ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ทรัพย์สินมีอยู่ก่อนบวช ระหว่างอยู่ในสมณเพศ
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1537
ตอบกลับ: 1
ทรัพย์สินมีอยู่ก่อนบวช ระหว่างอยู่ในสมณเพศ
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-1-31 07:34
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ทรัพย์สินมีอยู่ก่อนบวช ระหว่างอยู่ในสมณเพศ
คอลัมน์ ฎีกาชีวิต
โดย พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช
ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
ก่อนอื่นขอพูดให้แคบเข้าเฉพาะประเด็นผู้ออกบวชเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาตามประเพณีนิยมของสังคมไทย มองชีวิตของบุรุษเพศทั้งก่อนออกบวชและหลังบวชเป็นพระภิกษุขณะยังมีชีวิตอยู่และที่สุดถึงแก่มรณภาพขณะที่ยังเป็นพระภิกษุอยู่นั้น กฎหมายคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินไว้หรือไม่?
ชีวิตของผู้นั้นก่อนหน้าจะออกบวชย่อมจะมีพันธะผูกพันทางครอบครัวของตัวเอง อาจอยู่ในฐานะลูกชาย ฐานะสามี หรือบิดาของลูก (ทั้งชอบกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายตามแต่ข้อเท็จจริง) จึงมีเหตุผลอย่างหนึ่งที่น่าสนใจว่า
ถ้าผู้นั้นตัดสินใจออกบวชตามประเพณีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาก่อนวันเข้าพรรษาก็ดีหรือนอกพรรษาก็ดีแล้วสึกออกมาตามที่ตั้งใจหรือว่าจะครองผ้าเหลืองไม่ยอมสึกบวชต่อไปจนมรณภาพก็ดี
มีคำถามว่าทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วก่อนออกบวชหรือได้สิ่งของทรัพย์สินใดมาระหว่างบวชจนถึงแก่มรณภาพหรือในฐานะทายาทโดยธรรมคนหนึ่งระหว่างบวชเรียนนั้นพระภิกษุจะมีสิทธิรับมรดกหรือไม่?
ดังนั้น ก่อนชายหนึ่งออกบวชและหรืออยู่ระหว่างบวชเป็นพระภิกษุจนกระทั่งมรณภาพ สิทธิในทรัพย์สินกฎหมายบัญญัติคุ้มครองไว้อย่างไร? และมีกรณีใดทรัพย์ที่ได้มาระหว่างนั้นตกเป็นสมบัติของวัด?
ทรัพย์สินของชายใดไม่ว่าจะอยู่ในฐานะบิดาก็ดีหรือบุตรชายก็ดีย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของเขาแน่นอน ขออย่าได้กังวลก่อนที่จะตัดสินใจออกบวชเถิด ดั่งที่กฎหมายบัญญัติคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินไว้ว่า ทรัพย์สินใดของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาได้ตกเป็นของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้ (มาตรา 1624) ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าก่อนบวชนายสุนัยมีภริยาแล้วมีบุตรหนึ่งคน เขามีฐานะร่ำรวยคนหนึ่งในจังหวัดพิจิตร มีทรัพย์สิน 200 ล้าน ทั้งก่อนบวชหรืออยู่ระหว่างบวชเรียนและภายหลังสึกออกมาทรัพย์สินทั้งหมดยังคงเป็นสิทธิของนายสุนัยอยู่ เพราะกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทั้งหมดที่นายสุนัยมีอยู่ก่อนบวชเรียนจึงหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่
ระหว่างยังมีชีวิตอยู่นั้น นายสุนัยมีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนหรือทำพินัยกรรมยกมรดกทั้งหมดให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามแต่ใจ เพราะกฎหมายถือว่าทรัพย์สินดั้งเดิมที่มีอยู่บวชและภายหลังสึกออกมานั้นยังไม่ถือว่าตกเป็นสมบัติของวัด
ประเด็นเกิดขึ้นต่อมา ถ้าระหว่างบวชพระภิกษุสุนัยได้รับมรดกเป็นที่ดินหนึ่งแปลงจากมารดาโดยพินัยกรรมอีกสามเดือนต่อมาพระสุนัยถึงแก่มรณภาพและยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินแปลงนั้นหรือทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้กับภริยาและบุตร
จึงเกิดคำถามมีว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นเป็นมรดกตกทอดแก่ภริยาหรือทายาท? หรือตกเป็นสมบัติของวัด? เป็นประเด็นที่น่าติดตาม
กฎหมายบัญญัติเรื่องนี้ไว้ว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นแต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม” (มาตรา 1623)
ศาลฎีกาเคยพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทพระภิกษุ ส. ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ ส.แล้วในขณะถึงแก่มรณภาพ จึงตกเป็นของวัดจำเลยที่ 1 (1816/2542)
กฎหมายมีข้อยกเว้นไว้ว่าระหว่างมีชีวิตอยู่นั้นพระสุนัยย่อมมีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนหรือจะใช้สอยหรือยกเป็นทานหรือทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใดก็ได้ กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้
เกิดคดีเรื่องหนึ่งต่อสู้คดีกันถึงศาลฎีกาว่า ระหว่างบวชพระภิกษุรูปหนึ่งได้ทำการจะซื้อจะขายที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งได้รับมรดกจากโยมมารดา แต่ระหว่างแบ่งแยกที่ดินในส่วนของพระภิกษุยังไม่แล้วเสร็จ พระภิกษุรูปนั้นเกิดมรณภาพเสียก่อน กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ตกลงจะขายยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อเช่นนี้ โดยผลของกฎหมายที่ดินดังกล่าวย่อมตกเป็นสมบัติของวัดทันที (ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1316/2544 (ประชุมใหญ่))
เรื่องนี้น่าจะเป็นข้อเตือนใจผู้คิดจะซื้อที่ดินของพระภิกษุ โปรดตามต่อพระภิกษุรับมรดกได้?
http://www.matichon.co.th/news/19807
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-6-20 05:49
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...