ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 8004
ตอบกลับ: 30
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

บ้านเด็กพิการซ้ำซ้อน

[คัดลอกลิงก์]
โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา
สังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขากรุงเทพฯ


   

   เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้รับพระกรุณาจาก
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศึกษาสำหรับเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน แห่งที่ 2 ของมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

  จากพลังของผู้มีจิตศรัทธา ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อนได้เป็นศูนย์รวมแห่งความเมตตาอาทรของบุคคลและคณะบุคคลต่างๆ ที่ได้ร่วมใจเสียสละเพื่อประโยชน์ของเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน

   ที่มาของบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน รามอินทราแห่งนี้ เกิดมาจากพลัง
ของสังคมที่มีต่อผู้พิการทางสายตา ในปี พ.ศ. 2528 มีเยาวชนตาบอดจำนวน 40 คน จากโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น ได้อาสาเดินทางไกลการกุศล "ยังไม่สิ้นซึ่งความหวัง" ขอนแก่น – กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึง วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 เป็นเวลากว่า 10 วัน ผลจากความวิริยะอุตสาหะของเยาวชนตาบอดในครั้งนั้นทำให้ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งชาวไทย
และต่างประเทศได้สละทุนทรัพย์ประมาณ 3 ล้านบาท

ในปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิฯได้นำมาจัดตั้งบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน ยังผลให้มีแหล่งบริการเลี้ยงดูและฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับเด็กตาบอดเหล่านี้ ด้วยความช่วยเหลือจากพี่น้องชาวไทย<br>ทุกสาขาอาชีพ คณะกรรมการมูลนิธิฯจึงได้มีความเห็นว่า ควรจะมีสถานศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับเด็กกลุ่มนี้จึงได้จัดตั้งโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทราขึ้น แม้ว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในยุคที่ประเทศไทยมีระเบียบกฎหมายที่เกื้อกูลต่อคนพิการ การมีโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปัน การสร้างสรรค์ การพัฒนาผู้ด้วยโอกาสที่ขาดทางเลือกให้มีที่นั่งและที่ยืนในสังคม สถานศึกษาแห่งนี้ดำเนินการในรูปแบบโรงเรียนประจำ รับนักเรียนตั้งแต่ เตรียมอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่6 อายุระหว่าง 2 ขวบถึง 16 ปี จากนั้นพวกเขาจะถูกส่งไปศึกษาต่อที่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 หากมีความสามารถในการศึกษาในระดับสูงขึ้นไปจะมีโอกาสไปเรียนต่อในสถานศึกษาอื่น ๆ ของมูลนิธิฯ หรือเข้าฝึกอบรมด้านวิชาชีพ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จังหวัดนครนายก
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-25 19:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การดำเนินงาน

     การมีโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา  อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปัน การสร้างสรรค์ การพัฒนาผู้ด้วยโอกาสที่ขาดทางเลือกให้มีที่นั่งและที่ยืนในสังคม สถานศึกษาแห่งนี้ดำเนินการในรูปแบบโรงเรียนประจำ รับนักเรียนตั้งแต่ เตรียมอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   อายุระหว่าง 2 ขวบถึง 15 ปี จากนั้นพวกเขาจะถูกส่งไปศึกษาต่อที่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   หากมีความสามารถในการศึกษาในระดับสูงขึ้นจะมีโอกาสไปเรียนต่อในสถานศึกษาอื่นๆ ของมูลนิธิฯ หรือเข้าฝึกอบรมด้านวิชาชีพคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จังหวัดนครนายก

วัตถุประสงค์

1. เพื่อการอบรมเลี้ยงดูพัฒนาเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน ให้ได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตน
2. ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอนหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการเรียนการสอน
3. จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นของคนตาบอดที่มีความพิการอื่นร่วมด้วย ด้วยวิธีการการศึกษาพิเศษ
4. เพื่อให้บริการด้านวิชาการและบริการอื่นแก่ผู้เรียน ครู บุคลากรของโรงเรียน บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการโรงเรียนและชุมชน
5. เพื่อให้บริการที่พักอาศัยแก่นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา
   

กิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ

1. ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ทักษะพื้นฐานในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเน้นกิจกรรมที่ปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันให้เด็กๆสามารถดูแลตนเองได้ ดังนี้
    1.1 รับประทานอาหารที่มีลักษณะต่างๆได้ เช่น อาหารเหลว อาหารแข็ง ผลไม้ต่างๆ และวิธีรับประทานโดยหยิบอาหารเอง ใช้ช้อนตักอาหารเอง
    1.2 การเข้าห้องน้ำทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ แปรงฟัน
    1.3 การแต่งตัวสวมเสื้อผ้า
    1.4 การดูแลรักษาความสะอาดของที่พักและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พับเก็บเสื้อ ใส่ตู้ เก็บที่นอน กวาดบ้าน ถูบ้าน เป็นต้น

2. ด้านร่างกาย
ให้เด็กพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก การออกกำลังกายสำหรับเด็กที่มีความพิการทางด้านร่างกายให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัดเพื่อให้ผู้พิการใช้อวัยวะในส่วนที่ยังไม่สามารถใช้งานได้ป้องกันความพิการไม่ให้รุนแรงมากขึ้น ป้องกันการติดยึดของกล้ามเนื้อ ข้อต่อและเอ็น รวมไปถึงการจัดหากายอุปกรณ์ให้กับเด็ก

3. ด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ
ใช้กิจกรรมดนตรีบำบัดเพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กร่วมกิจกรรมหรือผ่อนคลายขึ้นอยู่กับลักษณะของเด็กให้เด็กได้มีโอกาสเข้าสู่สังคมและใช้ชีวิตเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยส่งเสริมให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมในชุมชนและจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงบทบาทเช่นเดียวกับสมาชิกในสังคมอื่นๆ
    3.1 ไปร่วมงานนักขัตฤกษ์ วันปีใหม่ วันเด็ก วันสงกรานต์ วันลอยกระทง ฯลฯ
    3.2 ร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชนต่างๆ
    3.3 ไปสถานที่สาธารณะในชุมชน เช่น ตลาดสด ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ วัด โรงเรียน ชุมชน

4. ด้านภาษาและการสื่อสาร
เป็นเรื่องที่ต้องนำมาฝึกใช้ในทุกกิจกรรมอย่างเหมาะสม ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มีความเข้าใจในคำพูดของครู แต่ไม่สามารถตอบโต้คำพูดกับครูได้ ดังนั้น จะต้องสอนให้เด็กได้เรียนรู้การสื่อสารด้วยท่าทางและภาษามือที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-25 19:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด
                                                                                                                                                                                            


                      สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด        ให้การบริการสงเคราะห์ฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการทางร่างกายทั้งชายและหญิง อายุ 7-18 ปี

      
      ปีที่ก่อตั้ง:
              2513
      
      ขนาดองค์กร:
              กลาง      

      แนะนำองค์กร
                      เพื่อให้การช่วยเหลือเด็กๆผู้พิการซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและเป็นการแบ่งเบาภาระขององค์กรและประชาชนที่ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือเด็กๆผู้พิการเหล่านี้ได้ทั่วถึงและเพื่อให้การช่วยเหลือเป็นระบบและขั้นตอนที่ถูกต้องเรียบร้อยทางกรมประชาสงเคราะห์จึงมีนโยบายให้ก่อตั้งหน่วยงานต่างๆเพื่อให้การช่วยเหลือผู้พิการเหล่านี้ขึ้นในสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ
        ณ จุดนี้จึงได้ก่อตั้งสถานสงเคราะห์เด็กพิการขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด” เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2513
        ปัจจุบัน “สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ดหรือ ”บ้านนนทภูมิ” เป็นหน่วยงานราชการ สังกัดสำนักบริการสวัสดิการสังคม
        กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ( Department of Social Development and Welfare ) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( Ministry of Social Development and Human Security ) และได้ดำเนินภารกิจที่ได้รับมอบหมายนี้มาโดยต่อเนื่องจวบจนปัจจุบันเป็นระยะเวลา 34 ปี โดยให้การบริการสงเคราะห์ฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการทางร่างกายทั้งชายและหญิง อายุ 7-18 ปี หรือมากกว่านี้ให้มีโอกาสได้รับการศึกษา การฝึกอาชีพ การพัฒนา การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายอย่างเหมาะสมทั้ง 4 ด้าน คือ ในด้านการแพทย์ การอาชีพ การศึกษา และการสังคม ให้เป็นผู้สามารถพึ่งตนเอง และมีความสุขตามอัตภาพ   

      วัตถุประสงค์ขององค์กร
                      วิสัยทัศน์ บริการเป็นเลิศ เด็กพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าสู่ชุมชน ประชาสังคมมีส่วนร่วม
        พันธกิจ
        1. การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะกับสภาพความพิการ
        2. การให้บริการที่ครอบคลุม ทั่วถึง รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการแก่กลุ่มเป้าหมาย
        3. ส่งเสริมให้ประชาสังคมมีส่วนร่วมดำเนินงานอย่างเต็มที่
        4. กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้
        นโยบาย มุ่งผลสัมฤทธิ์ จิตบริการ ประสานเครือข่าย กลุ่มเป้าหมายพึ่งตนเองได้
        ยุทธศาสตร์
        1. พัฒนารูปแบบ วิธีการ มาตรฐาน การจัดบริการสวัสดิการสังคม
        2. เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการองค์กร
        3. ส่งเสริมเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการจัดการสวัสดิการสังคมของกลุ่มเป้าหมาย
        4. ฟื้นฟูและพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้มีคุณภาพตามสภานความพิการ
        คนพิการ หมายถึงคนที่ผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกายทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
        - ความพิการทางการมองเห็น
        - ความพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย
        - ความพิการทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว
        - ความพิการทางจิตใจ หรือพฤติกรรม
        - ความพิการทางสติปัญญา หรือการเรียนรู้
        วัตถุประสงค์
        เพื่อให้การสงเคราะห์ พัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ ให้ได้รับการเลี้ยงดู คุ้มครองสวัสดิ์ภาพและเจริญเติบโต เป็นผู้ที่สามารถพึ่งพาตนเองและมีความสุขตามอัตภาพ
        การเข้ารับการสงเคราะห์
        เด็กพิการและทุพพลภาพ ทั้งชาย - หญิง จากทั่วประเทศ ที่มีอายุ 7-18 ปี (หรือมากกว่านี้ ถ้าอยู่ในช่วงกำลังรับการศึกษา ฝึกอาชีพ หรือฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย) ที่ประสบปัญหาดังนี้
        1. ถูกทอดทิ้งตามโรงพยาบาล สถานที่สาธารณะต่าง ๆ หรือผู้รับจ้างเลี้ยง
        2. กำพร้า ขาดผู้อุปการะ
        3. ครอบครัวมีฐานะยากจน
        4. เร่ร่อน พลัดหลง ไร้ที่พึ่ง
        หลักการรับเด็กพิการเข้ารับการสงเคราะห์
        ทางสถานสงเคราะห์จะพิจารณารับเด็กพิการและทุพพลภาพทั้ง ชาย-หญิง อายุตั้งแต่ 7-18 ปี จากทั่วประเทศ ที่เป็นเด็กกำพร้า อนาถา ไร้ที่พึ่งหรือถูกทอดทิ้งตามโรงพยาบาล สถานที่สาธารณะต่างๆตลอดจนเด็กที่มาจากครอบครัวที่ยากจน และมีปัญหาการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถอุปการะเด็กได้ โดยมีเป้าหมายรับเด็กพิการจำนวน 450-500 คน
        รับอุปการะฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการซึ่งมีสภาพความพิการดังต่อไปนี้
        1. พิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ได้แก่ เด็กที่มีความพิการแขนขา ลำตัว และมือ จากโรคโปลิโอ โรคกล้ามเนื้อเปลี้ย อัมพาตท่อนล่าง สมองพิการ และความพิการที่มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ และพิการแต่กำเนิด
        2. บกพร่องทางการได้ยิน หรือสื่อความหมาย
        3. บกพร่องทางการมองเห็น
        4. พิการซ้ำซ้อน (สติปัญญา ร่างกาย ตาบอด)

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-25 19:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
      รูปแบบกิจกรรม/การทำงานของเรา


                      บริการที่จัดให้
        เพื่อให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กพิการ ให้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม และเจริญเติบโต เป็นพลเมืองดีของสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความสุขตามอัตภาพ สถานสงเคราะห์ฯได้จัดบริการต่าง ๆ ให้แก่เด็กพิการในความอุปการะ ดังนี้
        1.การให้บริการเลี้ยงดูด้านปัจจัยสี่
        ทางสถานสงเคราะห์ได้ให้ความช่วยเหลือด้านปัจจัยสี่ แก่เด็กพิการโดยได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาล และเอกชน รวมทั้งผู้มีใจเอื้อเฟื้อแก่เด็กพิการผู้ด้อยโอกาส โดยจัดที่พักอาศัย เสื้อผ้า อาหารที่เหมาะสม และถูกสุขลักษณะให้ มีการรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย รวมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันต่าง ๆ โดยจะมีห้องพยาบาล มีพยาบาลอยู่ดูแลช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง และหากมีอาการเจ็บป่วยมากก็จะส่งโรงพยาบาลให้แพทย์ดูแลรักษาตามอาการต่อไป
        2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
        ทางสถานสงเคราะห์ได้ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ แก่เด็กพิการโดยแพทย์จากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จัดให้มีการทำกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัด นักกระตุ้นพัฒนาการ ทำการกายภาพบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กพิการ มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนการนำพบแพทย์ เพื่อปรับสภาพร่างกายและการจัดหากายอุปกรณ์ต่าง ๆ การฝึกหัดให้ใช้อวัยวะที่เหลืออยู่ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เพื่อให้เด็กพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้ และป้องกันความพิการซ้ำซ้อนแก่เด็กพิการที่รับการสงเคราะห์
        3.การให้ความรู้ด้านการศึกษา การฝึกอาชีพ การหางานทำและสู่สังคม
        ทางสถานสงเคราะห์จัดให้มีการสร้างเสริมพัฒนาการแก่เด็กพิการและให้การศึกษาแก่เด็กพิการทั้งสายสามัญและสายอาชีพตามความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กพิการได้มีความรู้ สามารถอ่านออกเขียนได้ เป็นพื้นฐานไปสู่การศึกษาที่สูงขึ้น หรือการประกอบอาชีพ สถานสงเคราะห์ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นภายใน "โรงเรียนประชาบดี" จัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 นอกจากนั้นยังสนับสนุนให้เด็กพิการที่มีความพร้อมออกไปศึกษาภายนอกในลักษณะเรียนร่วมกับเด็กปกติ หรือเรียนในโรงเรียนเฉพาะทาง เช่น โรงเรียนสอนคนตาบอด โรงเรียนโสตศึกษา และโรงเรียนศึกษาพิเศษต่าง ๆ
        สำหรับการฝึกอาชีพ จะคัดเลือกเด็กพิการในความอุปการะเข้ารับการฝึกอาชีพที่เหมาะสมกับความพิการ ทั้งการฝึกอาชีพภายในสถานสงเคราะห์ และการฝึกอาชีพภายนอกสถานสงเคราะห์ ณ ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กพิการได้มีทักษะวิชาชีพนำไปประกอบวิชาชีพ มีรายได้เลี้ยงตนเองต่อไป
        มีการติดต่อจัดหางานแก่เด็กพิการที่ผ่านการฝึกอาชีพและมีความพร้อม เพื่อให้เด็กพิการได้เข้าสู่สังคม มีอาชีพเลี้ยงตนเองตามความเหมาะสมต่อไป
        4.การให้การอบรมศีลธรรม จริยธรรม และนันทนาการ
        ทางสถานสงเคราะห์จะจัดเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลและใกล้ชิดเด็ก หรือวิทยากรจากภายนอกจะแนะนำ อบรม สั่งสอนเด็กเพื่อให้เด็กพิการเป็นคนดี มีจิตใจเมตตาอ่อนโยน ละอายและเกรงกลัวต่อบาป อันจะเป็นพื้นฐานที่จะเข้าสู่สังคมได้อย่างปกติสุข รวมทั้งการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี มีทักษะและประสบการณ์ ทั้งในด้านศิลปะการแสดงออก ดนตรีและกีฬา
        5.การให้ความรัก ความอบอุ่น คุ้มครองสวัสดิภาพและการพัฒนาแก้ไขปัญหาต่างๆ
        ทางสถานสงเคราะห์จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลและเอาใจใส่ให้ความรัก และความอบอุ่นแก่เด็กพิการอย่างใกล้ชิด เปรียบดั่งญาติสนิท และคอยแนะนำช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาต่าง ๆ ในรายที่มีปัญหามากทั้งในด้านพฤติกรรม อารมณ์ หรือจิตใจ ก็จะมีนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา เข้ามาช่วยแนะนำแก้ไขตามหลักวิชาการ เพื่อให้เด็กพิการมีพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมทั้ง ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์สังคม และจิตใจ

      


โปรดติดตามกระทู้นี้ให้ดีครับ.

เห็นอาจารย์ เปรย ๆ ว่า..

จะนำเหรียญ องค์พ่อชัยวรมันยอดจักรวาล

ให้ร่วมบุญกันนำรายได้ บริจาค กันครับ




ที่“สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด”



โอววว อนุโมทนาครับ
พี่กิต....ผมก็พิการ น่ะ พิการรัก
metha ตอบกลับเมื่อ 2015-1-26 10:31
พี่กิต....ผมก็พิการ น่ะ พิการรัก

พิการรัก หรอ  


พิการรัก หรอ


พิการรัก หรอ
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2015-1-26 07:21
โปรดติดตามกระทู้นี้ให้ดีครับ.

เห็นอาจารย์ เปรย ๆ ว่า ...

กิจกรรมดีๆเพื่อสังคมแบบนี้เห็นด้วย100% ครับ
เปิดจองเมื่อไรแจ้งด้วยนะครับ
สาธุครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้