ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2046
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ลูกประคบ…ทำเองก็ได้..ง่ายจัง !!!

[คัดลอกลิงก์]
โดย ลัดดาวัลย์ กรรณนุช
[size=2em]งค์ประกอบของการทำสปา ก็มีการใช้ลูกประคบเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ วันนี้จึงมีเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับลูกประคบมาให้เพื่อนๆได้เรียนรู้ หรือแม้แต่นำไปทำใช้เองได้สบายๆ

การทำลูกประคบ คือ การนำสมุนไพรที่เป็นยาสมุนไพร และมีน้ำมันหอมระเหย ชนิดต่างๆหลายชนิด มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำห่อด้วยผ้าดิบ รวมกัน แล้วนึ่งให้น้ำมันหอมระเหยในสมุนไพร ซึ่งเมื่อถูกความร้อนจะระเหยออกมาจะมีกลิ่นหอมและส่วนประกอบในสมุนไพรจะละลายเป็นน้ำมันออกมา จะซึมเข้าใต้ผิวหนังตามร่างกาย  เช่น ไพล ขมิ้นชัน  ขมิ้นอ้อย ตะไคร้ มะกรูด การบูร


ลูกประคบมี 2 ชนิด คือ ลูกประคบสมุนไพรสดต้องรีบนำไปใช้ ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน  ในอุณหภูมิปกติ ต้องเก็บในตู้เย็นหรือภาชนะบรรจุพิเศษ และลูกประคบสมุนไพรแห้ง ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน  สะดวกในการนำไปใช้

ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ ได้แก่

1. เหง้าไพล (Zingiberaceae) (500 กรัม) บรรเทาปวดเมื่อยลดการอักเสบ

2. ขมิ้นชัน (Turmeric) (100 กรัม) บรรเทาฟกช้ำ  เม็ดผดผี่นคัน

3. ผิวมะกรูด (Kaffir lime, leech lime) หรือ ผิวส้ม (Orange) (200 กรัม) บรรเทาลมวิงเวียนทำให้เกิดกลิ่นหอมละมุน

4. ตะไคร้บ้าน (Lemon Grass, Lapine) (100 กรัม) บรรเทาปวดเมื่อยลดอาการอักเสบ

5. ใบมะขาม (Tamarind) (100 กรัม) บรรเทาอาการคันตามร่างกาย  บำรุงผิว ชำระไขมัน หรือ ใบขี้เหล็ก (Cassod Tree, Thai Copper Pod) ช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนัง  ทำให้หลับสบาย

6. พิมเสน (Borneo camphor) ) (30 กรัม) แต่งกลิ่น แก้พุพอง แก้หวัด

7. การบูร (Camphor) (2 ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ  แก้พุพอง

8. เกลือแกง (salt) (1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความชื้น ช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้อย่างสะดวก

9. ข้าวกล้อง (Brown rice) (100 กรัม) คั่วให้หอม ทุบให้แตก น้ำมันจากข้าวกล้องช่วยบำรุงผิวพรรณ เปล่งปลั่ง จากสารต้านอนุมูลอิสระ คือวิตามิน อี (สูตรปรับปรุงจาก กรมการข้าว)

ประโยชน์ของการประคบ

1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ผืดตัวออก
2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ
3. ลดการติดขัดของข้อต่อ ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ผืดตัวออก ลดอาการปวด
4. ช่วยเเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและความเครียดทั้งปวง
อ้างอิง : ภาควิชาแพทย์แผนไทย วสส.พิษณุโลก   write by: หมออนามัยไกลบ้าน : UnityNature

วัสดุ/อุปกรณ์เขียง มีด หม้อดินปากเล็ก เตา ครก ผ้าด้ายดิบ เชือกด้าย กะละมัง ทัพพี ถาด

การปรุงลูกประคบสมุนไพร

1. นำทั้งหมดมาหั่น  เสร็จแล้วใส่ในครกตำหยาบ ๆ นำไปตากแดดให้ แห้ง

2. นำสมุนไพรที่ตากแดดแห้งแล้วมาผสมกับเกลือ การบูรและพิมเสน มาผสมคลุกรวมกันในกะละมังจนกระทั่งเป็นเนื้อเดียวกัน  แล้วจึงนำมาห่อลูกประคบ



การห่อลูกประคบ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกประคบสะดวกใช้และสวยงาม

1.  นำส่วนทั้งหมดมาวางตรงกลางของผ้า เริ่มต้นจับมุมผ้าทีละ 2 มุม ขึ้นมาทบกัน จับจนครบทั้ง 4 มุม ให้รวบมุมผ้าที่ละมุม อีกครั้งหนึ่งจนครบอีกทั้ง 4 มุม

   

2.  แต่งชายผ้าให้เรียบร้อย ซ้อนกันเป็นชายเดียว  จากนั้นค่อย ๆจัดแต่งลูกประคบให้เป็นรูปทรงกลมที่สวยงาม มัดด้วยเชือกที่ทำเป็นห่วงคล้อง แล้วมัดปมให้แน่น

   

3.  การทำด้ามจับ  โดยการจับชายผ้าที่เหลือมาซ้อนกันให้เรียบร้อย  เสร็จแล้วพับเข้าหากันเพื่อเก็บซ่อนชายผ้าทั้งสองด้าน

   

4.  จัดแต่งและซ่อนชายผ้าเรียบร้อยแล้ว ให้พับปลายลงมาประมาณ กะประมาณความยาวก้านให้สวยงาม ม้วนทบด้ามให้เรียบร้อย ใช้ปลายเชือกเส้นเดิมผูกแบบเงื่อนตายให้แน่น อีกครั้งหนึ่ง

   

5.  ซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าตรงรอยพับที่เป็นด้ามจับ  และเพื่อให้ลูกประคบมีความแข็งแรงสวยงาม คงทนต่อการใช้งาน  การทำเช่นนี้จะทำให้เชือกเรียงกันดูสวยงามและเป็นระเบียบ

      



วิธีประคบผู้ป่วย
1. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งประมาร 15-20 นาที
2. ใช้ผ้าจับลูกประคบขณะร้อน ยกขึ้นจากปากหม้อ
3. ใช้ลูกประคบแตะที่ท้องแขนตนเองทดสอบความร้อน
4. ช่วงแรก แตะลูกประคบ และยกขึ้นโดยเร็ว จนกว่าลูกประคบจะคลายความร้อนลง
5. จากนั้น จึงวางลูกประคบให้นานพอประมาณ แล้วกดเน้นบริเวณที่ต้องการ
6. เปลี่ยนลูกประคบเมื่อเย็นลง

ข้อห้าม หรือ ข้อจำกัดในการใช้ลูกประคบ
๑. ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป
๒. ควรใช้ผ้าขนหนูรองบริเวณผิวหนังอ่อนๆ หรือบาดเจ็บ
๓. ควรระวังผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน อัมพาต เด็ก ผู้สูงอายุเพราะการตอบสนองต่อความร้อนช้า
๔. ไม่ประคบเมื่อมีอาการอักเสบ หรือ บวม ใน 24 ชั่วโมงแรก เพราะอาจบวมมากขึ้น

การเก็บรักษา
๑. ลูกประคบที่ทำครั้งหนึ่ง สามารถเก็บไว้ได้นาน 3-5 วันถ้าใส่ตู้เย็นสามารถเก็บได้ 7 วัน
๒. ควรผึ่งให้แห้งก่อนเก็บ ไม่ให้อับชื้น ถ้าเก็บในตู้เย็น จะเก็บได้นานมากขึ้น
๓. ลูกประคบที่แห้ง ก่อนใช้ควรพรมด้วยน้ำ หรือเหล้าขาว
๔. ลูกประคบที่มีสีเหลืองอ่อน หรือ จางลง แสดงว่าตัวยาในลูกประคบหมดสภาพแล้วจะใช้ไม่ได้ผล
๕. เมื่อต้องการจะนำไปใช้ใหม่  ต้องเปลี่ยนผ้าห่อลูกประคบผืนใหม่
๖. เวลาที่จะเก็บไว้ และเอามาใช้ใหม่ควรเติมเกลือ และพิมเสน การบูร อย่างละ 1ช้อนโต๊ะ

ที่มา : www.thaipun.com

[url=http://ku30.net/?tag=%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2][/url]
ทำไม่ยาก แต่วัตถุดิบยากอะค่ะ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-9-26 22:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ใช่ครับส่วนมาซื้อเอาครับ^^
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้