ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5252
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้นจำปาขาว 700 ปี

[คัดลอกลิงก์]
ต้นจำปาขาว 700 ปี ที่พิษณุโลก        สถานที่ คือ ที่ วัดกลาง ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย ห่างจาก ที่ว่าการ อำเภอนครไทย มีต้นจำปาขาว ซึ่งชาวนครไทย เชื่อกันว่า มีอายุกว่า 700 ปี มีตำนานว่าเป็นต้นไม้ ที่พ่อขุนบางกลางหาว ตั้งสัตยาธิฐานว่า ถ้าตีเมือง สุโขทัยสำเร็จ ขอให้ต้นจำปาขาวไม่ตาย และให้ออกดอก เป็นสีขาว ซึ่งก็เป็นตาม ดั่งคำอธิฐาน       ต้นจำปาขาวมีความแตกต่างจากต้นจำปาอื่นๆ คือ ต้นจำปาทั่วๆไปจะมีดอกเป็นสีเหลือง แต่จำปาต้นนี้ออกดอกเป็นสีขาวนวล มีกลิ่นหอมฟุ้งทั่วบริเวณวัด และถ้านำกล้าจำปาขาวไปปลูกที่อื่นก็จะมีดอกเป็นสีเหลืองเหมือนต้นจำปาทั่วไปหรือจะกลายพันธุ์ จะมีเฉพาะต้นที่ขึ้นใกล้ที่จะมีลักษณะเหมือนต้นจำปาขาว ต้นแม่สิ่งที่ประทับใจ คงเป็นอายุของต้นจำปาขาวต้นนี้แหละ 700 กว่าปีแล้วมั้ง คงมีอะไรให้พวกเราได้ศึกษาจากต้นจำปาต้นนี้ เหมือนเป็นต้นไม้คู่บ้าน คู่เมืองเลยก็ว่าได้ถ้าเพื่อนๆคนไหนอยากเห็นของจริงก็แวะไปเที่ยวได้นะจ๊ะ

รูปตัวอย่าง
อันนี้จะมีไม้ซุงค้ำยันต้นไว้จ๊ะ


อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

ขอบจัย(ใจ)ที่อ่านนะ


ที่มา..https://www.l3nr.org/posts/390187

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-10-27 09:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เปิดตำนาน"หลวงพ่อยม"  พระศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดตายม(5)

มุมพระเก่า
อภิญญา



บนซ้าย-พระนาคปรกเนื้อชินเงิน กรุนาตายม

ล่างซ้าย-พระบรมรูปพ่อขุนบางกลางท่าว

ขวา-ประติมากรรมต้นแบบพระบรม

ราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

นครไทย เป็นดินแดนที่มีคติชนวิทยา ตลอดจนวิถีชีวิตและประเพณีอันดีงามที่ผูกพันกับ "พ่อขุนบางกลางท่าว" ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย มากที่สุด จึงมีการสร้าง "พระบรมรูปพ่อขุนบางกลางท่าว" พระองค์แรกของประเทศ ไทย เป็นปูนปั้น เมื่อปีพ.ศ.2510 ที่หน้าต้นจำปาขาว ต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่ วัดกลาง นครไทย ซึ่งประดิษฐาน "หลวงพ่อนาค" พระพุทธรูปปางนาคปรกศิลา (หินทรายแดง) สมัยลพบุรี และพบศิลปะพระเครื่องร่วมสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น อาทิ พระซุ้มเสมาทิศ หรือซุ้มอรัญญิก เนื้อชินเงิน พระลีลา เนื้อชินเงิน ตลอดจน พระยอดขุนพลเนื้อดิน สีแดงอมส้ม ซึ่งกรุแตก ปีพ.ศ.2514 ปัจจุบันแสวงหาได้ยากยิ่งนัก



มีมุขปาฐะ ที่ชาวนครไทยเล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณว่า พ่อขุนบางกลางท่าว ทรงซุ่มฝึกไพร่ พลเมื่อครั้งครองเมืองบางยาง (นครไทย) เตรียมการกู้ชาติ หลังจากทราบว่า ขอมสบาดโขญลำพงยึดสุโขทัยศรีสัชนาลัยได้ หลังจากสิ้นพ่อขุนศรีนาวนำถมพระราชบิดาของพ่อขุนผาเมืองผู้เป็นพระสหาย และพระนางเสือง พระมเหสีของพระองค์ ทรงตั้งสัจอธิษฐานปลูกเสี่ยงทายไว้ ก่อนยกทัพออกจากที่ฝึกฝนไว้ที่บางยาง ไปขับไล่ขอม และเสี่ยงทายว่า การศึกในครั้งนี้แม้จะได้ชัยชนะแล้วไซร้ ขอให้จำปาขาวเจริญงอกงาม หากพลาดท่าปราชัย ขอให้ต้นจำปาเหี่ยวเฉาลงเถิด และเจริญงอกงาม ออกดอกสีขาว เป็นนิมิตมงคล และยืนยงคงอยู่มากว่า 700 ปี แม้ต้นจำปาขาว และวัดกลางศรีพุทธาราม ตลอดจนเมืองนครไทย ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน และถูกข้าศึกเผาทำลาย ในครั้งเสียกรุงศรี อยุธยา จนเป็นโพรงผุมาจนทุกวันนี้



ชาวนครไทยถือว่าเป็น ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองนครไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาตรวจราชการที่เมืองนครไทย เมื่อปีพ.ศ.2468 ได้ทรงบันทึกเรื่องราวของต้นจำปาขาวว่า "พ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง ทรงปลูกไว้เป็นอนุสรณ์คู่บ้านคู่เมืองของเมืองบางยาง ซึ่งปลูกไว้ที่วัดๆ หนึ่งทางทิศตะวันตกของอุโบสถ"



วัดดังกล่าวนี้ ปัจจุบันคือ "วัดกลางศรีพุทธาราม"



ดังนั้นจึงประมาณได้ว่า ต้นจำปาขาวปลูกก่อนปีพุทธศักราช 1806 หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุล พระธิดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จมาอำเภอนครไทย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2498 ได้ตรัสถาม กำนันยงค์ จินตนา ว่า "ต้นจำปาขาวที่อยู่ทางทิศตะวันตก ของอุโบสถวัดกลาง ห่าง 7 วา นั้นยังอยู่ไหม" และได้เสด็จทอดพระเนตรต้นจำปาขาว



ชาวนครไทยจึงผูกพันต้นจำปาขาวมาแต่โบราณ โดยถือเอาวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 เป็นวันทำพิธีสักการบูชาต้นจำปาขาว รำลึกถึงพ่อขุนบางกลางท่าวและประเพณีปักธงชัยยอดเขาช้างล้วง จนปีพุทธศักราช 2497 ทางราชการจึงได้เข้ามาส่งเสริมประเพณีนี้อย่างเป็นทางการ ส่วนในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ชาวนครไทยจะนำธง 3 ผืน ขึ้นไปปักบนยอดเขาช้างล้วง อันเป็นประเพณีพิธีกรรมผูกพันกับพ่อขุนบางกลางท่าว หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระปฐมบรมกษัตริย์ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้ และเชื่อกันว่า ชายใดได้ไปเดินลอดโพรง วนรอบต้นจำปาขาว 3 รอบ จะต้องมนต์ ได้เป็นเขยนครไทย



จนมีตำนานความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เล่าขานเลื่องลือไปทั่วจนปัจจุบัน



กล่าวคือ นายดอกบัว วรรณบุตร อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนชำนาญการพิเศษ ประติมากรผู้ปั้นพระบรมรูปพ่อขุนบางกลางท่าว องค์แรกของประเทศไทย เดิมเป็นชาวพระนครศรีอยุธยา รับราชการเป็นช่างเขียนประจำกองโรงงานสรรพสามิต กรุงเทพฯ (พ.ศ.2504-2508) ได้ฝันเห็นชายโบราณแต่งกายนักรบ เกล้ามวยผม ท่าทางดูสง่างาม น่าเกรงขาม ชวนให้ไปอยู่เมืองโบราณด้วย ท่านบอกว่า เป็น "พ่อขุน" จึงตัดสินใจตามท่านไป เห็นเมืองตั้งอยู่กลางป่าดงดิบ ดูทะมึนๆ และพาเดินเข้าไปในเมือง ความฝันที่เหมือนจริงทำให้แปลกใจ



หลังจากนั้นไม่กี่วัน จังหวัดพิษณุโลกก็ประกาศผลการสอบบรรจุเข้ารับราชการครู ผลปรากฏว่า นายดอกบัว สอบติดที่ 48 เกือบสุดท้าย วันที่ 1 ธันวาคม 2508 นายมงคล ศรีไพรวัลย์ ศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก ได้เรียกครูที่สอบบรรจุได้เข้าปฐมนิเทศและเลือกโรงเรียน คนที่ติดเกือบสุดท้ายไม่มีที่เลือก ยังเหลือที่อำเภอบางระกำ 2 ตำแหน่ง อำเภอนครไทย 2 ตำแหน่ง คือ โรงเรียนบ้านป่าหวาย และโรงเรียนบ้านนาจาน ต.ชาติ ตระการ เพื่อนชวนไปบางระกำ แต่ไม่ไปเพราะไม่มีเบี้ยกันดาร จึงตัดสินใจเลือกบรรจุเป็นครูเทียบจัตวา ที่โรงเรียนบ้านนาจาน เงินเดือน 450 บาท เบี้ยกันดาร 150 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท เท่ากับอัตราเงินเดือนที่รับราชการอยู่เดิม เป็นครูอยู่นาจานได้ 1 ปี



นายแนบ บุญญานันต์ นายอำเภอนครไทย และนายนิรันด์ ทองคำพงษ์ ศึกษาธิการ อ.นครไทย ได้เรียกตัวให้เข้ามาช่วยปั้นพระบรมรูปพ่อขุนบางกลางท่าว และได้อธิษฐานจิตขอพระบารมีของพ่อขุนบางฯ และขอพรว่า "ขอให้ได้ภรรยาเป็นสาวนครไทยสักคน จะได้อยู่รับใช้พ่อขุนบางฯ ตลอดไป" จึงเริ่มลงมือปั้นพระบรมรูปพ่อขุนบางกลางท่าว ด้วยปูนประดิษฐานที่หน้าต้นจำปาขาว วัดกลาง ได้แล้วเสร็จประมาณ 25 วัน ท่านศึกษาฯนิรันด์ก็ได้ขอภรรยาเป็นสาวนครไทยให้จริงๆ จึงได้เป็นเขยนครไทยสมที่อธิษฐานขอพ่อขุนฯ ไว้ จึงนับว่าเป็นแรงบันดาลใจที่ได้เข้ามาอยู่ "เมืองบางยางในอดีต" โดยไม่รู้ตัว


ที่มา..http://www.khaosod.co.th
ขอบคุณครับข้อมูลดีๆที่ไมีเคยรูัมาก่อนเกี่ยวกับบูรพกษัตริย์ไทยและตำนานต้นจำปาขาวมีโอกาสจะแวะไปสักการะครับ

สาธุ
ถ้าตำนานนี้เป็นเรื่องจริง แสดงว่าพ่อขุนบางกลางหาวท่านเป็นผู้มีบุญบารมีมากท่านหนึ่งเลยนะครับ น้อยคนที่จะอธิษฐานส่งผลได้ยาวนานขนาดนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้