ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1410
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

มนุษย์เราต้องเวียนตายเวียนเกิดมานับชาติไม่ถ้วน

[คัดลอกลิงก์]


เรื่องเล่าชาวสยาม
10 ชม.

·




มนุษย์เราต้องเวียนตายเวียนเกิดมานับชาติไม่ถ้วน ตราบใดที่เรายังไม่บรรลุถึงที่สุดแห่งธรรม ยังสร้างบุญบารมีได้ไม่มากพอ กิเลสหรือว่ากรรมจะนำเรามาเกิดอีก แม้กระทั่งเรายังมีชีวิตอยู่ จิตของเราก็เกิดดับตลอดเวลา ดังนั้นทุกวินาทีของการหายใจมีสติอยู่กับตัว ระลึกตัวทั่วพร้อมในการทำความดีอยู่ทุกขณะ เพื่อความไม่ประมาทในการดำรงชีวิตของเรากันนะครับ
กรรมกับสังสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิด มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หลักกรรมจะดำรงอยู่ไม่ได้หรือถ้าได้ก็ไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่มีเรื่องสังสารวัฏ เพราะชีวิตเดียวสั้นเกินไป ไม่พอพิสูจน์กรรมให้หมดสิ้นได้ มีปัญหาหลายอย่างที่น่าสงสัย เช่น ทำไมคนดีบางคนจึงมีความเป็นอยู่อย่างต้อยต่ำลำบาก สุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์ ร่างกายอ่อนแอ ส่วนคนที่ใคร ๆ เห็นว่าชั่วบางคนกลับมีความเป็นอยู่อย่างสุขสำราญ มีร่างกายแข็งแรง เราไม่อาจคลายความสงสัยได้ ถ้าพิจารณาชีวิตกันเพียงชาติเดียว หลักกรรมและการเกิดใหม่จะบอกเราว่า คนที่เราเห็นว่าชั่วนั้น เขาย่อมต้องเคยทำกรรมดีมาบ้างในอดีต และคนที่เราเห็นว่าดีอยู่ในเวลานี้ ย่อมต้องเคยทำกรรมชั่วมาบ้างเหมือนกัน กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว ตามอิทธิพลของมัน เที่ยงตรงที่สุดไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง
อนึ่ง หลักทางพระพุทธศาสนา (ตามปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) มีอยู่ว่า ...
ตราบใดที่บุคคลยังมี กิเลสอยู่เขาย่อมต้องทำกรรมดีบ้าง ชั่วบ้าง กรรมดีย่อมมีวิบาก (ผล) ดี กรรมชั่วมีวิบากชั่ว วิบากดีก่อให้เกิดสุข วิบากชั่วก่อให้เกิดทุกข์ สุขทุกข์เหล่านั้นย่อมมีชาติ คือความเกิดเป็นที่รองรับ ปราศจากความเกิดเสียแล้ว ที่รองรับสุขทุกข์ย่อมไม่มี กรรมก็เป็นหมันไม่มีผลอีกต่อไปพูดอย่างสั้นว่า ตราบใดที่บุคคลยังมีกิเลสอยู่ เขาย่อมเกิดอีกตราบนั้น
บุคคล ที่ยังพอใจอยู่ในกาม คือยังไม่อิ่มในกาม ยังมีความกระหายในกาม ใจยังแส่หากาม ย่อมเกิดอีกในกามภพ เพื่อเสพกามตามความปรารถนาของดวงจิต ที่มีกามกิเลสห่อหุ้ม พัวพัน คลุกเคล้าอยู่
บุคคลที่หน่ายกามแล้ว เลิก ละ กามแล้ว แต่จิตยังเอิบอิ่มอยู่ในฌานสมาบัติเบื้องต้น ๔ ขั้น ที่ท่านเรียกว่ารูปฌาน เขาย่อมเกิดอีกในรูปภพ เพื่อเสพสุขอันเกี่ยวกับฌานในภพนั้น ท่านผู้พอใจในความสุขอันประณีตกว่านั้น ที่เรียกว่าความสุขในอรูปฌาน ย่อมเกิดอีกในอรูปภพ ผู้เบื่อหน่ายต่อความสุขอันยังเจืออยู่ด้วยกิเลสดังกล่าวมาแล้ว ละกิเลสได้หมด ไม่มีกิเลสเหลือ ก็เข้าถึงนิพพาน ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ต้องสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อีกต่อไป เป็นผู้พ้นจากสภาพที่จะเรียกได้ว่า เป็นอะไร เป็นอย่างไร พ้นจากสุขทุกข์ทั้งปวง ภพคือที่ถือกำเนิดของสัตว์จึงมี ๓ ภพ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ พ้นจากนี้แล้วไม่เรียกว่าภพ
ในภวสูตร พระอานนท์เข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ... ภพมีได้เพราะเหตุใด? พระผู้มีพระภาคตรัสถามย้อนว่า ถ้ากรรมที่เกี่ยวกับกามจักไม่มีแล้ว กามภพจักมีได้หรือไม่? ถ้ากรรมที่เกี่ยวกับรูปธาตุ (รูปฌาน) หรือที่เกี่ยวกับอรูปธาตุ (อรูปฌาน) จักไม่มีแล้ว รูปภพ อรูปภพ จักมีหรือไม่? พระอานนท์ทูลตอบว่า มีไม่ได้เลย
พระ พุทธองค์จึงตรัสว่า เพราะเหตุนี้แหละอานนท์ (ในการเกิดใหม่นั้น) กรรมจึงเป็นเสมือนเนื้อนา วิญญาณเสมือนพืช ตัณหาเป็นเสมือนยางเหนียวในพืช (กมฺมํ เขตฺตํ วิญฺญานํ พีชํ ตณฺหา สิเนโห) ดูก่อนอานนท์ ความตั้งใจ ความจงใจ (เจตนา) ความปรารถนาของสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องห่อหุ้ม มีตัณหาเป็นเครื่องรึงรัดได้ตั้งลงแล้วในธาตุอันเลว (กามธาตุ) ธาตุปานกลาง (รูปธาตุ) และธาตุประณีต (อรูปธาตุ) เมื่อเป็นดังนี้ การเกิดในภพใหม่ก็มีขึ้นได้อีก.....(อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร)
ตามพระ พุทธภาษิตนี้ ชี้ชัดทีเดียวว่า การเกิดใหม่ของสัตว์ ย่อมต้องอาศัยกรรม กิเลส (ตัณหา) และวิญญาณ มีความสัมพันธ์กันเหมือนเนื้อนาหรือดิน พืช และยางเหนียวในพืช อันทำให้พืชมีคุณสมบัติในการเกิดขึ้นใหม่ได้อีก เมื่อมีสภาวะแวดล้อมเหมาะสม พืชที่ถูกคั่วให้แห้ง หรือเอาเหล็กแหลมเจาะทำลายเม็ดในเสียแล้ว ย่อมไม่อาจเพาะหรือปลูกให้ขึ้นได้อีก ไม่ว่าสภาวะแวดล้อม เช่นดิน น้ำ ปุ๋ย จะดีสักเพียงไร ฉันใด วิญญาณที่ไม่มียางเหนียวคือตัณหา หรือกิเลสห่อหุ้มผูกพันอยู่ ก็ย่อมไม่ต้องเกิดอีก ไม่ควรเพื่อการเกิดใหม่ ฉันนั้น
ตามนัยนี้ แสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงยืนยันเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของวิญญาณที่ยังมีกิเลสและ กรรม ยังมีเจตนา มีความปรารถนาในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ สัตว์จะไปเกิดในภพใดก็สุดแล้วแต่กิเลสและกรรมของเขาที่เกี่ยวกับภพนั้น เหมือนบุคคลฝึกสิ่งใด พอใจกระทำสิ่งใด ย่อมได้รับผลของสิ่งนั้น
การเวียนว่ายตายเกิดจะสิ้นสุดลง ก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นได้พัฒนาจิตจนถึงที่สุด ละกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง สิ้นกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดอีก เรื่องกิเลส กรรม และการเวียนว่ายตายเกิด จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและอย่างจำเป็น คือแยกกันไม่ได้ หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสารวัฏ จัดเป็นหลักคำสอนสำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ดังพรรณนามาดังนี้ .... ... .. .
ที่มา palungjit


ตามนัยนี้ แสดงว่า...


พระพุทธเจ้าทรงยืนยันเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของวิญญาณที่ยังมีกิเลสและ กรรม ยังมีเจตนา

มีความปรารถนาในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ

สัตว์จะไปเกิดในภพใดก็สุดแล้วแต่กิเลสและกรรมของเขาที่เกี่ยวกับภพนั้น

เหมือนบุคคลฝึกสิ่งใด พอใจกระทำสิ่งใด ย่อมได้รับผลของสิ่งนั้น  

ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้