ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4046
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เหรียญทรงผนวช ปี 2517กองทัพภาคที่ 3

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2016-11-1 22:16



พระพุทธรูปพระพุทธชินราชจำลอง พระกริ่งพระพุทธชินราช ภ.ป.ร.และเหรียญทรงผนวช ปี 2517กองทัพภาคที่ 3

วัตถุมงคลชุดนี้เป็นวัตถุมงคลที่มีอายุการสร้างกว่า 30 ปี ที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณและพระมหากษัตริยาธิคุณ” ครบถ้วนทุกด้านเพราะ “มูลเหตุแห่งการสร้าง” ดีเยี่ยมคือ สร้างเพื่อนำรายได้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ทั้ง “ทหาร ตำรวจ” และ “อาสาสมัคร” ที่ปฏิบัติหน้าที่ทำการปราบปราม “ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์” ซึ่งหลายครั้ง “เจ้าหน้าที่” ดังกล่าวได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกันซึ่งหน้าและหลายรายที่ “โชคร้าย” ต้อง “ทุพพลภาพ” และ “เสียชีวิต”สร้างความเดือดร้อนให้กับ “ครอบครัว” ของเจ้าหน้าที่เหล่านี้ยิ่ง



และแม้ว่าหน่วยงานราชการต้นสังกัดจะให้ “ความช่วยเหลือ” อย่างเต็มที่แต่ก็เป็นการช่วยเหลือในภายหลังซึ่งใช้เวลาที่ค่อนข้างนานจึงควรหา “ทุนสักก้อน” ไว้เป็นกองทุนสำหรับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีที่เกิดเหตุ ดังนั้น “พลเอกสำราญ แพทยกุล” สมัยที่ยังครองยศ “พลโท” และดำรงตำแหน่ง “แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3” จึงดำเนินการหาทุนด้วยการจัดสร้าง “วัตถุมงคล” ในรูปแบบ “พระพุทธชินราช” เพราะเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนิกชนเพื่อเป็นการหาทุนโดยขอพระบรมราชานุญาต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ “ภ.ป.ร.” ประดิษฐานไว้ที่ผ้าทิพย์ของพระพุทธรูปที่จัดสร้างและ “พระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงผนวช” เพื่อเป็นแบบการจัดสร้างเหรียญอีกทั้งได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารกรุงเทพ สาขาพิษณุโลก เสนอแนะให้เปิดบัญชีในนามของ “มูลนิธิพระบารมีปกเกล้า” เพื่อป้องกัน “คำครหา” จากการดำเนินงานส่วนการจัดสร้างก็ใช้หน่วยงาน “ราชการ” เป็นผู้รับไปดำเนินการคือ “เหรียญทุกประเภท” และ “โลหะที่นำมาจัดสร้าง” มอบให้ “กองกษาปณ์กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง” ดำเนินการทางด้าน “พระพุทธรูป” มอบให้ “ดร.จ.ส.อ. ทวี บูรณเขตต์” ซึ่งขณะนั้นรับราชการ “ฝ่ายการแผนที่กองทัพภาคที่ 3” รับไปดำเนินการส่วน “พระกริ่ง” มอบให้ “นายสมศักดิ์” ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างพระกริ่งในยุคนั้นเป็นผู้ดำเนินการจากนั้นยังได้รับเมตตาจาก “พระเกจิอาจารย์” ผู้ทรงวิทยาคุณจากทั่วประเทศในยุคนั้น “จารอักขระแผ่นโลหะ” และร่วมพิธี “พุทธาภิเษก” ที่จัดขึ้นถึง 2 ครั้ง จึงถือเป็น “ประวัติศาสตร์” ที่ควรแก่การันทึกไว้เป็นอนุสรณ์เพราะการจดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ “สมเด็จพระสังฆราช 2 พระองค์” ทรงเมตตาเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกโดย “ครั้งแรก” พิธีพุทธาภิเษก “แผ่นโลหะ” ที่สมเด็จพระสังฆราข วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นประธานในพิธีและหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททอง ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม แล้วจึงมีพิธีพุทธาภิเษก องค์พระที่หล่อเสร็จโดยสมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นองค์ประธานในพิธี ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งด้วยเจตนาอันเป็นกุศลที่แท้จริงปรากฎว่าประชาชนต่างให้ความสนใจ ด้วยการร่วมสร้างกุศลด้วยการบูชาวัตถุมงคลรุ่นนี้ทำให้มีเงินจัดตั้งเป็น “มูลนิธี” ดังกล่าวข้างต้น “20 ล้านบาท” ที่ต่อมาต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “มูลนิธิเย็นศิระเพราะพระบริบาล” โดยนำดอกผลช่วยเหลือ ทหาร ตำรวจ อาสาสมัครของ “กองทัพภาคที่ 3” มาโดยตลอดจึงนับว่าเป็นการสร้างวัตถุมงคลที่ “เจตนาบริสุทธิ์” และ “ยอดเยี่ยม” โดยแท้จริงเพราะ “พิธีสร้าง” และ “พิธีเททอง” พร้อม “พิธีพุทธาภิเษก” มีการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอนและคณะกรรมการได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงประกอบพิธีเททองหล่อวัตถุมงคลทั้งหมดเป็น “ปฐมมหามงคลฤกษ์” เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 เวลา 16.49 น. โดยบันทึกการจัดสร้างได้บันทึกไว้ว่า

ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีเททอง ณ บริเวณมณฑลพิธีด้านข้างพระอุโบสถ อากาศก็ร่มเย็นแจ่มใสให้ผู้ไปร่วมพิธีและพสกนิกรที่ไปเข้าเฝ้าครั้งนั้น เย็นสบายโดยทั่วกัน แต่ขณะเดียวกันกลับปรากฎเหตุ “ท้องฟ้าทางภาคเหนือ” (ตรงจุดที่ตั้งกองทัพภาคที่ 3) เกิดมี “ฟ้าแลบฟ้าร้อง” ดังสนั่นหวั่นไหวอยู่ตลอดเวลา กระทั่งพิธีเททองเสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ กลับแล้ว “ฟ้าแลบฟ้าร้อง” จึงสงบลงและพอถึงเวลา 17.55 น. “พระวิสุทธิวงศาจารย์” (เสงี่ยม จันทสิริ มหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ ในขณะนั้น (ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จ พระราชาคณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์) ดับเทียนชัยพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ยังได้มอบเงิน “5,000 บาท” เพื่อสมทบทุนมูลนิธิ “เย็นศิระเพราะพระบริบาล” อีกด้วยพร้อมๆ กับ “สายฝน” ได้ตกลงมาอย่างหนักจนน้ำนองรอบๆ ระเบียบพระอุโบสถทั้งๆ ที่บริเวณอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง “วัดสุทัศน์ฯ” กลับมีฝนตกเพียงประปรายเท่านั้น นับเป็นเหตุการณ์ที่ “ประหลาดอัศจรรย์” แก่ผู้ไปร่วมพิธีโดยทั่วหน้ากัน ซึ่ง “วัตถุมงคล” ที่จัดสร้างทั้งหมดประกอบด้วย

“พระพุทธรูปพระพุทธชินราชจำลอง พระกริ่งพระพุทธชินราช ภ.ป.ร. เหรียญพระพุทธชินราช ภ.ป.ร. เหรียญทรงผนวช เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เหรียญสมเด็จพระเอกาทศรถ รูปเหมือนเต็มองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” และ “สมเด็จพระเอกาทศรถ” และการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้นั้นก็ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานคือ ต้องนำ “วัตถุมงคล” ทั้งหมดไปทำการตกแต่งเพื่อความสวยงาน “ร่วม 1 ปี” จึงแล้วเสร็จจากนั้น พลโท สำราญ แพทยกุล แมทัพกองทัพภาคที่ 3 จึงได้อัญเชิญไปประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวง พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม ทรงประกอบพิธีจุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษกและมี “พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ” ร่วมพิธีพุทธาภิเษาจำนวน 45 รูป อาทิ “พระภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต พระราชมุนี (มหาบุญโฮม) วัดปทุมวนาราม พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลยก์ พระครูญาณวิจักษ์ (พระอาจารย์ผ่อง จินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ พระครูกิตตินนทคุณ (หลวงพ่อกี๋) วัดหูช้าง พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง ฯลฯ”

ทางด้าน “โลหะ” ที่นำมาสร้างวัตถุมงคลครั้งนั้นประกอบด้วย “แผ่นทองแดงและแผ่นทองเหลืองลงอักขระยันต์” โดยพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในยุคนั้นทั่วประเทศ “108 รูป” ซึ่งแต่ละรูปก็ทำการลงอักขระยันต์ตาม “ความถนัดของแต่ละท่าน” แล้วจึงอธิษฐานจิตและภาวนาปลุกเสกเพิ่มเติมใน “วันเสาร์ 5” ซึ่งปีนั้นตรงกับ “วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2516” เพื่อนำมาหล่อหลอมกับ “ทองคำ นาก เงิน ทองเหลือง ทองแดง” ที่คณะกรรมการจัดสร้างเตรียมไว้ จากนั้น ยังจัดทำพิธีปลุกเสกเพิ่มความเข้มขลังตามวัดต่างๆ ใน “กรุงเทพมหานคร” อีกถึง 4 วัด ดังนี้ 1) วัดบวรนิเวศวิหาร 2) วัดสุทัศนเทพวราราม 3) วัดไตรมิตรวิทยาราม 4) วัดราชนัดดาราม นอกจากนี้ยังมี “ชนวนโลหะ” จากพิธีสำคัญๆ เช่น “พิธีสร้างพระบรมรูป “สมเด็จพระเอกาทศรถ” ที่กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง ชนวนโลหะหล่อพระบรมรูป “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8” สำหรับประดิษฐานภายในบริเวณ “พระวิหารพระศรีศากยมุณีวัดสุทัศน์” และชนวนโลหะ “พระกริ่งพระชัยวัฒน์ อ.ป.ร.” และทองชนวน “เหรียญพระศรีศากยมุณี อ.ป.ร.” ของมูลนิธี “อัฎฐมราชานุสรณ์” ที่วัดสุทัศน์ดำเนินการจัดสร้าง ชนวนโลหะหล่อ “พระกริ่ง” รุ่นเก่าๆ ของวัดสุทัศน์ โดยคณะกรรมการนำชนวนโลหะทั้งหมดหล่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกันสร้างเป็นวัตถุมงคลตั้งแต่ “รายการที่ 1-6” และนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษกอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ ระหว่างวันที่ 22-24 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 จึงมั่นใจได้ว่าวัตถุมงคลที่จัดสร้างโดย “กองทัพภาคที่ 3” ชุดนี้มีความเข้มขลังยิ่งเพราะนอกจากมีการจัดพิธีสร้างเป็นไปตาม “โบราณประเพณี” ทุกประการแล้ว ยังอัญเชิญ “ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.” ประดิษฐานที่ฐานผ้าทิพย์ “พระพุทธชินราชจำลอง” และ “พระกริ่ง” เพื่อความเป็นสิริมงคล


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-11-1 22:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


จึงนับว่าการจัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้นอกจากด้วย “เจตนาบริสุทธิ์” แล้วการจัดสร้างก็อยู่ในเวลาอันเหมาะสม เพราะ “พระพุทธชินราช” เป็น “พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง” ที่ “สมเด็จพระมหาธรรมราชาสิไท” ประดิษฐานไว้ ณ “เมืองพิษณุโลก” โดยสร้างเป็น “ปางมารวิชัย” ที่แสดงถึง “ชัยชนะ” ของ “สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า” ที่ทรงมีต่อ “พญาวัสดีมาร” ส่วนพระนาม “พระพุทธชินราช” ก็หมายถึง “พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นใหญ่ (ราชา) แห่งชัยชนะ” ซึ่งอดีตกาลในรัชสมัยของ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” อันเป็นยุคสมัยที่ทรง “กอบกู้เอกราช” ด้วยการ “ประกาศอิสรภาพ” และทรงนำทัพออกรบกับทัพพม่าด้วยพระองค์เองทั้งที่มีไพร่พลน้อยกว่าแต่พระองค์ก็มิได้หวาดหวั่นใดๆ เพราะก่อนนำทัพออกรบพระองค์จะเสด็จฯ นมัสการ “พระพุทธชินราช” ที่เมืองพิษณุโลกทุกครั้งและทรงได้รับ “ชัยชนะ” ตลอดมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระราชศรัทธาของ “พระมหากษัตริย์ยอดนักรบ” ของแผ่นดินไทยที่ทรงมีต่อ “พระพุทธชินราช” ได้อย่างดีเพราะ “พระมหากษัตริย์” รัชกาลต่อๆ มาของ “กรุงศรีอยุธยา” เช่น “สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” พระมหาวีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินไทยอีกพระองค์ที่ทรง “กอบกู้เอกราช” จากพม่าในคราวเสีย “กรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง” เมื่อปี พ.ศ. 2310 ก็ทรงเจริญรอยตามเสด็จฯ นมัสการ “พระพุทธชินราช” ก่อนทำสงครามทุกครั้งเช่นกันรวมถึง “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก” และเมื่อทรงปราบดาภิเษกเป็น “สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์” แล้วก็ยังเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการ “พระพุทธชินราช” อยู่เสมอๆ

เหตุนี้ “พระพุทธชินราชจำลอง” ที่สร้างโดย “กองทัพภาคที่ 3” จึงถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐต่อปวงชนชาวไทยถึง “3 พระองค์” คือ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ” และ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” นอกจากนี้ ความงดงามของ “พระพุทธชินราชจำลอง” ทุกรูปแบบที่ “กองทัพภาคที่ 3” จัดสร้างขึ้นครั้งนั้นก็งดงามใกล้เคียงกับ “องค์จริง” เพราะได้นายช่างผู้มากฝีมือเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ซึ่งก็คือ นายช่างเกษม มงคลเจริญ ผู้มีพรสวรรค์การสร้างสรรค์ “พระพุทธรูปขนาดเล็ก “ รวมทั้งการแกะแม่พิมพ์ “รูปเหมือน” ได้เหมือนจริงที่สุดและประการสำคัญมีความ “งดงามตามสัดส่วน” ที่แม้จะเป็นขนาดเล็กก็ตาม โดยสามารถพิสูจน์ได้ตามภาพที่นำมาประกอบเรื่อง ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก “คุณวนิดา โพธิ์ศรี” นักสะสมสุภาพสตรีที่สะสมวัตถุมงคลชุดนี้ไว้ทุกพิมพ์และทุกเนื้อ ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

ส่วนโลหะที่นำมาสร้างวัตถุมงคลชุดนี้เฉพาะ “พระพุทธรูปพระพุทธชินราชจำลอง” มีเพียงเนื้อเดียวคือ “เนื้อทองผสม” แล้วนำมาปิดทองให้สวยงานมี 3 ขนาดคือ “ขนาดใหญ่พิเศษ” สร้าง 20 องค์สำหรับนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายและสมนาคุณเฉพาะคณะกรรมการจัดสร้าง ขนาด “9 นิ้วและ 5 นิ้ว” ปัจจุบันได้รับความนิยมมากจึงมีราคาแพงเพราะสร้างจำนวนตามสั่งของทางด้าน “เหรียญ” และ “รูปเหมือน” มีทั้งหมด 5 เนื้อ “ทองคำ เงิน นวโลหะ อัลปาก้า ทองแดง” ปัจจุบัน “เนื้อทองคำ” “เนื้อเงิน” และ “เนื้อนวโลหะ” พบเห็นได้ยากเพราะสร้างจำนวนน้อย โดยเฉพาะ “เหรียญทรงผนวชเนื้อนวโลหะ” ขนาดเล็กที่นำต้นแบบจาก “วัดบวรนิเวศวิหาร” ยิ่งหาชมได้ยากมากเนื่องจากสร้างเป็น “พิมพ์พิเศษ”คือ “ด้านหน้า” เป็น “พระพุทธชินราช” ส่วน “ด้านหลัง” เป็นพระบรมรูปขณะ “ทรงผนวช” และมี “หมายเลขกำกับทุกเหรียญ”
ส่วนเนื้ออื่นๆ จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยโดยด้านหน้าเป็นพระบรมรูป “ทรงผนวช” ส่วนด้านหลังเป็น “พระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.”

ที่มา : หนังสือมหามงคลแห่งแผ่นดิน โดย นายอดุลย์นันท์ทัต กิจไชยพร พฤศจิกายน 2551
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้