ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
นอนอย่างไรจึงเรียก “สีหไสยาสน์” : มหานาลันทา
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1614
ตอบกลับ: 1
นอนอย่างไรจึงเรียก “สีหไสยาสน์” : มหานาลันทา
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-6-4 21:26
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-4 21:27
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นอนอย่างไรจึงเรียก “สีหไสยาสน์”
โดย... มหานาลันทา
เมื่อพูดถึง
พระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์
ท่านที่เป็นชาวพุทธก็ย่อมจะนึกถึงภาพของ
พระนอน
ที่มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่เล็กสุดจนถึงใหญ่สุด ที่ประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
พระพุทธไสยาสน์นี้ จะอยู่ในอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายวางทอดทาบไปตามร่างกายด้านซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายอยู่กับพื้นข้างพระเขนย พระบาททั้งสองตั้งเรียงซ้อนกัน ลักษณะการนอนดังกล่าวนี้เรียกว่า “สีหไสยาสน์” เป็นการนอนของราชสีห์
ว่ากันว่า ราชสีห์นั้นเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ และสง่างามในท่วงท่าและอิริยาบถ แม้ในการนอนก็ต้องนอนด้วยอาการอันสำรวม คือเวลานอนจะใช้เท้าลูบฝุ่นที่นอนให้เรียบเสมอกัน แล้วจึงจะตะแคงตัวด้านขวาลงนอน เท้าทั้งสี่จะอยู่ในอาการอันสำรวม ไม่เหนียดหรือกางออกเหมือนสัตว์อื่น และจะกำหนดในใจว่าจะนอนอย่างมีสติสัมปชัญญะ และตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด
ก็ในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุผู้กระทำความเพียรเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ให้สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ หรือสีหไสยาสน์ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เพราะที่กล่าวมาแล้วนั้น กล่าวตามลักษณะของพระพุทธรูปที่ช่างปั้นขึ้น
แต่จริงๆ แล้ว ท่านสอนให้นอนตะแคงขวา ศีรษะหนุนหมอน มือซ้ายวางทาบไปตามร่างกายด้านซ้าย มือขวาวางหวายแนบกับใบหน้า เพื่อไม่ให้คอพลิกไปมา วางเท้าเหลื่อมเท้า กำหนดในใจว่าจะนอนอย่างมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา และจะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด
ข้อที่บอกว่า
วางเท้าเหลื่อมเท้า
นั้น เพราะว่าคนเรามีอุ้งเท้าที่โค้ง เมื่อวางเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวา อุ้งเท้าซ้ายจะวางอยู่บนสันเท้าขวา ซึ่งมีความโค้งมน ส้นเท่าขวาจะรองรับน้ำหนักของเท้าซ้ายได้พอดี และไม่พลัดตกลงมา เท้าทั้งสองที่เหยียดออกไปก็ไม่ถึงกับต้องตรง แต่จะงอเข่าทั้งสองข้างลงเล็กน้อย จะทำให้หัวสะบ้าเข่าข้างซ้ายกดทับลงบนข้อพับด้านขาขวา ข้อพับขวาจะมีลักษณะโค้งอ่อนนุ่ม ก็จะพยุงหัวเข่าซ้ายไว้ไม่ให้พลิก มือซ้ายที่วางบนร่างกายด้านซ้ายนั้น ไม่เหยียดตรง แต่จะงอเล็กน้อยให้น้ำหนักอยู่ตรงกลางระหว่างข้อศอกกับปลาย ก็จะเป็นท่านอนที่ถูกต้องกับสรีระของคนเรา
ผิดกับรูปปั้นที่ช่างต้องปั้นให้มีเท้าทั้งสองซ้อนกัน เพื่อที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า พระบาทของพระพุทธเจ้าเรียบเสมอกัน และต้องปั้นให้พระบาททั้งสองเหยียดตรง และพระหัตถ์ซ้ายที่วางทาบบนพระวรกายนั้นก็เหยียดตรงเช่นกัน
พระพุทธเจ้าของเรานั้นทรงแสดงธรรมตอนหัวค่ำช่วง ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น. แก่สาวกที่มาจากทิศต่างๆ เวลาพ้นเที่ยงคือไปจนตีสองทรงแสดงธรรมแก่เหล่าเทวดา เวลาใกล้รุ่งค่อนสว่างทรงพิจารณาถึงหมู่สัตว์ว่าผู้ใดจะมีอุปนิสัยบรรลุก็จะเสด็จไปโปรด
เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาทั้งสามยามนี้พระองค์จะเสด็จบรรทมสีหไสยาสน์ ซึ่งแต่ละช่วงจะไม่เกิน ๒ ชั่วโมง
เห็นได้ว่าการนอนในท่าสีหไสยาสน์นี้ จะมีคุณอเนกประการแก่ผู้ที่ตรากตรำทำงานอย่างเคร่งเครียด
เช่น นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องดูหนังสือสอบ รวมทั้งนักบริหารทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายลองสำเร็จการนอนแบบสีหไสยาสน์ แล้วจะพบว่าเมื่อตื่นขึ้นมาท่านจะทำงานต่อไปได้อย่างสดชื่น และจะรู้ว่าจิตนี้อัศจรรย์จริง
จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 37 ธันวาคม 2546
........................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=28581
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...