ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3093
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ไพร่

[คัดลอกลิงก์]
ไพร่แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ไพร่หลวง ไพร่สม และไพร่ส่วย
๑. ไพร่หลวง
         ในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือพวกที่ทำงานให้หลวงโดยมีกำหนดว่าปีหนึ่งต้องเข้ารับราชการ ๓ เดือน หรือมิฉะนั้นจะต้องจ่ายเงินให้คนอื่นมาทำแทนเดือนละหนึ่งตำลึงครึ่ง (๖ บาท) หรือปีละสี่ตำลึงครึ่ง (๑๘ บาท)
๒. ไพร่สม
        เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้มูลนายและขุนนางที่มีตำแหน่งทางราชการเพื่อผลประโยชน์ตอบแทน มูลนายจะมีไพร่มากน้อยขึ้นอยู่กับ ยศ ตำแหน่ง ศักดินา ไพร่สมต้องทำงานให้ราชสำนักปีละ ๑ เดือน ส่วนเวลาที่เหลือรับใช้มูลนายหรือส่งเงินแทน เมื่อถึงยามสงครามทุกคนต้องเป็นทหารป้องกันอาณาจักร เมื่อมูลนายถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรจะขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดา เป็นไพร่ส่วนบุคคล แต่ต้องทำงานให้หลวงปีละเดือนหรือมีค่าเท่ากับหนึ่งตำลึงครึ่ง
๓. ไพร่ส่วย
         ไพร่ที่ส่งสิ่งของเพื่อช่วยราชการ ไพร่ที่ไม่ต้องทำงานให้รัฐ แต่ส่งส่วยให้เป็นการตอบแทนการส่งส่วยมีทั้งส่งเป็นรายปีและส่วยเกณฑ์กรณีพิเศษ เช่น เรียกเกณฑ์ให้ตัดไม้มาใช้ในการสร้างพระเมรุ ขุดหาแร่ทองแดงมาหล่อพระพุทธรูป ฯลฯ บางครั้งอาจเรียกเกณฑ์แรงงานไพร่ส่วยได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทางการจัดหาเสบียงอาหารให้ด้วย ไพรส่วยนี้ที่จริงแล้วคือไพร่หลวงที่ไม่สะดวกในการเข้ารับราชการหรือทางการไม่ต้องการแรงงานเพราะไม่สามารถหางานให้คนทั่วราชอาณาจักรทำได้ อีก ทั้งต้องการส่วยสิ่งของเพื่อไปค้าสำเภาด้วย จึงกำหนดให้ส่งส่วยแทน


           การใช้แรงงานไพร่มีระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ เรียกว่า “การเข้าเดือน” ในแต่ละสมัยมีระยะเวลาไม่เท่ากัน เช่น ในสมัยอยุธยา ไพร่ต้องมาเข้าเวร ๖ เดือนโดยอาจใช้แรงงาน ๖ เดือนและกลับไปทำมาหากิน ๖ เดือน หรืออาจต้องเข้าออกเดือนเว้นเดือนตามลักษณะของงานของแต่ละกรม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้ลดลงเหลือเพียงปีละ ๔ เดือน คือ เข้าเดือนออก ๒ เดือน ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ทรงลดเหลือเพียงปีละ ๓ เดือนจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-10-16 09:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2019-10-16 09:26

การแต่งกายในสมัยก่อนที่เราเห็นในละครส่วนใหญ่จะเป็นชุดที่แต่งเต็มยศของเหล่าคนชั้นสูง แต่หากถ้าเป็นการแต่งกายของทาส และไพร่สมัยก่อนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่อาจจะไม่เหมือนกับที่เห็นในละคร เพราะเอาจริงๆเสื้อผ้าก็ไม่ค่อยมีให้ใส่กัน การแต่งกายจึงเป็นแบบตามมีตามเกิด ยิ่งเป็นคนแก่ด้วยแล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เรียกได้ว่าอล่างฉ่างกันเลย เนื้อตัวเหม็นสาบเหงื่อไคล เพราะต้องทำงานทั้งวันได้อาบน้ำแค่ก่อนนอน ไม่ได้ประทินผิวใดๆ เสื้อผ้าแทบจะเรียกได้ว่าดีกว่าผ้าขี้ริ้วนิดเดียวเท่านั้น ไม่ได้สวยหล่อแบบในละคร
ก่อนที่เราจะมาดูการแต่งกาย ขออธิบายเป็นเกร็ดความรู้สักนิดว่าสยามมีทาสกี่แบบ

ทาส หมายถึง บุคคลซึ่งถูกนับสิทธิเสมือนสิ่งของของผู้อื่น ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิต และมีหน้าที่รับใช้ผู้อื่นโดยมิได้รับการตอบแทนจากเจ้าของ (นายทาส) เช่น การรับใช้ทางด้านแรงงาน และหากไม่เชื่อฟังคำสั่ง อาจถูกลงโทษได้ตามแต่นายทาสจะกำหนด ยกเว้นเป็นการกระทำอันทำให้ถึงแก่ความตาย
ประเภท
ในสยาม ทาสได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิด (ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา โดยในสมัยก่อนหน้านั้นยังเป็นข้อถกเถียงของนักวิชาการ) ได้แก่
  • ทาสสินไถ่- เป็นทาสที่มีมากที่สุดในบรรดาทาสทั้งหมด โดยเงื่อนไขของการเป็นทาสชนิดนี้ คือ การขายตัวเป็นทาส เช่น พ่อแม่ขายบุตร สามีขายภรรยา หรือขายตัวเอง ดังนั้น ทาสชนิดนี้จึงเป็นคนยากจน ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวหรือตนเองได้ จึงได้เกิดการขายทาสขึ้น โดยสามารถเปลี่ยนสถานะกลับไปเมื่อมีผู้มาไถ่ถอน และทาสชนิดนี้ที่ปรากฏในวรรณคดีไทยคือนางสายทองซึ่งขายตัวให้กับนางศรีประจันนั่นเอง
  • ทาสในเรือนเบี้ย-เด็กที่เกิดขึ้นระหว่างที่แม่เป็นทาสของนายทาส ทาสชนิดนี้ไม่สามารถไถ่ถอนตนเองได้
  • ทาสที่ได้รับมาด้วยมรดก - ทาสที่ตกเป็นมรดกของนายทาส เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อนายทาสคนเดิมเสียชีวิตลง และได้มอบมรดกให้แก่นายทาสคนต่อไป
  • ทาสท่านให้ - ทาสที่ได้รับมาจากผู้อื่นอีกทีหนึ่ง
  • ทาสที่ช่วยไว้จากทัณฑ์โทษ - ในกรณีที่บุคคลนั้น เกิดกระทำความผิดและถูกลงโทษเป็นเงินค่าปรับ แต่บุคคลนั้น ไม่มีความสามารถในการชำระค่าปรับ หากว่ามีผู้ช่วยเหลือให้สามารถชำระค่าปรับได้แล้ว ถือว่าบุคคลนั้น เป็นทาสของผู้ให้ความช่วยเหลือในการชำระค่าปรับ
  • ทาสที่ช่วยไว้ให้พ้นจากความอดอยาก - ในภาวะที่ไพร่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้ประกอบอาชีพได้แล้ว ไพร่อาจขายตนเองเป็นทาสเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจากนายทาส
  • ทาสเชลย - ภายหลังจากได้รับการชนะสงคราม ผู้ชนะสงครามจะกวาดต้อนผู้คนของผู้แพ้สงครามไปยังเมืองของตน เพื่อนำผู้คนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้
การพ้นจากความเป็นทาส
การพ้นจากความเป็นทาสสามารถเกิดขึ้นได้ จากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
  • โดยการหาเงินมาไถ่ถอน
  • การบวชเป็นสงฆ์โดยได้รับความยินยอมจากนายทาส
  • ไปการสงครามและถูกจับเป็นเชลย หลังจากนั้น สามารถหลบหนีออกมาได้
  • แต่งงานกับนายทาสหรือลูกหลานของนายทาส
  • ไปแจ้งทางการว่านายทาสเป็นกบฏ และผลสืบสวนออกมาว่าเป็นจริง
  • การประกาศไถ่ถอนจากพระมหากษัตริย์ ในช่วงของการเลิกทาส

ทาสสยาม สมัยรัชกาลที่ 5 จากหอสมุดดำรงราชานุภาพ

ไพร่-ทาส แรงงานสยามในอดีต (ภาพจากเวปไซต์ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงาน)


ข้อมูลจาก..https://board.postjung.com/1075297
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้