ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3714
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

กลยุทธชนะศึก

[คัดลอกลิงก์]
๑. กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่คิดหรือมองข้ามสิ่งใด ๆ ก็ตาม ที่คิดว่าตนเองนั้นได้ตระเตรียมการไว้พร้อมสรรพแล้ว ก็มักจะมีความประมาทเลินเล่อและมองข้ามศัตรูไปอย่างง่ายดาย พบเห็นสิ่งใดที่มองเห็นเสมอในยามปกติก็ไม่บังเกิดความสงสัยหรือติดใจในสิ่ง นั้น เกิดความชะล่าใจในตนเอง การบุกเข้าโจมตีศัตรูโดยที่ศัตรูไม่ทันรู้ตัวและตั้งระวังทัพได้ทันนับว่า เป็นการได้ชัยชนะในการต่อสู้มาแล้วครึ่งหนึ่ง สามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดาย การปกปิดอำพรางซ่อนเร้น จึงเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในการทำศึกสงคราม
มรรควิถีแห่งการใช้ยุทธวิธีในการต่อสู้กับศัตรูที่แข็งแกร่งกว่า เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูที่เข้มแข็งกว่าควรใช้วิธี "นบน้อมถ่อมตน" ปฏิบัติตนอย่างนอบน้อมทำให้ศัตรูเกิดความเหลิงลำพอง หย่อนคลายความระมัดระวัง แล้วจงรอคอยจนกระทั่งได้จังหวะและโอกาสเหมาะสมจึงรุกเข้าโจมตีให้พินาศ ย่อยยับ ตำราพิชัยสงครามซุนวูกล่าวไว้ว่า "พึงถ่อมตัวพินอบพิเทาเสริมให้ศัตรูโอหังได้ใจ" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลไปใช้ได้แก่ลิบองที่ปลอมตนเป็นพ่อค้าเดินเรือสำเภา ลอบบุกเข้าโจมตีเกงจิ๋วโดยที่กวนอูไม่รู้ตัวแม้แต่น้อย

ตัวอย่างกลยุทธ์
เมื่อคราวที่จูกัดเหลียงวางกลอุบายยึดเอาเกงจิ๋วจากซุนกวนมาให้เล่าปี่ ได้มอบหมายให้กวนอูเป็นผู้รักษาเมือง มีหน้าที่คอยสอดส่องตรวจตราดูแลและรักษาเกงจิ๋วไว้ ซุนกวนเมื่อเสียเกงจิ๋วและเสียรู้ให้แก่จูกัดเหลียงก็โกรธแค้น จึงส่งกองทัพมาหมายจะยึดเอาเกงจิ๋วคืนเป็นของตนโดยมอบหมายให้ลิบองเป็นแม่ ทัพ คุมทหารพันนายจากกังตั๋งไปเผชิญหน้ากับกวนอูที่ลกเค้าซึ่งเป็นเขตแดนติดต่อ กัน ขณะนั้นกวนอูนำทัพยกไปตีซงหยงได้สำเร็จก็เกิดความระแวงลิบองที่ตั้งทัพเผชิญ หน้ากัน เกรงลิบองจะนำกำลังทหารเข้ายึดเกงจิ๋วคืน จึงสั่งการให้ทหารปลูกร้านเพลิงเรียงรายตามริมฝั่งแม่น้ำเริ่มจากด่านลกเค้า เรื่อยมาจนถึงเกงจิ๋ว ระยะทางให้มีความห่างไกลกันประมาณสองร้อยถึงสามร้อยเส้น พร้อมสั่งให้คนอยู่ดูแลรักษามิได้ขาด
กวนอูสั่งการให้ทหารอยู่ ประจำจุดรักษาร้านเพลิงจุดละห้าสิบคน ถ้าแม้นลิบองนำทัพเข้ายึดเกงจิ๋วในตอนกลางคืนให้จุดเพลิงให้สว่าง ถ้าแม้นนำทัพมาตอนกลางวันให้สุมจนเกิดควันขึ้น ควันจากเพลิงจะเป็นสัญญาณให้กวนอูนำทัพกลับมาช่วยได้ทัน กวนอูคุมหารบุกตีฝ่าไปจนถึงอ้วนเสียและฆ่าบังเต๊กนายทหารของโจโฉตาย สุมาอี้จึง ออกกลอุบายในการศึกแก่ซุนกวนให้นำทัพไปเพื่อยึดตีเกงจิ๋วคืน ลิบองที่ตั้งทัพเผชิญหน้ากวนอูรู้ถึงการที่กวนอูจัดตั้งทัพระวังเมืองอย่าง รัดกุมและเข้มแข็ง จึงหาโอกาสบุกเข้ายึดเกงจิ๋วคืนโดยวางกลอุบายแสร้งทำเป็นป่วยไข้อย่างหนักจน ไม่สามารถนำทัพได้
ซุนกวนทราบข่าวลิบองล้มป่วยก็ไม่สบายใจ ลกซุนจึงกล่าวแก่ซุนกวนว่า "ซึ่งลิบองป่วยนั้นเป็นอุบาย เห็นหาป่วยจริงไม่" ซุนกวนจึงให้ลกซุนทำทีไปเยี่ยมดูอาการป่วยของลิบองเพื่อให้รู้แน่นอนว่าเป็น กลอุบาย ครั้นรู้แจ้งว่าลิบองแกล้งป่วยจากการที่กวนอูตระเตรียมทหาร ปลูกร้านเพลิงรายตามแม่น้ำ ป้องกันบ้านเมืองเป็นมั่นคง ลกซุนก็แสร้งหัวเราะพร้อมกับออกอุบายให้แก่ลิบองในการยึดครองเกงจิ๋วว่า "ซึ่ง เมืองเกงจิ๋วตระเตรียมทหารแลจัดแจงเมืองไว้ทั้งนี้ เพราะกวนอูคิดวิตกอยู่ด้วยท่านมาตั้งอยู่ที่นี่จึงไม่ไว้ใจ ถ้าท่านรู้อุบายทำเป็นป่วยไปเสียจากที่นี้แลจัดแจงให้ผู้อื่นมาอยู่แทน แล้วให้พูดสรรเสริญกวนอู กวนอูก็จะทะนงใจจะอยู่รบเอาเมืองอ้วนเซียให้ได้ ไม่คิดระวังหลัง เราจึงคิดวกไปตีเอาเมืองเกงจิ๋วก็จะได้โดยง่าย" ลิบองได้ยินกลอุบายของลกซุนก็ดีใจ จึงแสร้งทำป่วยต่อไปและขอให้ซุนกวนแต่งตั้งลกซุนเป็นแม่ทัพดูแลกองทัพแทนตน
เมื่อลกซุนที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพแทนลิบองเดินทางมาถึงกองทัพ ก็มอบหมายให้ม้าใช้ถือหนังสือและแต่งเครื่องบรรณาการไปขอผูกมิตรไมตรีต่อกวนอูความว่า "บัดนี้ซุนกวนให้ข้าพเจ้าออกมารักษาค่ายลกเค้าแทนลิบอง ข้าพเจ้าขัดมิได้ก็ออกมาอยู่ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าด้วย" กวนอูเห็นลกซุนได้รับแต่งตั้งเป็นแม่ทัพแทนลิบอง จึงถามผู้ถือหนังสือว่า "ลิบองซึ่งรักษาอยู่ก่อนนั้นไปไหนเล่า" ผู้ถือหนังสือจึงตอบว่า "ลิบองนั้นป่วยอยู่ จึงให้ลกซุนออกมารักษาแทน" กวนอูจึงกล่าวแก่ผู้ถือหนังสือว่า "ซุนกวนนี้ก็เป็นคนดี เหตุไฉนจึงใช้ให้ลูกเด็กออกมาอยู่ดังนี้" ผู้ถือหนังสือจึงว่า "ลกซุน ให้ข้าพเจ้าถือหนังสือกับสิ่งของทั้งปวงมาคำนับท่าน จะให้ท่านทั้งสองฝ่ายเป็นไมตรีแก่กัน ขอท่านได้รับเอาสิ่งของทั้งนี้ไว้ด้วยเถิด"
กวนอูนั้นเป็นผู้ที่หยิ่งต่อผู้ที่เข้มแข็งกว่าตนเอง รวมทั้งไม่ทำร้ายผู้ที่อ่อนแอกว่า เห็นว่าลกซุนอายุยังน้อยรวมทั้งมีความอ่อนน้อมถ่อม มีสัมมาคาราวะในตนก็นึกประมาท ไม่ติดใจสงสัยในตัวลกซุนที่แต่งเครื่องบรรณาการมาขอผูกมิตรไมตรีรวมทั้งเลิก ระแวงทหารจากกังตั๋งที่จะบุกเข้ายึดเกงจิ๋ว ทำให้การป้องกันรักษาเกงจิ๋วที่รัดกุมและแข็งแกร่งเกิดการหละหลวม ลิบองที่แสร้งป่วยจนไม่สามารถนำทัพได้สบโอกาสยึดเกงจิ๋วคืน จึงจัดแจงนำกำลังทหารสามหมื่นลงซุ่มไว้ในเรือแปดสิบลำ ให้ทหารซึ่งชำนาญในการเรือใส่เสื้อขาว ทำเป็นเพศลูกค้าสำหรับแจวเรือ จึงให้ฮันต๋ง จิวท่าย เจียวขิม จูเหียน พัวเจี้ยง ชีเซ่งและเตงฮองเป็น นายทหารเจ็ดคน ตนเองปลอมตัวเป็นพ่อค้าและนำทัพเข้ายึดร้านเพลิงทีละแห่ง จากด่านลกเค้าจนถึงเกงจิ๋วโดยที่ไม่มีผู้ใดรู้ตัวแม้แต่คนเดียว
ทหารลิบองแสร้งทำเป็นลูกค้าเรือสำเภาถูกพายุซัดเข้ามา ทำทีขออาศัยร้านเพลิงเพื่อหลบพัก ทหารซึ่งรักษาร้านเพลิงก็หลงเชื่อจึงให้จอดเรืออาศัย ครั้นถึงเวลาประมาณทุ่มเทษ ลิบองจึงสั่งการให้ทหารในเรือสำเภาล้อมจับทหารซึ่งรักษาร้านเพลิงลงเรือสิ้น ทุกร้าน และปลอบเอาใจทหารกวนอูซึ่งจับมาแต่ร้านเพลิงนั่นว่า "ท่านจงอยู่ทำราชการศึกด้วยเราเถิด เราจะปูนบำเหน็จแก่ท่านให้ถึงขนาด" ลิบองออกอุบายเกลี้ยกล่อมทหารกวนอูที่ถูกควบคุมตัวเป็นเชลยให้ร้องเรียก เพื่อนทหารที่อยู่ภายในเกงจิ๋วเพื่อเปิดประตูให้ ทหารกวนอูไม่ทันระวังและไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะกลายเป็นทหารของศัตรูจึงยอม เปิดประตูรับ ลิบองจึงนำทัพเข้ายึดเกงจิ๋วคืนอย่างง่ายดาย ทำให้กวนอูต้องกลอุบายของลิบองและลกซุนจนเสียเกงจิ๋วให้แก่ลิบองด้วยความ ประมาทและชะล่าใจในการป้องกันรักษาเมือง กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลหรือหมานเทียนกว้อไห่ของลิบอง ก็ประสบความสำเร็จในการยึดเอาเกงจิ๋วคืนให้แก่ซุนกวนและเอาชนะกวนอูได้อย่าง งดงาม
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-18 16:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๒. กลยุทธ์ล้อมเวยช่วย เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูรวบรวมกำลังทหารและไพร่พลไว้เป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้เกิดกำลังและความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น ควรที่จะใช้กลยุทธ์ในการดึงแยกศัตรูให้แตกออกจากกัน เพื่อให้กำลังไพร่พลทหารกระจัดกระจาย คอยระแวดระวังมีความห่วงหน้าพะวงหลังแล้วจึงบุกเข้าโจมตี ตามความหมายของตำราพิชัยสงครามคือ การบุกเข้าโจมตีในจุดที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย โจมตีในจุดที่ศัตรูไม่ได้เตรียมการตั้งรับและคอยระวังป้องกัน ย่อมถือว่าได้เปรียบและได้รับชัยชนะมาแล้วครึ่งหนึ่ง
ในการทำศึกสงคราม การบุกเข้าโจมตีศัตรูจะบุกเข้าทางด้านหน้า ซึ่งเป็นเพียงกลอุบายหลอกล่อให้ศัตรูหลงทิศและนำกำลังบุกเข้าโจมตีทางด้าน หลัง การแสร้งบุกโจมตีทางด้านตะวันออกแต่จริงแล้วบุกเข้าโจมตีทางด้านตะวันตก การทำให้ศัตรูคาดเดาแผนการรบไม่ถูก ทำให้เกิดความสับสนในการวางกำลังป้องกันฐานทัพ พึงหักเอาในขณะที่ศัตรูเป็นฝ่ายที่ไม่ได้เตรียมความพร้อม เข้าจู่โจมในยามที่ศัตรูไม่ได้คาดคิด ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า "เมื่อเห็นจุดอ่อนเปราะของศัตรู เราต้องใช้กลยุทธ์พิสดารโจมตี" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าวไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกให้โจโฉนำทัพไปรบกับซุนกวน และบุกเข้ายึดฮันต๋งจากโจโฉได้สำเร็จ

ตัวอย่างกลยุทธ์
เมื่อคราวที่โจโฉยกทัพไปตีฮันต๋งได้สำเร็จ กิตติศัพท์ความเก่งกาจสามารถของโจโฉก็เลื่องลือกระฉ่อนมาถึงเสฉวน ในขณะนั้นเล่าปี่พึ่ง จะเข้ายึดครองเสฉวนได้ไม่นาน ราษฏรภายใต้การปกครองพากันหวาดกลัวโจโฉ เกรงจะต้องเสียเสฉวนให้แก่โจโฉสืบต่อไป บ้านเมืองยังไม่ปกติและมีความเข้มแข็ง เล่าปี่จึงปรึกษากับจูกัดเหลียงเพื่อหาทางแก้ไขความหวาดกลัวของราษฏร จูกัดเหลียงจึงวางกลอุบายไม่ให้โจโฉยกทัพมาตีเสฉวนและอธิบายให้เล่าปี่เข้า ใจว่า "โจโฉนั้นยังกริ่งเกรงซุนกวนอยู่ จึงให้แฮหัวตุ้นกับเตียวเลี้ยวอยู่ รักษาหับป๋า เมื่อโจโฉยกมาตีฮันต๋งก็เอาแฮหัวตุ้นมาด้วย ขอให้แต่งผู้มีสติปัญญาไปว่ากล่าวแก่ซุนกวนว่า ท่านจะให้กังแฮ เตียงสา ฮุยเอี๋ยง แล้วยุยงให้ซุนกวนยกมาตีหับป๋า โจโฉรู้ก็จะเป็นกังวลเลิกทัพกลับไป"
เล่าปี่จึงมอบหมายให้อีเจี้ยไป เป็นทูตชี้แจงข้อเสนอต่อซุนกวน ซึ่งซุนกวนเห็นดีงามด้วยกับข้อเสนอของเล่าปี่ จึงนำทัพยกไปตีหับป๋า โจโฉเมื่อทราบเรื่องการบุกหับป๋าก็ตกใจรีบเลิกทัพจากฮันต๋งกลับไปเตรียมรับ มือซุนกวนแทน เลิกล้มแผนการที่จะไปตีเสฉวนของเล่าปี่ ทัพของโจโฉและซุนกวนทำศึกสงครามอยู่ นานก็ไม่สามารถเอาชนะกันได้ จนกระทั่งยอมเลิกทัพกันไปเอง เล่าปี่จึงมีโอกาสสะสมกำลังทหารของตนเองและยกทัพไปตีฮันต๋งในเวลาต่อมา กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าวหรือเหวยเวยจิ้วจ้าวของจูกัดเหลียง ก็ประสบความสำเร็จในปกป้องเสฉวนของเล่าปี่และสามารถนำทัพไปตีฮันต๋งได้อย่าง งดงา
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-18 16:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓. กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีความเข้มแข็ง ไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือเอง พึงยืมกำลังและไพร่พลทหารของผู้อื่นเป็นฝ่ายกำจัดศัตรู เพื่อเป็นการรักษากำลังและไพร่พลทหารของตนเองไว้สำหรับการศึกอื่น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่หลอกให้โจโฉฆ่าซัวมอและเตียวอุ๋นสองแม่ทัพเรือของตนเองในคราวศึกเซ็กเพ็กระหว่างเล่าปี่และซุนกวน

ตัวอย่างกลยุทธ์
เมื่อคราวที่โจโฉยกทัพไปตีเกงจิ๋วได้จากเล่าจ๋อง ก็นำกำลังทหารหมายโจมตีกังตั๋งของซุนกวนเป็นลำดับต่อไป โจโฉมีทหารในกองทัพเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเหนือ ชำนาญการรบทางบกไม่ชำนาญการรบทางน้ำ โจโฉมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยซัวมอและเตียวอุ๋น นายทหารชาวเกงจิ๋วเป็นแม่ทัพช่วยในการทำศึกทางน้ำ และเป็นผู้ควบคุมฝึกสอนทหารโจโฉให้ชำนาญการเดินทัพทางเรือ จิวยี่ทราบข่าวการเตรียมทัพเรือของโจโฉจึงลอบมาสังเกตการณ์ยังค่ายทหาร และเมื่อเห็นการฝึกทหารของซัวมอและเตียวอุ๋น จิวยี่เห็นจะปล่อยคนทั้งสองไว้แก่โจโฉต่อไปเกรงจะเกิดภัยแก่ตัวในศึกครั้งนี้ จึงหาทางวางแผนกำจัดเสียให้สิ้นซาก
โจโฉส่งเจียวก้านให้ มาเกลี้ยกล่อมจิวยี่หมายทำราชการด้วย จิวยี่จึงวางกลอุบายซ้อนแผนกลหลอกใช้เจียวก้านในการกำจัดซัวมอและเตียวอุ๋น โดยพาเจียวก้านกลับบ้านและให้กินโต๊ะก่อนแสร้งทำเป็นเมามายไม่ได้สติ จิวยี่พาเจียวก้านไปนอนยังเตียงเดียวกันในห้อง เจียวก้านลอบเห็นจดหมายลับที่จิวยี่เขียนและวางไว้จึงหยิบออกอ่านโดยมีเนื้อ ความในจดหมายว่า "ซัวมอและเตียวอุ๋นเอาใจออกห่าง และจะตัดศีรษะโจโฉมาให้" เมื่อเจียวก้านอ่านจดหมายลับของจิวยี่จบก็ดีใจ รีบนำจดหมายนั้นมามอบให้แก่โจโฉหวังความดีความชอบแก่ตน
โจโฉไม่เท่าทันแผนกลอุบายของจิวยี่ เมื่อได้อ่านจดหมายลับจากเจียวก้านก็โกรธแค้นจึงสั่งประหารซัวมอและเตียว อุ๋นทันที แต่ภายหลังได้แลเห็นศีรษะของแม่ทัพเรือทั้สอง โจโฉก็รู้ว่าตนเองนั้นต้องกลอุบายของจิวยี่ที่สั่งฆ่าคนของตนที่เป็นแม่ทัพ และชำนาญในการเดินเรือ เมื่อโจโฉไม่มีซัวมอและเตียวอุ๋นในการทำศึกทางเรือ ก็ถูกจูกัดเหลียงและจิวยี่เผากองทัพเรือจนพ่ายแพ้ยับเยินในเวลาต่อมา เจี้ยเตาซาเหรินหรือกลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนของจิวยี่ ก็ประสบความสำเร็จในตัดกำลังสำคัญในการนำทัพเรือของโจโฉ ทำให้ได้รับชัยชนะได้อย่างงดงาม
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-18 16:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๔. กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังคงมีความเข้มแข็ง กำลังไพร่พลทหารยังคงแข็งแกร่งยากจะต่อสู้ ก็ไม่ควรจะเข้าปะทะโดยตรงด้วยแรงและพละกำลังที่มีอยู่ แต่ยามใดที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอในกองทัพต้องรีบฉกฉวยโอกาสนำกำลังบุกเข้าโจม ตีโดยเร็ว เพื่อเป็นการข่มขวัญและป้องกันไม่ให้ศัตรูหวนกลับมาแข็งแกร่งดั่งเดิม กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเป็นการใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ให้ระยะเวลาเป็นการบั่นทอนกำลังและจิตใจของศัตรู ฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์จากเดิมที่กลายเป็นรองหรือเสียเปรียบให้กลายเป็นฝ่าย ได้เปรียบเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ
ในสามก๊กยามเกิดศึกสงคราม กองทัพทุกกองทัพต่างใช้กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย เพื่อหาโอกาสเหมาะในการบุกเข้าโจมตีศัตรูยามเพลี่ยงพล้ำอยู่ตลอดเวลา ในการทำศึกสงคราม แก่นหลักสำคัญของคำว่า "สถานการณ์" หมายถึงการรู้จักใช้จังหวะหรือสถานการณ์ที่ได้เปรียบให้เป็นประโยชน์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ศัตรูอาจพ่ายแพ้ในการศึก ต้องรีบฉกฉวยโอกาสนำกำลังเข้ากระหน่ำโจมตีกองทัพของศัตรูให้พินาศย่อบยับ สถานการณ์ที่เป็นฝ่ายพลิกผันได้เปรียบ ความสามารถในการจับจังหวะรู้สถานการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำศึกสงคราม ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า "จงอาศัยสถานการณ์เข้าทำลายศัตรู" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยไปใช้ได้แก่ลกซุนที่แนะนำซุนกวนให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนยกทัพไปตีลกเอี๋ยง

ตัวอย่างกลยุทธ์
เมื่อคราวที่โจฮิวพ่ายแพ้ศึกสงครามแก่ลกซุน ถูกตีทัพแตกกระจายต้องถอยร่นและหลบหนีเอาตัวรอด สูญเสียกำลังทหารและไพร่พลเป็นจำนวนมาก เสบียงอาหารและอาวุธขาดแคลน ทหารขาดขวัญและกำลังใจในการทำศึกสงคราม ลกซุนจึงแนะนำให้ซุนกวนแต่งหนังสือให้ ม้าใช้นำไปให้แก่พระเจ้าเล่าเสี้ยน ให้รีบนำกำลังทหารยกทัพไปตีลกเอี๋ยงในขณะที่กำลังทหารของวุยก๊กกำลังอ่อนแรง ข่าวการยกทัพไปตีลกเอี๋ยงล่วงรู้ถึงจูกัดเหลียงซึ่งรอคอยจังหวะอยู่ ทันทีที่ทราบข่าวจากพระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงรีบนำกำลังทหารยกทัพไปทางตันฉองทันที
แต่การจะเข้าถึงตันฉองจะต้องผ่านด่านที่เฮ็กเจียวเฝ้า อยู่ จูกัดเหลียงนำทัพทหารไปเป็นจำนวนมากเพื่อหวังตีหักด่านตันฉอง แต่เฮ็กเจียวมีฝีมือในเชิงยุทธ์และเชี่ยวชาญในการรบ จึงสามารถจัดทัพตั้งรับทัพของจูกัดเหลียงไว้ได้ด้วยกำลังทหารภายใต้การ ปกครองไม่ถึงพันนาย ซึ่งทัพทหารที่จูกัดเหลียงนำมานั้นมีจำนวนมากกว่านับร้อยเท่า เฮ็กเจียวสามารถรักษาด่านตันฉองไว้ได้นานถึงยี่สิบวันจนทัพหนุนจากเมืองหลวง มาช่วย จูกัดเหลียงที่พยายามตีหักด่านตันฉองเริ่มขาดแคลนเสบียงอาหาร ประกอบกับเฮ็กเจียวรักษาด่านได้อย่างแข็งแรง จึงไม่สามารถหักตีด่านได้สำเร็จและยอมถอยทัพกลับจ๊กก๊ก กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยหรืออี่อี้ไต้เหลาของลกซุนที่ไม่ต้องใช้กำลังทหารและ ไพร่พลของตนเองในการทำศึก ก็ประสบความสำเร็จในการรักษากำลังทหารและไพร่พลของตนเองไว้ได้อย่างงดงาม
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-18 16:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๕. กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอและย่ำแย่ ควรรีบฉกฉวยโอกาสนำทัพเข้าโจมตีเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือมอบหมายให้แม่ทัพหรือทหารที่มีความเข้มแข็งนำทัพเข้าโจมตี ซึ่งเป็นการฉกฉวยเอาผลประโยชน์จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรง และยุ่งเหยิง นำความดีความชอบมาเป็นของตน ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ตีชิงตามไฟไปใช้ได้แก่ตั๋งโต๊ะที่ฉกฉวยโอกาสยึดเอาเมืองหลวงและราชสำนักของพระเจ้าหองจูเหียบมาเป็นของตน และแต่งตั้งตนเองเป็นมหาอุปราชและเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าหองจูเปียน

ตัวอย่างกลยุทธ์
เมื่อพระเจ้าฮั่นเลนเต้สวรรคต เกิดการแย่งชิงราชสมบัติและการสืบทอดรัชทายาท ระหว่างหองจูเหียบและหองจูเปียน โฮจิ๋นซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระนางโฮเฮา พระมารดาของหองจูเปียน ได้คิดแต่งตั้งหองจูเปียนขึ้นเป็นองค์รัชทายาทสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระเจ้าฮั่นเลนเต้ แต่เกิดการกบฏจากเหล่าสิบขันทีที่ คิดจะแต่งตั้งหองจูเหียบขึ้นเป็นองค์รัชทายาทแทนและวางแผนลอบฆ่าโฮจิ๋น ราชสำนักเกิดความวุ่นวายจากเหล่าขันที บ้านเมืองโกลาหลระส่ำระสาย แผนการลอบฆ่าโฮจิ๋นเกิดการรั่วไหล โฮจิ๋นจึงนำกำลังทหารบุกเข้าวังหลวงเพื่อกำจัดเหล่าขันที
เหล่าขันทีทั้งสิบพากันหลบหนีไปพึ่งพระนางโฮเฮาให้ไว้ชีวิต ทำให้โฮจิ๋นไม่สามารถกำจัดขันทีได้สำเร็จและกลายเป็นเสี้ยนหนามอยู่ตลอดเวลา จึงวางแผนลอบส่งสาส์นไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ให้นำทัพมากำจัดขันทีทั้งสิบ ตั๋งโต๊ะซึ่งมีจิตใจหยาบช้าและเต็มไปด้วยความทะเยอทะยาน มองเห็นโอกาสที่จะฉกฉวยแย่งชิงเอาราชสมบัติมาเป็นของตนจึงรีบนำทัพเข้าวัง หลวง ขันทีทั้งสิบทราบแผนการของโฮจิ๋นจึงลวงเข้าวังหลวงเพื่อฆ่าทิ้ง อ้วนเสี้ยวและโจโฉซึ่ง เป็นนายทหารของโฮจิ๋นพากันโกรธแค้นจึงนำทัพทหารบุกเข้าวังหลวงหวังฆ่าเหล่า ขันทีทั้งสิบ เกิดเหตุการณ์วุ่นวายโกลาหลไปทั่ว ขันทีทั้งสิบต่างพากันหลบหนีเพื่อเอาชีวิตรอดโดยอุ้มพระราชบุตรทั้งสองลอบ หนีออกจากวังหลวง
ระหว่างทางหลบหนีเข้าป่า เหล่าขันทีพบตั๋งโต๊ะตั้งทัพอยู่จึงเชิญเข้าวังหลวง ตั๋งโต๊ะรีบฉกฉวยโอกาสในขณะที่วังหลวงกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่วุ่นวาย นำกำลังทหารเข้ายึดครองอำนาจเป็นของตน สั่งถอดพระเจ้าหองจูเปียนจากตำแหน่งจักรพรรดิและสั่งประหารชีวิต ก่อนจะแต่งตั้งพระเจ้าหองจูเหียบขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน และแต่งตั้งตนเองเป็นมหาอุปราชและเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าหองจูเหียบ กลยุทธ์ตีชิงตามไฟหรือเชิ่นหว่อต่าเจี๋ยของตั๋งโต๊ะที่ฉกฉวยโอกาสที่ราช สำนักเกิดความวุ่นวายในการแย่งชิงอำนาจ ก็ประสบความสำเร็จในการเข้ายึดครองอำนาจและราชสำนักมาเป็นของตนเองไว้ได้ อย่างงดงาม
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-18 16:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ที่เหลืออ่านได้
http://yimpaen.com/w_view.php?w=omaga&p_id=92
oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2015-1-18 16:39
๕. กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ท ...

รอซ้ำยามเปลี้ย

มิน่าเจ้นกเลยพลาดท่าให้ป้อม  
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-19 11:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อิอิอิ
๓. กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน

เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีความเข้มแข็ง


ไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือเอง พึงยืมกำลังและไพร่พลทหาร

ของผู้อื่นเป็นฝ่ายกำจัดศัตรู

เพื่อเป็นการรักษากำลังและไพร่พลทหารของตนเองไว้สำหรับการศึกอื่น

ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนไปใช้ได้แก่..

จิวยี่ที่หลอกให้โจโฉฆ่าซัวมอและเตียวอุ๋นสองแม่ทัพเรือของตนเอง

ในคราวศึกเซ็กเพ็กระหว่างเล่าปี่และซุนกวน


10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-13 13:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้วางกลศึก: จิวยี่
ผู้ต้องกลศึก: โจโฉ
ผู้ร่วมกลศึก: เจียวก้าน
ประเภท: กลยุทธ์ชนะศึก
หลักการ: การกำจัดศัตรูไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือเอง
สาเหตุ: โจโฉส่งเจียวก้านให้มาเกลี้ยกล่อมจิวยี่หมายทำราชการด้วย จิวยี่จึงวางกลอุบายซ้อนแผนหลอกใช้เจียวก้านในการกำจัดซัวมอและเตียวอุ๋น
สถานที่: ผาแดง, แม่น้ำแยงซี
ผลลัพธ์: โจโฉสั่งประหารซัวมอและเตียวอุ๋น
กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน หรือ เจี้ยเตาซาเหริน (借刀杀) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีความเข้มแข็ง ไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือเอง พึงยืมกำลังและไพร่พลทหารของผู้อื่นเป็นฝ่ายกำจัดศัตรู เพื่อเป็นการรักษากำลังและไพร่พลทหารของตนเองไว้สำหรับการศึกอื่น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่หลอกให้โจโฉฆ่าซัวมอและเตียวอุ๋นสองแม่ทัพเรือของตนเองในคราวศึกเซ็กเพ็กระหว่างเล่าปี่และซุนกวน
ตัวอย่างกลยุทธ์
เมื่อคราวที่โจโฉยกทัพไปตีเกงจิ๋วได้จากเล่าจ๋อง ก็นำกำลังทหารหมายโจมตีกังตั๋งของซุนกวนเป็นลำดับต่อไป โจโฉมีทหารในกองทัพเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเหนือ ชำนาญการรบทางบกไม่ชำนาญการรบทางน้ำ โจโฉมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยซัวมอและเตียวอุ๋น นายทหารชาวเกงจิ๋วเป็นแม่ทัพช่วยในการทำศึกทางน้ำ และเป็นผู้ควบคุมฝึกสอนทหารโจโฉให้ชำนาญการเดินทัพทางเรือ จิวยี่ทราบข่าวการเตรียมทัพเรือของโจโฉจึงลอบมาสังเกตการณ์ยังค่ายทหาร และเมื่อเห็นการฝึกทหารของซัวมอและเตียวอุ๋น จิวยี่เห็นจะปล่อยคนทั้งสองไว้แก่โจโฉต่อไปเกรงจะเกิดภัยแก่ตัวในศึกครั้งนี้ จึงหาทางวางแผนกำจัดเสียให้สิ้นซาก
โจโฉส่งเจียวก้านให้มาเกลี้ยกล่อมจิวยี่หมายทำราชการด้วย จิวยี่จึงวางกลอุบายซ้อนแผนกลหลอกใช้เจียวก้านในการกำจัดซัวมอและเตียวอุ๋น โดยพาเจียวก้านกลับบ้านและให้กินโต๊ะก่อนแสร้งทำเป็นเมามายไม่ได้สติ จิวยี่พาเจียวก้านไปนอนยังเตียงเดียวกันในห้อง เจียวก้านลอบเห็นจดหมายลับที่จิวยี่เขียนและวางไว้จึงหยิบออกอ่านโดยมีเนื้อความในจดหมายว่า “ซัวมอและเตียวอุ๋นเอาใจออกห่าง และจะตัดศีรษะโจโฉมาให้” เมื่อเจียวก้านอ่านจดหมายลับของจิวยี่จบก็ดีใจ รีบนำจดหมายนั้นมามอบให้แก่โจโฉหวังความดีความชอบแก่ตน
โจโฉไม่เท่าทันแผนกลอุบายของจิวยี่ เมื่อได้อ่านจดหมายลับจากเจียวก้านก็โกรธแค้นจึงสั่งประหารซัวมอและเตียวอุ๋นทันที แต่ภายหลังได้แลเห็นศีรษะของแม่ทัพเรือทั้สอง โจโฉก็รู้ว่าตนเองนั้นต้องกลอุบายของจิวยี่ที่สั่งฆ่าคนของตนที่เป็นแม่ทัพและชำนาญในการเดินเรือ เมื่อโจโฉไม่มีซัวมอและเตียวอุ๋นในการทำศึกทางเรือ ก็ถูกจูกัดเหลียงและจิวยี่เผากองทัพเรือจนพ่ายแพ้ยับเยินในเวลาต่อมา เจี้ยเตาซาเหรินหรือกลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนของจิวยี่ ก็ประสบความสำเร็จในตัดกำลังสำคัญในการนำทัพเรือของโจโฉ ทำให้ได้รับชัยชนะได้อย่างงดงาม
ขอบคุณ
wikipedia
36 กลยุทธ์ผู้นำ
สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้