ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5613
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต๋าแหลว"ความเชื่อของชาว ล้านนา เพื่อให้คลาดแคล้วจากภัยพิบัติ

[คัดลอกลิงก์]
โดย อัศวิน พินิจวงษ์

ตาก-อบต.แม่ปะ ขึ้น” ต๋าแหลว “ เครื่องหมายพิธีกรรมความเชื่อ ชาวล้านนาหรือชาวเหนือ ริมถนนสายแม่สอ – แม่ระมาด เพื่อให้หมู่บ้านคลาดแคล้วจากภัยพิบัติต่างๆ
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2556 นายมานพ ยะเขียว นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน อบต.แม่ปะ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่าง นำรถเครนมาทำการยกเสาไม้ขนาดสูง 5 เมตร เพื่อขึ้น ” ต๋าแหลว “ ซึ่ง “ต๋า แหลว” เป็น เครื่องหมายพิธีกรรม และความเชื่อ ของชาวเหนือหรือชาวล้านนา ซึ่งเป็นความเชื่อของคนโบราณ และเป็นเครื่องหมายหรือสัญญาลักษณ์ที่จะทำให้ โชคร้ายหรือลางร้ายหรือภัยพิบัติต่างๆ จะไม่เกิดขึ้นในหมู๋บ้านหรือชุมชนที่ ขึ้น “ต๋าแหลว” โดย อบต.แม่ปะ มีการขึ้น ต๋าแหลว ที่บริเวณ ริมถนนสายแม่สอ – แม่ระมาด หน้าสนามกอล์ฟดงสัก ต.แม่ปะ อ.แม่สอด ทั้งนี้เพื่อให้พื้นที่ตำบลแม่ปะคลาดแคล้วจากภัยพิบัติต่างๆ
นายก อบต.แม่ปะ กล่าว่า “ ต๋าแหลว “ ภาษาไทยภาคกลางเรียก “เฉลว” เป็นเครื่องสานทำด้วยเส้นตอกขัดไขว้กัน ให้ส่วนกลางมีลักษณะเป็นตาหกเหลี่ยม มีชายยื่นออกโดยรอบ ชาวล้านนาใช้ ต๋าแหลวเป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรมตามความเชื่อ โดยเฉพาะการแสดงอาณาเขตหวงห้าม แสดงอาณาเขตที่มีเจ้าของ เป็นเครื่องช่วยให้พื้นที่นั้น ๆ คลาดแคล้วจากภัยพิบัติ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ดังที่มักพบต๋าแหลวเสียบไม้ปักไว้ในแปลงข้าวกล้า เพื่อเป็นเครื่องเสริมกำลังมิให้ข้าวกล้าถูกรบกวนจากศัตรูพืช หรือมีการแขวนต๋าแหลวกับด้ายสายสิญจน์และหญ้าคาฟั่นเวลามีงานสำคัญ อาทิ สืบชาตา ทำบุญเมือง เป็นต้น ฉะนั้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะและประชาชนตำบลแม่ปะ จึงมีความเชื่อ ว่า “ต๋าแหลว “ สามารถปกป้องภัยภัยอันตรายใด ๆไม่ให้เกิดขึ้นในพื้นตำบลแม่ปะ รวมทั้ง แก้ไขบอกเหตุไม่ให้ลางร้ายมาเกิดขึ้น และ จะไม่เกิดความรุนแรงหรือความไม่ดีมาเกิดขึ้น ในหมู่บ้านชุมชน อย่างเด็ดขาด


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-1-19 16:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต๋าแหลว หรือ ตาเหลว เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ใผ่ จะทำจากตอกหนึ่งก้านที่หักไปมาเป็นแฉก หรือจะทำจากตอกหลายก้านมาสานรวมกันเป็กแฉกก็ได้ สำหรับ คำว่า ต๋าแหลว หรือ ตาเหลว เป็นภาษาเหนือ แต่ถ้าจะเรียกชื่อเป็นภาษากลาง ก็คือ เฉลว ทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์เป็สัญลักษณ์บอกสถานที่ ในอดีตภาคกลางใช้เฉลว เป็นเครื่องบอกด่านเก็บภาษีอากรทางน้ำ หรือที่เรียกว่าการเก็บจังกอบ ถ้าเห็นสัญลักเฉลวอยู่ที่ท่า แสดงว่าท่านี้เป็นด่านจังกอบ
แต่ถ้าหากเป็นความเชื่อล่ะก็ เฉลว จะเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์บ่งบอกถึงเขตห่วงห้าม เขตป้องกันสิ่งชั่วร้าย สิ่งไม่ดี ชาวบ้านจะนำเฉลวมาประกอบพิธีต่างๆเกี่ยวกับความเชื่อ อาทิ การสู่ขวัญข้าว สืบชะตา ทำบุญบ้าน ทำบุญเมือง มัดติดหน้าบ้าน ปักบนหม้อยา ปักไว้ในที่ไม่ใช้ผีผ่าน  และที่สำคัญในการประกอบการปลุกเสกที่เป็นพุทธคุณ หรือพุทธาภิเสก ก็จะมีเฉลวมัดติดกลับรั่ว ๔ ทิศ สำหรับให้พระสงฆ์เจริญมนต์พุทธาภิเษก ที่เรียกว่า ราชวัตร
เฉลวถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง ที่เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งหวงห้ามอันมีเจ้าของอยู่แล้ว เป็นสัญลักษณ์ความพิเศษอีกด้วย โดยเฉพาะหม้อต้มยา หลังจากปิดหรือไม่ปิดด้วยใบตองอ่อนก็ดี จะมีการปักเฉลวเล็กไว้บนหม้อต้มยา มีนัยว่าเพื่อบอกว่าหม้อนี้คือยาต้มนะไม่ใช้น้ำต้มหรือแกงต้ม แต่ทางความเชื่อแล้วหม้อยามีครูบาอาจารย์มีสิ่งศักดิ์สิทธ์สถิตอยู่ เพื่อรักษาคุณยาที่ต้มทั้งปวง โบราณจารย์กล่าวว่าอย่าให้ผีข้ามหม้อยา เพราะจะทำให้ยาต้มเสื่อมคุณประโยชน์ ดังนั้นเฉลวเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ป้องกันผีร้ายหรือสิ่งชั่วร้ายทำลายคุณของยา ในการสู่ขวัญข้าว เฉลวถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันมีให้ผีร้ายเข้ามาทำลายพระแม่โพสพ
ชนิดของเฉลว ถูกแบ่งออกตามจำนวนแฉก คือ
๑.เฉลวที่เป็นรูปสามเหลี่ยม หรือมีสามแฉก มีความหมายว่า มะ อะ อุ เฉลวชนิดเมื่อตั้งไว้แล้วจะเหมือนกับว่ามีคนมานั่งสวดคำว่า มะ อะ อุ ตลอดเวลา ทำให้ผีไม่กล้าเข้าใกล้
๒.เฉลวที่เป็นรูปดาวห้าแฉก มีความหมายว่า นะ โม พุท ธา ยะ  เฉลวชนิดเมื่อตั้งไว้แล้วจะเหมือนกับว่ามีคนมานั่งสวดคำว่า นะ โม พุท ธา ยะ ตลอดเวลา ทำให้ผีไม่กล้าเข้าใกล้
๓.เฉลาที่เป็นรูปแปดแฉก มีความหมายว่า อิติปิโส ภควตา เฉลวชนิดเมื่อตั้งไว้แล้วจะเหมือนกับว่ามีคนมานั่งสวดคำว่า อิติปิโส ภควตา ตลอดเวลา ทำให้ผีไม่กล้าเข้าใกล้
ในชาวล้านนามีต๋าแหลวอีกประเภทหนึ่ง สานง่ายแต่สานเป็นยาก เพราะมั้นมีลักษณะพิเศษคือมีเจ็ดชั้น สานต่อกันโดยสานต่อไปเรื่อยๆ และสามมารถสามารถต่อชั้นขึ้นไปได้อีก และอย่าเข้าใจผิดว่าสานเจ็ดอันเอามามัดรวมกันล่ะคับ ความยากคือการต่อชั่นแต่ละชั้น ถ้าต่อผิด ถึงจะดูเหมือนต๋าแหลวแต่นั่นไม่ใช่ต๋าแหลว เราชาวเหนือมีชื่อเรียกต๋าแหลวนี้หลายชื่อ ต๋าแหลวเจ็ดจั้น ต๋าแหลวใบคา ต๋าแหลวคาเขียว ต๋าแหลวหญ้าคา เป็นต้น ก็คือต๋าแหลวนี้มี ๗ ชั้น แล้วนำคามาสานพันธ์กันใช้ขึงติดกับตาแหลว ดังนั้นเข้าจึงเรียกว่า ต๋าแหลวคาเขียว เพราะใบคาที่นำมาสานพันกันเป็นสีเขียว

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-1-19 16:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

เวรกรรม  ดันอ่านเป็น "ตำแหลก"
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้