ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
พระธาตุอิงฮัง พระธาตุคู่แฝดของพระธาตุพนม
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2086
ตอบกลับ: 0
พระธาตุอิงฮัง พระธาตุคู่แฝดของพระธาตุพนม
[คัดลอกลิงก์]
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-10-24 11:38
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
พระธาตุอิงฮัง
แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พระธาตุอิงฮัง(ในประเทศลาว) เป็นพระธาตุคู่แฝดของพระธาตุพนม (ในประเทศไทย) สูง 25 เมตร ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองตามทางหลวงสายที่ 13 ประมาณ 13 กิโลเมตร เลียบถนนไปบ้านโพนสิม แขวงสะหวันนะเขต มีภาพสลักนูนสูงออกแนวฮินดูประดับประดารอบพระธาตุ น่าจะเป็นศิลปะเขมร รอบผนังกำแพงพระธาตุด้านในเป็นศาลาวนรอบ มีพระพุทธรูปวางเรียงเป็นแถวยาวตลอดทั้งสี่ด้าน เห็นว่าเป็นการหล่อโดยพุทธศาสนิกชนทั้งชาวลาวและชาวไทยร่วมกัน มีซุ้มประตูทางเข้า 4 ด้าน ได้สืบทราบมาว่าทุกปีจะมีการจัดงานยิ่งใหญ่นมัสการพระธาตุอิงฮัง โดยจะมีขบวนแห่เทียน และฟ้อนรำถวายองค์พระธาตุ ในช่วงเดือนธันวาคม
คำว่า "อิงฮัง" เป็นคำในภาษาลาว หมายถึง "พิงรัง" หรือ "พิงต้นรัง" ในภาษาไทย
(ต้นรัง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ต้นสาละ ซึ่งเป็นต้นไม้สำคัญในตำนานแห่งพระพุทธประวัติ)
ประวัติความเป็นมา ของพระธาตุอิงฮัง
แปลจากโบรชัวร์ภาษาลาวที่วางขายอยู่ด้านหน้าทางเข้าวัด ทราบว่าพระธาตุอิงฮัง สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบอง หรือ โคตรบูรณ์ ประมาณพ.ศ.400 อยู่ในสมัยพระเจ้าสุมิตธรรมวงศา พระองค์สร้างขึ้นตามคำแนะนำของสมณทูตสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในสุวรรณภูมิครั้งแรกได้สร้างเป็นธาตุกู่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกสันหลังพระพุทธเจ้าที่อัญเชิญมาจากกรุงราชคฤก มาประดิษฐานไว้ภายในกู่ธาตุ เพื่อเป็นเครื่องหมายแทนสถานที่ปรินิพพานที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานในป่าฮัง
ตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ในสมัยพุทธกาลองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จเปิดโลกและรับอาราธนามาฉันภัตตาหารที่บริเวณนี้ ต่อมาพระเจ้าพระเจ้าสุมิตธรรมวงศา กษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรศรีโคตรบอง ได้สร้างพระธาตุองค์นี้ขึ้นพร้อมตั้งชื่อว่าพระธาตุอิงฮัง เมื่อถึงศตวรรษที่ 9 อาณาจักรศรีโคตรบอง เริ่มเสื่อมอ่อนแอลงชนชาติขอมได้รุกเข้ามามีอำนาจแทน พระธาตุอิงฮัง จึงถูกดัดแปลงเป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ ภายใต้การนำของพระเจ้าสุมนธาธิราชราชา ได้มีการสร้างต่อเติมองค์พระธาตุ ตกแต่งลวดลาย ประติมากรรมเป็นเรื่องเมถุนสังวาส และรามายนะ นับแต่นั้นมาลักษณะศิลปกรรมของพระธาตุอิงฮัง จึงเป็นศิลปะแบบขอมโบราณ พร้อมกับเรียกชื่อว่า อินทรปราสาท
จนถึงศตวรรษที่ 14 ชนชาติลาวได้เข้ามามีอำนาจแทนขอม สมัยพระโพธิสารราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเลื่อมใสพุทธศาสนาได้นำพุทธศาสนิกชนบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม พระธาตุอิงฮัง พระธาตุโพนคึมใหญ่ จนถึงสมัยพระเจ้าไซยะเสดถาธิราช ได้ต่อเติมศิลปะล้านช้างเข้าไปในองค์พระธาตุอิงฮัง และเสริมยอดดวงปี ดัดแปลงให้เป็นพระธาตุทางพระพุทธศาสนา โดยฐานพระธาตุแต่ละด้านกว้าง 9 เมตร สูง 25 เมตร ปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
ดร.อรรถ นันทจักร อาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในแต่ละปีจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองพระธาตุอิงฮัง ประมาณเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกับงานเฉลิมฉลองพระธาตุพนมฝั่งไทย เพราะตำนานการสร้างพระธาตุในแถบลุ่มน้ำโขง จะเกี่ยวโยงถึงกันเกือบหมด
นอกจากนั้น ยังมีตำนานความเชื่อของชุมชนบ้านธาตุอิงฮัง เกี่ยวกับการที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาเสวยภัตตาหารบริเวณนี้ และเสวยภัตตาหารที่ทำจากหมู จึงเกิดอาหารเป็นพิษ ชุมชนบ้านธาตุอิงฮัง จึงไม่มีใครเลี้ยงหมูจนถึงปัจจุบัน นี่คือความเชื่อพุทธของชาวบ้าน ที่มีระบบความเชื่อความศรัทธาปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างเคร่งครัดจวบจนปัจจุบัน
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...