ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4518
ตอบกลับ: 17
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เขาพนมกุเลน เมืองเสียมเรียบ

[คัดลอกลิงก์]
เขาพนมกุเลน เมืองเสียมเรียบ




2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดพุทธศาสนาบนเขาพนมกุเลน


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ฐานโยนีใต้น้ำ บนเขาพนมกุเลน


4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แท่งศิวลึงค์ใต้น้ำ บนเขาพนมกุเลน


5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
• พนมกุเลน
• ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 14
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบกุเลน
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย
• ในภาษากัมพูชา พนม หมายถึง ภูเขา กุเลน หมายถึง ต้นลิ้นจี่ ชื่อนี้ได้มาจากบริเวณนั้นมีต้นลิ้นจี่มากนั่นเอง มเหนทรบรรพต หรือ เขาพนมกุเลน ในปัจจุบัน เป็นเทือกเขาสูงทอดยาว พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ได้สถาปนาศูนย์กลางเมืองหลวงขึ้นพร้อมๆ กับที่ได้สถาปนาลัทธิเทวราชาขึ้น เพื่อความต้องการทางการเมืองให้หลุดพ้นจากอำนาจของชวา มีการประกอบพิธีกรรมโดยเชิญพราหมณ์มาเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมดังกล่าว
• ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่บอกว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงประทับอยู่ที่เขาพนมกุเลนนานเท่าไร แต่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าคงไม่นานเพราะเป็นภูเขาสูงชัน ภูมิประเทศจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหลวงเท่าใดนัก ในที่สุดพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ก็เสด็จกลับมาครองราชย์ที่หริหราลัยอีก ประทับอยู่จนถึงวันสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ ก็เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.1393 ภายหลังการเสด็จสวรรคตแล้ว ทรงได้รับพระนามว่า ปรเมศวร หลังจากนั้นไม่มีกษัตริย์ขอมองค์ใดย้ายเมืองหลวงมาบนเขาพนมกุเลนอีกเลย หลังจากนั้นมาอีก 300 ปี จึงมีการสร้างมหาปราสาทนครวัดขึ้น ร่องรอยของปราสาทบนเขาพนมกุเลนจึงพบเป็นปราสาทหลังเล็กๆและมีสภาพทรุดโทรมลงมาก มีเพียงแต่ศิวลึงค์ที่ถูกแกะสลักอยู่ใต้น้ำนับพันอันที่ยังคงสภาพดีอยู่
• สิ่งที่ค้นพบในพนมกุเลน
• ศิวลึงค์นับพันองค์อยู่ใต้น้ำ ศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย บูชาศิวลึงค์ว่าเป็นต้นกำเนิดของสรรพชีวิต ศิวลึงค์นั้นก็คืออวัยวะเพสชายใช้แทนพระศิวะ และฐานโยนีที่ล้อมรอบศิวลึงค์ ก็คืออวัยวะเพศของเพศหญิง ซึ่งก็คือนางอุมาเทวีชายาของพระศิวะนั่นเอง ชาวฮินดูเชื่อว่าตราบใดที่อวัยวะทั้งสองยังอยู่ด้วยกัน ตราบนั้นโลกจะอยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองสำหรับการบูชาศิวลึงค์นั้น พราหมณ์จะเป็นผู้นำน้ำมาราดบนศิวลึงค์และน้ำที่รดนั้นจะไหลออกไปที่ช่องโยนี ลงไปสื่อโสมสูตรผู้คนที่มารองรับน้ำนี้ไปกินเชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาโรคภัยได้
• การประกอบพิธีด้วยการทำน้ำศักดิ์สิทธิ์ กระทำไม่บ่อยนัก โดยปกติแล้วแท่นศิวลึงค์จะถูกประดิษฐานไว้บนปรางค์ประธานของปราสาท ต่างๆ เมื่อกระทำพิธีเศกน้ำศักดิ์สิทธิ์จึงได้ปริมาณน้ำที่ไม่มากนักในขณะที่ชาวเมืองต่างพากันมารองรับน้ำกันมากมาย พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงเห็นว่าเป็นความยุ่งยากและไม่ทั่วถึง จึงเกิดความคิดทำให้แม่น้ำเสียมเรียบกลายเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์เสมือนแม่น้ำคงคา พระองค์จึงโปรดให้สร้างศิวลึงค์อยู่ใต้น้ำเสียเลยเมื่อน้ำไหลผ่านรูปแกะสลักศิวลึงค์ใต้น้ำ จึงเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ให้ผู้คนมารองรับไปกิน หรือนำไปฝากญาติมิตรที่อยู่ห่างไกลออกไปได้สะดวก
ศิวลึงค์ที่อยู่ใต้น้ำที่เป็นช่วงต้นแม่น้ำเสียมเรียบนี้อยู่บนเขามีภูมิประเทศเป็นหินทรายอยู่ใต้น้ำยาวหลายร้อยเมตร ขอมโบราณได้ขุดทางเดินสายน้ำใหม่เป็นทางเบี่ยงให้ลงไปอีกทางหนึ่ง เพื่อจะให้บริเวณที่จะทำการแกะสลักศิวลึงค์ใต้น้ำได้สะดวก เมื่อการแกะสลักเรียบร้อยแล้วจึงกลบ ทางเบี่ยงนั้นแล้วปล่อยให้น้ำไหลตามเดิม
สำหรับศิวลึงค์ที่อยู่ใต้น้ำมีมากถึงหนึ่งพันองค์ซึ่งใช้แทนฤาษีหนึ่งพันตน นอกจากศิวลึงค์แล้วยังมีรูปวิษณุเทพถูกแกะสลักอยู่ด้วยกัน
พนมกุเลนเป็นที่ตั้งของมเหนทรบรรพต มเหนคร หมายถึง พระศิวะ ส่วนบรรพตนั้นหมายถึง ภูเขา ความหมายของเมืองจึงเป็นที่อยู่ของพระศิวะ พนมกุเลนจึงเป็นนิมิตรรูปของเขาพระสุเมรุราชที่มี 109 ยอด ยอดสูงสุดคือยอดเขาไกรลาศ เป็นที่อยู่ของพระศิวะ และพระนางอุมาเทวี และพนมกุเลนยังเป็นสัญลักษณ์ของเขาหิมาลัย ที่มีแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลลงมาจากธารสวรรค์
• น้ำตกพนมกุเลน หลังจากชมความมหัศจรรย์ของศิวลึงค์พังองค์แล้ว สายน้ำที่ไหลลดหลั่นลงสู่ที่ต่ำยังก่อให้เกิดชั้นน้ำตกสวยงามถึงสองชั้นด้วยกัน ชั้นแรกเป็นน้ำตกชั้นเล็ก ดูสวยงาม น้ำไหลลงเป็นม่านท่ามกลางราวไพรที่โอบล้อม ส่วนชั้นช่างมรทางเดินเลาะลงไปเล็กน้อยจะพบชั้นน้ำตกสูง สถานที่นี้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเขมร
วัดพระองค์ธม นอกจากการได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์หรือที่ใครๆ ขนานนามว่าเทวาลัยใต้น้ำแล้ว ยังมีศาสนสถานอีกแห่งหนึ่งที่น่าไปชม คือวัดพระองค์ธม หรือวัดพระองค์ใหญ่นั่นเอง อยู่บนยอดสูงสุด ห่างจากน้ำตกไม่ไกลนัก พระพุทธรูปนี้เดิมทีเป็นก้อนหินขนาดใหญ่และถูกแกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขึ้น โดยฐานยังเป็นก้อนหินอยู่ การขึ้นไปชมนั้นต้องปีนบันไดสูงสิบกว่าเมตรไปยังโบสถ์ลอยฟ้า ที่สร้างขึ้นไว้คลุมองค์พระ และยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม เห็นราวป่าเขียวชอุ่มพระพุทธรูปนี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1701 ในรัชสมัยพระเจ้าศรีสุคฯธบุตรและพระเจ้าองค์จันทร์ที่ 1

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บ่อน้ำผุด ต้นกำเนิดแม่น้ำเสียมเรียบ


7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
น้ำตกพนมกุเลน เขาพนมกุเลน


8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
• กบาลสะเปียน
• ปีที่สร้าง : สร้างในปลายปีพุทธศตวรรษที่ 16
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบาปวน
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย
• กบาลสะเปียนหรือหัวสะพาน ถูกขนานนามจากแนวก้อนหินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีลักษณะคล้ายสะพานทอดข้ามสายน้ำเล็กๆ ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขากุเลน ธารน้ำสายนี้แยกไหลเป็นสายย่อยเลาะรอบเมืองพระนครผ่านเรือกสวนไร่นาของประชาชนก่อนที่จะไหลรวมกับแม่น้ำเสียมเรียบ และไหลลงทะเลสาบในที่สุด ทั้งพนมกุเลนและกบาลสะเปียนแม้จะอยู่ห่างกันคนละที่ แต่ก็มีสองสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาภายใต้ผืนน้ำของท้องธารทั้งสอง ที่เหมือนกันคือรูปศิวะสลักหรือศิวลึงค์องค์ย่อมๆ ไปถึงขนาดใหญ่นับพันองค์ และรูปโยนีสลักอีกเป็นจำนวนมาก แผ่ขนานไปตามความยาวของลำธารตื้นๆ เป็นระยะทางเกือบหนึ่งกิโลเมตร เป็นที่น่าสังเกตว่าด้านหน้าของโยนีถูกสลักให้หันไปทางทิศเหนือเสมอ เพราะว่าแต่โบราณถือว่าเหนือเป็นทิศแห่งโชคลาภ และความสมบูรณ์พูนสุขจึงนิยมสลักโยนีสู่ทิศเหนือเสมอ
• กบาลสะเปียน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ปลายพุทธศตวรรษที่ 16 โดยมีพระประสงค์เพื่อให้พราหมณ์ประกอบพิธีเสกน้ำให้ศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำน้ำไปประกอบพิธีหลวงในพระราชวัง และเพื่อให้เหล่ามวลประชาราษฎร์นำไปบูชารักษาโรคภัยไข้เจ็บ นำไปใช้กับไร่นาของตนได้ เพื่อผลผลิตที่สมบูรณ์
• กบาลสะเปียนถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของชาวกัมพูชา และปลอดพ้นจากสายตานักท่องเที่ยวในโลกยุคปัจจุบันมาเนิ่นนาน ด้วยอยู่ในป่ารกทึบและเส้นทางก็ไม่ได้ตัดผ่าน จนกระทั่งในปี พ.ศ.2511 (ค.ศ.1968) ปอล บัวลิเย่ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบกบาลสะเปียน และให้สมยาสายธารนี้ว่า “The River of the Thousand Lingar
• ปัจจุบันการเดินทางไปเที่ยวชมกบาลสะเปียนนับว่าสะดวกมาก สามารถใช้ถนนเส้นทางจากเสียมเรียบ-ปราสาทบันทายสรี ระยะทาง 35 กิโลเมตร เมื่อถึงบันทายสรีให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางขนานกับพนมกุเลนไปอีก 12 กิโลเมตร ก็จะถึงสุดทางถนนจากนี้จะต้องเดินเท้าอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เส้นทางเดินจะไต่ระดับไปเรื่อยๆแต่ไม่ชันนัก ตลอดเส้นทางมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมได้บรรยากาศร่มรื่นพอสมควร ก่อนถึงทางไปสู่ต้นน้ำและสายธารแห่งพันศิวลึงค์จะมีทางแยกซ้ายไปเที่ยวชมน้ำตก สังเกตได้ว่าชาวกัมพูชาที่มากกบาลสะเปียนมักนิยมไปเล่นน้ำตกกันมากกว่ามาชมธารศิวลึงค์กันเสียอีก
• กบาลสะเปียน ความน่าตื่นตะลึงของกบาลสะเปียน มิได้มีเพียงรูปสลักศิวลึงค์นับพันองค์คู่กับฐานโยนีใต้ท้องน้ำที่มีหินทรายทอดตัวขนานไปกับสายธารนั้น ยังมีภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์ ภาพพระพรหมสี่หน้า ภาพตรีมูรติมีพระศิวะ พระพรหม และพระวิษณุประทับทรงอยู่ในปรางค์ปราสาท การสลักภาพมีทั้งแบบนูนสูงและต่ำ โดยเฉพาะภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์บนศิลาทรายทั้งที่ใต้ท้องน้ำตามโขดหิน และก้อนหินขนาดใหญ่มีให้ชมกว่า 5 แห่ง หลายท่านคงตั้งคำถามว่าภาพสลักเหล่านี้ขึ้นมาได้อย่างไร และเหตุใดจึงต้องมาแกะสลักไว้ใต้น้ำเช่นนี้ ดูเหมือนเรื่องราวของสถานที่แห่งนี้ยังไม่มีใครศึกษาอย่างจริงจัง แต่ก็พอมีหลักฐานยืนยันว่าในรัชสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (ศิลปะแบบบาปวน พ.ศ. 1386-1418) ทรงมีพระบัญชาให้ช่างขอมสกัดภาพแบบทั้งนูนต่ำและนูนสูงเป็นรูปลักษณ์ของศิวลึงค์และโยนีบนหินทรายใต้สายธาร ด้วยการเบี่ยงสายน้ำเฉพาะบริเวณที่สกัดนั้นขึ้นให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามที่ต้องการด้วยความเชื่อในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายที่บูชาพระศิวะ และศิวลึงค์ซึ่งถือเป็นตัวแทนของพระองค์ อันเป็นความเชื่อของขอมที่รับมาจากวัฒนธรรมอินเดียแต่โบราณ ทำให้วันนี้ใครต่อใครหลายคนตื่นเต้นและตื่นตะลึงกับพลังความเชื่ออันลี้ลับของชาวขอม

เสี่ย ยังไม่เคยเห็นของจริง สินะ
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-29 22:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-4-29 08:26
เสี่ย ยังไม่เคยเห็นของจริง สินะ
...

คงได้แค่มองๆๆ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้