ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 13005
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ วัดศาลากุน ~

[คัดลอกลิงก์]


ประวัติหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

ส่วนประวัติของหลวงพ่อสุ่น ไม่เป็นที่กระจ่างนัก เล่ากันว่าท่านชื่อ สุ่น นามสกุล ปานกล่ำ เป็นชาวปากเกร็ดโดยกำเนิด เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๓๕ เมื่อบวชแล้วได้ฉายาว่า จันทโชติ แปลว่า รุ่งเรืองดุจจันทร์เพ็ญ ไม่ปรากฏนามพระอุปัชฌาย์อาจารย์

จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน ตั้งแต่หนุ่ม ปลูกต้นรัก และต้นพุดซ้อน ดูแลอย่างดี ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นสมภาร ด้วยการทำน้ำมนต์รดต้นไม้ทั้งสองเสมอมา เมื่อเป็นสมภารคลองวัด จึงให้ลูกศิษย์ขุดรากไม้รักและพุดซ้อนตากจนแห้ง ให้ช่างมีฝีมือแกะเป็นรูปหนุมานทรงเครื่องสวยงาม

นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อสุ่นยังเป็นหนึ่งในพระคณาจาจารย์ผู้ลงอักขระบนแผ่นทองแดงใช้เป็นมวล สารในการจัดสร้างเหรียญที่ระลึก วัดราชบพิธฯ ครั้งที่ ๔ (พ.ศ.๒๔๘๑)

หลวงพ่อสุ่น เป็นสหธรรมิกของ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง โดยมีอายุมากกว่าหลวงพ่อกลิ่นประมาณ ๕ ปี

เมื่อราว พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๘๒ หลวงพ่อสุ่นมรณภาพ สิริอายุประมาณ ๗๘ ปี ในวันประชุมเพลิงหลวงพ่อสุ่นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙ นั้น หลวงพ่อกลิ่นมาเป็นเจ้าภาพด้วยตัวเอง  
หมึก ท่าพระจันทร์  ที่มา...คมชัดลึก

http://www.tumsrivichai.com/inde ... 704819&Ntype=40

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-24 18:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

หนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

พูดถึงเรื่องเครื่องรางของขลัง ก็มักจะรำลึกไปถึงชื่อหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ซึ่งมีทั้งมีดหมอ งาแกะ ฯลฯ และหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย กับเสือแกะจากเขี้ยวเสือ อันนับเป็นที่เลื่องลือและได้รับความนิยมอย่างสูง แต่ยังมีพระเกจิอีกรูปหนึ่งที่นับเป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลังเช่นกัน นั่นคือ หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน จ.นนทบุรี กับหนุมานแกะ ครับผม

หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ หรือพระอธิการสุ่น เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด เกิดไม่ไกลจากวัดศาลากุนนัก แต่ไม่ได้มีการบันทึกประวัติของท่านเก็บไว้ ทราบเพียงเมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน และด้วยศีลาจารวัตรของท่านทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาตั้งแต่พรรษา ต้นๆ ที่ยังเป็นพระลูกวัดอยู่ ดังนั้น เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพลงชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านก็ได้พัฒนาและบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองสืบมา

ว่ากันเรื่อง "หนุมานแกะ" ?เมื่อครั้งหลวงพ่อสุ่นยังเป็นพระลูกวัด ท่านได้ปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณกุฏิ 2 ชนิด คือ ต้นรักและต้นพุดซ้อน และหมั่นดูแลรดน้ำโดยนำน้ำสะอาดมาทำเป็นน้ำมนต์เพื่อรดต้นไม้ทั้งสองทุก ครั้งจนเจริญเติบโต กระทั่งเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส จึงเข้าใจกระจ่างว่าเหตุใดท่านจึงให้ความสนใจดูแลต้นไม้ทั้งสองนี้เป็นพิเศษ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตได้ที่ท่านจึงดูฤกษ์ยามทำพิธีพลีและสังเวยก่อนแล้วลง มือขุดด้วยตัวเอง จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้ง แล้วให้ช่างแกะเป็นรูปหนุมานจนหมด รวบรวมห่อด้วยผ้าขาวใส่บาตรเพื่อปลุกเสกในกุฏิ จนถึงวันเสาร์ซึ่งถือว่าเป็นวันแรง ท่านก็จะเข้าไปปลุกเสกในอุโบสถ จนครบถ้วนกระบวนการ จึงเก็บไว้แจกจ่ายบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้ถวายปัจจัยในการบูรณปฏิสังขรณ์ วัด

นอกเหนือจากหนุมานแกะที่ทำจากต้นรักและต้นพุดซ้อนแล้ว หลวงพ่อสุ่นยังได้แกะหนุมานจากงาช้างด้วย แต่สร้างในรุ่นหลัง ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และสนนราคาค่อนข้างสูงมาก

หนุมาน หลวงพ่อสุ่นแบ่งแยกได้เป็น 2 พิมพ์ คือหนุมาน พิมพ์หน้าโขนและหนุมานพิมพ์หน้ากระบี่

-หนุมาน พิมพ์หน้าโขน จะเก็บรายละเอียดต่างๆ จนครบถ้วน ทำให้มีความสวยงามและแลดูเข้มขลังยิ่งนัก

-หนุมาน พิมพ์หน้ากระบี่ เป็นแบบเรียบง่าย ไม่ค่อยมีเครื่องเครามากมาย แต่ก็ยังคงความงามในอีกรูปแบบหนึ่ง และแลดูเข้มขลังเช่นกัน

ณ ปัจจุบันหนุมานแกะหลวงพ่อสุ่นหาดูหาเช่ายากมากทุกเนื้อทุกพิมพ์ ด้วยผู้ที่มีไว้ต่างหวงแหน อีกทั้งสนนราคาสูงเอาการทีเดียว นอกจากนี้ยังมีการทำเทียมเลียนแบบสูงอีกด้วย ดังนั้น จึงต้องใช้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ถ้าเป็น หนุมาน หลวงพ่อสุ่น"เนื้อไม้" ให้นึกถึงสภาพไม้ที่ตากแห้งที่นำมาแกะ เมื่อผ่านกาลเวลาเนิ่นนานเนื้อจะแห้งสนิท และมีน้ำหนักเบา ถ้าผ่านการสัมผัสจะฉ่ำมัน แต่ตามซอกยังคงแห้งอยู่ ส่วน "เนื้องา" ก็ให้ดูความเก่าของงาให้ดี จะออกเป็นสีเหลืองธรรมชาติ ถ้าผ่านการสัมผัสจะฉ่ำมัน สีดูใสและเข้มกว่าส่วนที่ไม่ผ่านการสัมผัสครับผม

คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดยราม วัชรประดิษฐ์
ที่มา...ข่าวสด

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-24 18:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน  ท่านเป็นพระที่มีชื่อเสียงมากและน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก  หลวงพ่อสุ่นท่านเป็นต้นตำรับของตำนานการสร้างหนุมานที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัย และเมตตามหานิยม
เเก่ผู้ที่มีไว้ครอบครอง  มีผู้คนมักถามว่าทำไมหนุมานของท่านถึงมีอานุภาพมาก  ลูกศิษย์ของท่านคนนึงเล่าให้ฟังว่า การปลุกเสกหนุมานของหลวงพ่อสุ่นมีความพิเศษ มีความเเปลกเเละพิศดารเป็นอย่างมาก   ก่อนที่ท่านจะลงมือทำการปลุกเสกหนุมาน
ในตอนเช้า  หลวงปู่สุ่นท่านจะให้ลูกศิษย์ไปตัดต้นไม้ที่มีหนามมาไว้มากๆ ส่วนมากจะเป็นจำพวกต้นไผ่ ต้นมะขามเทศ ต้นพุทธา  ส่วนช่วงค่ำท่านก็จะทำวัตรกับพระลูกวัดตามปกติเหมือนทุกวัน หลังจากที่ท่านทำวัตรเสร็จเเล้ว ท่านก็จะเข้าไปในกุฎิประมาณหนึ่งชั่วโมงท่านก็จะออกมา
พร้อมกับอุ้มบาตรออกมาเเล้วเรียกลูกศิษย์ให้อุ้มบาตรเข้าไปในโบสถ์
(ท่านกำชับบอกลูกศิษย์ว่าห้ามเปิดบาตรเด็ดขาด  ท่านมักพูดลอยๆว่า “ขี้เกียจจับ”)  เเละท่านก็จะกลับมานั่งทำวัตรอีกครั้ง เมื่อทำวัตรเสร็จเเล้วหลวงปู่สุ่นท่านก็นั่งหันหลังให้พระประธานเเล้วเอาบาตรตั้งไว้ด้านหน้าจากนั้นก็จะให้ลูกศิษย์นำกิ่งไม้มีหนามที่เตรียมไว้
มาสุมไปที่ตัวท่านให้เต็มจนหาทางเข้า-ออกไม่ได้   ท่านก็จะให้ลูกศิษย์ออกจากโบสถ์เเล้วลั่นกลอนปิดประตูโบสถ์ไว้  และห้ามผู้ใดเข้าออก  ครั้นเมื่อถึงเวลาประมาณตี 4 ท่านจะเรียกลูกศิษย์ให้เข้าไปในโบสถ์
เพื่อเก็บหนุมานที่ท่านปลุกเสกไว้ติดอยู่กับกิ่งไม้เเละหนามที่สุมตัวท่าน ตัวไหนที่หล่นอยู่กับพื้นให้เเยกไว้ต่างหาก  ท่านว่ายังใช้การไม่ได้เพราะปลุกไม่ขึ้น  สิ่งที่คาใจในลูกศิษย์คือหนุมานขึ้นไปติดกับกิ่งไม้เเละหนาม ได้อย่างไร
ที่สำคัญท่านออกมาจากกองหนามกิ่งไม้ที่สุมตัวท่านได้อย่างไร  โดยทุกอย่างอยู่ในสภาพเดิมทั้งสิ้น  หนุมานที่หลวงพ่อสุ่นปลุกเสก จะมีด้วยกันสามเนื้อคือ เนื้อไม้ เนื้องาช้าง เเละเนื้อเขี้ยว ลูกศิษย์หลวงพ่อสุ่นยังเล่าให้ฟังอีกว่า
การใช้หนุมานให้ได้ผลควรจะมีคาถากำกับด้วย เริ่มด้วยการตั้งนะโม 3 จบ เเล้วว่ากล่าวว่า  “โอม หะนุมานะ นะอย่าทำนะ”  หลวงปู่สุ่นยังบอกอีกว่าเวลาไปไหนมาไหน ให้ภาวนาในใจโดยไม่มีหนุมานก็ได้  หนุมานตัวที่ลงนี้เป็นเนื้องาเเกะ โดยช่างชาวบ้าน ตัวเล็กมาก
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-24 18:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

“ขุนกระบี่วานร ฤทธิเกริกไกร หนึ่งในสยาม” หนุมานของหลวงปู่สุ่นนับเป็นสุดยอดของขลังในชุดเบญจภาคี  เป็นเครื่องรางของขลังที่นักสะสมเฝ้าใฝ่หาไว้มาครอบครองบูชาไม่แพ้เขี้ยวเสือแกะของหลวงพ่อปาน   หลวงพ่อสุ่นท่านเรียนวิชาปลุกเสกหนุมาน จากพระนาคทัศน์ ซึ่งมีคาถากำกับหนุมานให้ว่า
“นะมัง เพลิง โมมังปากกระบอก ยะมิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด อะสังวิสุโรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห”

  การะแกะหนุมาน มีช่างแกะ อยู่ 3 แบบ คือ แบบหน้าโขนทรงเครื่อง ,แบบหน้าลิงหัวค่ำ ,และหน้าลิงกระบี่   หน้าลิงหัวค่ำจะแกะเป็นหนุมานหัว   ซึ่งมีปากและลิ้นคล้ายเป็ด
หนุมานหลวงพ่อสุ่นเป็นงานที่แกะขึ้นด้วยมือล้วนๆไม่มีบล๊อกแม่พิมพ์  การพิจารณาดูว่าแท้หรือไม่จึงต้อง เน้นการอ่านฝีมือช่างให้ออก

  ส่วนที่หลวงพ่อสุ่น ท่านไม่ค่อยได้ทำตะกรุด นั้นเป็นไปได้ว่า ท่านไม่ต้องการให้ซ้ำกับสหมิกธรรมร่วมอาจารย์เดียวกันของท่านคือ หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง  เพราะเกจิยุคเก่านั้นท่านถือมากเรื่องการทำทับรอยซึ่งกันเเละกัน หรือว่า การทำทับรอยอาจารย์

http://rukpra.wordpress.com/2011 ... 0%B8%B8%E0%B8%99-3/

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-24 18:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในแวดวงนักสะสมเครื่องรางของขลัง มักจะพูดกันติดปาก คล้องจองกันว่า เสือหลวงพ่อปาน หนุมานหลวงพ่อสุ่น แสดงถึงความเก่งกล้าสามารถในการปลุกเสกเครื่องรางของขลังแต่ละชนิด ของแต่ละพระเกจิอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญคาถาอาคมไม่เหมือนกัน

ถ้าเป็นเรื่อง หนุมาน ของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าต้องยกให้ หนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี

เกาะเกร็ด เดิมทีไม่ได้เป็นเกาะ เป็นแผ่นดินที่ยื่นออกไปเหมือนแหลมจากพื้นแผ่นดินของอำเภอปากเกร็ด ที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลอ้อมผ่านไปชื่อเดิมคือ บ้านแหลม ในสมัยแผ่นดิน พระเจ้าท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา เห็นว่าหากขุดคลองลัดตรงบ้านแหลมแล้ว ระยะทางจะสั้น เรือจะสัญจรไปมาได้สะดวก จึงโปรดให้ขุดคลองลัด เมื่อพ.ศ.๒๒๖๕ เรียกว่า คลองลัดเกร็ดน้อย โดยมีความกว้างเพียง ๖ วา เท่านั้น

ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศ เซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ เลยเรียกชื่อแผ่นดินที่ถูกคลองขุดตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่นี้ว่า เกาะศาลากุน

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ระบุในโฉนดชื่อว่า เกาะศาลากุน ตามชื่อ วัดศาลากุน ที่สร้างโดย เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ตั้งแต่สมัยธนบุรี ต่อมาเมื่อตั้ง อ.ปากเกร็ด จึงเรียกเป็น เกาะเกร็ด

วัดศาลากุน ตั้งอยู่เกือบกลางเกาะเกร็ด ท้องที่หมู่ ๓ บ้านเกาะศาลากุน การเดินทางไปยังวัดนี้ ถ้าหากข้ามเรือที่ท่าวัดกลางเกร็ด เมื่อขึ้นที่ท่าเกาะเกร็ด จะมีถนนไปถึงวัดนี้ได้ ระยะทางประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร

กล่าวกันว่าวัดนี้เป็นวัดเก่าเช่นกัน เดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เนื่องจากดินริมแม่น้ำงอกขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันนี้จึงอยู่เกือบกลางเกาะเกร็ด โบราณสถานของวัดล้วนสร้างขึ้นใหม่ คืออุโบสถลักษณะทรงโบราณ ๒ ชั้น ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ เจดีย์และกุฏิสงฆ์ และยังมีโบราณวัตถุเก่า เช่น โต๊ะหมู่บูชาขนาดใหญ่ประดับมุก เครื่องแก้วเจียระไน และหีบศพประดับมุก

"ขุนกระบี่วานร ฤทธิเกริกไกร หนึ่งในสยาม" เป็นสมญานามที่คนในวงการพระเครื่องตั้งให้กับ หนุมาน หลวงปู่สุ่น นับเป็นสุดยอดของขลังหนึ่งในชุดเบญจภาคี เครื่องรางของขลังของวงการ นักสะสมใฝ่หาไว้มาครอบครองบูชาไม่แพ้ เขี้ยวเสือแกะ หลวงพ่อปาน

โดยเฉพาะนักสะสมรุ่นใหม่ไฟแรง แพงไม่ว่า ขอให้แท้เป็นทุ่มเข้าสู้ทันที หลวงพ่อสุ่น เรียนวิชาปลุกเสกหนุมาน จากพระนาคทัศน์ คาถาหนุมาน คาถากำกับหนุมานให้ว่า "นะมัง เพลิง โมมังปากกระบอก ยะมิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด อะสังวิสุโรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห"
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-24 18:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อย่างไรตาม มีเรื่องเล่าว่า ในยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ โดย คณะราษฎร ซึ่งนำโดย พ.อ.พระยาพหลพลหยุหเสนา กับคณะทหารและพลเรือนที่อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "คณะปฏิวัติ" ในครั้งนั้นท่านได้ไปหาหลวงพ่อสุ่น

ทั้งนี้หลวงพ่อสุ่นให้หนุมานหน้าโขนมาตัวหนึ่งโดยให้พกติดตัว พร้อมกับบอกในลักษณะที่ว่า ผ่านไปสักพักเรื่องเลวร้ายก็ผ่านไปด้วยดี

ในที่สุดก็เป็นอย่างที่หลวงพ่อสุ่นพูด ภายหลัง พ.อ.พระยาพหลพลหยุหเสนา นำเรือที่เป็นพาหนะส่วนตัวถวายหวงพ่อสุ่น ปัจจุบันนี้ยังปรากฏว่ามีอยู่ จากนั้นพุทธคุณของหนุมานหลวงพ่อสุ่นก็เป็นที่ร่ำรือว่ามีพุทธคุณเด่นทางคง กระพันชาตรี แคล้วคลาด

สำหรับจำนวนการสร้างหนุมานหลวงพ่อสุ่นนั้น ลุงด้วง สุขทอง (เกิด พ.ศ.๒๔๖๑) บุตรชายของ นายปลิว สุขทอง อดีตมัคทายกวัดศาลากุน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกับหลวงพ่อสุ่น ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างหนุมานของหลวงพ่อสุ่นว่า

หนุมานแกะจากไม้รากพุดซ้อน และงาช้างขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ช่างแกะชื่อ นายมี ไม่ทราบนามสกุล แกะเป็นรูปหนุมานทรงเครื่อง และไม่ทรงเครื่อง ตัวไม่ใหญ่โตมากนัก กว้างประมาณครึ่งนิ้ว สูงประมาณ ๑ นิ้วเศษ โดยมีการสร้างครั้งใหญ่ๆ อยู่ ๒ ครั้ง คือ

ครั้งแรกสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ จำนวนการสร้างไม่มากนัก น่าจะไม่เกิน ๑๐๐ ตัว แกะจากไม้รากพุดซ้อน เป็นหนุมานไม่ทรงเครื่อง ทำแจกฟรีในงานบุญต่างๆ ของวัดโดยไม่มีการจำหน่าย

ครั้งที่ ๒ สร้างปลาย พ.ศ. ๒๔๗๐-พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยนำออกจ่ายแจกในงานทอดกฐินของวัดศาลากุน ใน พ.ศ.๒๔๗๒

หนุมานที่ทำในคราวนั้น มีทั้งแบบทรงเครื่องหน้าโขน และหนุมานหน้ากระบี่ไม่ทรงเครื่อง แกะจากไม้รากพุดซ้อน และงานช้าง จำนวนการสร้างประมาณ ๒๐๐ ตัว ญาติโยมทางกรุงเทพฯ ได้รับแจกไปจำนวนมาก เพราะเป็นเจ้าภาพในบุญทอดกฐินปีนั้น
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-24 18:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ลักษณะการแกะ แกะเป็นรูปหนุมานนั่งยองๆ จับเข่า อ้าปากเห็นลิ้นกับฟัน มีทั้งแบบทรงเครื่องหน้าโขน และหน้ากระบี่ไม่ทรงเครื่อง ทั้งนี้แบบทรงเครื่องดูสวยงามและอลังการมากกว่า แต่ต้องพิจารณาให้ดี เพราะหนุมานของหลวงพ่อสุ่น มีของทำเลียนแบบจำนวนมาก ต้องพิจารณาจากความเก่าของงาและไม้ที่นำมาแกะ

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ ชัดเจน คือหนุมานหลวงพ่อสุ่น ถ้าเป็นเนื้อไม้จะมีรอยร้าวและเนื้อไม้จะแห้ง ส่วนหนุมานเนื้องาแกะ เนื้อจะต้องแห้งเก่า แต่แฝงด้วยความฉ่ำ แบบเดียวกับงาแกะเนื้อหลวงพ่อเดิม

อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อสุ่นไม่มีประวัติการเรียนอาคมจากพระเกจิอาจารย์ท่านใดไม่มีประวัติ แน่ชัด แต่ก็มีการสันนิษฐานว่า อาจจะเรียนมาจาก หลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง เพราะหลวงพ่อสุ่นกับหลวงพ่อกลิ่นเคยสนทนากันว่า "เมื่อร่ำเรียนวิชามาแล้ว ก็ต้องทำของแจกชาวบ้านบ้าง"

โดยการสร้างหนุมานทั้ง ๒ ครั้ง หลวงพ่อสุ่นจะปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถ คาถาปลุกหนุมาน ผู้เคยใช้หนุมานหลวงพ่อสุ่น ต่างมีความเชื่อว่ามีพุทธคุณเด่นทางแคล้วคลาด คงกระพัน และมหาอำนาจ

http://www.tumsrivichai.com/inde ... 704819&Ntype=40

กราบนมัสการ

ขอบคุณข้อมมูลครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้