจริงๆหรือ?
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-11-30 14:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
morntanti ตอบกลับเมื่อ 2016-11-30 09:33
พรบ.ฉบับนี้ออกมาเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการรรับรู้ ...

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย morntanti เมื่อ 2016-12-3 09:33

(1) SpokeDark TVสะใจ เรื่อง พรบ. คอม  ดึงมาได้แบบนี้ ใครเอามาลงเป็นช่วยที หรือ จะลิงค์ไปดูก็ได้ นะครับ ...สุดยอด
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-12-8 05:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
morntanti ตอบกลับเมื่อ 2016-12-3 09:29
(1) SpokeDark TVสะใจ เรื่อง พรบ. คอม  ดึงมาได้แบบนี้ ใครเอามา ...


9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-12-19 06:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม : ทำใจ?



คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
รุก กลางกระดาน
น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับท่าทีประชาชนที่มีต่อร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เนื่องจากมีคนลงชื่อไม่เห็นด้วยในเว็บไซต์ www.change.org เพื่อขอให้สนช.ทบทวนกว่า 3 แสนคน
โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายฉบับนี้เข้าข่ายการคุกคามสิทธิเสรีภาพ และจำกัดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทำให้การ ใช้งานอินเตอร์เน็ตไม่มีความเป็นส่วนตัว และไม่ปลอดภัยอีกต่อไป
อาทิ การเพิ่มฐานความผิด “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน” หรือการโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบต่อ “การบริการสาธารณะ” ซึ่งกำกวม ไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจอย่างกว้าง ทำให้ไม่มั่นใจในความยุติธรรม
ระบุให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ระงับหรือลบข้อมูลภายใน 3 วัน ไม่เช่นนั้นต้องรับโทษเท่าผู้โพสต์ โดยที่ไม่ต้องตรวจสอบโดยศาล เท่ากับเปิดช่องให้ปิดเว็บไซต์ต่างๆ ได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้อำนาจศาล
ให้อำนาจรัฐมนตรีออกประกาศเรื่องการปิดกั้นเว็บไซต์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกเข้ารหัส เท่ากับว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่เป็นความลับ และอาจตกอยู่ในอันตรายได้
ให้อำนาจเจ้าหน้าที่บล็อกเว็บไซต์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ สามารถระงับและลบข้อมูลได้ทันที โดยไม่มีหลักประกันว่าเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจเหล่านี้อย่างเป็นธรรม
เปิดให้มีกบว.ออนไลน์ จากคณะกรรมการ 5 คน ซึ่งเป็นใครไม่รู้มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล แต่สามารถปิดเว็บไซต์ ที่อ้างว่าผิดศีลธรรม แม้ไม่ผิดกฎหมายก็ตามที
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นข้อกังวลของประชาชน
อย่างไรก็ตามหากดูท่าทีของรัฐบาล ก็คงจะหวังไม่ได้มากสักเท่าใด ด้วยความที่เป็นรัฐบาลทหาร มาจากการรัฐประหาร
การมีส่วนร่วม หรือฟังเสียงประชาชนย่อมน้อยอยู่แล้ว
นี่จึงเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดว่าทำไมถึงต้องพร่ำบอกว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะหากกรณีนี้เกิดขึ้นในยุคอื่น การต่อต้านคัดค้าน แสดงความเห็นถกเถียงกันอย่างมีอารยะย่อมเกิดขึ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้คงได้แต่ทำใจ
เว้นแต่จะมีการแสดงออกให้เกิดการเปลี่ยนแปลง!??

https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/relevant/news_146496

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-12-19 06:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
น่าจะออกกฎหมายให้มีหน่วยงานของภาคประชาชน

สามารถตรวจสอบข้อมูลของ

หน่วยงานราชการ นักการเมืองบางก็ เห็นว่า  ดี
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้