ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1816
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง

[คัดลอกลิงก์]


ประวัติของ หลวงพ่อซัง หรือ พระครูอรรถธรรมรส

พระครูอรรถธรรมรส (ซัง สุวัณโณ) หลวงพ่อซัง นามเดิมชื่อซัง เป็นบุตร คนสุดท้ายของขุนวิน ศักดาวุธ (บุศจันทร์ ศักดาวุธ) มารดาชื่อนางส้ม ศักดาวุธ เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีกุนตรงกับวันที่ ๖  มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ บ้านพัง หมู่ที่ ๒ ต.ควนพัง อ.ร่อนพิบูลย์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  หลวงพ่อซัง ท่านมีพี่สาว ๒ คน ชื่อนางรอดและนางแก้ว (ถึงแก่กรรมหมดแล้ว) เมื่อท่านอายุได้ ๑๑ ปี ได้ไปศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัยในสำนักท่าน อาจารย์นาค เจ้าอาวาส วัดพัง ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ท่านย้ายไปศึกษาในสำนักของท่าน อุปัชฌาย์รักษ์ วัดปัง ต.ควรชุม อ.ร่อนพิบูลย์  ท่านเรียนวิชาเลข และคัดลายมือ

ขณะที่หลวงพ่อซัง ท่านศึกษาอยู่ท่านเป็นคนฉลาดความจำดี มีความขยันอดทนเป็นเลิศ อุปัชฌาย์รักษ์ เห็นแววและอนาคตจะไปไกล จึงบวชเณรให้เมื่ออายุ ๑๖ ปี หลังจากบวชเณรแล้วท่านก็ได้ศึกษาธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระเพิ่มขึ้น พอเป็นแนวทางปฏิบัติท่านอยู่ต่อมาจนครบปี เผอิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดตรัง เดินทางไปนมัสการพระอุปัชฌาย์รักษ์ พบสามเณรน้อยผู้มีสติปัญญาไหวพริบดี จึงของตัวไปให้รับราชการในตำแหน่งเสมียนตรา อยู่ที่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ท่านรับใช้ประเทศชาติในตำแหน่งเสมียนตรา อยู่ ๓ ปี เห็นว่าเป็นหนทางแห่งความทุกข์ยาก หาอะไรแน่นอนไม่ได้ ปราศจากความสุขอันมั่นคง ชีวิตท่านได้รับรสพระธรรม คำพร่ำสอนจาก อุปัชฌาย์รักษ์ ยังฝังลึกอยู่ในใจท่าน จึงลาออกจากราชการเมื่ออายุ ๒๐ ปี แล้วเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนา เตรียมตัวอุปสมบทเมื่ออายุย่างเข้าอายุ ๒๑ ปี

พ่อท่านซัง อุปสมบท เมื่อเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันพุธ พ.ศ. ๒๔๑๔ อุปสมบทที่วัดปัง บวช ณ ที่เดิมที่ท่านได้บวชเณร อุปัชฌาย์รักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านอาจารย์นาค เจ้าอาวาสวัดพัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านอาจารย์ทองดี วัดปัง เป็นพระอนุศาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สุวัณโณ เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงพ่อซัง ท่านไปศึกษาอยู่ในสำนัก อาจารย์นาค วัดพัง ศึกษาเพิ่มเติมทางด้านคาถาอาคมอยู่หนึ่งพรรษา  พ่อท่านซัง จึงกราบลาอาจารย์นาค ไปอยู่กับท่านอาจารย์โฉม เจ้าอาวาสวัดวัวหลุง เพื่อศึกษาคันถะธุระและอบรมวิปัสสนาธุระ กับอาจารย์ชูอาจารย์สด วัดวัวหลุงสรุปแล้วท่านมีอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิปัสสนา ไสยศาสตร์และพุทธศาสตร์แห่งเดียวถึงสามองค์ ท่านพยายามฝึกฝนสมาธิจิตท่องมนต์คาถา และธรรมะจนสามารถเทศนาสั่งสอนประชาชนให้ประพฤติปฏิบัติเป็นคนดีอยู่ในศีลธรรม
     
เมื่อหลวงพ่อซัง ท่านมีอายุพรรษาได้ ๑๑ พรรษาตำแหน่งสมภาร วัดวัวหลุงว่างลง พ่อท่านซังจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมภารสืบแทนอาจารย์ของท่าน  พ.ศ.๒๔๓๘ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรในท้องถิ่น พ.ศ.๒๔๔๑ พ่อท่านซังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงให้ปกครองวัด ๑๓ วัด ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่งไม่ว่าภาระหน้าที่นั้นจะยากลำบากเพียงใด สมัยก่อนไม่มีถนนไม่มีรถวิ่ง ต้องเดินรัดป่าตัดทุ่งนาป่าเขาไปสงเคราะห์ผู้ทุกข์ยาก กาลเวลาสืบต่อมาเมื่อ พระศรีธรรมมุณี (พระรัตนธัชมุณี) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ นครศรีธรรมราช ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฆลนครศรีธรรมราช  เห็นว่าพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง เป็นผู้มีความสามารถในการบริหารหมู่คณะสงฆ์ดี ปฏิบัติน่าเลื่อมใส  จึงให้ประทานตราตั้งเป็นพระครู เจ้าคณะแขวงเมื่อ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๔๕ ให้เป็นผู้ปกครองวัด ในอำเภอร่อนพิบูลย์ทั่วทุกวัด จนลุถึง พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับพระราชทานสมณศักด์เป็น พระครูอรรถธรรมรส

หลวงพ่อซัง บริหารคณะสงฆ์สืบต่อมาจนเจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุด โดยบูรณะถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ โรงเรียน ยังมีสภาพอันเก่าแก่ให้เห็นหลายแห่ง ในอำเภอร่อนพิบูลย์  ประชาชนพากันมาหาสู่ท่าน เพื่อขอพรจากท่าน ให้ท่านรดน้ำมนต์ ขอลูกอมชานหมาก และของที่ท่านแจกให้เป็นของที่ห่วงแหนกันมาก ครั้ง พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อซัง ชราภาพมากจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้โดยสะดวก จึงโปรดเกล้าให้เป็นกิตติมศักดิ์ พ้นจากตำแหน่งราชการ รวมเวลาที่ท่านได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าคณะแขวงอยู่ ๑๓ ปี เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๗๘ ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคชรามาตั้งแต่ต้นปี ต่อมาโรคได้กำเริมหนัก จนถึงวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ เวลา ๑๐.๒๐ น. ท่านมรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี

ที่มา : http://www.thammasatu.net/forum/index.php?topic=9787.0

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้