ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1564
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

"ปัญญาจักขุ" ความสามารถในการรู้เรื่องต่างๆด้วยปัญญา

[คัดลอกลิงก์]
ในอัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงความหมายของจักขุไว้เป็น ๒ ประการ คือ มังสจักขุ และ ปัญญาจักขุ
มังสจักขุ ได้แก่ นัยน์ตาเนื้อที่ใช้มองดูสิ่งต่างๆได้ เช่น นัยน์ตาของสัตว์ทั้งหลาย ว่าโดยสภาวธรรมแล้ว ได้แก่ จักขุปสาทรูปนั่นเอง
ปัญญาจุกขุ ได้แก่ ความสามารถในการรู้เรื่องต่างๆด้วยปัญญา คือเป็นการรู้ด้วยทางใจ ไม่ใช่รู้ได้ด้วยนัยน์ตา ปัญญาจักขุนี้พระพุทธองค์ยังแสดงไว้เป็น ๕ ชนิด คือ
๑. พุทธจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่หยั่งรู้ในอัธยาศัยของสัตว์โลกทั้งปวงได้ เรียกว่า อาสยานุสยญาณ และญาณปัญญาที่สามารถรู้นามอินทรีย์ (สัทธินทรีย์, วิริยินทรีย์, สตินทรีย์, สมาธินทรีย์, และปัญญินทรีย์) ของสัตว์ทั้งหลายว่า ยิ่งหรือหย่อนเพียงใด ที่เรียกว่า อินทรียปโรปริยัติญาณ องค์ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตจิต ๔ ดวง
๒. สมันตจักขุ หมายถึงญาณปัญญาที่สามารถรอบรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งบัญญัติและปรมัตถธรรม ที่เรียกว่า สัพพัญญุตญาณ องค์ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุติจิตดวงที่หนึ่ง
๓. ญาณจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่ทำให้สิ้นอาสวกิเลสที่เรียกว่า อรหัตตมัคคญาณ หรืออาสวักขญาณ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกในอรหัตตมัคคจิต
๔. ธรรมจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระอริยบุคคลเบื้องต่ำทั้งสาม คือพระโสดาบัน, พระสกทาคามี และพระอนาคามี องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในมัคคจิตเบื้องต่ำสาม
๕. ทิพพจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่สามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกลแสนไกลได้อย่างละเอียดด้วยอำนาจของสมาธิ ที่เรียกว่า อภิญญาสมาธิ องค์ธรรมได้แก่ อภิญญาจิต ๒ ดวง
ปัญญาจักขูทั้ง ๕ ประการนี้ พุทธจักขุ และสมันตจักขุ ย่อมมีได้แต่เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนปัญญาจักขุที่เหลืออีก ๓ ย่อมเกิดแก่พระอริยบุคคลอื่นๆ หรือฌาณลาภีบุคคลที่ได้ทิพพจักขุญาณตามสมควรแก่ญาณและบุคคล.


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้