ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1725
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

"งูจงอางยาวกว่า3เมตร เลื้อยขึ้นรูปปั้นองค์สมเด็จพุฒาจารย์โต"

[คัดลอกลิงก์]


ภาพแห่งสยาม
9 มกราคม เวลา 6:12 น. ·




- ย้อนนรอยสยาม ตามรอยภาพ -


พอจะจำภาพนี้กันได้ไหมครับที่ "งูจงอางยาวกว่า3เมตร เลื้อยขึ้นรูปปั้นองค์สมเด็จพุฒาจารย์โต"
ที่สำนักปฎิบัติธรรมพรหมรังสี
ย้อนรอยกลับไปคืนวันที่ 27 สิงหาคม 2553 ที่สำนักปฎิบัติธรรม พรหมรังสี ภายในวัดถ้ำผางาม 3 พระโพธิสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่า ต.พระบาทวังตวง อ.แม่พริก จ.ลำปาง ติดถนนพลฏยธินสายลำปาง – ตาก โดยอยู่ติดป่าอุทยานแห่งชาติแม่วะ
ได้เกิดความน่าอัศจรรย์ขึ้น เมื่อ พระวิศาล ถาวโร อายุ 47 ปี เจ้าอาวาสวัดถ้ำผางาม 3 พระโพธิสัตว์ และแม่ชี ที่กำลังปฎิบัติธรรมอยู่ภายในสำนักปฎิบัติธรรม .. พบงูจงอางขนาดใหญ่สีดำ ลายปล่องสีน้ำตาลเข้ม ความยาวกว่า 3 เมตร เลื้อยอยู่บริเวณรูปเหมือนขนาดใหญ่ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และรูปเหมือนของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี รูปเหมือนหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ และรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิจัย ซึ่งรูปเหมือนทั้งหมดมีขนาดใหญ่สูงกว่า 3 เมตร ประดิษฐานอยู่บริเวณหน้าวัด โดยงูจงอางตัวดังกล่าว ได้เลี้อยวนไปมา และพยายามจะเลื้อยขึ้นไปบนรูปเหมือนขนาดใหญ่ของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แต่เนื่องจากอยู่สูงกว่าระดับพื้นดิน จึงทำให้งูตัวดังกล่าวไม่สามารถขึ้นไปได้ สร้างความแตกตื่นแก่พระสงฆ์ และแม่ชี ที่กำลังปฎิบัติธรรม นั่งสมาธิ และเดินจงกลม บริเวณนั้นอย่างมาก
เมื่องูจงอางเดินวนไปมา ก็ได้เลี้อยขึ้นรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี องค์เล็ก ที่อยู่บริเวณรูปเหมือนองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นที่กราบไหว้ และสักการะของประชาชน จากนั้นก็พันบริเวณคอของรูปเหมือนองค์เล็กสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทันที จึงยิ่งสร้างความแตกตื่นอย่างมาก เพราะในขณะนั้น ไม่เกิดฝนตกลงมา ที่จะทำให้งูจงอางหนีน้ำไปอยู่บนพื้นที่สูง หรือมีสุนัขไล่กัด จนต้องหนีภัยไปอยู่บนิพื้นที่สูง ประกอบกับบริเวณวัด ไม่เคยเห็นงูตัวดังกล่าวมากก่อน นับเป็นสิ่งประหลาดใจแก่ผู้พบเห็นอย่างมาก ข่าวได้แพร่สะพัดออกไป ทำให้ประชาชนที่บ้านเรือนตั้งอยู่ใกล้วัด ได้เดินทางมาดูอย่างไม่ขาดสาย ประกอบกับ ยังมีผู้นำไม้มาไล่งูให้ออกไปจากคอรูปเหมือนองค์เล็กสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แต่งูจงอางตัวดังกล่าว ก็ไม่ยอมหนีไป และยังเป็นใคร ไม่ทำอันตรายใด ๆ เพียงแต่เลี้อยพันคออยู่ไปมา และสิ่งที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น เมื่องูจงอางตัวดังกล่าว ส่วนหัวได้เลี้อยขึ้นไปบนศรีษะรูปเหมือนองค์เล็กสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พร้อมแผ่แม่เบี้ย ยิ่งทำให้ผู้พบเห็นเกิดขนลุกในความน่าอัศจจรย์ใจ และเป็นปฎิหารในสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมาก ว่าเป็นงูศักดิ์สิทธิ์ ที่มาแสดงปฎิหารให้ประชาชนได้พบเห็น
พระวิศาล ถาวโร กล่าวว่า ตนได้บุกเบิกตั้งสำนักปฎิบัติธรรมแห่งนี้มานานตั้งแต่ปี 2547 ยังไม่เคยเห็นงูจงอางตัวดังกล่าวมาก่อน โดยเฉพาะการเลี้อยมาพันคอรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี และพื้นที่ป่าแห่งนี้ ก็ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยของงูจงอาง จึงเกิดความประหลาดใจอย่างมาก อาจจะเป็นงูศักดิ์สิทธิ์ ที่มาโปรดให้ประชาชนได้เห็น รวมถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ปฎิบัติธรรม โยเฉพาะรูปเหมือนองค์เล็กสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ซึ่งสำนักปฎิบัติธรรมแห่งนี้ เป็นสถานที่ เพื่อเผยแพร่พระคาถาชินบัญชรในภาคเหนือ โดยในอดีต ตนเป็นพระในคณะ 9 วัดระฆัง มาก่อน กระทั่งเกิดความเลื่อมใส จึงได้เดินทางมายังจังหวัดลำปาง เพื่อตั้งสำนักปฎิบัติธรรม พรหมรังสี ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้มาศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และศึกษาพระคาถาชินบัญชร กระทั่งมาเกิดความน่าอัศจจรย์ และปฎิหารในครั้งนี้
สำหรับงูจงอางตัวนี้ ได้เลื้อยพันคออยู่นานกว่า 7 ชั่วโมงตลอดทั้งคืน ก่อนที่ในช่วงเช้ามืดงูตัวดังกล่าว จะได้เลี้อยลงพื้นดิน แล้วเลื้อยเข้าไปในต้นโพธิ์ใหญ่ บริเวณหน้าวัด แล้วหายไป โดยที่ไม่มีใครพบเห็นอีกเลย อย่างไรก็ตาม ข่าวยิ่งแพร่สะพัด ออกไป ทำให้มีประชาชน และคณะศรัทธาเดินทางมาที่วัดเป็นจำนวนมาก เพื่อสอบถามถึงสิ่งมหัศจจรรย์ และปฎิหารที่เกิดขึ้นนี้ ซึ่งทางวัดก็ได้มีการบันทึกภาพไว้ได้ จึงได้นำมาให้ประชาชนได้ชม โดยที่ทางวัด จะได้ขยายภาพให้ใหญ่มากขึ้น เพื่อติดให้ประชาชนได้รับชมภาพสำคัญนี้ ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ขั้น เดือน 9 ที่ผ่านวันพระใหญ่ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เพียงวันเดียว สิ่งที่หลายคนที่พเหตุการณ์ดังกล่าวต่างเชื่อว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ และบารมีของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ที่ได้มาโปรดให้พระสงฆ์ แม่ชี และผู้มาปฎิบัติธรรม รวมถึงประชาชนได้เห็นถึงความอัศจรรย์ ในวันนั้น
........,.....


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้