วัตถุอาถรรพ์ กะลาตาเดียว
คนในสมัยโบราณนับถือกะลาตาเดียวเป็นวัตถุที่มีอาถรรพ์ที่มีฤทธิ์อยู่ในตัวของมันเอง จึงนำกะลามะพร้าวที่มีตาเดียวมาแกะเจาะรู เพื่อติดตัวใช้สำหรับเดินทางเข้าหาอาหาร ไว้สำหรับป้องกันภัยร้ายต่างๆที่จะมาถึงตัว ส่วนกะลาทั้งลูกชาวบ้านมักจะนำไว้บูชา อธิษฐานขอสิ่งต่างๆให้กับครอบครัว ต่อมาเข้าในสมัยสุโขทัย ได้มีชาวบ้านนำกะลาตาเดียว มาเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ สำหรับติดตัว เพราะถือกันว่า เป็นเครื่องรางของขลัง สามารถป้องกันคุณไสย และภูติผีปีศาจได้ และยังทำให้ผู้ที่มีติดตัวไว้มีโชคมีลาภอีกด้วย แต่ชาวบ้านบางคนมักนิยมนำไปให้อาจารย์ ที่มีวิชาแก่กล้า ลงคาถาอาคมต่างๆแล้วแต่ผู้ใช้จะชอบ สมัยกรุงศรีอยุธยาก็เช่ากัน ยังมีชาวบ้านนำกะลาตาเดียวเป็นเครื่องรางของขลัง และใช้ตักข้าวสาร เวลาหุงข้าว เชื่อกันว่าจะทำให้มีข้าวกินไม่มีอดอยากตลอดชีวิต ส่วนข้าราชการที่ทำงานสมัยกรุงศรีอยุธยามักจะนำกะลาตาเดียวมาแขวนคอติดตัวไปทำงานด้วย เพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางยศฐาบรรดาศักดิ์ ได้เป็นเจ้าขุนมูลนาย เป็นใหญ่เป็นโตกว่าคนอื่น ส่วนทหารที่ออกศึกก็มักจะนำไปให้อาจารย์ที่มีวิชาลงคาถาอาคมกำกับ เพื่อให้ตนออกศึกและ ชนะรอดกลับมาได้ ต่อมากะลาตาเดียว ก็มักจะถูกนำมาแกะเป็นรูปพระราหูไว้ติดสร้อยคอ เนื่องจากหายากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้ในบทประพันธ์เรื่อง "พระอภัยมณี" ของสุนทรภู่ ได้มีการแต่งกล่าวถึง เครื่องรางรูปพระราหูเอาไว้เช่นกันว่า นางระเวงมีเครื่องรางกะลาตาเดียว แกะเป็นรูปพระราหู แขวนติดประจำกายอยู่ และมีคืนหนึ่ง นางระเวงได้นอนหลับมี "อ้ายย่องตอด" ผู้มีวิชาแก่กล้าทางไสยศาสตร์ ชองจับสัตว์ และคน ดูดเลือดเป็นอาหาร ได้ลอบเข้าไปทำร้ายนางระเวง แต่พอเห็นกะลาตาเดียว ที่แกะเป็นรูปพระราหู ที่แขวนเป็นประจำกายนางระเวง จึงไม่กล้าทำร้ายรีบหนีออกไป ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีประวัติกะลาตาเดียวทั้งลูก ว่ากะลาตาเดียวทั้งลูก หรือมะพร้าวตาเดียว เอาเนื้อมะพร้าวออกหมดแล้ว จะเหลือแต่กะลาทั้งลูก ที่ไม่มีรอยแตกร้าว จะเป็นที่นิยมของพวก พ่อค้า-แม่ค้า ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา และคู่บ่าวสาวที่แต่งงาน ตลอดจนพวกข้าราชการชั้น เจ้าขุน เจ้าพระยา จะนิยมเก็บไว้ในบ้าน เพราะเชื่อว่ามีไว้ในบ้านแล้ว จะช่วยส่งเสริมบารมี ให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ สูงขึ้นเร็วกว่าคนอื่น และจะช่วยล้างอาถรรพ์ที่เป็นเสนียดจัญไรภายในบ้าน ได้เป็นอย่างดี และทำให้มีกินมีใช้ มีเงินมีทองมากขึ้น ไม่รู้จักหมด ส่วนพ่อค้า แม่ค้า ชาวไร่ชาวสวน ที่นำข้าวของไปขายในเมืองและต่างแดน ก็จะถือกะลาตาเดียวไปด้วย ซึ่งจะทำให้ขายดี ให้กำไรอย่างงาม ส่วนคู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันในสมัยนั้น ก็มักจะนำกะลาตาเดียวทั้งลูกที่เป็นตัวผู้ ตัวเมียคู่กัน เก็บไว้ในบ้านจะทำให้อยู่กันมีความสุข ไม่แยกจากกันชั่วนิรันดร จะทำให้ชีวิตครอบครัวอุดมสมบูรณ์ พูนสุขไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง ส่วนบางครอบครัวที่แต่งงานให้ลูกหลาน และอยากให้ลูกหลานตน มีความสุขมากยิ่งขึ้น ไม่ให้แตกแยก เลิกร้างจากกัน ก็จะแกะชื่อ-สกุล ฝ่ายชายลงในแผ่นไม้รัก แล้วใส่ในกะลาตัวเมีย ส่วนชื่อ-สกุล ฝ่ายหญิง ก็จะแกะลงในแผ่นไม้รักอีกแผ่น แล้วใส่ในกะลาตัวผู้ เก็บไว้คู่กันในบ้าน ก็จะรักกันชั่วนิรันดร และยังมีประวัติที่เล่ากันเป็นทอดๆ สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย ที่รู้เรื่องกะลาตาเดียว เล่ากันว่า ยังมีคู่บ่าวสาวที่แต่งงานกัน ไม่ให้สามีของตนนอกใจไปรักหญิงอื่น ก็จะแกะสลัก ชื่อ-สกุล ทั้งคู่ สามี-ภริยา ลงในแผ่นไม้รักแผ่นเดียวกัน แล้วใส่ลงในกะลาตาเดียว ก็จะทำให้สามีหลงรักตนคนเดียว ไม่นอกใจไปรักหญิงอื่น ส่วนสามีก็เช่นกัน ถ้าต้องการให้ภริยาเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี ก็จะแกะสลัก ชื่อ-สกุล สามี-ภริยา ลงในแผ่นไม้รักแผ่นเดียวกัน แล้วใส่ลงในกะลาตัวผู้ ก็จะทำให้ ภริยาไม่นอกใจ ไปมีชู้ โดยเฉพาะพวกข้าราชการทหารที่ออกรบ หรือไปประจำการตามหัวเมืองต่างๆ กะทันหัน ในช่วงเวลาที่แต่งงานกันใหม่ๆ แล้วจำเป็นต้องราชการแล้วนำภริยาไปด้วยไม่ได้
|