ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3461
ตอบกลับ: 9
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อาจารย์กัณหาอาญาผ้าดำ

[คัดลอกลิงก์]
บ้านป่าเมืองดอยดงหลวงนั้น อย่างที่ผมกล่าวมานานแล้วว่าเป็นเมืองปิด นอกจากจะมีชาวไทโซ่ปักหลักอยู่อาศัยมานานนับร้อยปีแล้ว ก็ยังเป็นแหล่งเคลื่อนไหวทางการเมืองในยุคต่างๆ เช่นมีถ้ำเสรีไทย เป็นพื้นที่ปลดปล่อยของลัทธิความเชื่อสังคมนิยม และก็เป็นพื้นที่แสวงหาความสงบของผู้ประพฤติธรรมตั้งแต่อดีตนับร้อยๆปีจนถึงปัจจุบันที่มีวัดป่า สำนักสงฆ์ป่ามากมายหลายแห่ง
พ่อลุงนา ลาภโพธิ์ ไวยาวัจกรผู้ให้ปากคำประวัติบางส่วนของเจ้าปู่ผ้าดำ
ในจำนวนนี้มีสองแห่งที่กลุ่มสกุลเฮ ของเฮฮาศาสตร์ 3 จะเดินทางไปเยี่ยมคารวะและชื่นชม วันนี้ขอแนะนำเจดีย์บรรจุธาตุของ "อาจารย์กัณหาอาญาผ้าดำ" หรือชาวไทโซ่เรียกว่า เจ้าปู่ผ้าดำ
องค์เจดีย์ หรือธาตุที่บรรจุอัฐฐิเจ้าปู่ผ้าดำ ที่บ้านมะนาว ต.พังแดง อ.ดงหลวง
จากการพูดคุยกับนายนา ลาภโพธิ์ ชาวย้อ นาแก สกลนคร อายุ 76 ปี ที่อพยพมากับพ่อแม่ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ และมาแต่งงานกับหลานของเจ้าปู่ผ้าดำที่บ้านมะนาวแห่งนี้ มีหน้าที่เป็นไวยาวัจกร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ช่วยจัดการเรื่องราวต่างๆตามประเพณีความเชื่อของพี่น้องไทโซ่ดงหลวงเกี่ยวกับเจ้าปู่ผ้าดำทั้งหมด
รูปปั้นเจ้าปู่ผ้าดำฝีมือช่างพื้นบ้าน
เรื่องราวของอาจารย์กัณหาอาญาผ้าดำ หรือ เจ้าปู่ผ้าดำ นี้ไม่มีบันทึกไว้แต่เล่าปากต่อปากต่อกันมา ซึ่งนับวันรายละเอียดก็จะจางหายลงไปตามวันเวลาของยุคสมัย เป็นธรรมดาของลักษณะประวัติศาสตร์บอกเล่า แต่พอสรุปได้ว่า เจ้าปู่ผ้าดำนั้นท่านมิใช่ชาวบรู หรือไทโซ่ แต่เป็นคนที่มาจากบ้านคำข่า นาตาล จากอำเภอเมือง สกลนคร มายึดเรือนป่าเขาดงหลวงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม โดยท่านห่มดำ หนวดเครายาว ผมยาว มีลักษณะเป็นฤษี  ชาวบ้านมีความเชื่อว่าท่านบรรลุธรรม
ท่านมีครอบครัว เล่ากันว่ามีลูกสาวสองคน ลูกผู้น้องชื่อนางมะลิแต่งงานและมีลูกชายคนหนึ่งชื่อแก้ว ซึ่งประพฤติเหมือนปู่คือไว้หนวดเครายาว ปฏิบัติธรรมแต่ห่มขาว ชาวบ้านจะเรียก "ผ้าขาวแก้ว"
ภาพเขียนชีวประวัติเจ้าปู่ผ้าดำฝีมือช่างพื้นบ้าน
เนื่องจากเจ้าปู่ผ้าดำอาศัยในพื้นที่แถบดงหลวงนี้เป็นพื้นที่ของชาวไทโซ่ เมื่อชาวบ้านมีความเชื่อว่าการปฏิบัติธรรมของท่านนั้นบรรลุธรรมชั้นสูง ต่างก็มาศรัทธามากมาย เพราะมีความมหัศจรรย์หลายประการที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคน ทำให้ไทโซ่ที่นับถือผีก็มานับถือเจ้าปู่ด้วยในขณะเดียวกันจนเกิดวันทำบุญเพื่อเจ้าปู่ขึ้นในวัน 14 ค่ำเดือน 5 ทุกปี พี่น้องไทโซ่จะแห่แหนกันมาทุกหมู่บ้านเพื่อเคารพสักการะเจดีย์เจ้าปู่ หรือธาตุ จะมีนางเทียมฟ้อนรำไปรอบองค์ธาตุ
ที่กุฏิหลังเดิมของท่านจะเก็บรักษาไม้เท้าศักดิสิทธิ วัน 14 ค่ำเดือน 5 เพียงวันเดียวเท่านั้นที่จะนำออกมาจากกุฏิ มาให้ผู้มีศรัทธากราบไหว้ ขอพร กัน แล้วก็เก็บตลอดปี จะไม่นำออกมาอีกเลยจนกว่าจะครบรอบปี
รอบเจดีย์จะมีภาพแบบพื้นบ้านบรรยายแบบง่ายๆ ถึงชีวประวัติท่านตั้งแต่เด็กจนสิ้นอายุ
ความอัศจรรย์สิ่งหนึ่งก็คือ มีพระชาวสกลนครรูปหนึ่งบวชเรียนและจำพรรษาอยู่แถบกรุงเทพฯ เกิดนิมิตเห็นเจ้าปู่ และบอกให้ช่วยสร้างกุฏิให้ พระรูปนั้นชื่อหลวงปู่อุดม ซึ่งท่านไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยินเรื่องของเจ้าปู่มาก่อน แต่ในนิมิตรนั้นเห็นเป็นสำคัญจึงออกตระเวนหาที่อยู่ของเจ้าปู่ผ้าดำ และมาพบจนได้ จึงบอกญาติโยมรวบรวมเงินทองมาสร้างกุฏิเป็นตึกสองชั้น และทุกปีก็จะพาญาติโยมมาทำบุญและคารวะเจ้าปู่ผ้าดำในวัน 14 ค่ำเดือน 5 จนท่านละสังขารไปแล้ว
ปัจจุบันเจ้าปู่ผ้าดำยังอยู่ในศรัทธาของชาวไทโซ่ สำหรับคนกลางคนขึ้นไป ส่วนรุ่นใหม่ก็เริ่มจางไป เหมือนกันทุกแห่งที่คนรุ่นใหม่เริ่มห่างไกลจากรากเหง้าของตัวเอง เจ้าปู่ผ้าดำยังเป็นองค์ในใจของไทโซ่ โดยเฉพาะบ้านติ้ว ที่ห่างออกไปจากบ้านมะนาวสัก 5 ก.ม. จะมีพิธีกรรมต่อเนื่องจากพิธีกรรมที่เจดีย์เจ้าปู่ที่บ้านมะนาว
ขอบคุณครับ
จังหวัดตัวเองแท้ๆ
เพิ่งจะรู้
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-10-25 06:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
sritoy ตอบกลับเมื่อ 2014-10-20 16:09
ขอบคุณครับ
จังหวัดตัวเองแท้ๆ
เพิ่งจะรู้ ...

แนะนำไปนมัสการให้ได้นะครับ
รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2014-10-25 06:38
แนะนำไปนมัสการให้ได้นะครับ

ครับตอนกลับจะลองไปดู
sritoy ตอบกลับเมื่อ 2014-10-28 19:29
ครับตอนกลับจะลองไปดู

ไปมาหรือยังครับพี่หมอต้อย
หลวงปู่พลพินิจ ท่านสร้างเจดีย์ถวายต้นสายครูบาอาจารย์ของท่าน

หลวงปู่พลพินิจ ภายถ่ายของท่านมีน้อยมาก

เพราะถ้าท่านไม่อนุญาติจะถ่ายภาพไม่ติด

sritoy ตอบกลับเมื่อ 2014-10-28 19:29
ครับตอนกลับจะลองไปดู

ไปให้ได้นะตำนานความศักดิ์สิทธิ์หมู่เฮา
   รับทราบครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้