ความเชื่อและความเป็นมาของตุง ในความเชื่อของชาวล้านนา "ตุง" เป็นสัญญลักณ์ของความดี ความเป็นสิริมงคล มีลักษณะเป็นผืนยาวผูกติดกับปลายไม้
หรือเสา เพื่อเป็นสื่อนำวิญญาณของผู้ที่ถวายทานตุงให้ขึ้นไปสู่สวรรค์
ตุง : เครื่องสักการะอันเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา
ชาวบ้านทางภาคเหนือมีคติความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงส์ของทานตุงอยู่มาก ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาเป็นทอด ๆหลายชั่วอายุคน
ดังตัวอย่างมีกาเผือกคู่หนึ่งออกไข่มา 5 ฟอง อยู่บนต้นไม้เมื่อเกิดพายุไข่ทั้งหมดพลัดตกลงมาไปแต่ละแห่ง ครั้นพ่อแม่กาเผือก
กลับมาไม่เห็นไข่ของพวกตน ทำให้เกิดความโศกเศร้าอย่างสุดซึ้ง จนตรอมใจตายไปอยู่บนสวรรค์ ไข่ทั้งห้าใบต่างถูกไก่ เต่า พญานาค โค และคนซักผ้า นำไปเลี้ยงจนเติบโตเป็นชายหนุ่มทั้งห้าคนต่างคนก็มีจิตใจอยากบวชจึงบวชจนสำเร็จได้ญาณ
และมาพบกันทั้งหมดโดยบังเอิญทั้ง 5 องค์มีความกตัญณูกตเวทีต่อผู้ที่ให้กำเนิด จึงได้สร้างตุงถวายอุทิศให้กะกุสันทะซึ่งไก่
่เป็นผู้เลี้ยงสร้างรูปไก่โกนาคมนะทำเป็นรูปนาค กัสปะรูปเต่า โคตมะรูปวัว และอริะเมตรัย สร้างเป็นค้อนสำหรับทุบผ้า เป็นเครื่องหมายถึง คนซักผ้าเมื่อสร้างตุงเสร็จแล้วก็ทำถวายอุทิศแต่ไม่ถึงบิดามารดาผู้ให้กำเนิดกาเผือก จึงต้องมาบอกให้ทำปทีป
เป็นรูปตีนกาจุดไปถึงจะส่งอุทิศไปถึง ตุง สมัยก่อนของชาวเหนือจึงมีความสำคัญกับพระพุทธเจ้าทั้ง 5 องค์ การทำตุงถวาย
จึงเปรียบเสมือนตัวแทนสักการะของการแผ่บุญกุศล กตัญณูกตเวทีไปถึงผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว เราอาจเห็นตุงที่มีรูป
ไก่ยืนอยู่บนหัวตุง ซึ่งหมายถึงไม้ซักผ้า ส่วนลำตัวและใบไฮของตุงแทนรูปหน้าลวดลายต่าง ๆ เป็นตารางเกล็ด หรือสี่เหลี่ยมขนม
เปียกปูน หมายถึงเต่า และส่วนประดิษฐ์ที่เป็นรูปกลม ๆ หมายถึง ตราวัว แทนวัวหรือโคตมะ นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อกัน ว่าวิญญาณผู้ตายนี้สามารถยึดหรือปีนป่ายชายตุงจากนรกขึ้นสู่สวรรค์ได้ ดังเรื่องราวที่ว่า กาลหนึ่งมีนายพรานซึ่งเข้าป่าล่าสัตว
์นานนับสิบ ๆปีผ่านไปที่วัดเห็นตุงที่เแขวนอยู่โบกสบัดสวยงามมากเมื่อกลับมาถึงบ้าน จึงได้ทำตุงขึ้นเพื่อที่จะไปถวายบูชาพระ
ประทาน ครั้นเมื่อเขาตายไปถูกตัดสินส่งลงนรกเนื่องจากไม่เคยทำความดีเลยมีแต่ฆ่าสัตว์ ยกเว้นเสียแต่ทำตุงถวายวัดเท่านั้น เมื่อถูกตัดสินให้ตกนรก ตุงผืนที่เขาทำนั้นได้มาพันดึงเขาให้พ้นจากนรกนำขึ้นสู่สวรรค์ได้ ชาวเหนือจึงมีความเชื่อที่ว่า การถวายหรือทานตุงนี้นมีอานิสงส์หรือได้บุญอย่างมาก
ธงในอดีตกาลยุคก่อนประวัติศาสตร์เปรียบเสมือนตัวกลางเชื่อมโยง ในการติดต่อระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับมนุษย์หรือ
ระหว่างคนต่อคนด้วยกัน รูปแบบชนิดของธงได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดมา โดยมีปัจจัยความเชื่อดั้งเดิมของคนเผ่านั้น ๆ ศาสนา สังคม
การเมืองและการค้าเป็นตัวแปรที่สำคัญ ธง ตุง จ้อ ตำข่อน ทางภาคเหนือของไทย เท่าที่พบนั้นมีอยู่มากมาย
หลายชนิดมีสีสันและความสวยงามมาก ในส่วนของตุงที่ใช้ในพิธีมงคลนั้นจะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบชนิดใดตลอดไป ในขณะที่ตุงที่ใช้ในงานอว
มงคลนั้นจะมีลักษณะชนิดรูปแบบที่ค่อนข้างแน่นอนมากกว่าเสมอการทำบุญถวายตุงทางภาคเหนือนั้นชาวบ้านถือว่าเป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธ
ิ์และได้บุญกุศลมาก มีความเชื่อที่ว่าตุงนั้นจะสามารถช่วยดึงให้วิญญาณที่ตกนรกกลับขึ้นสวรรค์ได้ |