ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1894
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อผ่อง ธัมมโชติโก วัดคูหาสวรรค์ หรือ วัดศาลาสี่หน้า กรุงเทพฯ

[คัดลอกลิงก์]
หลวงพ่อผ่อง ธัมมโชติโก วัดคูหาสวรรค์ หรือ วัดศาลาสี่หน้า กรุงเทพฯ


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 03:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
"วัดคูหาสวรรค์" หรือ "วัดศาลาสี่หน้า" เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ในอดีตเป็นสำนักปฏิบัติกัมมัฏฐาน

มีอดีตเจ้าอาวาสที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ และเป็นเจ้าตำรับ "พระสมเด็จเล็บมือ" คือ "พระวิสุทธิสารเถร" หรือ "หลวงพ่อผ่อง ธัมมโชติโก" สุดยอดพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าย่านฝั่งธนบุรีอีกรูป อีกทั้งเป็นสหธรรมิกที่สนิทชิดเชื้อกับ "หลวงปู่ชู วัดนาคปรก"

ทั้งประวัติหลวงพ่อผ่อง และหลวงปู่ชู ต่างเป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมจาก "หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง"

ประวัติหลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์ มีนามเดิมว่า "ผ่อง" เป็นบุตรของนายสุด นางอ่ำ เกิดเมื่อปีพ.ศ.2414 ต้นรัชกาลที่ 5 ที่บ้านตำบลบางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เมื่อปีพ.ศ.2435 อุปสมบทที่วัดรวก จ.นนทบุรี มี พระปรีชาเฉลิม (แก้ว สงขสุวณโณ) ป.ธ. 6 (ภายหลังเลื่อนเป็นพระเทพโมลี เจ้าอาวาสวัดมหรรณพาราม) วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแก้ว วัดไฟไหม้ (วัดอมฤต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการลบ วัดรวก เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา "ธัมมโชติโก"

หลังจากบวชแล้วได้เรียนวิปัสสนาธุระในสำนักอาจารย์แก้ว วัดไฟไหม้อยู่ 3 พรรษา ในพรรษาที่ 4 ย้ายมาอยู่ที่วัดนางชี คลองด่าน ในสมัยพระครูศีลขันธ์สุนทร เป็นเจ้าอาวาส ในพรรษาที่ 11 ย้ายจากวัดนางชี มาอยู่วัดนาคปรก อีก 10 พรรษา จนถึงปีพ.ศ.2455

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2455 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระศากยปุตติยวงศ์) กับพระพุทธพยากรณ์ วัดอัปสรสวรรค์ (ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูพุทธพยากรณ์) ได้อาราธนาให้เป็นเจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์วรวิหาร ในขณะดำรงพระฐานานุกรม พระปลัด

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2458 ได้เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูสังวรสมาธิวัตร" เนื่องในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต้นรัชกาลที่ 6 ในขณะที่มีอายุได้ 44 ปี เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2464 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะหมวดคลองบางจาก อำเภอภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2464 ได้รับเลื่อนเป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระ วิสุทธิสารเถร" ถือพัดงาสาน

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 03:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


"หลวงพ่อผ่อง" เป็น 1 ใน 3 พระเกจิอาจารย์ของฝั่งธนบุรี ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ความเคารพนับถือ โดยเป็นพระเถระ 1 ใน 4 รูปที่ได้ "พัดงาสาน" สมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย 1.หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง 2.พระสังวราชุ่ม วัดราชสิทธิฯ (วัดพลับ) 3.หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์ 4.หลวงปู่ปั้น วัดสะพานสูง

หลวงพ่อผ่อง ได้ชื่อว่าเป็นพระสมถะ สันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สินใด สมัยยังมีชีวิตอยู่ ทุกๆ วันจะมีผู้คนมาท่านให้ช่วยรักษาโรคต่างๆ บางคนก็มาขอฝึกกรรมฐานและวิปัสสนา บางคนเป็นบ้าเสียสติมาให้ท่านอาบน้ำมนต์เพียงครั้งเดียวก็หาย ถึงขนาดร่ำลือกันว่า น้ำมนต์ของท่านศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก จะเป็นผีหรือเจ้าเข้าสิงก็ใช้ไล่ได้ดี หรือจะทางแคล้ว คลาด เมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพันชาตรีก็เป็นยอด

วัตถุมงคลประเภทพระเครื่องและเครื่องรางของขลังที่ท่านสร้างแจกยุคแรก ส่วนใหญ่จะเป็นประเภท "ตะกรุดและผ้ายันต์" ซึ่งปัจจุบันหายากมาก

ส่วนวัตถุมงคลยอดนิยม คือ "พระสมเด็จเล็บมือ" มีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น คือ รุ่นแรกสร้างประมาณปี พ.ศ.2457 ด้านหลังนูนเรียบ ไม่ปรากฏลวดลายหรืออักขระเลขยันต์คดๆ ส่วนรุ่นสอง สร้างประมาณปี พ.ศ.2464 ด้านหลังจะปรากฏอุณาโลมประทับอยู่ จำนวนสร้างทั้งสองรุ่นประมาณกันว่าคงไม่เกิน 5,000 องค์

พุทธลักษณะมีกรอบพิมพ์เป็นรูปคล้ายครอบแก้วหรือปลายนิ้วมือ มีรูปพระพุทธปางขัดสมาธิเพชรเห็นสังฆาฏิประทับอยู่เหนือฐาน ซึ่งเป็นขีดหนา เนื้อพระเป็นผงสีขาวนวล ละเอียดแห้ง

พระสมเด็จเล็บมือ หลวงพ่อผ่อง มีพุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยม ค้าขายร่ำรวย แม้ปัจจุบันจะไม่โด่งดังเหมือนพระเครื่องของพระเกจิอาจารย์รูปอื่น อีกทั้งพระเครื่องของท่านมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในครอบครองของชาวฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะชาวภาษีเจริญและใกล้เคียง

ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคูหา สวรรค์ได้ 16 ปี แม้หลวงพ่อผ่องจะอายุไม่สูงวัย แต่มีอาการอาพาธบ่อยครั้ง สุดท้ายได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2471 สิริอายุ 57 ปี พรรษา 35

แม้หลวงพ่อผ่อง จะละสังขารไปแล้วแต่คุณงามความดีของท่านยังจะคงปรากฏอยู่ในใจของพุทธศาสนิกไปตราบนานเท่านาน

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้