ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
พระพุทธชินราช
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 4539
ตอบกลับ: 5
พระพุทธชินราช
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-4-27 07:24
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-4-27 07:25
[พระพุทธชินราช : ปางมารวิชัย พุทธศิลป์แบบสุโขทัยตอนปลาย หล่อด้วยสำริดลงรักปิดทอง
ประดิษฐานในซุ้มเรือนแก้ว ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก]
พ ร ะ พุ ท ธ ชิ น ร า ช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก ๑ คืบ
วัสดุสำริดลงรักปิดทอง
เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย
และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก
เป็นต้นแบบในการสร้างพระพุทธชินราชจำลอง
ที่วัดเบญจมพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธชินราชนับเป็นพระพุทธรูปที่งดงามล้ำเลิศ
ความสูงส่งแห่งฝีมือช่างกรุงสุโขทัย
จากความงดงามแห่งเส้นรอบนอกองค์พระ
ความละมุนละมัยของสุนทรียศิลป์ ที่สะท้อนออกมาทางรูปทรง
วงพระพักตร์อันอิ่มเอิบด้วยความเมตตา
ที่แฝงด้วยความสงบสันติ หลุดพ้นจากกิเลส
เป็นการผสมผสานความสมบูรณ์ลงตัว
ของศิลปะสุโขทัยแบบเชียงแสนอย่างกลมกลืน
เมื่อ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เสด็จมานมัสการพระพุทธชินราชครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๕ ทรงบันทึกว่า
“เวลานั้นยังไม่ได้ทรงปฏิสังขรณ์แก้ไขพระวิหารให้สว่างอย่างทุกวันนี้
พอไปถึงประตูวิหารแลเข้าไปข้างในดูที่อื่นมืดหมด
เห็นแต่องค์พระชินราชตระหง่านงามเหมือนลอยอยู่ในอากาศ
เห็นเข้าก็จับใจเกิดเลื่อมใสขึ้นทันที”
การประดิษฐานองค์พระให้หน้าตักอยู่นระดับสายตา ในวิหารที่มีรูปทรงยาว
เปรียบเหมือนการส่องกล้องปรับระยะการมองให้คมชัดที่สุด
ความพอดีของมุมมองและแสงเงาจึงทำให้เห็นความงามอย่างเต็มที่
พระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านในเมืองพิษณุโลก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยังทรงสรรเสริญว่า
พระพุทธชินราชนี้เป็นหลักเป็นศรีของเมืองพิษณุโลกและของเมืองไทยทั้งประเทศ
และในเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี
ประชาชนจึงพร้อมใจกันอัญเชิญพระพุทธชินราชไปทำพิธีสรงน้ำ
ซึ่งถือเป็นพิธีที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมากระทั่งปัจจุบัน
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-27 07:25
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
• ประวัติการสร้างพระพุทธชินราช
การสร้างพระพุทธชินราช ตามตำนานแย้งกันเป็น
๒
นัย
นัยหนึ่งว่าสร้างเมื่อราวจุลศักราช ๓๑๙ (พ.ศ. ๑๕๐๐)
แต่อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าสร้างเมื่อราวจุลศักราช ๗๑๙ (พ.ศ. ๑๙๐๐)
ตำนานที่อ้างถึงพระพุทธชินราชหล่อขึ้นในจุลศักราช ๓๑๙ นั้น
เป็นตำนานที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือ
ปรากฏอยู่ใน
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)
ว่าด้วยเรื่องพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
และ
พระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕)
เรื่องพระพุทธชินราช ความว่า
เมื่อ
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
ผู้ครองนครเชียงแสน
ได้ยกกองทัพลงมาตีเมืองศรีสัชนาลัย
ซึ่งมีพระเจ้าพสุจราชปกครองอยู่
ทหารทั้งสองฝ่ายรบราฆ่าฟันกันตายลงเป็นอันมากมิได้แพ้ชนะกัน
พระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่
มีความเศร้าสลดใจในศึกครั้งนี้
จึงเข้าทำการไกล่เกลี่ยให้พระราชาทั้งสองนี้เป็นสัมพันธไมตรีกัน
พระราชาทั้งสองก็ยอมปฏิบัติตาม
พระเจ้าพสุจราชได้ทรงยกพระนางปทุมราชเทวีราชธิดา
อภิเษกให้เป็นมเหสีแห่งพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
มีพระราชโอรสด้วยพระนางปทุมราชเทวี ๒ พระองค์
ทรงพระนามว่า เจ้าไกรสรราชกับเจ้าชาติสาคร
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
มีพระประสงค์จะป้องกันการรุกรานของชาติขอม
ซึ่งขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางละโว้หรืออีกนัยหนึ่งเป็น
การแผ่ราชอาณาจักรให้ไฟศาลออกไป
จึงได้สร้างเมืองพิษณุโลก ให้ราชโอรสขึ้นครองเมือง
ตามพงศาวดารกล่าวว่าได้สร้างเมืองพิษณุโลก
เมื่อจุลศักราช ๓๑๕ (พ.ศ. ๑๔๙๖)
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
ได้เสด็จลงมาอภิเษกเจ้าไกรสรราชขึ้นครองเมือง
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
นี้
ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้แตกฉานพระไตรปิฎกมาก
จึงได้รับเฉลิมพระนามาภิไธย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-27 07:26
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดังนั้น ขณะที่เสด็จประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลกที่ได้สร้างขึ้นใหม่
ก็มีพระประสงค์จะบำเพ็ญบุญกุศลทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
และให้พระเกียรติศัพท์พระนามปรากฏในภายหน้า
จึงตรัสสั่งให้สร้าง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ขึ้นเป็นคู่กับเมือง
สร้างพระมหาธาตุเป็นรูปปรางค์สูงราว ๘ วา ตั้งกลาง
แล้วสร้างพระวิหารรอบปรางค์ทั้งสี่ทิศ มีระเบียง ๒ ชั้น
พระองค์ต้องการจะสร้างพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์
เพื่อเป็นพระประธานในพระวิหาร
ในเวลานั้นที่เมืองศรีสัชนาลัย ทั้งสวรรคโลกและสุโขทัย
เป็นที่เลื่อลือปรากฏในการฝีมือช่างต่างๆ
ทั้งการทำพระพุทธรูปว่าฝีมือดียิ่งขึ้น
จึงมีพระราชสาส์นไปยังกรุงศรีสัชนาลัย
เพื่อขอช่างมาช่วยปั้นหุ่นพระพุทธรูป
สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยจึงส่งช่างพราหมณ์ที่ฝีมือดี ๕ นาย
ชื่อบาอินทร์ บาพราหมณ์ บาพิษณุ บาราชสิงห์ และบาราชกุศล
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
โปรดให้ช่างสวรรคโลกสมทบกับช่างชาวเชียงแสนและช่างหริภุญชัย
ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั้ง ๓ องค์
มีทรวดทรงสัณฐานคล้ายกัน แต่ประมาณนั้นเป็น ๓ ขนาด
องค์ที่ ๑ ตั้งพระนามไว้ว่า
พระพุทธชินราช
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว
มีเศษสูง ๗ ศอก พระเกศสูง ๑๕ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
องค์ที่ ๒ ตั้งพระนามไว้ว่า
พระพุทธชินสีห์
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
องค์ที่ ๓ ตั้งพระนามไว้ว่า
พระศรีศาสดา
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
พระศรีธรรมไตรปิฎกทรงเลือกลักษณะอาการตามชอบพระทัยให้ช่างทำ
คือ สัณฐานอาการนั้นอย่างพระพุทธรูปเชียงแสน
ไม่เอาอย่างพระพุทธรูปในเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก และเมืองสุโขทัย
ที่ทำนิ้วสั้นยาวไม่เสมอกันอย่างมือคน
ทรงรับสั่ง ให้ทำนิ้วให้เสมอกันตามที่พระองค์ทราบว่า
เป็นพุทธลักษณะ พระลักษณะอื่นๆ ก็เป็นอย่างเชียงแสนบ้าง
อย่างศรีสัชนาลัยและสวรรคโลก สุโขทัยบ้าง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-27 07:28
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จวบจนวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช ๓๑๗
ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์
และเมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว กระทำการแกะพิมพ์ออกมาปรากฎว่า
พระองค์ที่ ๒ คือพระพุทธชินสีห์ และพระองค์ที่ ๓ คือพระศรีศาสดา
องค์พระบริบูรณ์ดีมีน้ำทองแล่นติดตลอดเสมอกันสวยงาม ๒ องค์เท่านั้น
ส่วนรูป
พระพุทธชินราช
นั้น ทองแล่นไม่เต็มองค์ ไม่บริบูรณ์
นับว่าเป็นอัศจรรย์ของช่างและผู้มาร่วมพิธีเป็นอันมาก
ช่างได้ช่วยกันทำหุ่น และเททองหล่ออีกถึง ๓ ครั้ง
ก็ไม่สำเร็จเป็นองค์พระได้ คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงรู้สึกประหลาดพระทัยยิ่งนัก
พระองค์จึงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง
อีกทั้งขอให้ทวยเทพเทวดาช่วยดลใจ
ให้สร้างพระพุทธรูปสำเร็จตามพระประสงค์เถิด
แล้วให้ช่างปั้นหุ่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ในครั้งหลังนี้ ปรากฏว่ามี
ตาปะขาว
คนหนึ่ง
ไม่มีผู้ใดทราบว่าชื่อใดมาจากไหนเข้ามาช่วยปั้นหุ้นและช่วยเททอง
ทำการงานอย่างแข็งแรงทั้งกลางวันและกลางคืนจนเสร็จโดยไม่พูดจากับผู้ใด
ครั้นได้มหามงคลฤกษ์
ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศกจุลศักราช ๓๑๙
(ุพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๑๕๐๐ หย่อนอยู่ ๗ วัน)
ก็ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช
คราวนี้น้ำทองที่เทก็แล่นเต็มบริบูรณ์ตลอดทั่วองค์พระ
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
ทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง
จึงตรัสสั่งให้ตาปะขาวผู้มาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททองนั้น แต่มิได้พบ
ปรากฏว่าเมื่อหล่อพระเสร็จแล้ว ก็เดินทางออกประตูเมืองด้านทิศเหนือ
พอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายไปไม่มีใครพบเห็นอีก
จึงพากันเข้าใจว่า
ตาปะขาว
ผู้นั้น
คือเทพยดาแปลงกายมาหล่อพระพุทธชินราช
อันเป็นเหตุทำให้ เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธรูปองค์นี้ยิ่งขึ้น
ตำบลบ้านที่ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่า บ้านตาปะขาวหายต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-27 07:29
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อแกะพิมพ์ออกหรือกระเทาะหุ่นออกมาก็เป็นที่ประหลาดใจ
และตื่นเต้นของชาวพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง
คือ เมื่อกระเทาะหุ่นออกคราวนี้
ทองแล่นติดเต็มองค์พระงดงามสมบูรณ์ดั่งสวรรค์เนรมิต
เนื้อทองสำริดสุกสกาวสดใส งามจนหาที่ติไม่ได้
จึงพากันเชื่อว่าพระพุทธชินราชองค์นี้น่าจะเป็นเทวดามาสร้างให้เป็นแน่แท้
ถึงได้มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุดในแดนสยาม
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
โปรดฯ ให้อัญเชิญเข้าประดิษฐานไว้ในสถานที่ทั้ง ๓
คือพระพุทธชินราช อยู่ในพระวิหารใหญ่ผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก
พระพุทธชินสีห์อยู่ทิศเหนือ และพระศาสดาอยู่ทิศใต้
สำหรับพระวิหารใหญ่ทิศตะวันออกนั้น เป็นที่ฟังธรรมสักการ
ะที่ถวายนมัสการพระมหาธาตุและเป็นที่ชุมนุมสงฆ์
อนึ่ง เมื่อเวลาหล่อพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาเสร็จแล้วนั้น
ทองชลาบและชนวนของพระพุทธรูปทั้ง ๒ องค์ที่เหลืออยู่
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกรับสั่งให้รวมลงในทองซึ่งจะหล่อพระพุทธชินราช
หล่อองค์พระใหม่เรียกว่า
"พระเหลือ"
ส่วนชนวนและชลาบของพระที่เรียกว่าพระเหลือนั้น
ก็หล่อรูปพระสาวก ๒ องค์ สำหรับพระเหลือนั่นเอง
ครั้นเมื่อการหล่อพระเสร็จแล้ว
จึงรับสั่งให้เก็บอิฐซึ่งก่อเป็นเตาหลอมและเตาสุม
หุ้มหล่อพระทั้งปวงนั้นมาก่อเป็นชุกชี สูง ๓ ศอก
และให้ขุดดินที่อื่นมาผสมกับดินพิมพ์ที่ต่อยจากพระพุทธรูปถมในชุกชีนั้น
แล้วทรงปลูกต้นมหาโพธิ์ ๓ ต้น หันหน้าต่อทิศอุดร
แล้วเชิญพระเหลือกับสาวกอีก ๒ องค์เข้าไว้ในที่นั้น
ให้เป็นหลักฐานแสดงที่ซึ่งหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์
ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นความในพงศาวดารเหนือ
ที่ปรากฏอยู่ใน
พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และ
พระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-27 07:30
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ส่วนอีกนัยหนึ่งมีกล่าวว่า สร้างเมื่อประมาณ จุลศักราช ๗๑๙ นั้น
เป็นพระวิจารณ์แห่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ
"เที่ยวเมืองพระร่วง"
มีความดังต่อไปนี้
เรื่องตำนานการสร้างเมืองพิษณุโลก
และการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์นั้น
สอบสวนหลักฐานจะเห็นว่ารูปเรื่องจะเป็นดังกล่าวในพงศาวดาร
แต่พงศาวดารเหนือลงนามเป็นของ
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
นั้น มิใช่ผู้อื่น
คือ
พระมหาธรรมราชาลิไท รัชกาลที่ ๔ ในราชวงศ์พระร่วง
นั่นเอง
มีเรื่องในศิลาจารึกว่า เมื่อเป็นพระมหาราชครองเมืองศรีสัชนาลัย
ก่อนจะได้รับราชสมบัติมีศัตรูยกกองทัพลงมาติดเมืองสุโขทัย
ในเวลาที่พระบิดาประชวรหนัก จึงได้ครองราชอาณาจักร
ตรงกับที่ว่า
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
ยกทัพมาติดเมืองสวรรคโลกได้ราชสมบัติในเมืองนั้น
และพระมหาธรรมราชาลิไท ทรงรอบรู้พระไตรปิฎกจึงสามารถแต่ง เรื่อง
"พระไตรปิฎก"
หรือ
ไตรภูมิ
ตรงกับที่เรียกว่า
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
มีแต่พระองค์เดียวเท่านั้น
อีกประการหนึ่งโบราณวัตถุที่สร้างไว้ ณ เมืองพิษณุโลก
เป็นแบบอย่างครั้งกรุงสุโขทัย เมื่อรับลัทธิพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์มาแล้ว
ยกตัวอย่างดังเช่น
พระพุทธรูป พระชินราช พระชินสีห์
คงจะเชื่อได้ดังกล่าวในพงศาวดารเหนือว่า เป็นประชุมช่างอย่างวิเศษ
ทั้งที่มณฑลพายัพและในอาณาเขตสุโขทัยมาให้ช่วยกันถอดแบบอย่าง
แต่พึงสังเกตได้ที่ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เท่ากันทั้ง ๔ นั้น
เป็นความคิดที่เกิดขึ้นด้วยวินิจฉัย คัมภีร์มหาปุริสลักขณะ กันอย่างถ้วนถี่ ในชั้นหลัง
พระพุทธรูปชั้นก่อนหาทำนิ้วพระหัตถ์เช่นนั้นไม่
ในที่สุดยังมีหลักฐานอีกอย่างหนึ่ง
ด้วยในพงศาวดารเมืองเชียงแสนมิได้ปรากฏว่า
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
หรือพระเจ้าเชียงแสนองค์ใดได้ลงมาตีเมืองสวรรคโลก
เหมือนอย่างกล่าวในพงศาวดารเหนือด้วยมีหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวมา
จึงสันนิษฐานว่า
พระมหาธรรมราชาลิไท
เป็นผู้สร้างเมืองสองแควขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง
และหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์เมื่อราว พ.ศ. ๑๙๐๐
รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก :
พระพุทธชินราช ใน “พระพุทธรูป มรดกล้ำค่าของเมืองไทย :
Buddha Image of Thailand’s Precious Heritage”
โดย ทศพล จังพาณิชย์กุล, หน้า ๑๗๕
http://www.geocities.com/firecontrol35/chinnarat.html
http://www.kapook.com
พระพุทธชินราช พระประธานในพระวิหารใหญ่
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19299
พระเหลือ หรือ “หลวงพ่อเหลือ” หรือ “พระเสสันตปฏิมากร”
พระประธานในพระวิหารพระเหลือ หรือพระวิหารหลวงพ่อเหลือ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19715
................................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=24657
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...