ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4204
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เต้าตะกั่วสนิมแดง จาก กาญจนบุรี

[คัดลอกลิงก์]
เต้าตะกั่วสนิมแดง จาก กาญจนบุรี



บทความเรื่องเต้าตะกั่วสนิมแดง ของกาญจนบุรีนี้ เคยลงไว้ในหนังสือ The Art Of Siam มาแล้ว เพื่อเป็นประโยชน์ ก็เลยนำเอามาลงไว้ให้ผู้ใคร่จะศึกษาเป็นข้อมูลที่จะค้นคว้าต่อไป
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-9-15 05:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
          จังหวัดกาญจนบุรี  เป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วยสินแร่ ดังนั้นจึงมีเหมืองแร่อยู่ หลายที่ ที่รู้จักกันมาเนิ่นนาน ระดับประเทศ ก็คือเหมืองแร่ปิล๊อก ซึ่งเป็นเหมืองแร่ดีบุก   ซึ่งอยู่ติดชายแดน อีต่อง และปัจจุบันนั้นเหมืองนี้ได้ปิดทำการไปเนิ่นนานแล้ว  สำหรับแร่ที่ขุดได้จากเหมืองแร่ต่างๆมีหลายอย่าง เช่นแร่ตะกั่ว แร่ดีบุก  แร่วุลแฟรม และแร่เหล็ก ที่มากที่สุดก็คือแร่ตะกั่ว  ซึ่งผลิตได้จาก  เหมืองแร่คลิตี้  เหมืองแร่เค็มโก้  เหมืองแร่บ่อน้อย เหมืองแร่บ่อใหญ่ เหมืองแร่บ่องาม และเหมืองแร่เถื่อนอีกหลายๆแห่ง
ปัจจุบันหลายๆเหมืองตะกั่วได้ปิดตัวไปเพราะ  รัฐบาลไม่ให้สัมปทานทำเหมืองตะกั่วอีกต่อไป  เนื่องมาจากพิจารณาเห็นว่าตะกั่วนั้นเป็นสารพิษมีโทษต่อร่างกาย  หากให้ทำเหมืองแล้ว  สารตะกั่วที่เป็นพิษ  จะมีโอกาสรั่วไหลลงยังแหล่งน้ำ  ผ่านลงมายังลำธารที่ชุมชนต้นน้ำใช้ดื่มกิน แล้วไหลมาลง แม่นํ้า แควน้อย แควใหญ่ จนลงสู่แม่น้ำแม่กลอง เรื่อยลงมาอีกหลายจังหวัดปลายน้ำ  ที่ต้องใช้น้ำไปอุปโภคบริโภค  แล้วจะมีปัญหาว่า  น้ำซึ่งเปื้อนปนสารพิษนี้เข้าสู่ร่างกาย เมื่อสะสมมากเข้าจะทำให้เกิดโรคภัยที่เนื่องมาจาก สิ่งแวดล้อมเสีย  ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ต่างๆ ดังเช่นโรคมินามาตะ ที่พบในประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2499  ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม  ได้ปล่อยอนุภาคของสารปรอท ปนลงไปกับน้ำเสีย ที่ไม่ได้บำบัดเสียก่อน น้ำเสียนั้นได้ไหลลงทะเล แล้วคนในเมืองนั้นไปกินปลา และหอยที่จับได้จากบริเวณนั้น อีกต่อหนึ่ง ทำให้มีสารปรอทสะสมในร่างกาย ต่อมาได้พบว่าคนในเมืองนั้นโดยเฉพาะเด็กๆเกิดโรคภัยไข้เจ็บ  ที่แปลกประหลาด และได้มาพิสูจน์ทราบภายหลัง  พบว่า แม้แต่เด็กที่เกิดใหม่ก็มีปัญหาร่างกายพิการ ปัญญาอ่อน แข้งขาเป็นอัมพาต และไม่สามารถพูดจาได้  สืบเนื่องมาจากสมองส่วนกลางถูกทำลาย  โดยที่เด็กในครรภ์ก็ได้รับการถ่ายทอดสารพิษ จากมารดา ผ่านทางสายรก ไปยังเด็กนั่นเอง นั่นเองจึงทำให้หม้อแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันมีราคาสูงกว่า เมื่อก่อนร่วมเท่าตัว



  
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-9-15 05:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



               คงมีหลายๆคนที่เคยพบเจอเต้าตะกั่ว เช่นที่ว่า  บางคนก็เคยได้ไว้ในครอบครอง  ขนาดของเต้าตะกั่วเช่นที่ว่านี้มีหลายขนาด  ถ้าเป็นขนาดใหญ่ ที่เคยพบมีขนาดเท่ากำปั้น หรือขนาดกะลามะพร้าวขนาดเล็กๆ ผ่าครึ่งซีก  ขนาดกลางๆก็คือรอบฐานใหญ่กว่าเหรียญสิบบาทสักเท่าตัว ส่วนขนาดเล็กนั้น พอๆกับเหรียญสิบบาท รูปร่างส่วนใหญ่เหมือนกรวยคว่ำ  หรือเหมือนเต้านมของผู้หญิง นี่กระมังที่เป็นที่มาของคำว่าตะกั่วนม  บางก้อนมีสีเทาแบบตะกั่วเก่าแล้วมีคราบหินปูนสีขาวๆจับบนผิว  บางก้อนที่มีอายุมากจะขึ้นสนิมแดง  แบบพระท่ากระดาน หรือพระกรุเก่าๆ   เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่าสนิมแดงนั้นหนา ก้อนที่สีของสนิมแดงจัดมากๆ  คาดว่าคงจะมีอายุสนิมไม่น่าจะต่ำกว่า 100 ปีขึ้นไป สำหรับอันที่สนิมยังไม่ขึ้น หรือสนิมขึ้นน้อย ก็คงกินเวลาหลายสิบปี  ทั้งนี้อายุที่ผมคาดเดานี้อาจจะคลาดเคลื่อนไป  เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเอื้ออำนวยให้สนิมเกิดขึ้น โดยใช้เวลาน้อยกว่านั้นก็อาจเป็นได้  ตามพื้นผิวจะพบเห็นว่า  มีองค์ประกอบของสนิมแดง เช่นรอยรานใยแมงมุม  สนิมไขขาว คราบหินปูนบนผิว ให้เห็น เรียกได้ว่าสามารถใช้เป็นเนื้อครู ดูเป็นตัวอย่างสนิมแดงได้สบายๆ และก็ยังมีเต้าส่วนน้อยอีกเช่นกัน ที่คงจะเป็นโลหะผสมชนิดอื่น ที่ไม่ใช่ตะกั่วล้วนๆ  มีเนื้อในสี
ดำมอๆ ที่มีผิวชั้นนอกเป็นคราบขาวๆผุกร่อน
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-9-15 05:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้







                หลายๆท่านคงสงสัยว่าเต้าตะกั่วอย่างนี้มีที่มาอย่างไร   ผมเองก็มีความสงสัยเช่นเดียวกันจึงได้สืบเสาะหาข้อมูลได้มาดังนี้
              ในสมัยก่อนๆ  คนที่เข้าไปหาของป่า  เมื่อเข้าไปตามป่าตามเขา  แล้วพบเจอสินแร่ตะกั่วที่เรี่ยราดอยู่บนพื้นบริเวณแหล่งที่มีแร่  โดยฝนจะตกชะหน้าดินจนแร่ตะกั่ว โผล่พ้นหน้าดินออกมาเป็นเม็ดๆ ก้อนๆปนกับดินทราย  ก้อนแร่ตะกั่วเหล่านี้มีสีแดงเพราะขึ้นสนิมมานานจึงสังเกตุได้ง่าย  คนหาของป่าก็ตั้งใจจะนำตะกั่วที่พบเจอนี้มาขายในเมือง  แต่เมื่อแร่ตะกั่วปนอยู่กับดินโคลน ใครๆก็รู้ว่า ตะกั่วเป็นโลหะธาตุที่มีน้ำหนักมาก การจะขนเอาแร่ตะกั่วมาในสภาพเช่นนั้น  ก็จะเป็นการเปลืองแรงในการที่ต้องแบกน้ำหนักดินหินเข้ามาอีกส่วนหนึ่ง  ประกอบกับเมื่อมาถึงในเมืองแล้ว  ร้านที่รับซื้อก็คงต้องการที่จะรับซื้อ เอาเพียงแต่แร่ตะกั่วล้วนๆ  แต่เพียงอย่างเดียว   ดังนั้นเพื่อให้ได้แต่เนื้อตะกั่วเอามาขาย  ในเมื่อตะกั่วมีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ การติดไฟหลอมเอาแต่แร่ตะกั่วเสียแต่เพียงอย่างเดียวที่ในป่าต้นทาง  ก็ทำให้ไม่ต้องเสียแรงขนเศษดินหิน  ที่ติดก้อนแร่เข้ามาด้วย  และก็จะเป็นการสะดวกที่สามารถนำแร่มาขายได้เลย  การหลอมตะกั่วที่ในป่าก็คงใช้หินสามก้อน วางสามเส้า ใช้เป็นเตาโดยใช้กะทะ หรือภาชนะเหล็กที่นำติดตัวมาด้วย วางบนหิน ใส่แร่ที่เก็บมา  ใส่ลงหลอม เมื่อตะกั่วละลายแล้ว  ก็โกยเอากากดินหินออก แล้วยกกะทะลงจากเตา พอตะกั่วเริ่มแข็งตัวก็ เทออกจากกะทะ  ถ้าตะกั่วที่ต้อง
หลอมมีจำนวนมาก  อันต่อๆไป   ก็สามารถใช้ตะกั่วที่เทแข็งตัวแล้วนั่นแหละ ตอกลงไปในดินให้เป็นเบ้า  ทีนี้ก็เทกันเพลินจนตะกั่วหมด เสร็จแล้วก็เอาห่อใส่ผ้าขาวม้า  เอามาขายในเมืองได้เลย  การหลอมตะกั่วเทเป็นเต้านี้  คาดว่าคงมีมาตั้งแต่ในอดีต  เป็นร้อยๆปี  เรื่อยมาจนถึงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
           เต้าตะกั่วที่ว่านี้   คนเฒ่าคนแก่หลายๆคนบอกว่า  มีพบเจออยู่ตามกรุพระหลายๆที่  เช่นที่กรุถ้ำลั่นทม  กรุพระท่ากระดาน ที่ ต. ท่ากระดาน  อ. ศรีสวัสดิ์ ก็พบเจอเต้านี้อยู่ในกรุพระ และบริเวณเตาหลอมพระที่พบ บริเวณหน้าถ้ำนั้นด้วย  จำนวนหนึ่ง  คาดว่าการหลอมตะกั่วเทพระท่ากระดาน ก็คงใช้เต้าตะกั่วแบบนี้เป็นวัตถุดิบนำมาหลอม
           แม้แต่ตะกั่วเก่าที่หลวงพ่อนารถนำมาปั๊มสร้างพระของท่านนั้น    ก็มีคนยืนยันว่าท่านได้นำมาจากกรุพระบริเวณ ต. ท่ากระดานแห่งนี้    ที่เหมืองแร่บ่องามทุกวันนี้ก็ยังพบเต้าตะกั่วนี้จำนวนหนึ่ง  คาดว่าคงมีผู้นำเอาเต้าตะกั่วนี้มาจำหน่ายให้กับทางเหมือง เพื่อนำไปบดขาย  และพนักงานเหมืองที่ยังมีชีวิตอยู่ยืนยันได้ว่าเต้าตะกั่วนี้ไม่ได้ผลิตที่เหมืองแห่งนี้  เพราะที่แล้วๆมา  เหมืองแห่งนี้ไม่ได้มีการถลุงแร่ตะกั่วแล้วเทเป็นแท่งๆแต่อย่างใด  ทางเหมืองจะทำการบดแร่ตะกั่วจนเป็นผงแบบแป้ง  แล้วบรรจุถุงส่งขายในสภาพนั้น เพียงอย่างเดียว  ส่วนโรงถลุงแร่ตะกั่วที่เห็นในปัจจุบัน ที่ทำการหลอมแร่ตะกั่วที่โรงงานที่เขาชนไก่นั้น  เพิ่งจะมาตั้งโรงงานเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง
  
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-9-15 05:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้







            ในสมัยโบราณ  เต้าตะกั่วนี้ยังได้ถูกนำไปหลอมทำเป็นกระสุนลูกปืนใหญ่ รูปร่างเป็นเม็ดกลมๆ   บางทีไม่มีเวลาแปรรูปจากเต้าตะกั่วเป็นเม็ดกระสุนกลมๆได้ทัน ก็ใช้เต้าตะกั่วสภาพเดิมๆนี้ใส่เป็นกระสุนปืนใหญ่เลย  เช่นที่สมรภูมิสงครามเก้าทัพ ที่ท่าทุ่งนา-ลาดหญ้านั้น ก็ได้มีผู้พบเม็ดกระสุน และเต้าตะกั่วนี้ด้วย
            อนึ่งตะกั่วสนิมแดงที่หลวงพ่อนารถ นำมาปั๊มสร้างพระนั้น  มีทั้งที่มีสนิมแดง  และบางส่วนที่สนิมแดงยังน้อย หรือ ไม่มีสนิมเลย  มีผู้สงสัยว่าองค์พระส่วนที่ทำจากตะกั่ว ที่มีสนิมแดงหนานั้น สนิมแดงจะยังคงสภาพเดิมเหมือนที่ยังเป็นเต้าอยู่หรือไม่  ขอเรียนว่า สนิมแดงนั้นเป็นสนิมของตะกั่วที่มีสภาพเป็นผลึก สนิมอาจจะมีความหนาราว  2 – 3 m.m. เมื่อนำมาปั๊มด้วยแม่พิมพ์โลหะเพื่อขึ้นรูปพระตามแม่พิมพ์  แรงกระแทกของแม่พิมพ์ปั๊มพระ จะทำให้ผลึกของสนิมแดงแตก  ส่วนที่โดนแรงกระแทกหนักๆสนิมแดงจะแตกป่นเป็นคล้ายๆแป้ง มีสีส้มๆ เกาะกันอยู่บนเนื้อตะกั่วเดิม แบบไม่เกาะติดกับเนื้อแน่นมากนัก  ดูแล้วสภาพของสนิมแดงเปลี่ยนสภาพเป็นผงสีส้มมองดูด้านๆ  บางส่วนก็เห็นเนื้อตะกั่วโผล่ออกมา ส่วนที่โดนแรงกระแทกไม่หนักมากนัก สนิมแดงจะแตกเป็นตาเล็กๆ แต่ถ้าดูรวมๆแล้วยังเห็นสภาพสนิมแดงที่สดใส เหลืออยู่สัก 10 - 20 %    ซึ่งยังน่าดูกว่าแบบแรก  แต่สภาพเช่นนี้เท่าที่เห็นพบเหลืออยู่น้อย  ฉนั้นการได้ดูเต้าสนิมแดง ที่สนิมขึ้นแบบเป็นธรรมชาติ และยังคงสภาพเดิมๆไว้ เทียบกับการได้เห็นผิวพระหลวงพ่อนารถแล้ว  น่าดูกว่ากันแยะครับ
             ถ้าคิดจะเสาะหา  ราคาของเต้าสนิมแดงที่สนิมจัดๆเช่นนี้  ในสมัยก่อน  ถ้าเป็นการนำตะกั่วไปขายร้านรับซื้อ  ก็คงต้องชั่งกันเป็นกิโล แล้วตีว่าเท่าไร แต่ถ้าเป็นการนำมาขายในวงการพระ หรือวงการของเก่า  สนนราคาจะอยู่ที่หลักร้อยต้นๆ  ถ้าไม่มีสนิมแดงให้เห็นเลย  ก็เป็นแค่หลักสิบ  แต่ปัจจุบัน เต้าตะกั่วที่มีสนิมแดงจัดๆดังที่นำมาให้ดูนี้  จำนวนของ  มีปริมาณงวดลงมาก คงต้องว่ากันในหลักร้อยปลายๆ ไปถึงหลักพันต้นๆ ถึงหลายพัน แล้วแต่ขนาด และสภาพของสนิมแดงด้วยครับ


ที่มา...http://www.pralanna.com/boardpage.php?topicid=26128

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้