ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1759
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระกริ่งวชิรมงกุฏในหลวงเสด็จฯเททอง

[คัดลอกลิงก์]


พระกริ่ง วชิรมงกุฏในหลวงเสด็จฯเททอง ฉลอง ๑๐๐ ปี วัดมกุฏฯ : พระองค์ครู เรื่อง/ภาพโดยไตรเทพ ไกรงู                                                                  
              เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก มีอายุครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑ ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ ๗๐ พรรษา ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑

              ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง ๒ วาระเป็นงานเดียวกัน ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑ โดยคณะกรรมการมีมติว่า ในศุภวาระมงคลวโรกาสดังกล่าวจึงควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชาโดยมีเหตุผลในการจัดสร้างดังนี้
  
              พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงสถาปนาวัดมกุฏกษัตริยาราม ทรงมีพระปรมาภิไธยเดิมเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า “สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ” และพระนามฉายาทางพระพุทธศาสนาเมื่อครั้งเสด็จออกทรงพระผนวช (ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์) ว่า “พระวชิรญาโณภิกขุ” อีกทั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชปนัดดาก็มีคำต้นพระนามว่า “วชิรญาณ” อีกด้วย ดังนั้นจึงเห็นควรถวายพระนาม “พระพุทธรูป” ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ว่า “พระวชิรมงกุฏ” หรือ “พระพุทธวชิรมงกุฏ” ส่วน “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” ถวายพระนามว่า “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ”

              หลังจากรวบรวมโลหะวัตถุและแผ่นโลหะที่ลงอักขระยันต์ได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว คณะกรรมการจัดสร้างได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยารามก่อน จากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททองเฉพาะ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ณ มณฑลพิธี หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ “พระพุทธวชิรมงกุฏ (พระพุทธรูปบูชา)” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ในวันอังคารที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๑ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๑๕ นาที

              โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิต เช่น หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร, หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี

              เมื่อการเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งวชิรมงกฏ ซึ่งช่างขัดตกแต่งตามกรรมวิธีโดยช่างหลวงในยุคนั้น ต่อไปเสร็จแล้วพร้อมทั้งเหรียญพระรูปฯ จึงนิมนต์พระอาจารย์ต่างๆ มาทำพิธีพุทธาภิเษกในพระวิหารวัดมกฏกษัตริยาราม ครั้งที่ ๒ อีก ๓ คืน เมื่อวันอังคารที่ ๙ วันพุธที่ ๑๐ และวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑

              ทั้งนี้ นายวิเชียร อินทะพันธ์ นักธุรกิจหนุ่มทำธุรกิจเหล็ก และนักสะสมพระเครื่องผู้ครอบครองพระองค์นี้ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ค่านิยมอยู่ในหลักแสนต้นๆ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นพระกริ่งที่หายาก เพราะสร้างตามจำนวนสั่งจองเท่านั้น น่าจะไม่เกิน ๒๐๐ องค์ ในราคาองค์ ๓,๐๐๐ บาท เมื่อเทียบกับราคาทองคำขณะนั้นถือว่าแพงมาก จึงมียอดจองไม่มาก พระส่วนใหญ่จะอยู่ในความครองของข้าราชการระดับสูง และเศรษฐีที่มีเงินเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงพบเห็นพระรุ่นนี้ไหลเวียนอยู่ในตลาดน้อยมากๆ

- See more at: http://www.komchadluek.net/detai ... thash.rDqXugcg.dpuf

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้