ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกขลัง หลากหลายเกจิอาจารย์
»
ผ้ายันต์ทวาทศมณฑลเมื่อครั้งสร้าง'เสาหลักเมืองนครฯ'พ.ศ.๒๕๓๐
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2665
ตอบกลับ: 0
ผ้ายันต์ทวาทศมณฑลเมื่อครั้งสร้าง'เสาหลักเมืองนครฯ'พ.ศ.๒๕๓๐
[คัดลอกลิงก์]
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-8-16 13:54
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
[url=]
[/url]
ผ้ายันต์ทวาทศมณฑลเมื่อครั้งสร้าง'เสาหลักเมืองนครฯ'พ.ศ.๒๕๓๐ : ชั่วโมงเซียน โดยอ.โสภณ
เมื่อครั้ง “องค์จตุคามรามเทพ” สร้าง “เสาหลักเมืองกรุงศรีธรรมโศก” ขึ้นใหม่เหนือแผ่นดินเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี ๒๕๓๐ ได้สร้างผ้ายันต์แบบพิเศษขึ้นเพียงผืนเดียวเรียกว่า “ผ้ายันต์ทวาทศมณฑล” เพื่อใช้ในพิธีสำคัญ เช่น การทำพิธีเบิกเนตรเสาหลักเมือง ปลุกเสกวัตถุมงคลหลักเมืองจะขึงผ้ายันต์ทวาทศมณฑลเป็นเพดานของศูนย์กลางมณฑลพิธี ในพิธีสำคัญของเทวาลัยจตุคามรามเทพ เจ้าแม่นางพญา ขอให้ พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ประธานจัดสร้าง “เทวาลัยจตุคามรามเทพนากปรก ๙ เศียร" องค์ใหญ่ที่สุดในโลกและงดงามที่สุดในโลก ณ ริมฝั่งแม่น้ำกุยบุรี ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้นำผ้ายันต์ทวาทศมณฑลมาขึงเป็นผ้าเพดาน ณ ศูนย์-กลางมณฑลพิธี เพื่อดูดซับรับรัศมีแสง ดาวพระเคราะห์ ดาวฤกษ์ ลงมาสู่วัตถุมงคลให้เกิดความศักดิ์-สิทธิ์ไปตามอำนาจของพรสวรรค์แห่งจักรวาล
พล.ต.ท.สรรเพชญ อธิบายให้ฟังว่า วัตถุธาตุที่มีชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นในโลกมีอยู่เพียง ๓ ชนิด คือ มนุษย์ สัตว์ และพืชโลกของเราจึงเป็นสถานที่แห่งเดียวในจักรวาลอันเป็นที่เกิดขึ้นและอยู่อาศัยแล้วดับสูญไปตามกฎแห่ง “พระไตรลักษณ์” ของพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วหมุนเวียนกลับมาเกิดใหม่ตาม “กฎวัฏจักร” หรือ “วงจรปฏิจจะสมุปะบาท” แปลว่า วงจรแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอย่างหาที่สิ้นสุดมิได้ โลกของเราจึงเป็นแหล่งเกิดขึ้นของสรรพสิ่งเรียก-ว่า “อุบัติ” และเป็นแหล่งดับสูญไปของสิ่งทั้งหลายเรียกว่า “วิบัติ”
โลกของเราเป็นดาวพระเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยจักรวาล ในยามค่ำคืนเห็นดวงดาวทอแสงระยิบระยับจับตาอยู่ไกลแสนไกลไปจากโลกของเรา ดวงดาวที่เรียงรายไปทั่วท้องนภากาศเป็นรูปวงกลมจึงเป็นที่อยู่อาศัยของ “กลุ่มดาวฤกษ์”
โหราจารย์จึงได้จัดแบ่งรูปทรงกลมของท้องฟ้าซึ่งเป็นแหล่งสถิตของ “กลุ่มดาวฤกษ์” ๑๒ กลุ่ม ตามเส้นทางโคจรของ ดวงอาทิตย์ ออกเป็น ๑๒ นักษัตรราศี เรียกว่า “ทวาทศมณฑล” โดยเรียงลำดับจากจุดครบรอบวงกลมที่ราศีเมษายน ราศีพฤษภาคม ราศีมิถุนายน ราศีกรกฎาคม ราศีสิงหาคม ราศีกันยายน ราศีตุลาคม ราศีพฤศจิกายน ราศีธันวาคม ราศีมกราคม ราศีถุมภาพันธ์ ราศีมีนาคม อันเป็นการแบ่ง “กลุ่มดาวนักขัตฤกษ์” อย่างหนึ่ง ยังมีการแบ่ง “กลุ่มดาวฤกษ์” ในท้องฟ้าอีกระบบหนึ่งโดยแบ่งแยกย่อย “ทวาทศมณฑล” หรือ ออกเป็น ๒๗ กลุ่ม ตามชื่อของ “กลุ่มดาวฤกษ์” ต่างๆ ดังนี้
๑.ดาวฤกษ์อัศวินี ดาวม้า ๒.ดาวฤกษ์ภรณี ดาวก้อนเส้า ๓.ดาวฤกษ์กฤตติกา ดาวลูกไก่ ๔.ดาวฤกษ์โรหิณี ดาวจมูกม้า ๕.ดาวฤกษ์มฤคศิระ ดาวหัวกวาง ๖.ดาวฤกษ์อารทรา ดาวฉัตร
๗.ดาวฤกษ์ปุนัพสุ ดาวสำเภา ๘.ดาวฤกษ์ปุษยะ ดาวดอกบัว ๙. ดาวฤกษ์อสิเลส ดาวเรือน ๑๐. ดวฤกษ์มาฆะ ดาวงู ๑๑.ดาวฤกษ์บุพพผัดคณี ดาววัวตัวผู้ ๑๒.ดาวฤกษ์อุตตรผัดคุณี ดาววัวตัวเมีย๑๓. ดาวฤกษ์หัสตะ ดาวหัวช้าง ๑๔.ดาวฤกษ์จิตรา ดาวจระเข้ ๑๕.ดาวฤกษ์สวาตี ดาวกระออมน้ำ
๑๖.ดาวฤกษ์วิสาขา ดาวคันฉัตร ๑๗.ดาวฤกษ์อนุราช ดาวหงอนนาค ๑๘.ดาวฤกษ์เชษฐา ดาวช้างใหญ่ ๑๙.ดาวฤกษ์มูละ ดาวช้างน้อย ๒๐. ดาวฤกษ์ปุพพอาษาฒ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ๒๑.ดาวฤกษ์อุตรอาษาฒ ดาวราชสีห์ตัวเมีย ๒๒.ดาวฤกษ์ศรวณะ ดาวหลักชัย ๒๒.ดาวฤกษ์ธนิษฐา ดาวกา ๒๔.ดาวฤกษ์ศตภิษัส ดาวมังกร ๒๕.ดาวฤกษ์ปุพภัทรบท ดาวแรดตัวผู้ ๒๖.ดาวฤกษ์อุตราภัทร ดาวแรดตัวเมีย ๒๗. ดาวฤกษ์เรวดี ดาวปลา
โหราจารย์รู้ว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง ๒๗ กลุ่ม จึงแบ่งอาณาเขตของกลุ่มดาวฤกษ์แต่ละกลุ่มออกเป็น ๔ นวางค์ เพื่อให้สอดคล้องกับ “ปรมาณูธาตุ” ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งระเหยระเหิดจากพื้นผิวโลกขึ้นไปล่องลอยอยู่ในชั้นฟ้า เรียกว่า “ชั้นบรรยากาศธาตุ” โดยแบ่งเป็น “นวางค์ธาตุดิน” “นวางค์ธาตุน้ำ” “นวางค์ธาตุลม” “นวางค์ธาตุไฟ” เรียงรายกันไปในกลุ่มดาวฤกษ์หนึ่ง ๆ เรียกว่า “บาทฤกษ์” บาทฤกษ์ของดาวฤกษ์ทั้ง ๒๗ กลุ่มมีอานุภาพบันดาลให้เกิดเป็นฤกษ์ดี ฤกษ์ร้าย และฤกษ์ไม่ดีไม่ร้าย ขึ้นในโลก จึงกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มบาทฤกษ์เป็น ๙ กลุ่ม ดังนี้
๑. ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ฤกษ์ยากจน ๒. มหัทธโนฤกษ์ แปลว่าฤกษ์เศรษฐี ๓.โจโรฤกษ์ แปลว่า ฤกษ์โจร ๔. ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่าฤกษ์เจ้านาย ๕. เทศาตรีฤกษ์ แปลว่าฤกษ์ขี้ข้า ๖. เทวีฤกษ์ แปลว่า ฤกษ์นางพญา ๗. เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ฤกษ์สังหาร ๘. ราชาฤกษ์ แปลว่า ฤกษ์เจ้าพญา และ ๙.สมโณฤกษ์ แปลว่า ฤกษ์ศาสนา
http://www.komchadluek.net/detail/20140804/189477.html
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...