หลวงพ่อไกร นามเดิมชื่อไกร เกิดปีมะแม เดือน ๑๐ วันศุกร์ พ.ศ. ๒๔๐๑ อยู่บ้านหาดทนง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี บิดาชื่อรุ่ง มารดาชื่อ ทอง อาชีพของโยมบิดา มารดา ของท่านทำไร่ ทำเหล็ก เมื่อก่อนท่านอุปสมบทได้ช่วยเหลือพ่อแม่ท่านทำไร่ทำเหล็กและท่านพอใจชอบเล่นเทิดเทิง (กลองยาว) และท่านตีไม้กระบี่เมื่อยังเป็นเด็กไม่เคยได้อยู่วัดเพื่อศึกษาวิชาหนังสือเลยพออายุพอที่จะอุปสมบทได้ พ่อ แม่ ท่านก็นำไปฝากไว้ในสำนักท่านอาจารย์เปียเจ้าอาวาสวัดใหญ่ คือวัดที่ท่านอยู่ได้ศึกษาวิชาหนังสือไทยพอมีความรู้อ่านได้เขียนได้ก็อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดใหญ่ตำบลท่าฉนวน เดือน ๖ ข้างขึ้นปีขาล พ.ศ.(ไม่ทราบแน่นอน) พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แบน เจ้าอาวาสวัดหลวง จังหวัดอุทัยธานี พระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์นุ่ม เจ้าอาวาสวัดขวิด จังหวัดอุทัยธานี พระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์เปีย เจ้าอาวาสวัดใหญ่ พออุปสมบทแล้วท่านได้อยู่ปฏิบัติพระอาจารย์เปียอยู่ ๑ พรรษา พรรษา ๒ ได้ย้ายไปอยู่วัดขวิดเพื่อศึกษาวิชาได้เรียนมูลกัจจายน์ในสำนักท่านอาจารย์บู๊อยู่ ๑ พรรษา พรรษา ๓ ได้ย้ายจากวัดขวิดไปศึกษามูลกัจจายน์ต่อสำนักท่านอาจารย์เกิด วัดโคก ( เนินสุธาราม ) ๑ พรรษา พรรษา ๔ ได้ย้ายจากวัดโคกได้ไปศึกษามูลกัจจายน์ในสำนักท่านอาจารย์วัดไก่เตี้ยจังหวัดพระนครกรุงศรีอยุธยา(นามวัดและอาจารย์วัดไก่เตี้ยชื่ออะไรข้าพเจ้าไม่รู้จัก)แต่เขาเรียกกันว่าท่านอาจารย์วัดไก่เตี้ยท่านได้ศึกษามูลกัจจายน์และธัมมปทัฎฐกถาในสำนักท่านอาจารย์วัดไก่เตี้ยและได้ศึกษาต่ออีกหลายอย่าง เช่น เทศน์มหาชาติเป็นอาทิฯ รวมเวลาที่ศึกษาอยู่ในสำนักท่านอาจารย์วัดไก่เตี้ย ๑๐ พรรษา จนมีความรู้ทางเทศนาเป็นธรรมถึกได้อย่างดี พรรษาที่ ๑๔ ได้ย้ายไปอยู่ทางจังหวัดราชบุรี ( ชื่อวัดจำไม่ได้ ) สำนักอยู่หนึ่งพรรษา พรรษาที่ ๑๕ ได้ย้ายไปอยู่วัดจินดา ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี สำนักอยู่ ๖ พรรษา ในระหว่างนี้ได้ย้ายไปอยู่วัดบ้านกล้วย อำเภอบ้านเซ่า จังหวัดลพบุรี อยู่ ๑ พรรษา แล้วกลับไปอยู่วัดจินดาอีก รวมเวลาที่อยู่ ๒ ครั้ง จึงเป็น ๖ พรรษา พรรษาที่ ๒๒ได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดใหญ่ได้เป็น เจ้าอาวาสปกครองวัดใหญ่ปกครองวัดใหญ่อยู่ ๓๖ ปีหลวงพ่อไกรนี้เมื่อยังครองชีวิตอยู่เป็นคฤหัสถ์ก็ประพฤติมีศีลธรรมอันดีงามเป็นที่รักใคร่แก่ประชาชนเป็นอันมากครั้นอุปสมบทแล้วก็ประพฤติเคร่งครัดต่อพระวินัยมิได้เสียหายประการใดนอกจากนี้ก็ตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรม จนมีความรู้เทศนาสั่งสอนประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสและนับถือในพระศาสนาเป็นอันมากนับแต่ท่านบรรพชาอุปสมบทได้ทรงคุณความดีหลายประการ แต่จะยกขึ้นกล่าวที่ข้อสำคัญ ๗ ประการ คือ หลวงพ่อไกร
|