ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4152
ตอบกลับ: 13
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

"พญายมราช" เทวะราชาแห่งการพิพากษาและการลงทัณฑ์

[คัดลอกลิงก์]
พญายมราช (พระยม หรือพญามัจจุราช)

เทวะราชาแห่งการพิพากษาและการลงทัณฑ์


Image from Google
ประวัติพญายมราช
ท้าว พญายมราช หรือ พระยม ในเทวตำนานยุคต้น ท้าวจตุโลกบาลแห่งทิศทักษิณ กล่าวไว้คือพระยม เป็นองค์เดียวกัน มีลักษณะใบหน้าดุดัน พระวรกายสีแดงทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ พระหัตถ์ขวาถือบ่วงยมบาศก์(บ่วงบาศก์ที่ใช้จับมัดวิญญาณทั้งหลาย)พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้ท้าวยมทัณฑ์ ทรงกระบือเป็นพาหนะ มีอิทธิฤิทธิ์มากทำหน้าที่พิพากษาและปกครองดวงวิญญาณทั้งหลายในนรกภูมิ มีบริวารคือ ยมฑูต หรือ นายนิรยบาล มีหน้าที่นำวิญญาณทั้งหลายไปยังสำนักพญายม และลงโทษแก่ดวงวิญญาณในนรก ซึ่งบริวารท้าวพญายมราชที่คนไทยรู้จักดีมีด้วยกัน ๒ องค์ ได้แก่ พระกาฬไชยศรี และ เจ้าพ่อเจตตคุปต์ ซึ่งมีรูปเคารพอยู่   ที่ศาลหลักเมือง ทำหน้าที่จดชื่อและจับวิญญาณชั่วร้ายที่จะมารบกวนบ้านเมือง ท้าว พญายมราช เป็นเทวดาที่มีการกล่าวถึงในตำนานของทุกชาติพันธุ์ภาษา ของทุกวัฒนธรรมทั่วโลก ต่างกันเพียงการเรียกนามที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาษาเท่านั้น ส่วนหน้าที่และอำนาจนั้นมีความคล้ายคลึงกัน ตำนานลัทธิข้างจีนฝ่าย มหาญาน กล่าวว่า พญายมเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่ง
ตำนานท้าวพญายมราช มีการกล่าวถึงกำเนิดไว้หลากหลาย อาจเป็นเพราะพญายมเป็นตำแหน่งเทวราชผู้ปกครองยมโลก มีการหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามมติของเทวสภา หรือบารมีที่สั่งสมมาอย่างเหมาะสมทำให้ไปเกิดเป็นท้าวพญายมราช จากเทวตำนานในยุคต้นที่กล่าวว่าท้าวจตุโลกบาลทิศทักษิณ คือ พระยม ด้วยในยุคต้นที่ยังไม่มีวิญญาณใดที่เหมาะสม ท้าวจตุโลกบาลทิศทักษิณ คือ ท้าววิรุฬหก ทรงเป็นเทวกำเนิดจึงต้องรับภาระในตำแหน่งพญายม หรือ พระยม ซึ่งก็มีตำนานได้กล่าวไว้ว่า บริวารของพญายมคือ ยมฑูต ก็ คือกุมภัณฑ์ พวกหนึ่งนั่นเอง แต่เมื่อมีมนุษย์มากขึ้นสั่งสมบารมีหรือมีความเหมาะสมย่อมได้รับการสถาปนา ให้ดำรงตำแหน่ง ท้าวพญายมราช องค์ปัจจุบันในอดีตชาติก่อนที่ท่านจะได้รับสถาปนาเป็นท้าวพญายมราชนั้น ท่านเป็นมนุษย์ในครั้งก่อนพุทธกาล ในยุคที่ยังมนุษย์อยู่กันเป็นชุมชนยังไม่ใหญ่นัก ซึ่งท่านเป็นหัวหน้าชุมชนในหมู่บ้านเป็นผู้มีวิชาความรู้ เมื่อเกิดเหตุความไม่สงบขึ้นในชุมชนหมู่บ้านท่านเป็นผู้นำปราบปรามแก้ไข และต้องตัดสินพิพากษา
ครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์ฆ่ากันตายในหมู่บ้านที่ท่านดูแลอยู่ แต่ไม่มีผู้ใดยอมรับว่าเป็นผู้กระทำด้วยเกรงกลัวความผิด เพราะโทษนั้นหนักถึงกับต้องประหารให้ตายตกตามกันคือชีวิตต้องชดใช้ด้วยชีวิต ท่านในฐานะผู้ปกครองดูแลเมื่อสอบสวนแล้วไม่มีผู้ยอมรับผิด จึงได้ใช้วิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเสกแป้งฝุ่นแล้วซัดออกไปก็จะปรากฎรอยเท้า ผู้กระทำผิด
เมื่อตามรอยเท้านั้นไปปรากฎว่าผู้เป็นเจ้าของรอยเท้านั้นคือพ่อบังเกิดเกล้า ของท่านเอง ท่านมีความเสียใจเป็นอย่างมากไม่รู้จะทำอย่างไร ท่านพิจารณาด้วยใจอันเป็นธรรมอย่างที่สุดจึงได้ตัดสินให้ประหารพ่อ ของท่านเอง แล้วก็ออกจากหมู่บ้านเร่ร่อนไปจนท่านเสียชีวิตเพียงลำพัง เป็นการแสดงให้เห็นว่าท่านมีความเที่ยงธรรมอย่างหาที่เปรียบมิได้ เพราะหากท่านไม่บอกแก่ใครย่อมไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ อีกทั้งท่านก็ยังได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้านมีความสุขสบายไม่ต้อง ลำบากเร่ร่อนไปอย่างเดียวดาย เมื่อท่านได้เสียชีวิตดวงวิญญาณของท่านเป็นยกย่องในความเที่ยงธรรม เทวดาทั้งหลายจึงแสดงฉันทามติสถาปนาท่านให้ดำรงตำแหน่งท้าวพญายมราช
องค์พญายมราชจะมีผู้ช่วยสำคัญในการไปนำดวงวิญญาณ ของสัตว์โลกมาสู่แดนปรโลก หรือแดนยมโลกคือ องค์เจ้าพ่อพระกาฬชัยศรี เจ้าพ่อพระกาฬชัยศรีนี้มีรูปปั้นอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง กรุงเทพมหานคร มีเทวะลักษณะเป็นเทพยดาที่สี่กร กรหนึ่งถือดวงไฟหมายถึงดวงวิญญาณ กรหนึ่งถือบ่วงบาศเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการใช้จับดวงวิญญาณทั้งปวง ขี่นกเค้าแมวเป็นพาหนะ พระองค์เป็นบริวารของพญายมราชทำหน้าที่เก็บดวงวิญญาณต่างๆ บ้านไหนที่จะมีคนตาย พระองค์จะทรงใช้นกแสกบ้าง นกเค้าแมวบ้าง ไปเกาะลังคาบ้านร้องเตือนให้ทราบล่วงหน้า หรือบันดาลนิมิตดีร้ายให้ทราบ หากผู้นั้นมีปัญญาจะได้รีบขวนขวายทำบุญก่อนจะหมด โอกาสในโลก นอกจากนี้พระองค์ยังมีบริวารเรียกว่าเหล่ายมฑูต ทำหน้าที่ไปเก็บดวงวิญญาณต่างๆให้พระองค์อีกทีหนึ่งด้วย ซึ่งเราชาวโลกจะเรียกท่านว่า พญามัจจุราชนั่นเองนอกจากนี้องค์พญายมราชยังมีบริวารที่ทำหน้าที่บันทึกการ กระทำความดีความชั่ว เรียกว่าสุวัณ และสุวาณ สุวัณนั้นทำหน้าที่จดการกระทำความดีของผู้ที่กระทำความดีตั้งอยู่ในศีลใน ธรรม การจดนั้นท่านใส่สมุดทองคำ ยามรายงานองค์พญายมราชเสร็จเรียบร้อยจะทำการยกขึ้นจบเหนือหัวเป็นการ อนุโมทนา ส่วนสุวาณทำหน้าที่จดการกระทำของคนชั่วประพฤติบาป ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม การจดก็จดใส่สมุดหนังหมา เป็นการ คาดโทษเอาไว้

ใน พระไตรปิฏกกล่าวว่าองค์พญายมราชนั้นเมื่อได้ฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้ามีดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันนั่นเป็นเบื้องต้น ครูบาอาจารย์ที่ถอดจิตได้อย่างหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านกล่าวว่าองค์พญายมราชนั้นปัจจุบันท่านมีภูมิธรรมชั้นพระอนาคามี เป็นภูมิพรหม ดำรงตำแหน่งการพิพากษาตัดสินดวงวิญญาณในแดนยมโลกอย่างยุติธรรม ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คือดวงวิญญาณแต่ละดวงที่ตกมายังยมโลกนั้น




2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-12 06:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Image from Google
สำหรับการไต่สวนดวงจิตวิญญาณเพื่อตัดสินความนั้น พญายมจะตั้งคำถาม 5 ข้อ ให้ดวงวิญญาณตอบโดยมีรายละเอียดดังนี้
ข้อที่ ๑.พญายมราชจำทำการไต่ถามถึงปัญหาข้อที่ว่า “ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านเคยเห็นเด็กแดงๆ ยังอ่อนนอนแบเบาะ นอนเปื้อนมูตรคูถของตนบ้างไหม เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราชก็จะบอกให้ทราบว่าเจ้าเป็นผู้มีความประมาท ไม่กระทำความดีทางกาย วาจา ใจ ไม่เคยคิดเลยว่าการเกิดมานั้นเป็นทุกข์ ดังที่เห็นอยู่เมื่อท่านประมาทเช่นนี้นายนิรยะบาลจะทำการลงโทษท่าน แล้วพญายมราชก็ปลอบใจผู้กระทำบาปเหล่านี้ โดยถามเป็นปัญหาที่สองเพื่อว่าดวงวิญญาณนั้นๆ อาจคิดถึงบุญได้ยามเมื่อฟังปัญหาต่อไป
ข้อที่ ๒. เมื่อพญายมราชได้ปลอบโยนเอาอกเอาใจแล้วก็ได้ถามปัญหาข้อที่๒ว่า”ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านเคยเห็นคนแก่อายุ แปดสิบ เจ็ดสิบ หรือร้อยปี หลังโก่ง คดงอ ถือไม้เท้า เดินงกเงิ่น ผมหงอก หนังเหี่ยว ตกกระ ในหมู่มนุษย์บ้างไหม เห็นแล้วท่านรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็นแต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราชก็กล่าวชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ประมาท ไม่พิจารณาเห็นโทษของความแก่ ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล ตั้งอยู่ในความประมาทนายนิรยบาลจะลงโทษท่านต่อจากนั้นพญายมราชก็จะพูดปลอบใจ และถามปัญหาต่อไป
ข้อที่ ๓. พญายมราชจะถามว่า “ท่านเคยเห็นคนป่วยไข้ที่กำลังได้รับความทุกข์เวทนาบ้างหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมก็จะชี้แจงให้ทราบถึงเหตุผลว่าการเจ็บป่วยนั้นเป็นทุกข์ที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ จะต้องขวนขวายในการกระทำความดียิ่งๆขึ้น เพื่อให้พ้นจากสิ่งเหล้านี้ ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ประมาทนายนิรยบาลจะลงโทษท่าน พญายมราชจะพูดปลอบอกปลอบใจและถามปัญหาข้อที่ ๔ ต่อไป
ข้อที่ ๔.พญายมราชได้ภามปัญหาด้วยจิตเมตตาต่อไปว่า “ท่านเคยเห็นคนที่ถูกจองจำ เช่น โจร ผู้ร้าย ผู้กระทำผิด ซึ่งถูกลงโทษด้วยวิธีต่างๆ เช่น การโบยด้วยแส้ โบยด้วยหวาย ตีด้วยกระบอง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดหูตัดจมูกบ้าง ตลอดจนยิงเป้า แขวนคอ นั่งเก้าอี้ไฟฟ้า หรือการฉีดยาพิษเข้าสู้ร่างกายเพื่อให้เสียชีวิตบ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมราชจะชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล เพื่อให้พ้นจากวัฏสงสารเหล่านี้ นายนิรยบาลจะลงโทษท่านพญายมก็พูดปลอบโยนเอาอกเอาใจและถามปัญหาในข้อต่อไป
ข้อที่ ๕.พญายามราชก็จะถามปัญหาว่า “ท่านเคยเห็นคนตายบ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร” ถ้ายังตอบเหมือนเดิมอีก คือเห็นแล้วไม่มีความรู้สึกอย่างไร และไม่ได้ขวนขวายในการที่จะกระทำคุณงามความดียิ่งๆขึ้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ซึ่งไม่ใช่ความผิดของบิดามารดา ญาติพี่น้อง มิตรสหายหรือเทวดาดลใจแต่เห็นความผิดของท่านเอง นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน เมื่อพญายมราชได้พูดปลอบใจแล้ว นายนิรยบาลก็จะจับผู้ประมาทนั้นมาจองจำ๕ ประการด้วยกัน คือ นำมือข้างที่ ๑ มาตรึงด้วยตะปูด้วยเหล็กแดง นำมือข้างที่ ๒ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง น้ำเท้าข้างที่ ๑ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง นำเท้าข้างที่ ๒ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง และตรึงตะปูที่ทรวงอกตรงกลางสัตว์เหล่านั้นย่อมเสวยทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าอยู่ในนรก แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่หมดสิ้น
ในการถามปัญหา ๕ ข้อนี้ ท่านจะคอยถามว่า ยามเมื่อมีชีวิตอยู่นั้นได้ทำบุญทำบาปอะไรไว้บ้าง นอกจากนี้ยังถามว่าเคยเห็นเด็กทารกที่นอนจมกองอาจมหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วเคยรู้สึกสังเวชในการเกิดการเป็นการอยู่ เคยตรึงตรองถึงธรรมการเกิดขึ้นของมนุษย์หรือไม่ ต่อจากนั้นพญายมราชก็จะซักถามต่อไปอีกว่า เคยเห็นคนเจ็บป่วยไม่สบายหรือไม่เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร สังเวชในธรรมของการเป็นการอยู่ของมนุษย์เราหรือไม่ เป็นคติเตือนใจเราเองได้หรือไม่ แล้วถามอีกว่าเคยเห็นคนแก่ชราหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วเคยน้อยกลับมาดูตัวเองหรือไม่ว่าเราเองต้องแก่เหมือนกัน และไม่อาจหลีกเลี่ยงไปได้ เคยได้ตรึกตรองในสัจธรรมความจริงข้อนี้หรือไม่ สุดท้ายก็ถามย้ำอีกว่า แล้วเคยเห็นคนตายไหม เคยคิดหรือไม่ว่าตัวเราเองหรือไม่ว่าตัวเองต้องแก่ชราเช่นนั้นเหมือนกันไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่งเคยนึกได้เช่นนี้บ้างไหม การที่ท่านถามนี้ก็เพื่อว่าบุคคลใดก็ตามที่เคยเห็นแล้วพิจารณานึกได้ เกิดความสังเวชในชีวิตบ้าง นับว่าบุคคลนั้นยังมีจิตใจเป็นบุญกุศลยังมีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศล เพราะจิตเคยเข้าสู่การพิจารณาสังเวชในธรรมเป็นไปตามที่พระองค์ท่านให้พิจารณา จิตที่พิจารณาถึงธรรมสังเวชเห็นความเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ นับว่าบุคคลผู้นั้นมีปัญญาและมีจิตระเอียดอ่อน การที่จิตตกอยู่ในธรรมสังเวชนั้นแล จะเป็นบุญแก่จิตรของบุคคลผู้นั้นและนับเป็นบุญมหาสารได้ หากขณะที่องค์พญายมราชไต่สวนเราหมดแล้ว ยังไม่อาจระลึกในสิ่งที่เป็นบุญกุศลได้เลย แน่นอนว่าย่อมมีทุคติภูมิหรือนรกเป็นที่ไป
ก่อนที่พญายมราชจะส่งดวงวิญญาณทั้งหลายไปลงนรกนั้น พระองค์จะไต่สวนให้เที่ยงธรรมเสียก่อนว่า ดวงวิญญาณทั้งหลายนั้นเคยทำบุญกุศลอะไรบ้างหรือไม่ หากเคยทำบุญกุศลบ้างพระองค์จะได้ไปส่งไปยังสุคติ แต่หากดวงวิญญาณทั้งหลายเหล่านั้นไม่สามารถระลึกถึงกุศลได้เลย ก็แน่นอนว่าย่อมถูกส่งไปยังนรกชั้นต่างๆตามโทษทัณฑ์ที่ดวงวิญญาณนั้นจะได้รับอย่างสาสม หากผู้ใดได้ประกอบกุศลกรรมอยู่เป็นนิจ ในดวงจิตก็จะมีความสำนึกในกุศลกรรมนั้น เมื่อถึงวันที่ต้องอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพญายมราช ยามที่ได้ยินคำถามของท่านก็จะสามารถระลึกถึงจิตอันเป็นกุศลของตนได้และยอมได้ไปสู่สุคติภพในที่สุด
ในด้านของไสยศาสตร์นั้น พระยายมราช นับเป็นเทวะราชาพระองค์หนึ่งที่มีเทพอาวุธอันทรงอานุภาพเปรียบได้กับอาวุธ ปรมาณู ซึ่งมีอานุภาพทำลายล้างสูงสุดเป็นที่เกรงกลัวของทั้งสามภพ นัยตาของพญายม นี้ถือเป็นของที่มีอานุภาพสามารถทำลายล้างสารพัดสรรพสิ่งได้เป็นจุณมหาจุณ เป็นที่เกรงกลัวของภูติผีปีศาจอย่างยิ่ง


คาถาบูชาพญายม (ท่องนะโม 3 จบ)
ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขะโตจุติ จิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโตจุติ (3จบ)


ด้านการอานิสงค์ของการบูชานับถือพญายมราชนั้น เชื่อกันว่าภูติผีปีศาจไม่กล้าระราน ผู้นั้นจะมีตบะบารมีที่น่าเกรงขาม ใครคิดร้ายด้วยทุจริตมิชอบอิจฉาตาร้อน จะแพ้ภัยด้วยตัวเขาเอง นอกจากนี้หากหมั่นบูชาพระองค์ท่านเสมอๆท่านว่าจะห่างไกลจากความป่วยไข้มี อายุยืนนาน หากรับราชการหรือทำมาค้าขายด้วยความซื่อตรงก็จะบังเกิดความเจริญมีความสุขใน ชีวิตยิ่งๆขึ้นไปซึ่งใช้สวดภาวนาป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ใช้ช่วยคนที่อยู่ในภาวะใกล้ตายหรือป่วยหนักที่ยังไม่สิ้นอายุขัย


ที่มา..http://kornbykorn.blogspot.com/2013/01/blog-post_8.html
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-21 11:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุ...เป็นบุญที่ลูกได้อ่าน
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-4-4 06:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Pee ตอบกลับเมื่อ 2016-3-24 20:33
เคยบูชาขึ้นคออยู่พักนึง  กดมาก  แขวนบูชาไม่ไหว  กลับมาแขวนของอาจารย์ สบายใจ สดใส ซาบซ่า

กดแบบไหนครับ ขยายความหน่อย

แสดงความคิดเห็น

Pee
ช่วงนี้ก็ว่าจะนิมนต์ มาแขวนใช้ประกอบการทำสมาธิ คิดทบทวน เรื่องราวเพื่อตัดสินใจบางอย่าง  โพสต์ 2016-4-7 13:46
Pee
ใช้ตามล้างบางอันพาลได้ดี ตามล่า จิก กัด ไม่ปล่อย  โพสต์ 2016-4-7 13:42
Pee
ปวดไหล่ ปวดหัว เคร่งเครียด เงียบและ ดุดันมาก แขวนนานๆ คล้ายไมเกรน ความดัน จะขึ้น  โพสต์ 2016-4-7 12:43
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-4-7 09:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมัยก่อนโน้น ถ้าจะมีใครกล่าวถึงเรื่องของเมืองสวรรค์เมืองนรกขึ้นมา ใครคนนั้นก็จะถูกคนกลุ่มใหญ่เย้ยหยันเอาว่านำเรื่องเหลวไหลไร้สาระมาพูด หากจะมีคนยอมรับฟังและเชื่อถืออยู่บ้างก็จะเป็นเพียงคนกลุ่มน้อย ซึ่งส่วนมากเป็นคนเฒ่าคนแก่หัวธรรมะธรรโมเท่านั้น
แต่ตกมาถึงยุคสมัยนี้ เรื่องเมืองนรกเมืองสวรรค์ได้มีผู้ศึกษาค้นคว้ากันมาก แม้ในกลุ่มคนสมัยใหม่ที่มีการศึกษาสูงทั้งหนุ่มทั้งสาวต่างก็ยอมรับแล้วว่านรกสวรรค์มีจริง
แต่แม้ว่าบุคคลกลุ่มใหญ่ในยุคนี้จะยอมรับนับถือว่านรกสวรรค์มีจริง ซึ่งเป็นการกล่าวตามทฤษฏีที่ได้เคยศึกษาค้นคว้ามา หากก็ยังมีคนเป็นจำนวนน้อยที่จะมีความสามารถเช่นนั้นและจะต้องเป็นบุคคลที่มีจิตเป็นสมาธิสูง เนื่องจากมีหนทางเดียวที่มนุษย์จะเดินทางไปสู่เมืองนรกเมืองสวรรค์ได้ก็ด้วยทางสมาธิจิตเท่านั้น
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-10-18 07:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-11-8 06:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้